shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

ทุ่ม200ล้านกระตุ้นท่องเที่ยวไทย

ททท. ทุ่ม200ล้านอัดแคมเปญหลงรักประเทศไทย หวังกระตุ้นตลาดในประเทศ
นายศุกรีย์ สิทธิวณิช รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  (ททท.) เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 57 ททท.ได้รับงบ200 ล้านบาทสำหรับใช้ดำเนินงานแคมเปญหลงรักประเทศไทย ซึ่งเป็นแคมเปญใหญ่ของการกระตุ้นตลาดท่องเที่ยวในประเทศ โดยจะเน้นกลยุทธ์ของเนื้อหาจูงใจให้คนไทยออกมาเดินทางท่องเที่ยวจริง ไม่ใช่การนำเสนอภาพวิวทิวทัศน์สวยงามผ่านโปสเตอร์หรือป้ายโฆษณาขนาดใหญ่(บิลบอร์ด) แต่ควรจะเน้นโฆษณาที่เคลื่อนไหวได้ผ่านทางทีวีที่ดูจะสัมผัสได้สมจริง ทั้งนี้ที่ต้องเร่งทำตลาดแบบรวดเร็วสัมผัสได้ เพราะมองเห็นว่าในปีหน้าแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในประเทศจะยังชะลอตัวอยู่ จึงจะต้องมีแผนรองรับความเสี่ยงหากกำลังซื้อคนไทยยังซบเซาต่อเนื่อง

สำหรับการสื่อสารแบบใช้ได้จริง จะทำภายใต้แนวคิดหลัก คือ การทำตลาดแบบมาร์เก็ตติ้ง  เน้นให้นักท่องเที่ยวแบ่งปันประสบการณ์ด้านการเดินทางด้วยการให้นักท่องเที่ยวเป็นศูนย์กลางโดยจะมีการผลิตโฆษณาทางทีวีใหม่ออกเผยแพร่ในช่วงต้นปีหน้า ช่วงก่อนปิดเทอมใหญ่เดือน มี.ค. มุ่งสื่อสารตรงกับตลาดเป้าหมาย 4 ส่วนได้แก่ ครอบครัว ผู้สูงอายุ  คนวัยทำงาน  เด็กและเยาวชน ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวในแต่ละส่วนซึมซับภาพบรรยากาศต่างๆได้ชัดเจนผ่านทางทีวี ส่วนตลาดต่างประเทศ ใช้งบประมาณ 300 ล้านบาท โดย 50% เป็นการทำโฆษณา  30% เป็นการสนับสนุนอีเวนท์ มาร์เก็ตติ้ง เช่น งานไทยเฟสติวัล ของสถานทูตต่างๆ ทั่วโลก หรือการจัดแฟมทริปนำสื่อมวลชนและผู้ประกอบการเดินทางมาไทย และ 20% สำหรับการทำประชาสัมพันธ์ ซึ่งในรูปแบบการดำเนินงาน จะเข้าไปกำหนดกลยุทธ์ร่วมกันกับด้านตลาดเอเชียและยุโรป รวมถึงฝ่ายสินค้าและการท่องเที่ยว เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพและไม่ซับซ้อน

“เป้าหมายหลักของททท. คือ ต้องการสร้างการรับรู้ด้านท่องเที่ยวตลอดปี เน้นเข้าไปจับมือกับพันธมิตรประเภทองค์กรที่มีฐานลูกค้าจำนวนมาก และอัดแคมเปญโฆษณาจูงใจให้เกิดการท่องเที่ยวร่วมกัน โดยวางเป้าหมายจับมือบริษัทที่มีศักยภาพ 2-3 รายในกลุ่มสายการบินและกลุ่มที่ทำสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ เช่น เครื่องดื่ม เป็นต้น เพื่อตอกย้ำกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีพฤติกรรมเดินทางท่องเที่ยวประจำให้ยังคงเดินทางต่อ และเพิ่มกลุ่มคนเดินทางใหม่ด้วย”

 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ทุ่ม200ล้านกระตุ้นท่องเที่ยวไทย

Posts related

 














ปตท.เร่งขยายคลังแอลเอ็นจี

ปตท.พร้อมเร่งขยายคลังแอลเอ็นจี รับความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น
นายภาณุ สุทธิรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างจัดหาบริษัทผู้รับเหมา เพื่อก่อสร้างสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ระยะที่ 2 ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเก็บและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซ จากปัจจุบัน 5 ล้านตันต่อปี ขยายเป็น 10 ล้านตันต่อปี คาดว่า จะแล้วเสร็จ
และเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงกลางปี 60 เพื่อรองรับแผนการจัดหาเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าที่มากขึ้น และเสริมความมั่นคงในการจัดหาก๊าซธรรมชาติของประเทศในระยะยาว นายชาครีย์ บูรณกานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. กล่าวว่า ได้ขยายความสามารถของสถานีรับ-จ่ายก๊าซแอลเอ็นจี)เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เพื่อรองรับความต้องการใช้พลังงานที่สูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคไฟฟ้าที่ความต้องการสูงขึ้นปีละ 5-6% ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจและจำนวนประชากรที่มากขึ้น โดยคาดการณ์ปี 56
ความต้องการใช้ก๊าซฯ ของไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 4,600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ขณะที่ไทยจัดหาก๊าซฯ จากแหล่งในอ่าวไทยและบนบกรวมกันได้เพียง 3,600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เทียบเท่า 78% ของความต้องการ ที่เหลืออีก 22% ต้องนำเข้าจากสหภาพพม่าและนำเข้าจากต่างประเทศ  “ก๊าซ แอลเอ็นจี จะเป็นพลังงานทางเลือกที่สำคัญของไทย และยิ่งสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต เนื่องจากปริมาณสำรองก๊าซของไทยลดลงต่อเนื่อง ขณะที่การจัดหาแหล่งก๊าซฯใหม่ๆ ในประเทศทำได้ยากขึ้น และการนำเข้าก๊าซจากประเทศเพื่อนบ้านมีข้อจำกัดมากขึ้น ซึ่งสวนทางกับความต้องการใช้พลังงานที่สูงขึ้นทุกวันทั้งในภาคไฟฟ้า อุตสาหกรรม และขนส่ง ดังนั้น
กลุ่ม ปตท. จึงเร่งเตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อรองรับการจัดหาและนำเข้าแอลเอ็นจีที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งประเทศไทยมีข้อได้เปรียบด้านการมีสถานีรับ-จ่ายก๊าซแอลเอ็นจี เป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีภูมิศาสตร์ที่เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคที่สำคัญ”  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ปตท.เร่งขยายคลังแอลเอ็นจี

ชาวไร่อ้อยช้ำกอน.เล็งหั่นราคา

ชาวไร่อ้อยช้ำ กอน. เตรียมลดราคาอ้อนขั้นต้นเหตุบาทอ่อน เชื่อชาวไร่ไม่เห็นด้วย วอนรอราคาขั้นปลายจะสูงกว่านี้
นายสมศักดิ์ สุวัฒิกะ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) เปิดเผยว่า ภายในเดือน ต.ค. นี้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.) จะพิจารณาราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิต 56 /57 ได้ ซึ่งเบื้องต้นสอน.พิจารณาราคาไว้ระหว่าง 860-900 บาทต่อตันอ้อย ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 950 บาทต่อตันอ้อย เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 31.5 – 32 ดอลลาร์สหรัฐ จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 30 – 31 ดอลลาร์สหรัฐ โดยจะประกาศให้ได้ภายในเดือนต.ค.นี้ เนื่องจากนายกรัฐมนตรี เร่งรัดให้กำหนดราคาตามกรอบที่วางไว้คือ เดือนต.ค.ของทุกปี “ ราคาอ้อยขั้นต้นดังกล่าวคำนวณจาก 2 ปัจจัยหลักคือ ราคาตลาดโลกที่ปัจจุบันอยู่ที่ 18.5 และอัตราแลกเปลี่ยนที่ค่อนข้างอ่อนค่าอยู่ที่ 31.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ขณะที่ค่าความหวานคำนวณเฉลี่ยอยู่ที่ 10 ซีซีเอส และผลผลิตต่อไร่(ยิว)10.5-10.8 ตันต่อไร่ โดยปีนี้คาดว่าปริมาณอ้อยทั้งปีจะอยู่ที่ 110 ล้านตันอ้อย เพิ่มขึ้นจากฤดูการผลิต 55-56 ที่ผลผลิตรวมอยู่ที่ 100
ล้านตันอ้อย และเชื่อว่า ราคาอ้อยขั้นต้นปีนี้น้อยกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ 950 บาทต่อตันอ้อย เชื่อว่า ชาวไร่อ้อยคงไม่เห็นด้วย เพราะคำนวณต้นทุนแล้วอยู่ที่ประมาณ 1,060-1,070 บาทต่อตันอ้อย แต่อยากให้เข้าใจเพราะการคำนวณราคาขั้นต้นต่ำกว่าต้นทุนอยู่แล้วเชื่อว่าจากแนวโน้มหลังจากนี้ราคาขั้นปลายจะสูงกว่านี้ จนชาวไร่คุ้มทุนแน่นอน" สำหรับกรณีการขอเงินเพิ่มค่าอ้อยโดยวิธีการกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เชื่อว่า ชาวไร่อ้อยคงเรียกร้องตามปกติ เพราะที่ผ่านมาเคยได้รับเงินเพิ่ม เช่นปีที่ผ่านมาได้เงินเพิ่มค่าอ้อยอยู่ที่ 160 บาทต่อตันอ้อย คิดเป็นวงเงินกู้รวม 16,000 ล้านบาท แต่ในส่วนของสอน.ไม่เห็นด้วย เพราะปัจจุบันกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย(กท.)ยังมีหนี้เหลือค้างชำระอีก 8 เดือน ตั้งแต่พ.ย. 56 –มิ.ย. 57 ประมาณ 9,600 ล้านบาท หากมีหนี้เพิ่มจะทำให้ภาระการชำระหนี้ยาวออกไปอีก "อีกเหตุผลที่ชาวไร่ต้องการกู้เงินคือ สถานะการเป็นหนี้จะทำให้อุตสาหกรรมน้ำตาลยังสามารถเรียกเก็บเงินเพิ่มน้ำตาล 5 บาทต่อกก.ต่อไปได้ ซึ่งประเด็นนี้รัฐบาลค่อข้างไม่เห็นด้วย เพราะเป็น

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ชาวไร่อ้อยช้ำกอน.เล็งหั่นราคา

Page 1530 of 1552:« First« 1527 1528 1529 1530 1531 1532 1533 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file