นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทย เดือนพ.ค.57 ถือเป็นเดือนหัวเลี้ยวหัวต่อของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย เนื่องจาก คสช. ได้เข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.57 โดยคาดว่า เครื่องยนต์เศรษฐกิจไทย ได้แก่ การบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายภาครัฐ จะกลับมามีพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างเต็มศักยภาพมากขึ้นตั้งแต่เดือนมิ.ย.เป็นต้นไป ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชน เดือนพ.ค.57 เริ่มมีสัญญาณดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนได้จากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ณ ราคาคงที่ ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน มาอยู่ที่ 2.3% ต่อปี ตามการจัดเก็บบนฐานการนำเข้าที่ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือน โดยขยายตัว 5% ต่อปี ขณะที่ แวตจากการจัดเก็บบนฐานการบริโภคภายในประเทศขยายตัว 0.1% ต่อปี สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม อยู่ที่ระดับ 60.7% ปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 14 เดือน เพราะผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น สำหรับการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง สะท้อนจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ หดตัว 1% ต่อปี แต่ขยายตัว 2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ หดตัว 31.7% ต่อปี และหดตัว 6.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขณะเดียวกัน การใช้จ่ายภาครัฐมีอัตราเร่งขึ้น สะท้อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณปีปัจจุบันสามารถเบิกจ่ายได้ 142,500 ล้านบาท ขยายตัว 13.3% ต่อปี เร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 5.6% ต่อปี ส่งผลอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 57 ช่วง 8 เดือนของปีงบประมาณเบิกจ่ายได้ 156,560 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่าย 62% จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 56.4% ด้านอุปสงค์ต่างประเทศ ยังคงหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกจากการส่งออกสินค้าของไทย หดตัวที่ 2.1% ต่อปี นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 85.1 นับเป็นการปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกรอบ 7 เดือน เนื่องมาจากผู้ประกอบการมีระดับความเชื่อมั่นมากขึ้นจากสถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มคลี่คลาย ขณะที่บริการยังคงส่งสัญญาณหดตัว สะท้อนจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทย มีทั้งสิ้น 1.7 ล้านคน หดตัว 10.7% ต่อปี โดยนักท่องเที่ยวที่หดตัวมากที่สุด ได้แก่ จีน มาเลเซีย และสิงคโปร์ “เสถียรภาพในประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะเริ่มมีแรงกดดันเงินเฟ้อสูงขึ้น ขณะที่เสถียรภาพต่างประเทศยังคงแข็งแกร่ง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 2.6% ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 2.5% ต่อปี ขณะที่ อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ โดยอยู่ที่ 0.9% ของกำลังแรงงานรวมซึ่งคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงานเท่ากับ 362,000 คน สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงที่ 167,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 2.76 เท่า รองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้”
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สศค.ชี้เศรษฐกิจไทยเดือน พ.ค.ฟื้นตัว
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs