shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

แห่ถอน3หมื่นล้านออมสินป่วน พิษปล่อยกู้ธกส.ช่วยชาวนา

อ่วม ธ.ออมสิน คนแห่ถอนเงินวันเดียว 30,000 ล้านบาท เชื่อผลปล่อยกู้อินเตอร์แบงก์ให้ ธ.ก.ส. จำต้องสั่งยุติปล่อยกู้กะทันหัน พร้อมสั่งการไปยังสาขาทั่วประเทศ เตรียมพร้อมสำรองเงินสดให้เพียงพอความต้องการของลูกค้า ส่วน ธ.ก.ส. หยุดจ่ายจำนำข้าว หลังพบยังมีปัญหา ออมสินรับคนแห่ถอนเงินที่ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ภายหลังที่ธนาคารได้ประกาศปล่อยกู้อินเตอร์แบงก์ ให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ส่งผลให้ประชาชนเดินทางมาถอนเงินมากจนผิดปกติ โดยเชื่อว่าน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระแสที่ธนาคารปล่อยกู้เงินให้กับ ธ.ก.ส. ไปใช้ในโครงการจำนำข้าว ทั้งนี้ขอยืนยันว่า ธนาคารไม่ได้ปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการรับจำนำข้าว และการปล่อยกู้อินเตอร์แบงก์ให้กับ ธ.ก.ส. ถือเป็นเรื่องปกติ เหมือนที่เคยปฏิบัติมาเป็นเวลาหลายสิบปี ซึ่งไม่เคยมีปัญหา รวมทั้งเงินกู้ดังกล่าวเป็นเพียงเงินกู้สั้นที่ไม่เกิน 30 วันเท่านั้น ส่วนวัตถุประสงค์การปล่อยกู้ให้กับ ธ.ก.ส. นั้น ยืนยันว่าเป็นเพียงการกู้ไปเสริมสภาพคล่อง และนำสภาพคล่องไปหาผลประโยชน์ต่อตามปกติของธนาคารทั่ว ๆ ไป โดยวงเงินที่ให้กู้ยืมอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม หากมีปัจจัยที่สำคัญ โดยเฉพาะการที่ลูกค้าเกิดความไม่พอใจ จนแห่มาถอนเงินจำนวนมาก อาจจะมีการนำเรื่องนี้มาพิจารณาอีกครั้งขณะเดียวกัน สถานการณ์ที่มีลูกค้าแห่มาถอนเงินจำนวนมากนั้น เบื้องต้นธนาคารยังสามารถรับมือได้ เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่ปกติ เวลาที่มีข่าวไปกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชน โดยได้ให้แต่ละสาขาสำรองเงินไว้เพิ่ม 1 เท่า และให้ศูนย์บริการเงินสดเตรียมพร้อมนำเงินใส่เข้าไปในระบบธนาคารแต่ละสาขา ถือเป็นการเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นอ่วมวันเดียวถอน3หมื่นล้านนายวรวิทย์ เปิดเผยต่อว่า ขณะนี้ยอมรับว่ามีลูกค้าของธนาคารแห่ถอนเงินออกเมื่อวันที่ 17 ก.พ. ทั้งสิ้น 30,000 ล้านบาท จากปกติมีการถอนเงินเฉลี่ย 7,000 ล้านบาท และมีการฝากเงินเข้ามา 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้จะขอดูสถานการณ์ภายใน 1-2 วัน โดยได้สั่งการไปยังสาขาธนาคารทั่วประเทศให้เตรียมพร้อมสำรองเงินสดเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า โดยจำนวนเงินขึ้นอยู่กับขนาดของสาขา จากวันนี้ที่มีบางสาขามีเงินสดไม่เพียงพอในการจ่ายให้ลูกค้า ทำให้ต้องจ่ายเป็นแคชเชียร์เช็ค ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสาขาที่อยู่ในห้างสรรพสินค้า ที่ไม่มีห้องนิรภัยในการเก็บรักษาความปลอดภัยยุติปล่อยกู้อินเตอร์แบงก์นายวรวิทย์ เปิดเผยอีกว่า ขณะนี้ออมสินได้หยุดการให้ ธ.ก.ส. กู้เงินแบบอินเตอร์แบงก์แล้ว หลังจากมีการเบิกเงินไปแล้ว 5,000 ล้านบาท จากทั้งหมด 20,000 ล้านบาท และยืนยันอีกว่าไม่ทราบว่า ธ.ก.ส. จะนำเงินไปใช้ในโครงการรับจำนำข้าวแต่อย่างใด เพราะวัตถุประสงค์ในการปล่อยกู้ครั้งนี้เพื่อเสริมสภาพคล่องเท่านั้น แต่ถ้านำไปใช้ในโครงการจำนำข้าวจริง ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ และ ธ.ก.ส. ต้องรับผิดชอบ ซึ่งได้คุยเรื่องนี้กับฝ่ายกฎหมายแล้ว โดยออมสินมีสิทธิที่สามารถเรียกเงินที่ให้กู้ไปคืนได้ทันทีใต้เบิกเงินเกลี้ยงแบงก์ที่ จ.นครศรีธรรมราช บริเวณธนาคารออมสิน สาขาทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช ลูกค้าธนาคารเดินทางมาถอนเงินออกจากธนาคารกันทั้งวัน บางรายที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ ธนาคารไม่มีเงินจ่ายให้ ต้องให้ประชาชนเขียนคำร้องไว้ก่อน แล้วนัดให้มารับเงินใหม่ในวันที่ 18 ก.พ. ส่วนรายเล็กสามารถเบิกถอนได้ตามปกติ โดยทางธนาคาร คาดว่าวันที่ 18 ก.พ. จะมีลูกค้าทยอยเดินทางมาถอนเงินอีกเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกับที่ จ.ชุมพร และตรัง โดยในส่วนของ จ.ตรัง บรรยากาศตั้งแต่ช่วงเช้า มีประชาชนจำนวนมากแห่กันไปที่ธนาคารออมสินสาขาตรังเพื่อถอนเงินฝากหลังเกิดความไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจะนำเงินฝากจากธนาคารออมสินไปใช้ในโครงการรับจำนำข้าวจึงแห่ถอนเงินกันตั้งแต่เช้าโดยเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น ก็มีประชาชนถอนเงินฝากไปแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งธนาคารสามารถเบิกจ่ายให้ได้เฉพาะรายย่อยแต่หากเบิกไปทีละหลายล้านบาท จะต้องนัดรับเงินในวันต่อไปคลังโว 2 แบงก์จ่อช่วยส่วนนายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้มีธนาคารพาณิชย์ 1-2 แห่ง ติดต่อเข้าหารือกับกระทรวงการคลัง ภายใน 1-2 วันนี้ เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือชาวนา ส่วนจะเป็นการปล่อยกู้แบบอินเตอร์แบงก์หรือไม่นั้น คงต้องมีการหารือกันอีกครั้ง สำหรับกรณีที่ธนาคารออมสินปล่อยกู้อินเตอร์แบงก์ให้กับ ธ.ก.ส. ถือเป็นการดำเนินการที่สามารถทำได้ตามปกติของธุรกิจ และธนาคารที่ให้กู้ก็ไม่จำเป็นที่ต้องรับรู้ว่าธนาคารที่กู้เงินไปนั้นใช้ทำอะไร โดยเชื่อว่าการปล่อยกู้ดังกล่าวจะไม่ทำให้เกิดชนวนบานปลายจนเกิดการแห่ถอนเงินอย่างแน่นอน และประชาชนน่าจะเข้าใจฝั่งนายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต ในฐานะกรรมการธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า คณะกรรมการธนาคารมีการประชุมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ยืนยันว่าที่ประชุมไม่มีมติปล่อยกู้ให้กับ ธ.ก.ส. เพื่อใช้ในโครงการจำนำข้าวอย่างแน่นอน ขณะที่การปล่อยกู้ให้โรงสีนั้น ถือเป็นเรื่องปกติที่ต้องจะดำเนินการมาตั้งนานแล้วชี้ออมสินเสี่ยงผิดก.ม.นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการ สมาคมธนาคารไทย กล่าวถึงกรณีที่ธนาคารออมสินปล่อยกู้อินเตอร์แบงก์ ให้ ธ.ก.ส.ว่า สมาคมฯมีความเป็นห่วงกรณีดังกล่าว เนื่อง จากการปล่อยสินเชื่อในครั้งนี้ มีความสุ่มเสี่ยงผิดกฎหมาย เพราะหาก ธ.ก.ส. นำเงินกู้จากรัฐบาลมาให้ชาวนาจะเข้าขั้นผิดกฎหมาย แต่หาก ธ.ก.ส. ปล่อยกู้ให้เอกชน ในการประมูลข้าวในโครงการรับจำนำข้าว และรัฐบาลนำเงินจากการระบายข้าวมาคืนชาวนา จะไม่ผิดหลักกฎหมาย ขณะเดียวกันกรณีดังกล่าวจะมีผลเชิงลบต่อการจัดอันดับเครดิตของธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อด้วย ซึ่งหลักเกณฑ์ในการปล่อยสินเชื่ออินเตอร์แบงก์ จะต้องคำนึงถึงความถูกต้องตามข้อกฎหมาย รวมถึงความชัดเจนและความเสี่ยงที่จะตามมาในการปล่อยสินเชื่อ แต่มองว่าในภาวะที่ไม่ปกตินี้ จึงมีความจำเป็นต้องมีความชัดเจนในเรื่องของข้อกฎหมาย ซึ่งธนาคารมีฝ่ายกฎหมายพิจารณาในเรื่องนี้อยู่แล้ว สมาคมธนาคารจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวธ.ก.ส.หยุดจ่ายจำนำข้าวขณะที่ นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส. เปิดเผยถึงกรณีที่ ธ.ก.ส. กู้เงินอินเตอร์แบงก์จากออมสิน 5,000 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้ในโครงการรับจำข้าวว่า ขณะนี้ ธ.ก.ส. ชะลอการนำเงิน 5,000 ล้านบาท มาจ่ายจำนำข้าว เพราะต้องหารือกับกระทรวงการคลัง ช่วง 1-2 วันนี้ให้ชัดเจนว่า ให้ดำเนินการอย่างไร เนื่องจากมีปัญหาเกิดขึ้นจากความไม่สบายใจของผู้ฝากเงิน เพราะมีผลกระทบเกิดขึ้นหลายด้าน หากเดินหน้าจะรุนแรงเกิดขึ้นอีกหรือไม่ ทั้งนี้หากเกิดการฟ้องร้องเกิดขึ้น ธ.ก.ส. พร้อมชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพราะได้ดำเนินการตามมติ ครม. วันที่ 21 ม.ค. ตามการดำเนินการตามแผนบริหารหนี้สาธาณะที่คณะกรรมการ ธ.ก.ส. ได้พิจารณาเห็นชอบ และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงพิจารณาแล้ว เพราะกระทรวงการคลังมีหน้าที่ในการหาแนว ทางจัดหาเงินทุน จึงใช้แนวทางกู้เงินระยะสั้นเพื่อหาเงินทุนมาจ่ายกับชาวนาไปก่อน โดยยืนยันไม่ผิดกฎหมายแต่เมื่อไม่ชัดเจนจึงต้องชะลอการจ่ายเงินออกไปก่อนอย่างไรก็ตาม ในวันที่ 17 ก.พ. ทาง ธ.ก.ส. มีเงินที่จะจ่ายจำนำข้าวเพียง 3,000 ล้านบาท โดยเป็นเงินเหลือที่ได้จากการระบายข้าวจากสัปดาห์ก่อนและยังจ่ายไม่หมด ซึ่งจะใช้จ่ายให้ชาวนาในช่วงนี้ได้เท่านี้ โดยวิธีการจ่ายเงินจะดูจากใบประทวนที่ค้างอยู่ในระบบซึ่งจะมีรายชื่อขึ้นที่ส่วนกลาง ตามยอดเกษตรกรที่ลงทะเบียนไว้ โดยธนาคารจะใช้วิธีการโอนเงินเข้าบัญชีแล้วโทรฯแจ้งเกษตรกร ทั้งนี้คาดว่ากระทรวงพาณิชย์ จะเร่งระบายข้าวและส่งเงินมาชำระคืนโดยเฉลี่ยเดือนละ 8,000–10,000 ล้านบาทสำหรับการกู้เงินกับออมสินนั้น กระทรวงการคลังเป็นผู้ประสานให้มีการกู้ยืมระหว่างธนาคารเป็นการชั่วคราวเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกร ซึ่งยืนยันว่าการดำเนินการดังกล่าวอยู่ภายใต้มติคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. เมื่อ 21 ม.ค. ที่ให้ขยายวงเงินกู้รับจำนำปีนี้อีก 130,000 ล้านบาท เมื่อรวมวงเงินเก่าอีก 500,000 ล้านบาท ก็จะเพิ่มเป็น 630,000 ล้านบาท แต่ต้องลดวงเงินให้เหลือตามกรอบ 500,000 ล้านบาท ภายใน 31 ธ.ค.นี้ ทั้งนี้ที่ผ่านมา ธ.ก.ส. ทยอยจ่ายเงินให้เกษตรกรไปแล้ว 62,900 ล้านบาท คิดเป็นปริมาณข้าวเปลือกจำนวน 3.91 ล้านตัน เกษตรกร 512,000 ราย คงเหลือเงินที่ต้องจ่ายประมาณ 116,000 ล้านบาท ปริมาณข้าวประมาณ 6.7 ล้านตัน เกษตรกรประมาณ 9 แสนราย-1 ล้านราย

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แห่ถอน3หมื่นล้านออมสินป่วน พิษปล่อยกู้ธกส.ช่วยชาวนา

Posts related

 














การเมือง-คิวอี…หุ้นระส่ำ ตปท.ทิ้งฉุดมาร์เก็ตแคปวูบ

ณ วันนี้ เชื่อว่าหลายคนคงเกิดคำถามในใจต่าง ๆ นานา ว่าปัญหาการเมืองไทยจะคลำหาทางออกได้เมื่อไหร่ ? และจะลงเอยอย่างไร? หลังจากที่สถานการณ์การชุมนุมเริ่มปะทุขึ้นเมื่อวันที่ 31 ต.ค.56 และได้ยืดเยื้อมาถึงปัจจุบันนี้ จนกลายเป็นแรงถ่วงหลักที่ขย่มเศรษฐกิจไทย และเขย่าขวัญนักลงทุนในตลาดหุ้นไทยให้หนีกระเจิง  หากย้อนไปดูจุดเริ่มต้นของการชุมนุมทางการเมือง เมื่อปลายปีที่ผ่านมาจวบจนถึงทุกวันนี้ จะพบว่า… จุดยืนหรือเป้าหมายเปลี่ยนแปลงไปและทวีความเข้มข้น ร้อนระอุขึ้นเรื่อย ๆ เพราะแรกเริ่มเดิมทีเป็นเพียงการนัดรวมพลังกันบริเวณสถานีรถไฟสามเสน เพื่อชุมนุมต่อต้านร่างกฎหมาย พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ผ่านการเห็นชอบจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 3 วาระตั้งแต่เวลาประมาณตี 4 ครึ่ง ของเช้าตรู่วันที่ 1 พ.ย.56 จนถูกเรียกว่าเป็น พ.ร.บ.ลักหลับคนไทยทั้งประเทศ จากวันนั้นเป็นต้นมา…กลุ่มผู้ชุมนุมได้ย้ายไปปักหลักที่ถนนราชดำเนินและพยายามกดดันรัฐบาลทุกวิถีทาง ทั้งการนัดชุมนุมใหญ่ และแสดงพลังต่อต้านด้วยการ “เป่านกหวีด” ตลอดจนการตระเวนปิดหน่วยงานราชการ เพื่อไม่ให้ข้าราชการเข้าไปทำงานได้ พร้อมเปลี่ยนเป้าหมายการชุมนุมเป็นขับไล่รัฐบาล และขจัดระบอบทักษิณออกจากประเทศไทย จนกระทั่งต้องมีกาวใจมาประสานโดยนัดหารือแบบเฉพาะกิจ ระหว่างแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมอย่าง “สุเทพ เทือกสุบรรณ” และ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี เพื่อหาทางออกให้ประเทศไทย แต่แล้วก็คว้าน้ำเหลว เพราะต่างฝ่ายต่างยืนยันจุดยืนของตัวเองและเมื่อถึงจุดหนึ่ง นายกรัฐมนตรีก็ยอมถอย ด้วยการประกาศยุบ สภา !!! แต่ยังคงนั่งเก้าอี้รักษาการนายกรัฐมนตรีต่อไปรวมถึงมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น … ทว่ากลับไม่ช่วยให้ความวุ่นวายทางการเมืองไทยลดน้อยลงแถมยังมีความรุนแรงปะทุขึ้นเป็นระยะ และลากยาวมาถึงทุกวันนี้ ตลอดระยะเวลาเกือบ 3 เดือนครึ่ง ปัจจัยทางการเมืองถือเป็นตัวแปรหลักที่คอยถ่วงเศรษฐกิจไทย เห็นได้จากการที่หน่วยงานได้ยกขบวนออกมาหั่นเป้าหมายอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ขณะเดียวกันยังทำให้นักลงทุนต่างชาติไม่มั่นใจและเริ่มถอนการลงทุนออกจากตลาดหุ้นไทยซึ่งเห็นชัดเจนในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 56 ที่ต่างชาติขายสุทธิถึง 90,249.15 ล้านบาท โดยถือเป็นการขายที่กระจุกตัวมากเมื่อเทียบยอดขายทั้งปี 56 ที่ 193,911 ล้านบาท  เมื่อประเดิมต้นปีม้าต่างชาติยังคงคอนเซปต์เดิม เพราะนับจากเกิดปัญหาการเมืองตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค. 56-11 ก.พ. 57 พบว่า ต่างชาติกระหน่ำทิ้งหุ้นไทยถึง 119,815.39 ล้านบาท สวนทางกับนักลงทุนกลุ่มอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นรายย่อยที่ขอแปลงร่างเป็นขาช้อปถึง 80,677.96 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 37,688.26 ล้านบาท ขณะที่บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ซื้อสุทธิ 1,449.17 ล้านบาท  แรงเทกระจาดของนักลงทุนต่างชาติที่ทิ้งหุ้นไทยออกมาไม่ขาดสายได้ฉุดให้มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลงต่อเนื่อง จากวันที่ 31 ต.ค.56 อยู่ที่ 37,547.44 ล้านบาท แต่ปัจจุบันเหลือวันละ 24,481.06 ล้านบาท นอกจากนี้ยังทำให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ลดลงถึง 1.09 ล้านล้านบาท จาก 12.59 ล้านล้านบาท เหลือ 11.50 ล้านล้านบาท โดยกลุ่มหุ้นที่ถูกทิ้งมากที่สุด คือ  เทคโนโลยี เพราะมีดัชนีราคาหุ้นปรับลดลงถึง 13.67%, รองลงมากลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ลดลง 11.66% ตามด้วย บริการลดลง 10.61%, ธุรกิจการเงิน ธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ ลดลง 9.49%, ทรัพยากร พลังงานและสาธารณูปโภค ลดลง 7.79%, สินค้าอุตสาหกรรมและยานยนต์ ลดลง 6.94%, สินค้าอุปโภคบริโภคหรือแฟชั่นลดลง 0.97%  ขณะที่หมวดอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารหรือธุรกิจเกษตร ดัชนีราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้น 2.83% อย่างไรก็ตาม การที่ดัชนีหุ้นไทยปรับลดลงและมูลค่าการซื้อขายที่เบาบางเมื่อเทียบกับปี 56 นั้น ไม่ได้เกิดจากแรงกดดันจากประเด็นการเมืองในประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ยังได้รับผลกระทบจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ  (เฟด) ประกาศทยอยลดขนาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (คิวอี) เดือนละ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ดีเดย์ไปเมื่อเดือนม.ค. และต่อเนื่องถึงเดือนก.พ. 57 ซึ่งหมายความว่าเงินจำนวนมหาศาลที่สหรัฐเคยอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเดือนละ 85,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็ย่อมลดลงไปเรื่อย ๆ ทำให้เงินทุนร้อนที่เคยหาแหล่งพักพิงทางการลงทุน แถมยังให้กำไรงามอย่างตลาดหุ้นไทยและตลาดอื่นในเอเชียต้องเผชิญกับชะตากรรมที่สภาพคล่องในระบบหายไป จากการที่สหรัฐเริ่มดึงเงินกลับ แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญในแวดวงตลาดหุ้นไทยต่างมองว่า รอบนี้นักลงทุนต่างชาติไม่น่าจะเทกระจาดหุ้นไทยแบบระเนนระนาดเพราะที่ผ่านมาได้กระหน่ำขายออกมาอย่างหนักแล้ว ทำให้ยังเหลือช่องว่างในการขายอีกไม่มาก และจากข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา พบว่ายอดซื้อสะสมของต่างชาติตั้งแต่ปี 52-55 ที่มีอยู่ 191,223.70  ล้านบาท ขณะนี้ได้ขายออกมาหมดแล้ว ดังนั้นการที่บริษัทจดทะเบียนไทยยังมีความสามารถทำกำไรได้ดีรวมถึงเมื่อพายุต่าง ๆ เริ่มสงบลงต่างชาติน่าจะสนใจกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง  เวลานี้ตลาดหุ้นไทย ต้องสู้ศึกกับมรสุมทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการเมืองที่ไร้ทางออก หรือการถอนมาตรการคิวอีของสหรัฐจนทำให้ต่างชาติเผ่นออกจากตลาดหุ้นไทย ทิศทางจากนี้ไปจะเป็นอย่างไรคงไม่มีใครบอกได้ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับ “สติ” เท่านั้นว่าจะเป็นแมงเม่าหรือนักลงทุน!. ขวัญหทัย แนวหล้า

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : การเมือง-คิวอี…หุ้นระส่ำ ตปท.ทิ้งฉุดมาร์เก็ตแคปวูบ

สรรพสามิตของบจ่ายคืนรถคันแรก

นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรมฯได้เสนอขอเงินจากงบประมาณปี 58 ที่อยู่ระหว่างการจัดทำอีก 25,000 ล้านบาท เพื่อจ่ายคืนให้กับผู้ที่ใช้สิทธิรถคันแรก โดยกรมฯได้ทยอยจ่ายคืนเงินผู้ใช้สิทธิรถคันแรกไปแล้วกว่า 800,000 ราย เป็นเงินกว่า 60,000 ล้านบาท จากผู้ทึ่ใช้สิทธิทั้งหมด 1.2 ล้านราย เป็นยอดเงินที่ต้องจ่ายคืน 90,000 ล้านบาท ทั้งนี้ การจ่ายคืนเงินให้กับผู้ที่ได้รับสิทธิ์ ในปี 58 คาดว่าจะเป็นปีสุดท้าย แม้ว่าเดิมมาตรการนี้ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขเวลารับรถภายในเมื่อไรก็ตาม เพราะตอนนี้มีผู้ที่ยังไม่มาใช้สิทธิ์รถคันแรก 1.2 แสนราย ทางกรมสรรพสามิตคาดว่าจะเป็นผู้สละสิทธิเกือบทั้งหมด จึงได้ประสานกับผู้ประกอบการรถยนต์ให้ดำเนินการเร่งผู้ซื้อรถมารับรถยนต์ภายในเวลาที่กำหนด หากไม่มาก็ถือว่าสละสิทธิ์ อย่างไรก็ตาม จากการหารือกับผู้ประกอบการรถยนต์เบื้องต้น พบว่า ผู้ประกอบการบางรายได้กำหนดเงื่อนไขไว้ในใบจองว่า ต้องมารับรถภายในกี่วันหลังจากที่ได้รับแจง ทำให้การยืนยันรับรถจะไม่มีปัญหา แต่บางรายไม่ได้มีการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวไว้ การไปกำหนดให้มารับรถภายในกี่วันจึงอาจเป็นการผิดสัญญาและถูกฟ้องรองในภายหลังได้ ซึ่งอยู่ระหว่างการหารือเพื่อกำหนดเงื่อนไขการรับรถไม่ให้มีปัญหา ขณะที่ การของบประมาณปี 58 ได้รวมยอดของรถที่ไม่มาใช้สิทธิ 120,000 รายไว้ด้วย หากผู้ที่ได้สิทธิกลุ่มนี้สละสิทธิ์ทั้งหมด ก็จะทำให้ประหยัดเงินงบประมาณไปประมาณ 10,000 ล้านบาท ส่วนผู้ที่ใช้สิทธิโครงการรถคันแรก มีผู้ได้เงินและถือครองรถยนต์ไม่ถึง 5 ปี ตามที่กำหนดไว้มีจำนวน 400-500 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ได้คืนเงินที่ได้รับไปให้กับกรมสรรพสามิต มีอยู่เพราะ 4-5 รายเท่านั้น ที่กระทรวงการคลังต้องดำเนินการฟ้องเรียกเงินคืน นายสมชาย กล่าวว่า การเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตในรอบ 4 เดือนของปีงบประมาณ 57 ที่ผ่านมา มีแนวโน้มการเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายทุกเดือน ทำให้ยอดรวมต่ำกว่าเป้าหมาย 5,000 ล้านบาท เนื่องจากการเก็บภาษีรถยนต์ได้ต่ำกว่าเป้าหมายจำนวนมาก ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการรถคันแรก ทำให้ซื้อรถไปก่อนหน้าจำนวนมาก และอีกส่วนหนึ่งมาจากปัญหาเศรษฐกิจทำให้กำลังซื้อน้อยลง สำหรับเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ของกรมทั้งปี 57 มีจำนวน 460,000 ล้านบาท หากตัดส่วนที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ทางคลังได้ลดเป้าหมายให้กรมเหลือ 430,000 ล้านบาท ซึ่งหากปัญหาการเมืองจบได้เร็วก็จะทำให้การเก็บรายได้ของกรมทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สรรพสามิตของบจ่ายคืนรถคันแรก

Page 1032 of 1552:« First« 1029 1030 1031 1032 1033 1034 1035 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file