shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันหนุนแก้โกงก่อนเลือกตั้ง

ที่โรงแรมอโนมาเวลา 10.30 น. วันที่ 20  ธ.ค. 56นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย),   นายสมพล เกียรติไพบูลย์ รองประธานองค์กร, คุณหญิงชาฎา วัฒนธิริธรรม รองประธานองค์กรฯ นายวิเชียรพงศธร รองประธานองค์กรฯ และ นายบัณฑิต นิจถาวร กรรมการองค์กรร่วมกันแถลงจุดยืนองค์กรฯว่า องค์กรมีจุดยืน 3 ประกอบด้วยข้อ1.ให้ผู้รับผิดชอบในการบริหารประเทศต้องจัดให้มีการกำจัดคอร์รัปชันอย่างป็นรูปธรรมให้เสร็จก่อนเลือกตั้งเพราะหากไม่มีออกมาตรการแก้ปัญหานี้ให้เสร็จก่อนเชื่อว่าการเลือกตั้งที่จะถึงนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ของวงจรอุบาทว์แบบอดีตที่ผ่านมาดังนั้นหากไม่สามารถจัดให้มีมาตการกำจัดคอร์รัปชันได้ทันอย่างให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเลือนวันเลือกตั้งออกไปอีกสำหรับข้อ2ให้ทุกพรรคการเมืองต้องมีนโยบายที่กำจัดคอร์รัปชันเป็นนโยบายหลักโดยต้องมีการลงสัตยาบันให้เป็นรูปธรรมหากไม่ปฎิบัติตามก็จะต้องมีบทลงโทษอย่างเด็ดขาดและ ข้อ 3.ไม่ว่ารัฐบาลชุดใดที่เข้ามาบริหารประเทศต้องกำหนดให้การกำจัดคอร์รัปชันเป็นวาระแห่งชาติและเป็นนโยบายที่สำคัญสูงสุดของประเทศ“องค์กรฯยืนยันว่าจุดยืนของเราคือต้องมีมาตรการกำจัดคอร์รัปชันก่อนการเลือกตั้งใหม่เพื่อให้ประชาชนมั่นใจเพราะปัญหาความวุ่นวายของสังคมไทยและความล้มเหลวของการบริหารประเทศในปัจจุบันมาจากการคอร์รัปชันและการโกงกินฝังลึกมานาน นอกจากนี้ ยังเห็นด้วยหากจะมีการเลื่อนการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. 57 เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชั่น  เนื่องจากยอมรับว่าตอนนี้ประชาชนเป็นล้านล้านคนตื่นตัวในการต่อต้านคอร์รัปชันกันมากซึ่งเป็นปรากฎการณ์ใหม่ในประเทศไทยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน” นายประมนต์ กล่าว 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันหนุนแก้โกงก่อนเลือกตั้ง

Posts related

 














หุ้นไทยภาคเช้าวันที่ 20 ธันวาคม 2556 ปิดร่วง 12.59 จุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเช้าวันนี้(20 ธ.ค.) ดัชนีอ่อนตัวลงทันทีที่เปิดตลาด จากนั้นก็ร่วงลงอย่างหนักกว่า 14 จุดตามแรงเทขายทำกำไรเพื่อลดความเสี่ยงจากปัจจัยการเมืองในประเทศช่วงสุดสัปดาห์นี้ หลังแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมยังยืนยันว่าไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งในวันที่2ก.พ.57 เพื่อเปิดโอกาสให้มีการปฏิรูปการเมืองให้เสร็จก่อนที่จะมีการเลือกตั้งต่อไปและได้นัดชุมนุมใหญ่อีกครั้งในวันอาทิตย์ที่ 22 ธ.ค.นี้ทำให้นักลงทุนกังวลว่าจะกระทบกับภาวะเศรษฐกิจของไทยซึ่งช่วงนี้ค่อนข้างอ่อนแออยู่แล้วอีกทั้งเริ่มเข้าสู่ช่วงเทศกาลทำให้นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่ชะลอการลงทุนออกไปก่อนส่งผลให้หุ้นไทยปิดตลาดภาคเช้าที่ 1,334.04 จุด ลดลง 12.59 จุด หรือ 0.93% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 10,527.35 ล้านบาท  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : หุ้นไทยภาคเช้าวันที่ 20 ธันวาคม 2556 ปิดร่วง 12.59 จุด

ลุ้นดอกเบี้ยช่วยอุ้มเศรษฐกิจฝ่าการเมืองที่ยังไม่มีทางออก

ดูเหมือนว่าการตัดสินใจลดดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงินหรือ กนง. ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 27 พ.ย. ที่ผ่านมาโดยลดลง 0.25% มาอยู่ที่ 2.25% จะสามารถกระตุกต่อมให้บรรดานายแบงก์ยอมตัดสินใจลดดอกเบี้ยลงได้สำเร็จ เพราะหลังจากที่ กนง.ได้ส่งสัญญาณการลดดอกเบี้ยนโยบายลงเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในโค้งสุดท้ายที่เหลือ วันรุ่งขึ้นนายแบงก์ก็ดาหน้าปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงกันในทันที  โดยปรับลดลงทั้งดอกเบี้ยเงินกู้และดอกเบี้ยเงินฝาก แม้ว่าตลอดทั้งปี 56 ที่ผ่านมากนง.จะมี “อัตตา” โดยยึดถือหลักในการตัดสิน คือใช้เครื่องมือการเงินอย่างรอบคอบ แม้ถูกบีบรัดบีบคั้นจากฝ่ายการเมืองมาโดยตลอดก็ตาม แต่ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยักแย่ยักยัน ทำให้ กนง.ต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่มีอยู่มาเป็นเสาค้ำยันให้กับเศรษฐกิจ ยามที่มาตรการการคลังดูจะทำงานได้ไม่เต็มที่นัก ซึ่งการตัดสินใจลดดอกเบี้ยในครั้งนี้…ต้องถือว่าเป็นการหักปากกาเซียนของหลายสำนักที่คาดกันว่า กนง.จะคงอัตราเหมือนเดิม ณ เวลานี้ กนง.มองว่า เศรษฐกิจไทยเริ่มส่อแววริบหรี่หลุดเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3% เนื่องจากต้องเผชิญกับสารพัดความเสี่ยงทั้งความเสี่ยงในประเทศ และจากต่างประเทศที่เข้ามากระทบแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นความเปราะบางของเศรษฐกิจหลักอย่าง เศรษฐกิจของสหรัฐ ที่ยังไม่ชัดเจนจากนโยบายการเงินและการคลัง รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือคิวอี ส่งผลให้ภาวะตลาดการเงินโลกยังผันผวน ขณะที่ในกลุ่มยูโรก็ไม่ได้ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ทำให้การส่งออกไทยขยายตัวได้เพียง 1% ที่สำคัญที่สุด… คือปัญหาภายในประเทศอย่างสภาพการเมืองที่เป็นอยู่ในเวลานี้ ได้กลายเป็นตัวฉุดรั้งให้เศรษฐกิจไทยไม่สามารถเดินก้าวไปข้างหน้าได้ เพราะรัฐบาลไม่สามารถขับเคลื่อนนโยบาย ทำให้เอกชนมีความเชื่อมั่นลดลง เห็นได้จากการขอสินเชื่อของภาคเอกชนที่เคยเฟื่องฟูในระดับเลขสองหลัก กลับชะลอตัวเหลือเพียงแค่ 9% และแนวโน้มนี้ยังส่งต่อไปถึงปี 57 ที่คาดกันว่าสินเชื่อภาคเอกชนอาจขยายตัวได้เพียง 7% เท่านั้น   ด้วยเหตุนี้ทำให้ กนง.จำนวน 6 คน ได้ตัดสินใจร่วมกันลดดอกเบี้ยลง 0.25% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแทนเครื่องมือทางด้านการคลัง ที่ไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ให้ก้าวพ้นความเสี่ยงจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกได้  จึงเป็นหน้าที่ของภาคการเงินต้องเข้ามาพยุงเศรษฐกิจให้กลับมาฟื้นตัวในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจไทยถดถอยอย่างรุนแรง โดยเฉพาะการใช้จ่ายภายในประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนที่ล่าช้า เป็นตัวเร่งให้เศรษฐกิจมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามในเมื่อ กนง.ได้ส่งสัญญาณเพื่อให้บรรดานายแบงก์ทั้งของรัฐและเอกชน ปรับลดดอกเบี้ยตามไปด้วย  ซึ่งถือเป็นช่องทางหนึ่งที่มีผลให้ภาวะการเงินโดยรวมผ่อนปรนมากขึ้น ทั้งยังกระตุ้นให้ประชาชนและภาคเอกชนถอนเงินไปใช้จ่ายและลงทุน เพื่อลดความเสี่ยงและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศจะส่งผลดีต่อประชาชน  ซึ่งก็ถือว่าเป็นการส่งสัญญาณที่ได้ผลอย่างรวดเร็ว เพราะบรรดานายแบงก์ก็ทยอยปรับลดดอกเบี้ยกันทันทีทั้งดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก นำร่องโดยธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงเทพ แน่นอนว่าการปรับลดครั้งนี้ ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียตามมา เพราะดอกเบี้ยทั้งสองนั้น คือดอกเบี้ยเงินกู้และดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งความหมายชัดเจนว่ามีความแตกต่างกันอยู่แล้ว แต่ย่อมมีประโยชน์ในแบบฉบับของตัวเอง แล้วแต่การเลือกใช้งานของแต่ละประเภทเท่านั้นเอง เนื่องจากการลดดอกเบี้ย หากต้องการกู้เงินเพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจหรือใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเอง จะช่วยลดภาระให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น หากมองถึงการกู้เงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย จะได้รับประโยชน์ในส่วนนี้ เนื่องจากดอกเบี้ยเมื่อได้คำนวณกับราคาที่อยู่อาศัยแล้ว จะเห็นได้ว่าปรับตัวลดลงอย่างชัดเจน ซึ่งส่วนนี้จะทำให้ประชาชนที่ต้องการมีบ้านเป็นของตัวเอง แบกรับภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายระยะยาวน้อยลง แตกต่างจากดอกเบี้ยออมทรัพย์ ที่ได้รับผลตอบแทนน้อยลง เนื่องจากที่ผ่านมาดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธนาคารแต่ละแห่ง ก็มีอัตราที่แทบจะติดดินกันอยู่แล้ว ซึ่งจากเดิมอยู่ที่ 0.75% ต่อปี แต่ขณะนี้เหลือเพียง 0.6250-0.6300% ต่อปีเท่านั้น และจากนี้ไปเชื่อว่าจะส่งผลให้ประชาชนเลือกที่จะออมทรัพย์ผ่านสถาบันการเงินลดลง หันไปเลือกใช้ความเสี่ยงในการลงทุนในส่วนอื่นมากขึ้น นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึงเรื่องของปริมาณเงินในระบบด้วย เพราะการลดดอกเบี้ยนโยบาย ถือว่าเป็นกระบวนการเพิ่มปริมาณเงินบาทในระบบเศรษฐกิจ แต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งส่งผลให้เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลง  ที่สำคัญยังเป็นอีกเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ ที่มีผลต่อเศรษฐกิจภาพรวมในระยะกลาง-ยาว ได้ หากเงินเฟ้อเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย จะสร้างสิ่งจูงใจแก่ผู้ประกอบการ แต่กลับกันหากเพิ่มมากจะสร้างความไม่แน่นอน ลามไปถึงระบบเศรษฐกิจ การครองชีพของประชาชน รวมถึงการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ที่กลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในที่สุด ดังนั้น…การตัดสินใจของ กนง.ในครั้งนี้ถือว่าทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์อยู่บ้าง  แต่การใช้เครื่องมือภาคการเงินอาจพยุงเศรษฐกิจไทย ลดความเสี่ยงและป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจไทยถดถอยได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น หากไทยยังต้องเผชิญกับสภาพที่เป็นอยู่ในเวลานี้ที่ยังไม่มีใครบอกได้ว่าสุดท้ายแล้วทางออกของไทยจะอยู่ที่ใด!!. วุฒิชัย มั่งคั่ง

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ลุ้นดอกเบี้ยช่วยอุ้มเศรษฐกิจฝ่าการเมืองที่ยังไม่มีทางออก

Page 1265 of 1552:« First« 1262 1263 1264 1265 1266 1267 1268 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file