shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

ห่วงสิ้นปีตลาดหุ้นไทยมีสิทธิ์ผันผวน

นายธวัชชัย อัศวพรไชย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์โกลเบล็ก จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในช่วงก่อนสิ้นปีนี้ดัชนีมีโอกาสที่จะผันผวนในเชิงลบค่อนข้างมาก เนื่องจากตลาดได้ตอบรับปัจจัยบวกภายในไว้มากแล้วพอสมควรโดยยังแนะนำให้ลงทุนในหุ้นกลุ่มรับเหมาและวัสดุก่อสร้างที่คาดว่าจะจะได้ประโยชน์สูงสุดจากแรงผลักดันการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงกลุ่มธนาคารขนาดใหญที่เป็นผู้ปล่อยกู้ภาคเอกชนท่ีเกี่ยวเนื่องกัยโครงการลงทุนจากภาครัฐและการเข้าสู่้ช่วงไฮซีซั่นในช่วงปลายปีที่ความต้องการสินเช่ือมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสำหรับดัชนีหุ้นไทยสามารถทำสถิติสูงสุดใหม่ในรอบ 16 เดือนแตะระดับ 1,600 จุด เนื่องจากแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐซึ่งนักลงทุนรอจับตามทิศทางที่สะท้อนถึงความยั่งยืนของเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้น อาทิ การผลักดันธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อย(เอสเอ็มอี) ซึ่งจะทำให้ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างมีเสถียรภาพและเป็นระยะยาว รวมถึงแนวโน้มการประกาศยกเลิกกฏอัยการศึกบางพื้นที่ หรือใช้มาตรการอื่นเข้าดูแลความสงบในประเทศ จะช่วยให้นักลงทุนต่างชาติเพิ่มน้ำหนักการลงทุนให้หุ้นไทยเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด"ทิศทางตลาดหุ้นไทยภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่มมีแนวโน้มเชิงบวก ตั้งแต่ช่วงปลายเดือน พ.ค. 57 เป็นต้นมา ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการ เปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยอย่างมีนัยสำคัญซึ่งทิศทางตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวขึ้นจากระดับ ต่ำสุด 23 พ.ค. 1,375 จนถึงปัจจุบัน ที่มีทิศทางการแกว่งตัวขาข้ึนและเป็นการสร้างจุดสูงสุดใหม่ของปี 2557 ต่อเนื่อง"

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ห่วงสิ้นปีตลาดหุ้นไทยมีสิทธิ์ผันผวน

Posts related

 














จับตาแผนรับมือขึ้นค่าโดยสาร พิสูจน์ฝีมือรัฐบาลประยุทธ์

ปัญหาค่าครองชีพยังคงครองแชมป์อันดับ 1 ของโพลทุกสำนัก ที่คนไทยอยากให้รัฐบาลประยุทธ์ เร่งแก้เป็นการด่วน นอกจากควบคุมราคาสินค้าแล้ว อีกเรื่องหนึ่ง คือดูแลค่าโดยสารระบบขนส่งสาธารณะ ที่กำลังดาหน้าขอขึ้นราคาขณะนี้ เพราะวันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าค่ารถ ค่าเรือ แท็กซี่ รถไฟฟ้า กลายเป็นต้นทุนสำคัญของคนเมือง ที่ควักจ่ายไม่น้อยหน้าค่าอาหาร ล่าสุด หลังกระทรวงพลังงาน ส่งสัญญาณใกล้หมดโปรโมชั่น คืนความสุขให้ประชาชน เล็งปรับโครงสร้างราคาพลังงานใหม่ เดือน ต.ค.นี้ ซึ่งมีผลให้ค่าก๊าซเอ็นจีวี แอลพีจีภาคขนส่ง น้ำมันดีเซล ที่เคยถูกอุ้มชูจากนโยบายหาเสียงมานาน สิ้นสุดลง พร้อมราคาที่เพิ่มขึ้น  เล็งขึ้นราคาพลังงาน  โดยได้เตรียมแนวทางปรับราคาพลังงานทั้ง 3 ประเภท ทั้งน้ำมันดีเซล ที่จะเก็บภาษีดีเซลให้เท่าเทียมเบนซิน ทำให้จากนี้ราคาดีเซลทะลุเกินลิตรละ 30 บาทแน่ ด้านก๊าซเอ็นจีวี ที่ ปตท.จำใจขายขาดทุน กก.ละ 10.50 บาท ก็ได้โอกาสทยอยขึ้นไปใกล้เคียงต้นทุนที่ 15 บาท ส่วนแอลพีจีภาคขนส่ง ซึ่งขายต่ำกว่าภาคครัวเรือนกก.ละ 1.25 บาท ก็อาจขึ้นราคา 2 แบบ คือขึ้นทันที 1.25 บาท ให้เท่าแอลพีจีภาคครัวเรือน 22.63 บาท หรือให้ทยอยขึ้น 2 รอบ รอบละ 62 สตางค์ เห็นได้ว่าโครงสร้างราคาพลังงานใหม่นี้ กระทบต้นทุนภาคขนส่งทันที เพราะทั้งเอ็นจีวี แอลพีจี และดีเซล เป็นเชื้อเพลิงหลักที่ใช้เติมในรถเมล์ รถทัวร์ แท็กซี่ เรือโดยสาร ส่งผลให้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวผู้ประกอบการรถ เรือต่าง ๆ ออกมาเรียกร้องกดดันรัฐบาลให้ปรับขึ้นราคากันเป็นทิวแถว  แท็กซี่เฮได้ขึ้นแน่  เริ่มจากกลุ่มผู้ขับแท็กซี่ เป็นกลุ่มแรกที่ออกตัวแรง ขอขึ้นราคาก่อน โดยทำหนังสือถึงทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม ให้พิจารณาขึ้นค่าโดยสาร ที่ค้างจากรัฐบาลชุดที่แล้ว 10% และหากไฟเขียวขึ้นเอ็นจีวีเมื่อไร ก็ขอเพิ่มอีก 10% รวมเป็น 20% จากที่ไม่ได้ปรับขึ้นมานานนับ 10 ปี แม้ความจริงจะเพิ่งปรับไปเมื่อปี 51 ก็ตาม อีกทั้งที่ผ่านมา ค่าครองชีพสูงขึ้นไม่คุ้มค่าเหนื่อย หักค่าใช้จ่ายแล้ว เหลือน้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทอีก ยิ่งหากรัฐขึ้นเอ็นจีวีทุก ๆ  1 บาท จะทำให้ต้นทุนเพิ่ม 50 บาท และข้อเรียกร้องของผู้ขับแท็กซี่ดูจะได้ผล เพราะพล.อ.อ.ประจิน ยืนยันว่าให้ขึ้นราคาแน่ เหลือแต่ไส้ใน ว่าจะขึ้นลักษณะใด ขึ้นเมื่อไรเท่านั้น รถเมล์-รถทัวร์  ขาประจำอย่าง “เจ๊เกียว” สุจินดา เชิดชัย นายกสมาคมผู้ประกอบการรถโดยสาร รับไม้ต่อหากดีเซลเกิน 30 บาท จะขอขึ้นค่าโดยสารแน่นอน เพราะเป็นเงื่อนไขที่กำหนดโครงสร้างร่วมกันแล้ว และไม่ใช่แค่เรื่องน้ำมันอย่างเดียว แต่ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการรับศึกหลายด้าน ทั้งค่าแรง ค่าใช้จ่ายซ่อมบำรุงรักษาที่สูงขึ้น ส่วนรถเมล์ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นั้น ผู้บริหารยืนยันชัด ไม่ขึ้นช่วงนี้แน่ แม้ต้องแบกภาระขาดทุนสะสมร่วมแสนล้าน เนื่องจากเป็นองค์กรรัฐ มีหน้าที่ดูแลสาธารณประโยชน์ และดูแลค่าครองชีพ ช่วยผู้มีรายได้น้อยอยู่แล้ว แต่ในส่วนรถเมล์ร่วมบริการ  ได้ทำหนังสือถึงกระ ทรวงคมนาคม ขอให้รัฐช่วย ผู้ประกอบการที่กำลังเดือดร้อน แบบแพ็กเกจใหญ่ ทั้งแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ การพัฒนารถโดยสาร ขอขึ้นค่าโดยสารอีก 2 บาท ทำให้รถเมล์ร้อน จะเพิ่มจาก 8 บาท เป็น 10 บาท รถปรับอากาศจะขึ้นอีกระยะละ 2 บาท  แต่แนวโน้มการขึ้นราคารถโดยสารอาจต้องใช้เวลาอีก    สักระยะ จนกว่าจะมีความชัดเจนราคาดีเซลก่อน รวมถึงต้องพิจารณาให้ดีด้วย เพราะแนวโน้มคนใช้บริการน้อยลงอยู่แล้ว หากขึ้นราคาก็ยิ่งทำให้คนใช้บริการลดลงอีก ยิ่งขาดทุนหนักกว่าเดิม  เรือด่วนเจ้าพระยา-แสนแสบ  เรือด่วนเจ้าพระยา เคยแสดงความจำนงขอขึ้นค่าโดยสารกับกรมเจ้าท่าไปแล้ว 2 บาท โดยเรือด่วนเจ้าพระยาประจำทาง จะขึ้นจากช่วงละ 10-14 บาท เป็น 12-16 บาท เรือด่วนพิเศษธงส้ม จะเพิ่มจาก 15 บาท เป็น 17 บาท และเรือด่วนพิเศษธงเหลือง เพิ่มจาก 20 บาท เป็น 22 บาท เพราะดีเซลสูงเกินเพดานกำหนด 25 บาทมาหลายปีแล้ว ถ้ารัฐปรับดีเซลเกิน 30 บาทอีก ทำให้ปีนี้ต้องขาดทุนไม่ต่ำกว่า 12 ล้านบาท ด้านเรือโดยสารคลองแสนแสบก็พร้อมประชุมติดตามผลกระทบทันที หากรัฐขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ตามเงื่อนไข ถ้าดีเซลขึ้นทุก 3 บาท ต้องเพิ่มค่าโดยสารอีก 1 บาท ฟันธงว่าค่าโดยสารการเดินทางทางน้ำ ขึ้นราคาแน่ แต่คงให้พบกันครึ่งทาง 1 บาทได้  รถไฟ-รถไฟฟ้า  รถไฟ ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แม้ไม่ได้ขึ้นค่าโดยสารมา 29 ปี แต่ก็ยังขึ้นราคาไม่ได้ต่อไป เพราะเป็นองค์กรสาธารณะ อีกทั้งรัฐห่วงว่าจะกระทบต่อผู้มีรายได้น้อย ทำให้ค่าโดยสารรถไฟยังคงถูกเหลือเชื่อ ประเภทชั้น 3 เริ่มต้นแค่ 2 บาท ชั้น 2 เริ่มต้น 4 บาท และชั้น 1 เริ่มต้น 6 บาทเท่านั้น ส่วนรถไฟฟ้าบีทีเอส ยังไม่ขึ้นราคาแน่ เพราะเพิ่งปรับไปเมื่อกลางปีที่แล้ว สวนทางกับรถไฟฟ้าใต้ดิน เอ็ม อาร์ที ที่จ่อขยับวันที่ 3 ต.ค.นี้ อีกสถานีละ 1-2 บาท ตามเงื่อนไขสัมปทาน แต่พล.อ.อ.ประจิน อยากให้ปรับราคาเฉพาะสถานีที่ขึ้น 1 บาทไปก่อน ที่เหลือเลื่อนไปขึ้น 1 ก.ค. 58 แทน แต่ก็ยังไม่สะเด็ดน้ำ ต้องลงรายละเอียดอีกที คาดรู้ผลอย่างช้าใน 2 ต.ค.นี้ นี่คือการบ้านด่านแรกที่ต้องพิสูจน์ฝีมือรัฐบาลประยุทธ์ ว่าจะดูแลผลประโยชน์ทั้ง 2 ด้านได้ดีแค่ไหน ต.ค.นี้ ได้รู้กัน. ทีมเศรษฐกิจ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : จับตาแผนรับมือขึ้นค่าโดยสาร พิสูจน์ฝีมือรัฐบาลประยุทธ์

กรุงไทยหวังอานิสงส์โครงการรัฐดันสินเชื่อพุ่ง

นายอุดมศักดิ์ โรจน์วิบูลย์ชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวคาดว่าจะส่งผลให้การปล่อยสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอีขยายตัวเพิ่มขึ้น จากที่ก่อนหน้านี้อาจชะลอตัวลงไปบ้าง โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการรับเหมาก่อสร้าง เพราะหากรัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณทำให้โครงการลงทุน ของภาครัฐเกิดขึ้นจำนวนมากจะส่งผลต่อดีต่อธุรกิจ ขณะที่ธุรกิจแปรรูปอาหารเพื่อการส่งออก และพลังงานทางเลือก เช่น โซล่าเซลส์ คาดว่าจะเติบโตเช่นกัน รวมถึงอุตสาหกรรมที่สนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้นนอกจากนี้ได้ออกแคมเปญวงเงินกู้ 3 เท่าของหลักประกันให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนทั้งลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ แต่มีเงื่อนไขว่า จะต้องมีประสบการณ์ด้านธุรกิจไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยปีแรกคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ ซึ่งจะมีบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมหรือบสย.เข้ามาค้ำประกันสินเชื่อ และยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมกับลูกค้าด้วย คาดว่าจะมียอดปล่อยสินเชื่อในแคมเปญนี้ประมาณ 10,000 ล้านบาท“จะเน้นปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าเอสเอ็มอีที่มีรายได้ต่ำกว่า 100 ล้านบาทให้มากกว่านี้ เพราะธุรกิจหลายธุรกิจมีศักยภาพ เช่น ร้านทอง โรงรับจำนำ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ตัวแทนจำหน่ายมอเตอร์ไซด์มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้ปรับนโยบายการบริหารจัดการหรือเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลให้เร็วขึ้น โดยภายใน 10 วันลูกค้าจะรู้ทันทีว่าได้รับการอนุมัติสินเชื่อหรือไม่ เพราะการใช้ทีมงานวิเคราะห์สินเชื่อตรงส่วนกลางเป็นจุดศูนย์กลางทำให้การทำงานมีความรวดเร็วมากขึ้น”ทั้งนี้คาดว่าสินเชื่อเอสเอ็มอีปล่อยใหม่ปีนี้ยังได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือมีมูลค่า 35,000 ล้านบาทเติบโต 10% หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปัจจุบันมีพอร์ตสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 300,000 กว่าล้านบาท ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอลจะควบคุมให้ไม่เกิน 2.5% ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการปรับโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้มาโดยตลอดในช่วงที่ลูกหนี้มีปัญหาทำให้หนี้เสียของธนาคารไม่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากนัก

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กรุงไทยหวังอานิสงส์โครงการรัฐดันสินเชื่อพุ่ง

Page 139 of 1552:« First« 136 137 138 139 140 141 142 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file