shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

พม.เล็งล้างหนี้การเคหะฯ

นางปวีณา หงสกุล รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้สั่งการให้การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ไปพิจารณาแนวทางการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินที่มีอยู่นำมาบริหารให้มีประโยชน์ เพื่อช่วยแก้ไขภาระหนี้สะสมของการเคหะแห่งชาติที่มีอยู่ 40,000 ล้านบาท เบื้องต้นกคช.มีที่ดินเปล่าอยู่ 7,000 ไร่ กระจายอยู่ในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ 2,000 ไร่ อาจนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบเดียวกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นำที่ดินไปให้กระทรวงการคลังบริหาร และให้เอกชนเช่าในระยะยาว “การเคหะแห่งชาติไม่มีรายได้เข้ามาตั้งแต่ปี 49 ขณะที่ต้องรับภาระเงินกู้จากการดำเนินการตามโครงการของรัฐบาล เช่น โครงการบ้านเอื้ออาทรทำให้ภาระหนี้สะสมเพิ่มขึ้น จึงต้องเริ่มวางแผนในการชำระหนี้โดยใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่ อย่างไรก็ตามแนวทางคือจะให้เอกชนเช่าที่ดินของการเคหะฯไม่ใช่การขายขาด โดยขณะนี้มอบหมายให้ผู้บริหารของการเคหะฯทำแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินในเชิงพาณิชย์มาเสนอแล้ว” สำหรับแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้มีรายได้น้อยถึงผู้มีรายได้ระดับปานกลางนั้น ล่าสุดอยู่ระหว่างการดำเนินการโครงการบ้านมั่นคงสำหรับผู้มีรายได้น้อย 90,000 หน่วย ภายใน 10 ปีโดยจะสร้าง20,000 หน่วยต่อปีเพื่อสนับสนุนให้ผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง ส่วนโครงการบ้านเอื้ออาทรซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายในระดับรายได้ปานกลาง ปัจจุบันมีจำนวนคงเหลืออีก 21,000 หน่วยทั่วประเทศ กคช.จะเร่งรัดจำหน่ายให้หมดเพื่อปิดโครงการบ้านเอื้ออาทรจากนั้นจะมีการดำเนินโครงการใหม่โดยร่วมกับหน่วยราชการเพื่อขยายโอกาสให้กับผู้มีรายได้ระดับปานกลางมีโอกาสมีที่อยู่อาศัยโดยจะเข้มงวดในเรื่องของการเข้ามาซื้อบ้านในโครงการให้เป็นประชาชนที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยจริงๆไม่ใช่เป็นนายหน้าที่เข้ามาซื้อบ้านแล้วไปปล่อยเช่าเพื่อแสวงหากำไรเหมือนปัญหาที่ผ่านมา

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : พม.เล็งล้างหนี้การเคหะฯ

Posts related

 














ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในลาว

“รายงานตลาดอสังหาริมทรัพย์ในเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” ฉบับล่าสุด ของคอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ระบุ ปัจจุบันมีนักลงทุนต่างชาติจำนวนมากเข้าไปลงทุนในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทั้งในรูปแบบของการขยายธุรกิจเพิ่มเติม หรือว่าเป็นการเข้าไปลงทุนใหม่ สุรเชษฐ กองชีพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย จากคอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า “นักลงทุนจากประเทศเวียดนาม จีน และไทย เป็นนักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในประเทศลาวมากที่สุดสามอันดับแรก เพราะทั้งสามประเทศนี้มีชายแดนติดกับประเทศลาว นอกจากนี้แปดในสิบอันดับแรกเป็นนักลงทุนจากประเทศในอาเซียน แม้ว่าลาวจะไม่มีทางออกไปสู่ทะเล แต่ว่าทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างมหาศาล และเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะขยายตัวในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้กลายเป็นแม่เหล็กชั้นดีที่ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ” จำนวนของนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไปในสาธารณรัฐประชา ธิปไตยประชาชนลาวในปีพ.ศ.2555 มีประมาณ 3 ล้านคน มากกว่าปีพ.ศ.2554 สูงที่สุดเท่าที่มีการบันทึกมา เนื่องจากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาลที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาได้มากขึ้น เช่น การงดเว้นการขอวีซ่า เส้นทางการบินใหม่ ปีการท่องเที่ยวลาว 2555 มีการคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปีพ.ศ.2556 มากถึง 3.7 ล้านคนเพิ่มขึ้นประมาณ 14% จากปีพ.ศ.2555 ซึ่งจะส่งผลดีต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะ “ธุรกิจโรงแรม” ตอนนี้มีโรงแรมที่กำลังก่อสร้างหลายแห่ง โดยมีห้องพักรวมกันประมาณ 990 ห้อง โดยทั้งหมดมีกำหนดที่จะเปิดให้บริการในปี พ.ศ.2557 นักลงทุนชาวต่างชาติหลายรายลงทุนพัฒนาโครงการโรงแรมระดับ 4–5 ดาวในเวียงจันทน์ เช่น กลุ่ม HAGL จากเวียดนาม กลุ่มเดอะรีกัล โกลบอลอินเวสท์เม้นท์ และดีเวลลอปเม้นท์ ของสิงคโปร์ โครงการขนาดใหญ่หลายโครงการของนักลงทุนชาวต่างชาติที่มีแผนจะพัฒนาในอนาคตในเวียงจันทน์ ก็มีโรงแรมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ เช่น โครงการ Vientiane New World ตามแนวแม่น้ำโขง โครงการ The World Trade Centre ในใจกลางเวียงจันทน์ โครงการ Vientiane Complex และอีกโครงการที่พัฒนาโดยกลุ่ม BIM ของเวียดนาม “ตลาดอาคารสำนักงานให้เช่า” ก็น่าสนใจไม่แพ้ธุรกิจโรงแรม เพราะนักลงทุนชาวต่างชาติหลายรายที่ลงทุนในเวียงจันทน์ในหลายอุตสาหกรรม ต้องการพื้นที่อาคารสำนักงานคุณภาพที่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี ที่จอดรถเพียงพอ และการบริหารอาคารที่มีคุณภาพ แม้ว่าจะมีนักลงทุนชาวต่างชาติหลายรายที่เช่าบ้านเดี่ยว หรืออาคารพาณิชย์เพื่อใช้เป็นสำนักงาน อาคารสำนักงานแห่งแรกในเวียงจันทน์เปิดให้บริการในปี พ.ศ.2536 ใน Chantabuly ซึ่งการขาดแคลนที่ดิน และราคาที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางการการพัฒนาตลาดอสังหาริมทรัพย์ใน Chantabuly ดังนั้นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ใหม่ ๆ จึงอยู่ในพื้นที่อื่น ค่าเช่าเฉลี่ยของอาคารสำนักงานในเวียงจันทน์อยู่ที่ 5–15 ดอลลาร์ สหรัฐต่อเดือน ขึ้นอยู่กับสิ่งอำนวยความสะดวก และทำเลที่ตั้ง อาคารสำนักงานส่วนใหญ่ในเวียงจันทน์มีอัตราการเช่าค่อนข้างสูง แม้ว่าจะมีพื้นที่ในอาคารสำนักงานที่ยังคงว่างอยู่ โดยเฉพาะในอาคารสำนักงานที่ตั้งอยู่ไกลจากพื้นที่ธุรกิจ “พื้นที่ค้าปลีก” ก็เป็นอีกหนึ่งตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่น่าสนใจสำหรับชาวต่างชาติ แม้ว่าจำนวนประชากรในเวียงจันทน์จะไม่มาก และไม่เหมาะกับโครงการศูนย์การค้าขนาดใหญ่ อุปทานพื้นที่ค้าปลีกในเวียงจันทน์มีอยู่ไม่มาก ซึ่งส่วนใหญ่สร้างเสร็จ และเปิดให้บริการในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเท่านั้น แต่ว่าโครงการเหล่านี้ยังคงมีมาตรฐานต่ำกว่าโครงการอื่น ๆ ในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะการแบ่ง และจัดพื้นที่เช่า โครงการพัฒนาขนาดใหญ่บางโครงการในเวียงจันทน์เป็นการเพิ่มความต้องการพื้นที่ค้าปลีก เพราะในโครงการเหล่านี้มีการพัฒนาพื้นที่ค้าปลีก โรงแรม อาคารสำนักงาน และเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ดังนั้น เวียง จันทน์มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวแห่งใหม่ในอนาคต ไม่ใช่แค่ศูนย์กลางการเดินทางไปหลวงพระบาง เมื่อโครงการเหล่านี้สร้างเสร็จ “ผู้ประกอบการซูเปอร์สโตร์ มอลล์ และศูนย์การค้าในประเทศไทยก็กำลังมองหาลู่ทางในการเปิดศูนย์การค้าแห่งแรกของตนเองในลาว โดยเฉพาะในเวียงจันทน์ และหลวงพระบาง แต่อาจจะมาในรูปแบบที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก เนื่องจากประชากรในลาวยังคงมีไม่มาก” สุรเชษฐ กองชีพ กล่าวสรุป.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในลาว

รร.เอกชนเร่งรัฐพัฒนาครูภาษาไทย

เครือข่ายโรงเรียนเอกชนกรุงเทพมหานคร ย้ำภาครัฐ ให้ความสำคัญด้านภาษาไทยให้มากขึ้น ระบุแม้จะเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 “ภาษาไทยยังต้องเป็นภาษาชาติ” พร้อมหนุนโยบาย “ปีการศึกษา 2556 เป็นปีแห่งการเพิ่มคุณภาพการศึกษา” อ.จินดา ตันตราจิณ ในฐานะประธานกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนเอกชนกรุงเทพมหานครและผู้อำนวยการโรงเรียนจินดาพงศ์ กล่าวว่า แม้จะมีการเตรียมความพร้อมด้านภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ หรือภาษาประจำชาติของอาเซียน เช่นคำทักทายง่าย ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่เออีซีในปี 2558 แล้ว แต่เด็กไทยยังต้องศึกษาภาษาไทยให้แตกฉาน เนื่องจากเป็นภาษาประจำชาติมีการสืบทอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นสมาชิกอาเซียนหลายประเทศ อาทิ พม่า ลาว กัมพูชา ก็มีการจัดให้บุคลากรในประเทศเรียนภาษาไทยอย่างขะมักเขม้น เพราะแต่ละประเทศเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับการเปิดเสรีเออีซีในอีก 2 ปีข้างหน้า “กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนเอกชนได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการเรื่อง “ภาษาไทย ภาษาชาติ” เพื่อต้องการสนับสนุนนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่ประกาศให้ “ปีการศึกษา 2556 เป็นปีแห่งการเพิ่มคุณภาพการศึกษา” และพัฒนาครูเอกชนให้มีความรู้ ความเข้าใจตลอดจนทักษะที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนในวิชาภาษาไทยเพื่อนำไปถ่ายทอดให้แก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะอนาคตในส่วนของภาคการศึกษากับอาเซียน เรามีการสนับสนุนแนวคิดเรื่อง Education Hub ในการเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคนี้ ไม่ว่าจะเป็นโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนและการปรับหลักสูตรให้เป็นหลักสูตรสากลมากขึ้น” โดยกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนเอกชนกรุงเทพมหานครอยากให้ภาครัฐได้เข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบดูแลธุรกิจการศึกษาภายในประเทศด้วย โดยเฉพาะในเรื่องของโรงเรียนเอกชนของไทย ที่ต้องหันมาแข่งขันกับโรงเรียนนานาชาติ ที่เริ่มมีเพิ่มมากขึ้นทั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใหญ่ๆ ซึ่งจุดอ่อนของผู้ประกอบการโรงเรียนเอกชนของไทยคือมีทุนหรือแหล่งเงินทุน ไม่มากเพียงพอที่จะแข่งขันกับโรงเรียนนานาชาติได้.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : รร.เอกชนเร่งรัฐพัฒนาครูภาษาไทย

Page 1428 of 1552:« First« 1425 1426 1427 1428 1429 1430 1431 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file