shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

ลุ้นชี้ชะตาธพว.-ไอแบงก์ ขายหนี้-ควบรวม-ยุบทิ้ง!

กลายเป็นข้อถกเถียงและถูกหยิบยกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์กันอีกครั้ง… กับสารพัดปัญหาในธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ เอสเอ็มอีแบงก์ และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) หรือไอแบงก์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ปล่อยสินเชื่อเฉพาะกลุ่ม หวังช่วยผู้ประกอบการให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น    แต่ขณะนี้…วัตถุประสงค์ที่รัฐตั้งไว้ ดูเหมือนว่าทั้ง 2 แบงก์ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อีกต่อไป เพราะเพียงแค่ลำพังจะดำเนินกิจการให้เดินหน้าและมีกำไร ก็ยากเต็มทีหรือไม่ก็ทำไม่ได้ด้วยซ้ำไป!  ด้วยเพราะการบริหารงานของทั้ง 2 แบงก์ ในอดีต เป็นการบริหารงานที่ขาดความเข้าใจและความระมัดระวังรวมทั้ง ถูกใช้เป็นเครื่องมือจากเหล่าผู้มีอำนาจ โดยเฉพาะนักการเมือง ที่ต้องการเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง รวมไปถึงการสนองตอบนโยบายประชานิยมของรัฐบาลในแต่ละยุค ส่งผลให้การดำเนินงานไม่มีประสิทธิภาพและเกิดผลขาดทุน สุดท้ายต้องแบกรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอล หลายหมื่นล้านบาทในแต่ละแห่ง  รอ รมว.คลังชี้ขาด    ปัญหานี้ถือเป็นโจทย์ใหญ่ที่ “สมหมาย ภาษี” รมว.คลัง ต้องเข้ามาตัดสินชี้เป็นชี้ตายถึงสถานะของทั้ง 2 แบงก์ ให้เด็ดขาด ว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร เพราะทั้ง 2 แบงก์ต้องส่งแผนฟื้นฟูให้คณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ด พิจารณาใหม่ ภายในเดือน พ.ย.นี้ มีเงื่อนไขว่าทั้งสองแห่งต้องจ้างบริษัทเอกชนที่ได้การรับรองตามมาตรฐานของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เข้าทำการตรวจสอบฐานะทางการเงินใหม่ เพื่อให้ทั้ง 2 แบงก์ รับรู้รายได้จากตัวเลขจริงให้ง่ายต่อการแก้ไข  เจ๊งเพราะนักการเมือง  ต้องยอมรับว่าปัญหาที่หมักหมมมานานของแบงก์ทั้ง 2 แห่งนี้ เกิดจากการทุจริตช่วยพวกพ้อง จนทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เห็นได้จากจำนวนเอ็นพีแอลก้อนมหึมา รวมไปถึงผลขาดทุนสะสมสูง ซึ่งตัว “ขุนคลัง” ได้ยืนยันว่าไม่มีการนำเอสเอ็มอีแบงก์ ไปควบรวมกับธนาคารออมสิน แต่ต้องเดินหน้าผลักดันให้เอสเอ็มอีแบงก์อยู่รอดและเดินหน้าต่อไปให้ได้ เพราะเป็นสถาบันการเงินที่สำคัญกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเป็นแหล่งเงินทุนช่วยเหลือเอสเอ็มอี ขณะที่กรณีของไอแบงก์ ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนในขณะนี้ และทุกฝ่ายกำลังพิจารณาว่าควรยุบทิ้งหรือไม่?  เล็งขายหนี้ทิ้ง 2 หมื่นล.  สถานะเอสเอ็มอีแบงก์ มีหนี้เสียไม่ต่ำกว่า 35,000 ล้านบาท หรืออยู่ที่ระดับไม่น้อยกว่า 38-40% ของพอร์ตสินเชื่อคงค้างที่หดตัวจาก 96,000 ล้านบาท เหลือ 88,000 ล้านบาท โดยได้ส่งแผนฟื้นฟูให้กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว ที่มีแนวทางแก้ไขเอ็นพีแอล แบ่งเป็นการเตรียมขายหนี้ลูกหนี้ ที่ไม่ทำกิจการแล้วคิดเป็นมูลหนี้ 20,000 ล้านบาท ด้วยการขายหลักประกันออกไป ที่เหลือใช้วิธีการปรับโครงสร้างหนี้ การทวงหนี้รายย่อยก็จะใช้วิธีการจ้างบริษัทเอกชน   ทั้งนี้ลูกหนี้เอ็นพีแอล ที่เตรียมขาย 20,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างแยกสถานะลูกหนี้ ถ้าลูกหนี้รายใดที่มีหลักประกัน ต้องนำหลักประกันออกขาย ส่วนลูกหนี้ที่เป็นตามสินเชื่อนโยบายภาครัฐ หรือพีเอสเอ ที่มีอยู่ 10,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างพิจารณาว่ามีโครงการใดที่แยกบัญชีพีเอสเอไว้ ก็จะทำเรื่องขอเงินชดเชยต่อไป เช่น โครงการปล่อยกู้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยการเมือง กรณี เหตุการณ์ราชประสงค์ อุทกภัยขนาดใหญ่ ส่วนสินเชื่อนโยบายรัฐที่ไม่ได้รับการชดเชย ได้แก่ สินเชื่อในโครงการไทยเข้มแข็ง, สินเชื่อชะลอการเลิกจ้าง  ไอแบงก์ขั้นโคม่า  ขณะที่สถานะของไอแบงก์ กำลังอยู่ในขั้นโคม่า เพราะเดือน ส.ค. 57 ปรากฏว่า มีลูกหนี้ตกชั้นถึง 7,000 ล้านบาท ทำให้ยอดหนี้เสียเพิ่มขึ้นเป็น 42,000 ล้านบาท หรือเป็น 38% ของสินเชื่อคงค้างที่ 110,000 ล้านบาท และหากยังปล่อยโดยไม่ดำเนินการใด ๆ อาจทำให้หนี้เสียเพิ่มเป็น 50,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 50% ของยอดสินเชื่อคงค้างในช่วงสิ้นปีนี้ ที่สำคัญหากถึงขั้นร้ายแรง ยอดหนี้เสียอาจเพิ่มเป็น 80% หากพบว่ามีลูกหนี้รายใหญ่เบี้ยวการชำระหนี้คืน  ร้องนายกฯเร่งแก้  ล่าสุด! สำนักจุฬาราชมนตรี ได้ทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการไอแบงก์ เพื่อขอให้ทบทวนแผนการฟื้นฟูอย่างเข้มงวด เพราะการทำงานกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ผลประกอบการมีปัญหาหนี้เสียเรื้อรัง เป็นที่น่าผิดหวังสำหรับชาวมุสลิมในไทย และไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้ชาวมุสลิมได้ทุกเรื่อง ทั้งเรื่องความมั่นใจในการดำเนินธุรกิจตามหลักศาสนาอิสลาม จึงแนะนำให้เน้นหลักการบริหารอย่างมีคุณธรรมตามหลักศาสนาอิสลาม  สศค.ย้ำยังจำเป็น  อย่างไรก็ตามในแง่ของการกำกับดูแลอย่าง สำนักงานเศรษฐกิจการคลังหรือ สศค. ยังเห็นว่า แบงก์รัฐ ยังมีความจำเป็นต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเอสเอ็มอีให้เข้าถึงประชาชน และการดูแลชาวอิสลาม ซึ่งการแก้ปัญหาแบงก์รัฐแต่ละแห่งที่มีปัญหา ต้องทบทวนพันธกิจแต่ละแห่งใหม่ ต้องกำหนดกรอบการทำธุรกิจให้ดูแลเฉพาะลูกค้าอิสลามเท่านั้น ที่ผ่านมากลับกลายเป็นว่าไปขยายสินเชื่อเกินขนาด ทั้งที่ไม่มีความพร้อม ทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียจำนวนมาก แต่ทั้งหมดนี้ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาล    เบื้องต้น สศค.มีแนวคิดว่า อาจต้องตั้งคณะกรรมการ ที่มีตัวแทนจากคนนอกและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อเข้ามาตรวจสอบและกำกับดูแลแบงก์รัฐเอง จากเดิมที่ผ่านมาจะให้ ธปท.ทำหน้าที่ตรวจสอบและรายงานมาให้ทราบเท่านั้น ซึ่งวิธีนี้อาจช่วยให้การดำเนินงานของแบงก์รัฐ อยู่ในกรอบและตรงกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งได้ดีกว่าที่ผ่านมาก็เป็นไปได้  ควบรวม-ยุบกิจการ  เชื่อว่าธนาคารทั้งสองแห่งจะสามารถรับรู้ฐานะทางการเงินที่แท้จริงก่อนสิ้นเดือน พ.ย.นี้ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจของกระทรวงการคลังว่าจะให้ทั้ง 2 แบงก์นี้ดำเนินงานต่อไปหรือไม่ หากเป็นปัญหาเกินเยียวยา…คงหนีไม่พ้นให้แบงก์ที่เข้มแข็งกว่าเข้ามาดูแล ด้วยการควบรวมกิจการ หรือหากแบงก์อื่นไม่ต้องการมีภาระเพิ่มเติม ก็อาจต้องยุบกิจการก็เป็นได้ เพราะหนี้เสียที่สะสมจำนวนมาก หากใช้วิธีเดิมด้วยการเติมเงินเข้าไปเสริมสภาพคล่อง คงไร้ผล!    ปัญหาที่เกิดขึ้นกับแบงก์รัฐนี้ แม้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เชื่อว่า ณ เวลานี้ ถือเป็นโอกาสที่ดี กับการที่จะล้างไพ่! เพิื่อให้ทุกอย่างกลับมาเดินหน้าต่อไปอย่างโปร่งใสและถูกครรลองครองธรรม และเป็นไปตามหน้าที่ของแบงก์รัฐอย่างถูกต้อง… วุฒิชัย มั่งคั่ง

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ลุ้นชี้ชะตาธพว.-ไอแบงก์ ขายหนี้-ควบรวม-ยุบทิ้ง!

Posts related

 














ชงบอร์ดบีโอไออนุมัติ20โครงการ80,000ล้าน

นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการบีโอไอ (บอร์ดบีโอไอ) วันที่ 3 ต.ค. บีโอไอจะเสนอบอร์ดบีโอไอ อนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุน ประมาณ 20 โครงการ มูลค่ากว่า 80,000 ล้านบาท เช่น  โครงการการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ระยะที่ 2 (อีโคคาร์ 2) จำนวน 4-5 บริษัท , โรงไฟฟ้า , อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งหากบอร์ดอนุมัติครั้งนี้ ทำให้โครงการค้างท่อของบีโอไออนุมัติไปแล้วกว่า 400,000 ล้านบาท จากจำนวนทั้งหมด 700,000 ล้านบาท คาดว่า ต้องประชุมอีก 2-3 ครั้ง จะสามารถอนุมัติโครงการค้างท่อได้ทั้งหมด นอกจากนี้จะมีการหารือในเรื่องของยุทธศาสตร์ของบีโอไอฉบับใหม่ที่จะเริ่มใช้ในวันที่ 1 ม.ค58 ซึ่งการประชุมครั้งที่ผ่านมาบอร์ดบีโอไอ ได้เห็นชอบในหลักการ และได้ให้ไปเพิ่มเติมข้อมูลในบางประเด็น โดยเฉพาะในเรื่องการส่งเสริมการลงทุนใน 20 จังหวัด ที่เข้าข่ายพื้นที่ยากจน ซึ่งจะเน้นในการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ส่วนยอดการขอรับการส่งเสริมการลงทุน เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และมั่นใจว่า ปี  57 จะถึงเป้าหมายที่วางไว้ 700,000 ล้านบาทแน่นอน โดยในช่วง8 เดือน (ม.ค.-ส.ค. ) มีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 886 โครงการลดลง 27.7 % เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เงินลงทุนรวม 416,500 ล้านบาท ลดลง 38.2%  ชี้ให้เห็นว่า  แนวโน้มที่ดีขึ้น เมื่อเทียบกับในช่วง 7 เดือนก่อนหน้าที่มีอัตราลดลงมากกว่า โดยจำนวนโครงการในช่วง 7 เดือนลดลง 30.3% ส่วนมูลค่าเงินลงทุนลดลง 41.4% ทั้งนี้กลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ได้รับความสนใจของรับส่งเสริมในช่วง 8 เดือน คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง จำนวน 181 โครงการ เงินลงทุน 190,600 ล้านบาท รองลงมาเป็นกลุ่มบริการและสาธารณูปโภค 260 โครงการ เงินลงทุน 108,000 ล้านบาท อันดับสาม กลุ่มเคมี กระดาษ และพลาสติก 93 โครงการ เงินลงทุน 45,100 ล้านบาท อันดับสี่ กลุ่มกิจการเกษตรกรรม และผลิตผลจากการเกษตร 135 โครงการ เงินลงทุน 28,400 ล้านบาท

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ชงบอร์ดบีโอไออนุมัติ20โครงการ80,000ล้าน

พาณิชย์เชิญเจ้าสัวหารือดูแลราคาสินค้า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 2 ต.ค. 57 พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ ได้เชิญ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์  นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการบริหารบริษัท ไทยเบฟเวอร์เรจ จำกัด (มหาชน)  นายเวทิต โชควัฒนา กรรมการและกรรมการบริหาร กลุ่มสหพัฒน์  และนายทศ  จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล  มาหารือร่วมกันในการหาแนวทางการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ 5 ด้าน ประกอบด้วยการดูแลราคาสินค้าเกษตร,  การร่วมกันดูแลราคาสินค้าอุปโภคและบริโภค, การส่งเสริมการค้าชายแดน, การร่วมมือกันลดต้นทุนโลจิสติกส์ และ การแก้ไขกฎหมายในการส่งเสริมการค้าและการลงทุน  “ผู้บริหารของกระทรวงพาณิชย์ที่เข้าหารือร่วมกับรมว.พาณิชย์ ประกอบด้วย   นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมช.พาณิชย์  นายสมพล เกียรติไพบูลย์ ประธานที่ปรึกษารมช.พาณิชย์  พล.อ.ปัฐมพงศ์ ประถมภัฏ  ผู้ช่วยรมว.พาณิชย์  น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร รักษาการอธิบดีกรมการค้าภายใน” พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์  กล่าวภายหลังการหารือว่า ได้เชิญผู้นำภาคเอกชนเข้ามารับฟังนโยบายการทำงานของรัฐบาล และยุทธศาสตร์การทำงานของกระทรวงพาณิชย์ โดยได้ชี้แจงว่ารัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนระยะสั้น 3 เดือนที่จะเร่งผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจ และมีแผนระยะยาว คือ การวางรากฐานทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในทุกด้าน จึงอยากจะขอความร่วมมือภาคเอกชนให้สนับสนุนการทำงานของรัฐบาล ซึ่งภาคธุรกิจพร้อมที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที“วันนี้มีภาคธุรกิจบอกว่าเป็นมิติใหม่ที่ ไม่เคยมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นมาก่อน ที่เปิดโอกาสให้เอกชนมาแสดงความคิดเห็น โดยเห็นด้วยที่ภาครัฐจะร่วมกับภาคเอกชนในการทำงาน ซึ่งผมจะคุยต่ออีกหลายกลุ่ม เพราะเป็นแนวทางที่ดี” ในส่วนการดูแลสินค้าเกษตร ได้หารือในการผลักดันในเรื่องคุณภาพ มากกว่าการผลิตในปริมาณมากๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) โดยจะมีการดูแลราคาสินค้าเกษตรทั้งต้นทางจนถึงปลายทาง และจะดูแลไม่ให้เกษตรกรเดือดร้อน และประชาชนเดือดร้อน ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ได้ทำงานร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และขอความร่วมมือเอกชนให้เข้ามาร่วมทำงานด้วยเบื้องต้นเอกชนเห็นว่าแนวทางที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้ โดยไม่ต้องแทรกแซง เป็นการมาถูกทาง  ส่วนการดูแลค่าครองชีพให้กับประชาชนได้ขอให้ภาคเอกชนช่วยรักษาระดับราคาสินค้าไม่ให้ปรับราคาเพิ่มขึ้นอย่างไม่สมเหตุสมผลซึ่งภาคเอกชนก็ยินดีที่จะให้ความร่วมมือ  แต่ไม่ได้พูดถึงการตรึงราคาสินค้าแต่จะดูแลให้กลไกตลาดเป็นไปอย่างเหมาะสม สำหรับสถานการณ์การส่งออกไทยในปี 57กระทรวงพาณิชย์มั่นใจว่าในปีนี้มูลค่าการส่งออกไทยจะไม่ติดลบแน่นอนเนื่องจากยังมีเวลาอีก 3 เดือนจึงมีเวลาในการขับเคลื่อนมาตรการต่างๆอย่างไรก็ตามปัจจัยที่ในช่วง 8 เดือนของปีการส่งออกติดลบมาจากปัญหาเรื่องของความขัดแย้งทางการเมืองไทยในช่วงต้นปีและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก นายเจริญ สิริวัฒนภักดีประธานกรรมการบริหารบริษัท ไทยเบฟเวอร์เรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าเป็นเรื่องที่ดีมากที่ภาครัฐให้ความสำคัญในการหารือร่วมกับเอกชนเพื่อช่วยเหลือประชาชนในระดับรากหญ้าซึ่งภาคเอกชนพร้อมให้ความร่วมมือเต็มและคาดว่าในอนาคตจะมีการหารือกันอีกในรอบต่อๆไป    นายทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารบริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด กล่าวว่าต้องการให้มีการจัดกลุ่มหารือในลักษณะนี้ต่อไปเรื่อยๆและอยากให้ขยายการหารือไปยังกระทรวงอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยโดยการหารือได้มีการพูดถึงเรื่องการผลักดันการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน และการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : พาณิชย์เชิญเจ้าสัวหารือดูแลราคาสินค้า

Page 114 of 1552:« First« 111 112 113 114 115 116 117 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file