shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

ชาวบ้านช้ำค่าครองชีพพุ่ง พลังงาน-สินค้าพาเหรดขึ้น

ชัดเจนแล้ว…สำหรับนโยบาย “ราคาพลังงาน” ภายใต้รัฐบาล “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ที่ปรับโครงสร้างราคาพลังงานยกแผง ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง หลังเปลืองเงินอุดหนุนหลายแสนล้านบาทการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน ไม่ใช่ว่ารัฐบาลนี้เป็นต้นคิด เพราะทุกยุค ทุกรัฐบาล ต่างมีแนวคิดนี้ทั้งนั้น แต่ไม่มีใครหาญกล้าประกาศตูมเดียว แบบรัฐบาลประยุทธ์ เพราะรัฐบาลยุคอื่น ๆ ห่วงคะแนนเสียงมากกว่าค่าครองชีพ มีเพียงสมัย“พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล” รมว.พลังงาน สมัยรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ที่กล้าขึ้นแอลพีจีภาคครัวเรือน แต่ก็ขึ้นไม่ได้เท่าต้นทุนที่แท้จริง ถูกเบรกเสียก่อนย้ำปรับเสร็จใน 1 ปีล่าสุด “ณรงค์ชัย อัครเศรณี” รมว.พลังงาน ฟันธงชัดเจน เตรียมปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งหมด ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ภายใน 1 ปีเพราะฉะนั้นนับถอยหลังจากนี้ ราคาพลังงานขาขึ้นมาแน่!!สำนักนโยบายและแผนพลังงาน เตรียมเสนอให้คณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) วันที่ 22 ต.ค. นี้ เคาะแผนการปรับราคาก๊าซทุกประเภทอีกระลอก ตั้งแต่ราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี)ที่มีต้นทุน 27.85 บาท ต่อกก. แอลพีจี ครัวเรือน 22.63 บาท ต่อกก. เพราะฉะนั้น ต้องขึ้นอีก 5.22 บาท เพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ส่วนแอลพีจีภาคขนส่ง 22 บาท ต่อกก. ต้องขึ้น 5.85 บาท ต่อกก. แต่เพื่อไม่ให้ประชาชนกระอักเลือดหนเดียว จึงเสนอให้ทยอยขึ้นเป็นแบบขั้นบันได เดือนละ 0.50 บาท ต่อกก. เป็นเวลา 12 เดือนส่วนก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) ที่ขึ้นราคามาแล้วเมื่อวันที่ 1 ต.ค. อีก กก.ละ 1 บาท จาก 10.50 บาท ต่อกก. เป็น 11.50 บาท ต่อกก. แต่ต้นทุนที่แท้จริง ตามที่บมจ.ปตท. ระบุไว้คือ 15-16 บาท โดยการขึ้นเอ็นจีวีต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ปตท.ต้องขยายปั๊มเอ็นจีวี ที่ขณะนี้ทั่วประเทศมี 497 แห่ง ทำให้ยังขาดแคลนอีกมาก ต้องร้องขอให้ขยายปั๊มเพิ่ม ส่วนราคาน้ำมันดีเซล มีโอกาสสูงที่ราคาจะทะลุเกิน 30 บาท จากที่ถูกตรึงไว้ 29.99 บาท เพราะรัฐบาลประกาศนโยบายเตรียมปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต ในส่วนของราคาน้ำมันดีเซล ที่ขณะนี้จัดเก็บ 0.75 บาทต่อลิตร จากก่อนหน้านี้ระบุชัดว่า ภาษีสรรพสามิตที่เหมาะสมคือ 3 บาท จึงทำให้แนวโน้มดีเซล มีโอกาสแตะ 33–34 บาท ด้านกลุ่มน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ มีโอกาสลดลง 2-3 บาท เพราะเก็บภาษีสรรพสามิต 3-5 บาทค่าโดยสารจ่อคิวขึ้นเมื่อขึ้นราคาพลังงาน ซึ่งเป็นต้นทุนหลักของผู้ประกอบการในภาคต่าง ๆ และของประชาชน ที่ยังคงมีรายได้ในกระเป๋าเท่าเดิม ย่อมได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง ที่เห็นชัด ๆ ล่าสุด บรรดาผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะต่างตบเท้าร้องกระทรวงคมนาคมให้ขึ้นค่าโดยสารพร้อมกัน โดยไม่ได้นัดหมาย โดยรถแท็กซี่เป็นกลุ่มแรกที่เข้ามายื่นเรื่อง ตั้งแต่เดือน ก.ย. ถึงขณะนี้ก็เป็น กลุ่มแรก ที่ได้ไฟเขียวขึ้นราคาแล้ว 8-11% หลังไม่ได้ขยับกว่า 8 ปี ตอนนี้เหลือเพียงขั้นสรุปตัวเลขว่าจะขึ้นเท่าใดแน่ ส่วนรถเมล์ร่วม ขสมก. รถสองแถวก็แพ็กคู่มาสด ๆ ร้อน ๆ ขอขึ้นค่าโดยสารอีก 2 บาท รถร้อนขึ้นจาก 8 บาท เป็น 10 บาท รถแอร์ ขึ้นอีกระยะทางละ 2 บาทขณะที่รถสองแถวเอง…นอกจากเจอต้นทุนค่าแก๊สที่ทยอยขึ้น ยังถูกนโยบายจัดระเบียบรถสาธารณะ ที่เพิ่มวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างมาแย่งลูกค้าอีก จนต้องขอขึ้นราคาบ้างจาก 7 บาท เป็น 10 บาท ซึ่งผู้ประกอบการทั้ง 2 กลุ่ม บอกว่าหากรัฐบาลไม่ให้ขึ้นค่าโดยสารในสิ้นปีนี้ คงทยอยเลิกวิ่งกันแน่!ด้านทางน้ำ ไม่ว่าจะเป็นเรือโดยสารเจ้าพระยา ก็บ่นว่าขาดทุนนานแล้ว เพราะดีเซลแพงทะลุเพดาน 25 บาทมาหลายปี แต่ยังไม่ได้ไฟเขียวขึ้นราคาเสียที หนนี้เลยขอขึ้นระยะละ 2 บาท ส่วนกลุ่มสิงห์รถบรรทุกขนส่งสินค้า ก็เผยว่า มีต้นทุนค่าขนส่งสินค้า จากค่าเชื้อเพลิง-แรงงานเพิ่มแล้ว 5% แต่ขอให้รัฐบาลช่วยเพิ่มปั๊มแก๊สแทน หากทำได้ จะไม่ปรับค่าขนส่ง แต่หากไม่ เดือน พ.ย.นี้ ขึ้นชัวร์ และคงกระทบต่อราคาสินค้าแน่ปัญหาค่าโดยสารระบบขนส่งสาธารณะ จึงกลายเป็นเสมือนระเบิดเวลาที่ถูกจุดชนวนแล้ว ซึ่ง “พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง”รมว.คมนาคม ยอมรับข้อเรียกร้อง และขอใช้เวลาไม่เกินสิ้นปีนี้ คงรู้ดำรู้แดง เบื้องต้นพูดเลยว่าต้องทำใจ เตรียมรับมือค่าโดยสารที่พุ่งขึ้นแน่ราคาสินค้ารอจังหวะอีกหนึ่งผลกระทบที่เลี่ยงไม่ได้ คือ ราคาสินค้า โดยกระทรวงพาณิชย์ฟันธงว่า หากปรับดีเซลขายปลีก ในกทม.และปริมณฑลเกิน 30 บาทต่อลิตรเมื่อไร จะกระทบราคาสินค้า และค่าครองชีพแน่ เพราะส่วนใหญ่ใช้ดีเซล เป็นต้นทุนหลักในการขนส่งส่วนเอ็นจีวี-แอลพีจี ภาคขนส่ง กระทบไม่มาก เพราะยังใช้ดีเซลเช่นหากขึ้นแอลพีจี ภาคขนส่งทุก 1 บาทต่อลิตร ส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อสูงขึ้น 0.00108% ขึ้นเอ็นจีวี 1 บาทต่อกก. เงินเฟ้อสูงขึ้น 0.00144%
แม้การขึ้นราคาพลังงานทุกครั้งรัฐจะออกมาป่าวประกาศไม่ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าแต่ในความเป็นจริง ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่สินค้าควบคุมกระทรวงพาณิชย์ ทยอยขึ้นราคาทุกครั้ง หรือบางรายใช้กลยุทธ์ลดปริมาณสินค้าลงซ้ำเติมกำลังซื้อชะลอผลกระทบที่หนักที่สุด คือ แง่จิตวิทยาของผู้บริโภค ที่รู้สึกว่า ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นด้วยยิ่งส่งผลให้การตัดสินใจซื้อชะลอตัวทันทีซ้ำเติมกำลังซื้อที่ปัจจุบันชะลอตัวอยู่แล้วให้หนักเข้าไปอีกสุดท้ายจะส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจประเทศทันที เพราะต้องยอมรับว่า การบริโภคในประเทศ ขึ้นแท่นพระเอกขับเคลื่อนเศรษฐกิจขณะนี้หลังส่งออกตกอันดับเป็นตัวประกอบไปแล้ว และจากการสอบถามนักวิชาการ แม้สนับสนุนให้ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน แต่ต้องหาจังหวะที่ดี ในช่วงเศรษฐกิจเริ่มกระเตื้องขึ้นในปีหน้าอ่วมค่าครองชีพพุ่งเสียงสะท้อนจากประชาชน เช่น “สอิ้ง แก้วโกมุท” อาชีพแม่บ้าน มองว่า เวลานี้จะบอกรัฐบาลคุมราคาสินค้าทั่วไปในท้องตลาดไม่ให้ปรับขึ้น คงไม่ใช่ เพราะราคาข้าวของได้ขึ้นไปรอแล้ว เมื่อก่อนซื้อหมูโลละ 110-120 บาท ตอนนี้โลละ 160 บาท บางทีเงิน 100 บาท ซื้อได้แค่ไข่ไก่ 10 ฟอง กับน้ำมันพืช 1 ขวดเท่านั้น อย่างนี้จะว่าไม่กระทบได้ยังไง ได้รับเงินค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ไม่พอกิน ไหนจะค่ากิน ค่าเดินทาง ครอบครัว ไหนลูก ก็ค่าข้าว ค่าขนมอีก แค่นี้ก็ร่อแร่แล้ว จึงอยากให้รัฐบาลควบคุมราคาสินค้าไม่ให้ขึ้น สงสารคนมีรายได้น้อยบ้าง ถ้ารัฐช่วยเหลือก็เดือดร้อนน้อยลงด้าน “พรสิทธิ์ จามิกรณ์” พนักงานบริษัทเอกชน ระบุว่า การขึ้นราคาพลังงาน ส่งผลกระทบต่อเงินในกระเป๋าแน่ เพราะรายได้เท่าเดิม ต่อไปจะซื้อสินค้า หรือจะทำอะไรต้องคิดมากขึ้น ซึ่งอยากให้รัฐทยอยปรับขึ้น และหาแนวทางให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ไม่เช่นนั้นจะไม่สมดุลกัน ยิ่งทำให้เศรษฐกิจแย่ และอยากให้กระทรวงพลังงาน ส่งเสริมให้บมจ.ปตท.ขยายปั๊มเอ็นจีวีมากขึ้นงานนี้ต้องวัดใจรัฐบาล “ประยุทธ์” ว่าจะเลือกปรับโครงสร้างราคาพลังงานอย่างไร ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจหดตัว กำลังซื้อไม่ฟื้น หากเลือกจังหวะไม่ดี หรือฮาร์ดคอร์เกินไป ทุกอย่างจะกลับมาย้อนศร กลายเป็นปัญหาใหญ่รุมเร้าอย่างเลี่ยงไม่ได้ และนั่นหมายถึงระเบิดเวลาลูกใหญ่ทีเดียว!!!.ทีมเศรษฐกิจ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ชาวบ้านช้ำค่าครองชีพพุ่ง พลังงาน-สินค้าพาเหรดขึ้น

Posts related

 














“ฉัตรชัย”ขายไอเดียนิยมสินค้าไทย

รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ที่ผ่านมา พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ ได้ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โดยกำชับให้กรมฯจัดทำแผนกระตุ้นการส่งออกเฉพาะหน้าและจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว 10 ปี โดยให้เน้นเรื่องการจัดอันดับความสำคัญและทำงานเชิงรุก ที่ต้องเข้าใจความต้องการของตลาดนั้นๆ แล้ววางแผนการรุกตลาดให้สอดคล้องกับตลาดนั้นๆ ให้สามารถรู้ว่าไทยมีจุดอ่อนจุดแข็งและจะปรับอย่างไร เพื่อลดอุปสรรคทางการค้า และการผลักดันตลาดใหม่ “การบ้านหลักคือต้องทำอย่างไรที่จะสร้างแบรนด์ไทยในต่างแดน และให้ต่างชาติได้รับรู้ว่าสินค้านั้นๆแตกต่างและมีคุณสมบัติดีกว่าคู่แข่งอย่างไร เช่น ในอาเซียนผักผลไม้มีความใกล้เคียงกัน เช่น ทุเรียน ลำไย ข้าวหอม ก็ให้ดูว่าจะสร้างความเข้าใจอย่างไรว่ามาอาเซียนสินค้าชนิดนั้นต้องซื้อสินค้าไทย ซึ่งก็ให้ทูตพาณิชย์บรรจุในการแผนงานกระตุ้นส่งออกด้วยกับการสร้างตราสินค้าไทยและนิยมใช้สินค้าไทย ตามนโยบายรัฐบาล “รายงานข่าวยังแจ้งต่อว่า พล.อ.ฉัตรชัย ยังไม่ได้มอบหมายตัวเลขเป้าหมายส่งออกปี 58 แต่ก็ต้องการให้การขยายตัวควรอยู่ในค่าเฉลี่ยเกิน 5% ต่อปี เพื่อให้สูงกว่าประมาณการตัวเลขทางเศรษฐกิจที่คาดว่าปีหน้าจะขยายตัวได้ 4% จากปีนี้ขยายตัว 1.5-2% ทั้งนี้ในการประชุมทูตพาณิชย์กับภาคเอกชน ในวันที่ 18 ต.ค. นี้ ที่โรงแรมเซ็นทารา ลาดพร้าวจะมีผู้ทรงคุณวุฒิมา 3-4 คนมาเผยถึงสถานการณ์การค้าโลก และวันที่ 20 ตุลาคม จะประชุมทูตพาณิชย์และรับมอบนโยบายตัวเลขปี 58 จากพล.อ.ฉัตรชัย

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : “ฉัตรชัย”ขายไอเดียนิยมสินค้าไทย

พาณิชย์เร่งแก้ปัญหาข้าวหอมล้นตลาด

รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ขณะนี้นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมช.พาณิชย์ ได้หารือกับ สมาคมผู้ส่งออกข้าว บริษัทส่งออก และสมาคมโรงสีข้าวไทย เพื่อหาแนวทางในการดูแลปริมาณข้าวหอมมะลินาปี 2557/58 ที่ประเมินว่าจะมีการข้าวเปลือกหอมมะลิออกสู่ตลาดพร้อมกันกว่า 4-5 ล้านตันในช่วงเดือน พ.ค. – ธ.ค. 57 จากผลผลิตรวมประมาณ 6-7 ล้านตัน ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณข้าวล้นตลาดและราคาตกต่ำ โดยขณะนี้เริ่มมีสัญญาณราคาข้าวล่วงหน้าตกต่ำแล้ว จากการกำหนดราคาของผู้บริษัทผู้ค้าข้าวและส่งออก ถึงบริษัทค้าข้าวในประเทศ โดยมีการกำหนดราคารับซื้อล่วงหน้าในราคาต่ำลงต่อเนื่องถึงเดือน ธ.ค. โดยข้าวหอมมะลิควรกิโลกรัมละเกิน 40 บาท ตอนนี้เหลือ 38 บาท และในเดือน ธ.ค. อาจจะลดอีก 5-7 บาท"ในการหารือทั้งผู้ส่งออกและโรงสี เห็นพ้องว่าต้องมีมาตรการออกมาพยุงปริมาณข้าวไม่ให้ออกสู่ตลาดพร้อมกันช่วง 2 เดือนที่เหลือปีนี้ โดยมีการเสนอแนวทางฟื้นฟูการเก็บสต็อกข้าวในยุ้งฉางชาวนา และให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธกส)ปล่อยกู้มูลค่า 80% ของราคาข้าว เพื่อให้ระบายเมื่อข้าวมีราคาดีเหมาะสม ส่วนการรักษาเสถียรภาพราคา ก็ให้กระทรวงพาณิชย์ตั้งราคาแนะนำขั้นต่ำ โดยคำนวณบนพื้นฐานราคาตลาดโลก และชี้นำตลาดอย่างแท้จริง"นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ยอมรับว่าผู้ค้ากังวลต่อราคาข้าวในตลาดที่ขณะนี้ค่อนข้างผันผวนและแนวโน้มลดลง เพราะนาปีปีนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 2-3 ปีที่ไม่มีนโยบายรัฐในการกำหนดราคาไว้ให้ อย่างในอดีตข้าวเปลือกหอมมะลิก็ตั้งไว้ตันละ 20,000 บาท ฉะนั้นก็จะอยู่ว่าราคาซื้อขายควรเป็นอย่างไร แต่ตอนนี้ไม่มีราคากลาง ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐกับเอกชนก็ต้องหารือร่วมกันว่าจะใช้จุดใดในการเป็นแกนกลางราคากลางที่เหมาะสม รวมถึงโรงสีกับผู้ส่งออกจะร่วมมือกันในการผลักดันตลาดส่งออก และหากราคาส่งออกแย่ลงกว่าต้นทุนในประเทศ รัฐควรมีมาตรการดูแลช่วยเหลือ เชื่อว่าจะต้องหารือกันอีก 2-3 ครั้ง ถึงจะได้ข้อสรุป“ราคาส่งออกตอนนี้ไม่นิ่ง เปลี่ยนแปลงเร็วมาก บางรายแจ้งว่าผู้ซื้อขอราคาตันละ 800 ดอลลาร์สหรัฐฯเท่านั้น ทั้งๆราคาไม่ควรต่ำกว่า 900-1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ก็เชื่อว่าเป็นภาวะสั้นๆ ราคาข้าวหอมมะลิไม่ควรต่ำกว่า 900 ดอลลาร์ฯ ก็ขึ้นอยู่กับแนวทางเก็บปริมาณข้าวรอบใหม่ หากปล่อยมาพร้อมกัน 5-6 ล้านตันก่อนปีใหม่นี้ น่าเป็นห่วง ราคาจะตกอย่างถล่มทลาย”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : พาณิชย์เร่งแก้ปัญหาข้าวหอมล้นตลาด

Page 84 of 1552:« First« 81 82 83 84 85 86 87 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file