นางศรีรัตน์ รัษฐปานะปลัดกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้หารือกับสมาคมโรงสีข้าวไทย สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย องค์การคลังสินค้า (อคส.) กรมการค้าภายใน และผู้บริหารตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (เอเฟต) ในการส่งเสริมให้ซื้อขายสินค้าเกษตรในเอเฟตเพิ่มขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาการประมูลข้าวสต๊อกรัฐบาลผ่านเอเฟตนั้น มีผู้เข้าร่วมประมูลน้อย ส่งผลให้ขายข้าวได้ราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นเพื่อให้เกิดแรงจูงใจให้เข้ามาซื้อขายผ่านเอเฟต กระทรวงจึงต้องปรับแนวทางปฏิบัติใหม่ นายมานัส กิจประเสริฐ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทยกล่าวว่า สมาคมฯ มองว่า หากต้องการให้เอเฟตเข้มแข็ง และมีปริมารการซื้อขายมากขึ้นรัฐควรระบายข้าวในสต๊อกผ่านเอเฟตช่องทางเดียว เพราะเป็นช่องทางที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ อีกทั้งผู้เข้าร่วมประมูลยังเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าสัญญาค่าโบรกเกอร์ถูกกว่าภาษี ณ ที่จ่ายที่เก็บจากผู้ส่งออกด้วยซ้ำสำหรับแนวทางการช่วยเหลือชาวนานั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรหารือกับชาวนาถึงความต้องการของชาวนาที่แท้จริงให้ได้ก่อน จากนั้นจึงมาพิจารณาร่วมกับผู้ส่งออก และโรงสีจะช่วยเหลือตามแนวทางที่ชาวนาต้องการได้หรือไม่”ผมมองว่าการที่ชาวนาเสนอให้ คสช. ช่วยชดเชยปัจจัยการผลิตให้ไร่ละ 3,000 บาท คงเป็นไปไม่ได้แน่ เพราะจะคิดเป็นเงินที่ต้องช่วยเหลือจริงมากถึงหลายแสนล้านบา ทรัฐบาลคงไม่มีเงินมากขนาดนั้น แต่ถ้ามีการช่วยเหลือจริงตามที่ชาวนาร้องขอ เชื่อว่าราคาข้าวในตลาดคงต่ำ เป็นเหมือนช่วงที่มีโครงการประกันรายได้ เพราะถูกกดราคาจากผู้ส่งออก ทำให้โรงสีต้องซื้อข้าวจากชาวนาต่ำตามไปด้วย”นายบรรจง ตั้งจิตรวัฒนากุล อุปนายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า การดูแลราคาข้าวหลังจากนี้ คงต้องขึ้นอยู่กับแนวทางการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีนโยบายดำเนินการอย่างไ รแต่หากจะให้มีการนำโครงการรับจำนำข้าวอีก คงเป็นไปได้ยาก เพราะต้องใช้งบประมาณสูง ส่วนจะใช้วิธีการชดเชยค่าปัจจัยการผลิตหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับนโยบาย แต่เบื้องต้นต้องการเสนอให้จัดโซนนิ่งเพาะปลูกสินค้าเกษตร หรือกำหนดพื้นที่เพาะปลูกสินค้าเกษตรให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ โดยพื้นที่ใดไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าว ก็ส่งเสริมให้เกษตรกรเปลี่ยนไปเพาะปลูกอ้อยหรือมันสำปะหลังแทนนอกจากนี้ต้องการเสนอให้คสช.ออกมาตรการเพิ่มสต๊อกปริมาณข้าวของผู้ส่งออกจากเดิม 500 ตัน ให้เพิ่มเป็น 10-15%ของยอดส่งออก เช่น ส่งออก 1 ล้านตันก็ให้สต๊อก 150,000 ตันขณะที่นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของโรงสี ที่ขอให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาเพิ่มสต๊อกสำรองข้าวสารของผู้ส่งออกจาก 500 ตัน เป็น 15%ของยอดการส่งออก เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้กับภาคส่งออก ทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น และแข่งขันด้านราคากับประเทศคู่แข่งลำบากขึ้น เช่น หากส่งออก 1 ล้านตัน สำรอง 15%ก็ต้องสต๊อกข้าวถึง 150,000 ตัน คิดเป็นเงินหลายร้อยล้านบาท
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ปรับแนวทางระบายข้าวผ่านตลาดเอเฟต
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs