shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

สองแถวขอขึ้นค่ารถ 3 บาท

นายฉัตรชัย ภู่อารีย์ ประธานชมรมผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทางหมวด 4เอกชน กรุงเทพมหานคร (รถสองแถว) เปิดเผยว่า สัปดาห์นี้ตัวแทนชมรมฯ จะเข้าพบเพื่อยื่นหนังสือต่อ พอ.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม ที่กระทรวงคมนาคม เพื่อขอให้เข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการรถสองแถว และขอปรับขึ้นค่าโดยสารรถร้อน 3 บาท หรือขึ้นจาก 7 บาท เป็น 10 บาท ส่วนรถปรับอากาศขอเพิ่มอีก 1บาท ตามระยะทาง จากเริ่มต้น 12 บาท เป็น 13 บาท เพื่อลดภาระขาดทุน เพราะขณะนี้ผู้ประกอบการรถสองแถวที่วิ่งให้บริการในกทม.กว่า 50% หรือประมาณ 2,000 คัน จากทั้งหมด 4000 คัน ตัดสินใจเลิกกิจการไปแล้วทั้งนี้สาเหตุทำให้ผู้ประกอบการรถสองแถวประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก มาจากนโยบายการจัดระเบียบรถตู้และมอเตอร์ไซด์ของคณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ(คสช.) ที่ทำให้จำนวนรถจักรยานยนต์รับจ้างเข้ามาสู่ระบบจำนวนมากเกินไป จนแย่งลูกค้ารถสองแถวที่วิ่งอยู่ภายในซอยต่างๆ นอกจากนี้รถสองแถวยังได้รับผลกระทบ จากมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.)ที่อนุมัติปรับขึ้นราคาแอลพีจี 0.62 บาทต่อกก. และเอ็นจีวีอีก 1 บาทต่อกก. เมื่อวันที่ 1ต.ค. ที่ผ่านมา เนื่องจากส่งผลให้ต้นทุนค่าโดยสารรถสองแถวปรับเพิ่มทันที 30% โดยปัจจุบันรถสองแถวประมาณ 40% มีการใช้เชื้อเพลิงเป็นก๊าซ โดยแบ่งออกเป็น แอลพีจี10% และเอ็นจีวี30% ส่วนอีก 60% ที่เหลือใช้น้ำมันเชื้อเพลิงประเภทดีเซล

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สองแถวขอขึ้นค่ารถ 3 บาท

Posts related

 














วัดกึ๋นรัฐบาลอัดแผนกระตุ้นศก. หนีไม่พ้นนโยบาย ‘ประชานิยม’

คงไม่ใช่เรื่องง่าย สำหรับรัฐบาล “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ที่ต้องการเข็นเศรษฐกิจไทยให้โตได้ตามเป้าหมายที่ 2% ในปี 57 นี้ แม้จะออกมาตรการมากระตุ้น แต่ส่วนใหญ่ได้เน้นในเรื่องของการใช้จ่ายงบประมาณเป็นหลักจึงอาจไม่เพียงพอ เพราะสิ่งที่สำคัญคือ การส่งออกยังป่วยหนัก ที่เชื่อว่าต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะฟื้นไข้กลับมาดีกว่าเหมือนเดิม ขณะที่กำลังซื้อในประเทศก็อยู่ในอาการไม่น่าไว้ใจ เพราะภาระหนี้สินพุ่งกระฉูดจากการหลงใหลได้ปลื้มกับนโยบายประชานิยม… ที่บรรดานักการเมืองของไทยใส่พานถวายให้

ดังนั้นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น ที่รัฐบาลหวังว่า จะมีเงินอัดเข้าในระบบเศรษฐกิจกว่า 3.6 แสนล้านบาท ก่อนสิ้นปี ผ่าน 6 มาตรการ ทั้งมาตรการหลัก และมาตรการย่อย อาจช่วยอะไรได้ไม่มากนัก และบางมาตรการอย่างการจ่ายเงินให้ชาวนาไร่ละ 1,000 บาท โดยใช้งบประมาณ 40,000 ล้านบาท ยังแคลงใจใครหลายคน เพราะยังมีกลิ่นประชานิยม และไม่ได้ต่างอะไรกับการออก “เช็คช่วยชาติ” แจกเงินให้กับประชาชนเมื่อครั้งปี 52ลุ้นใช้งบตามเป้าหมาย

สิ่งที่ “คุณชายอุ๋ย-ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล” รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ยืนยันหนักแน่นว่า มาตรการกระตุ้นครั้งนี้ ไม่ได้ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ก็ไม่รู้ว่าจะเป็นจริงดังที่หวังหรือไม่ เพราะถ้าส่องดูแต่ละมาตรการ โดยเฉพาะมาตรการแรกที่เน้นการกระตุ้นการจ้างงาน ผ่าน 5 มาตรการย่อย ทั้งการใช้จ่ายงบลงทุนที่ค้างอยู่ในงบประมาณปี57กว่า 147,050ล้านบาท การใช้จ่ายงบลงทุนปี58ที่มีอยู่ประมาณ 419,000ล้านบาท การใช้จ่ายงบกลางที่กันไว้เบิกเหลื่อมปี55-57และงบโครงการไทยเข้มแข็ง รวม 23,000ล้านบาททบทวนเงินกันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี ตั้งแต่ปี48-56 วงเงิน 24,892ล้านบาท และเร่งรัดการอนุมัติคำขอส่งเสริมการลงทุนของนักลงทุน ที่เสนอผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งล่าสุดมีคำขอค้างอยู่380ราย มีวงเงินลงทุนรวมมากถึง 429,208ล้านบาททีเดียว

มาตรการทั้งหมด…อาจทำได้เพียงบางส่วน เช่น การใช้งบประมาณค้างท่อปี 57 ที่เร่งให้ทุกหน่วยงานไปทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างในโครงการเดิมที่ใช้งบไม่ทันให้เสร็จภายในสิ้นปี ที่อาจมีเงินเข้ามาเต็มจำนวน โดยเรื่องนี้ “คุณชายอุ๋ย” รับว่า ขอแค่ใช้จ่ายแค่ 20% ในส่วนนี้ได้ก็พอใจแล้ว เช่นเดียวกับงบลงทุนใหม่ของปีงบ 58 ที่หวังว่าหากทำสำเร็จได้ 30-40% ก็น่าพอใจเช่นกัน เพราะขั้นตอนจัดซื้อจัดจ้างต้องใช้ บางโครงการจะลงนามดื้อ ๆ ให้ทันสิ้นปีคงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นเงินที่เข้ามาคงมีไม่มากก่อสร้างเล็กช่วยได้จริง

ส่วนมาตรการที่เห็นว่า พอจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีหน่อย คงเป็นการใช้เงินที่ค้างอยู่ 23,000 ล้านบาท จากเงิน 2 ก้อน คือ งบกลาง7,000-8,000ล้านบาท และงบไทยเข้มแข็ง 15,000ล้านบาท เพราะงบในส่วนนี้ทั้งหมด จะเน้นลงทุนในโครงการขนาดเล็ก ใช้เวลาจัดซื้อจัดจ้างสั้น ๆ เพียงเดือนเศษเท่านั้น และล่าสุดหลายโครงการต่างมีความพร้อมแล้ว แต่เสนอเข้าใช้งบปี 58 ไม่ทัน จึงต้องเปลี่ยนมาใช้เงินก้อนนี้แทน

ที่สำคัญงานทั้งหมดได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าจะทำอะไรบ้าง? โดยเน้นงานซ่อมแซมของกระทรวงศึกษาธิการเป็นหลัก ทั้งการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน และจัดหาครุภัณฑ์โรงเรียน 6,850แห่ง สร้างอาคารเรียนใหม่ระดับประถมและมัธยม 1,084หลัง และห้องสุขาโรงเรียน1,000 หลัง วงเงินรวม8,844ล้านบาท, ปรับปรุงอาคารเรียน และสาธารณูปโภคสถานศึกษาอาชีวะ 412แห่ง วงเงิน2,526 ล้านบาท, ปรับปรุงอาคาร และจัดหาครุภัณฑ์มหาวิทยาลัยของรัฐ วงเงิน1,827ล้านบาท, ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารสำนักงาน บ้านพัก ระบบชลประทานและขุดลอกด้วยแรงงานคน วงเงิน 2,442ล้านบาท

ขณะเดียวกันยังมีปรับปรุงซ่อมแซมและก่อสร้างอาคารบ้านพักของกระทรวงกลาโหม วงเงิน736ล้านบาท ,ก่อสร้างบ้านพักแพทย์ พยาบาล และจัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์ วงเงิน 2,724ล้านบาท และงานบำรุงรักษาทางและบูรณะทางสายหลักที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม วงเงิน3,898ล้านบาท โดยงานทั้งหมดแน่นอนว่า จำนวนเงินจะกระจายลงไปในท้องถิ่น และช่วยกระตุ้นการสร้างงานให้เกิดขึ้นตามที่รัฐบาลหวังไว้แจกเงินชาวนา

อีกมาตรการที่เรียกเสียงฮือ หนีไม่พ้นการดูแลชาวนา โดยช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้กับชาวนาที่กำลังจะประสบปัญหาราคาข้าวตกต่ำ เพราะผลผลิตข้าวนาปีในปลายนี้จะออกมาสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก มาตรการนี้รัฐบาลได้อัดงบประมาณ 40,000ล้านบาท ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)ที่มีบัญชีของชาวนารวม3.4ล้านครัวเรือน โดยจะควักเงินให้ไร่ละ1,000บาท จำกัดคนละไม่เกิน15ไร่ หรือรายละไม่เกิน15,000บาท เข้าบัญชีโดยตรง ล่าสุดมีชาวนาลงทะเบียนขอรับเงินแล้วเกือบ 3 ล้านราย ซึ่ง ธ.ก.ส.เอง จะตรวจสอบข้อมูล ก่อนโอนเงินเข้าบัญชีทันทีไม่เกิน 3 วัน

แต่…ดูเหมือนว่า การช่วยเหลือชาวนาครั้งนี้จะสามารถช่วยกลุ่มคนที่จนที่สุดในประเทศได้อย่างแท้จริง ตามที่รัฐบาลคิดฝันไว้ แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง ก็เป็นเรื่องน่าคิด! เพราะที่ผ่านมาการแก้ปัญหาเรื่องราคาสินค้าเกษตรหลายชนิด โดยเฉพาะข้าว ไม่ได้สร้างความยั่งยืนอย่างแท้จริง ซึ่งแนวทางการแจกเงินชาวนาครั้งนี้ จะทำอย่างไรก็หนีไม่พ้นการวิพากษ์วิจารณ์ที่ว่าเป็น “ประชานิยม” แม้ที่ผ่านมารัฐบาลได้ประกาศชัดเจนว่า… จะไม่มีการแจกเงิน ไม่มีประชานิยม ซึ่งต่างจากข้อเท็จจริงที่ออกมา แม้หัวหน้าทีมเศรษฐกิจยืนยันว่าเป็นการทำเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็ตาม แต่การ “แจกเงิน” ก็หนีไม่พ้นสิ่งที่รัฐบาลก่อน ๆ ที่มาจากการเลือกตั้ง ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้เพื่อเรียกคะแนนเสียง ดังนั้น…จะให้มองอย่างไรก็หนีไม่ออก ที่สำคัญยังไม่สามารถก้าวข้ามการเป็นประชานิยมช่วยให้ถูกกลุ่ม

ขณะเดียวกันการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาให้กับรากหญ้า โดยหวังให้ทุกคนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีเงินจับจ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ให้เกิดขึ้นจริง รัฐคงต้องศึกษาข้อมูลจริงอย่างรอบด้านว่า ช่วยเหลือถูกกลุ่มหรือไม่ เพราะมีข้อมูลน่าคิดอยู่อย่างหนึ่ง กับความเชื่อเดิมๆ ที่ทุกคนคิดกันว่า กลุ่มคนที่จนที่สุดคือ “ชาวนา” แต่ข้อมูลล่าสุด…ของ สถาบันอนาคตไทยศึกษา ที่ศึกษาเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำของไทย พบว่า จากครัวเรือนทั้งหมดของไทย 22 ล้านครัวเรือน มีกลุ่มครัวเรือนที่จนที่สุดเป็นคนชราเป็นหัวหน้าครอบครัว มีรายได้หลักมาจากเงินที่ลูกหลานส่งมาให้ส่วนครัวเรือนที่เป็นเกษตรกรเป็นครัวเรือนที่จนรองลงมา ดังนั้น แนวทางการช่วยเหลือกลุ่มที่รัฐคิดว่า ช่วยคนจนจริงควรพิจารณาข้อมูลให้รอบด้าน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหมักหมมจนแก้ไขอะไรไม่ได้

นอกจากนี้การออกมาตรการช่วยเหลือชาวนา ที่รัฐเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุด อาจทำให้คนบางกลุ่มน้อยใจ โดยเฉพาะกลุ่มข้าราชการชั้นผู้น้อย เพราะเดิม “บิ๊กตู่-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ได้บอกชัดว่า จะพิจารณาเรื่องการปรับขึ้นเงินเดือน แต่เมื่อเอาเข้าจริง… กลับไม่สามารถทำได้ทันกับงบประมาณปีแรก หรือปี 58 ที่รัฐบาลชุดนี้ได้เข้าบริหารประเทศอุดช่องทุจริตโครงการรัฐ

ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ เรื่องป้องกันการทุจริต โดยเฉพาะในโครงการลงทุนมากมายของรัฐบาลและของรัฐวิสาหกิจ ที่เตรียมลงมือในช่วงปลายปีนี้ ล่าสุด นายกฯ ประยุทธ์ ได้สั่งเข้มงวดเรื่องดังกล่าวเป็นสำคัญ โดยมอบหมายให้รองนายกฯ ด้านเศรษฐกิจ เข้ามาดูแล และตั้งคณะกรรมการขึ้นในแต่ละจังหวัด ประกอบได้ด้วยหน่วยงานที่มีส่วนรับผิดชอบ เพื่อออกสุ่มตรวจโครงการที่รัฐลงทุน หากพบโครงการใดเกิดการทุจริต ก็คาดโทษผู้รับผิดชอบโครงการจะต้องถูกลงโทษทันที

การงัดแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล แม้เป็นความตั้งใจดี ที่ช่วยผลักดันให้ประเทศเดินหน้าต่อไปให้ได้ แต่ทั้งหมดจะเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด เวลา…เท่านั้น ที่เป็นเครื่องพิสูจน์!.วสวัตติ์ โอดทวี

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : วัดกึ๋นรัฐบาลอัดแผนกระตุ้นศก. หนีไม่พ้นนโยบาย ‘ประชานิยม’

คุมอี-คอมเมิร์ชกันยื่นภาษีผิด

นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ช่วงปลายเดือน ต.ค.นี้ กรมฯ จะเรียกผู้ประกอบการที่ทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทุกช่องทาง (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) หรือ อี-คอมเมิร์ช กว่า 500,000 ราย เข้าหารือและรับฟังข้อมูลในการยื่นเสียภาษี เพราะหากยื่นเสียภาษีไม่ถูกต้อง อาจสร้างความเสียหายต่อธุรกิจได้ ถือเป็นการป้องกันการผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นให้กับผู้ประกอบการ โดยกรมฯจะให้ความรู้เพื่อให้เข้าใจว่ามีภาษีในส่วนใดบ้างที่เกี่ยวข้องและเข้าข่ายที่ต้องเสียภาษีภายหลังที่ดำเนินธุรกิจแล้วทั้งนี้ ผู้ประกอบการ อี-คอมเมิร์ช จะเข้าข่ายการเสียภาษีของกรมสรรพากร แบ่งเป็น ภาษีบุคคลธรรมดา และหากจัดตั้งเป็นบริษัทก็ต้องเสียภาษีนิติบุคคล เมื่อมีรายได้ตามที่กรมฯกำหนดไว้ โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) หากผู้ประกอบการมีการซื้อขายและมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องเข้ามาจดทะเบียนเสียภาษีแวต อีกด้วย โดยยืนยันว่าการเรียกเข้ามารับฟังข้อมูลในครั้งนี้ เพื่อต้องการให้ผู้ประกอบการรับทราบถึงข้อมูลการเสียภาษีที่ถูกต้อง เพราะหากถึงเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้แต่ไม่เสียภาษี หรือเสียภาษีไม่ถูกต้องก็จะได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งไม่ได้เป็นผลดีต่อการดำเนินธุรกิจ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คุมอี-คอมเมิร์ชกันยื่นภาษีผิด

Page 108 of 1552:« First« 105 106 107 108 109 110 111 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file