“เครื่องให้อาหารลูกปลากะพง” ผลงานของ “พ.อ.สิทธิโชค มุกเตียร์” อดีตนายทหารจากกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ซึ่งแม้จะเกษียณอายุราชการแล้วก็ยังเดินหน้าพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ อาจารย์สิทธิโชค บอกถึงที่มาของผลงานชิ้นนี้ว่า ผู้เลี้ยงปลากะพงเล่าถึงปัญหาการอนุบาลลูกปลา จะต้องฝึกให้ลูกปลายอมกินอาหารเม็ด ซึ่งจะต้องใช้คนป้อนทีละน้อย ๆ และใช้เวลานานมาก ควบคุมไม่ได้ เพราะคนป้อนถ้าไม่ใจเย็น ปลาจะกินอาหารไม่หมด เพราะลูกปลาไม่กินอาหารที่ลอยนิ่ง ทำให้น้ำเสียง่าย จึงพัฒนาเครื่องให้อาหารลูกปลา โดยออกแบบให้มีลักษณะคล้ายกับการป้อนอาหารเม็ดโดยผู้ป้อนเหมือนเดิม สามารถใช้ได้กับอาหารเม็ดที่มีขนาดตั้งแต่ 1-3 มิลลิเมตร ผู้ใช้สามารถปรับปริมาณและจำนวนครั้งได้เองตามต้องการ เครื่องให้อาหารดังกล่าวประกอบด้วยสองส่วน คือส่วนกลไกและส่วนควบคุม โดยส่วนกลไกสามารถเปิดให้อาหารผ่านออกได้ตามปริมาณที่ต้องการในแต่ละครั้ง จึงใช้วิธีการกำหนดระยะห่างระหว่างประตูตัวล่างและตัวบนให้ห่างกันเท่ากับปริมาณอาหารที่ต้องการในแต่ละครั้ง เช่น ถ้าใช้ระยะห่างประมาณ 1 ซม.จะได้ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ส่วนบรรจุอาหารใช้ท่อขนาด 2.5 ซม. ยาวประมาณ 60 ซม. ปลายด้านล่างของท่อมีประตูปิด-เปิด เพื่อให้อาหารผ่านออกไปได้ เหนือจากประตูตัวล่าง ติดตั้งกลไกสำหรับหยุดการไหลของอาหารจากท่อด้านบน โดยการบีบอาหารไม่ให้สามารถไหลลงไปได้ การควบคุมให้อาหารผ่านออกในแต่ละครั้ง จะปลดประตูด้านบนให้คลายตัวอาหารจะไหลลงมายังช่องตวง แต่ยังไม่สามารถไหลออกได้ เนื่องจากประตูตัวล่างปิดอยู่ เมื่ออาหารไหลลงจนเต็มช่องตวงแล้ว จึงกดประตูด้านบนให้อาหารในบริเวณดังกล่าวแน่น และไม่สามารถไหลลงมาได้อีก จากนั้นจึงเปิดประตูด้านล่าง เพื่อทำให้อาหารในช่องตวงไหลออกมาจนหมดช่อง และให้ประตูกลับมาอยู่ในสภาพปิด รอการทำงานในจังหวะต่อไป เนื่องจากกลไกไฟฟ้าที่ใช้ปิด-เปิดประตูทั้งสองดัดแปลงมาจากแขนอ่านของฮาร์ดดิสก์ที่ไม่ใช้งานแล้ว จึงมีข้อจำกัดบางประการ ทั้งเรื่องระยะการเคลื่อนที่ และแรงที่เกิดจากแม่เหล็กไฟฟ้า การนำมาใช้งานจึงต้องใช้ความละเอียด รอบคอบ เพื่อให้กลไกทั้งสองทำงานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ กลไกของเครื่องให้อาหารในลักษณะลิ้นเปิด-ปิด 2 ชุด ที่อยู่ด้านบนและด้านล่างของช่องตวงนี้สามารถปรับเปลี่ยนไปใช้กับอุปกรณ์อื่นซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น เครื่องให้อาหารสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ เช่น แมว และสุนัข เป็นต้น หากนำไปปรับใช้กับสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ สามารถนำเครื่องตอบรับโทรศัพท์มาต่อแค่โทรศัพท์เข้ามายังเลขหมายโทรศัพท์ในบ้าน จากนั้นกดสัญญาณตัวเลขตรงตามที่กำหนดไว้ สั่งเครื่องให้อาหารทำงานในกรณีที่เจ้าของบ้านไม่อยู่ได้อีกด้วย สนใจสิ่งประดิษฐ์คนไทย อาจารย์บอกว่าจะมีไปโชว์ในงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2557 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-26 มิถุนายนนี้ ที่อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี. นาตยา คชินทร nattayap.k@gmail.com
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เครื่องให้อาหารลูกปลากะพง – ฉลาดคิด
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs