shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

ชอปกระจาย วันที่ 17 กันยายน 2557

ซื้อของผ่านมือถือโตไม่หยุด  ไพรซ์ซ่า ระบุ อีคอมเมิร์ซไทย ปี 58 เทรนด์ชอปปิงผ่านมือถือสมาร์ทโฟนจะเติบโตมากขึ้น จากวิธีการจ่ายเงินที่ง่ายขึ้น และการจัดส่งที่รวดเร็ว ภาพรวมตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม ที่ผ่านมาจะเห็นได้ชัดว่า ผู้บริโภค เข้าเว็บไซต์จากทางสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากแคมเปญ  Priceza Grand Sale 2014 มีผู้เข้าชมเว็บไซต์ ทั้งสิ้น 1,173,665 ราย แยกเป็นพีซี 561,819  ราย สมาร์ทโฟน 496,357 ราย และแท็บเล็ต 115,471 ราย กลุ่มสินค้าที่ผู้บริโภคสนใจเป็นพิเศษคือ โทรศัพท์ อุปกรณ์สื่อสาร สินค้าสำหรับแม่และเด็ก โรงแรม รีสอร์ท ที่พัก และการท่องเที่ยว ลบข้อมูลจากกูเกิล  อีริค ชมิดท์  ประธานกรรมการของกูเกิล ( Google) กล่าวที่กรุงมาดริดระหว่างการประชุมกับคณะผู้เชี่ยวชาญ ว่าต้องการให้มีการระบุชัดเจนถึงคำจำกัดความและการปฏิบัติตามคำสั่งของศาลยุโรป ว่าด้วยเรื่อง “สิทธิในการถูกลืม” (right to be forgotten) ชาวยุโรปสามารถขอให้กูเกิล ลบลิงก์ที่เชื่อมไปถึงข้อมูลที่ไม่ถูกต้องของตน หรือข้อมูลที่เห็นว่าน่าอับอาย ออกจากผลการค้นหาของ กูเกิลได้  เวลานี้มีชาวยุโรปยื่นคำร้องมากกว่า 120,000 คำร้อง เพื่อให้ลบลิงก์ต่าง ๆ มากกว่า 457,000 ลิงก์ นับตั้งแต่มีคำสั่ง โดยข้อมูลที่ต้องการให้ลบ มีตั้งแต่ประวัติอาชญากรรม รูปภาพที่น่าอับอาย การถูกก่อกวนรังควานทางอินเทอร์เน็ต ชมชิมแชะ  บริษัท พันธ์สุข 2008 จำกัด เจ้าของโครงการ “พันธ์สุข ฟู้ด แอนด์ ฟาร์ม” สถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ล่าสุดของชะอำ ริมถนนเพชรเกษม  (ฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ กม.183) แนะนำเว็บไซต์ท่องเที่ยวที่ครบสูตรแบบ ชม-ชิม-ช้อป-แชะ อาทิ นั่งรถม้าชมฟาร์ม ป้อนนม ป้อนหญ้าให้ลูกแกะ ชมม้าแคระ และน้องกระต่ายน่ารัก ชิมอาหารอร่อยกับพันธ์สุขสเต็กเฮ้าส์ และ ช้อปของฝากติดมือที่คัดสรรมาแล้วจากบ้านขนมพันธ์สุข ปิดท้ายด้วยแชะที่มุมถ่ายรูปสวย ๆ ด้วยสถาปัตยกรรมสไตล์อเมริกัน–อิงลิช คันทรี ผสมผสานรูปแบบฟาร์มสไตล์ยุโรป ดูข้อมูลก่อนเดินทางได้ที่ www.pansook.com FB : 1000Sook Food and Farm

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ชอปกระจาย วันที่ 17 กันยายน 2557

Posts related

 














ผลการศึกษาพฤติกรรมการซื้อออนไลน์

ผู้บริโภคในประเทศไทยที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ผู้บริโภคที่เพิ่งซื้อสินค้าทางออนไลน์, ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าทางออนไลน์มานานพอสมควรแล้ว, คนที่ไม่ซื้อสินค้าออนไลน์ และผู้ขาย โดยคนไทยจำนวนมากสนใจทดลองซื้อสินค้าออนไลน์เป็นครั้งแรก ข้อมูลจาก TNS ระบุว่า 40% ของคนไทย ไม่เคยซื้อสินค้าออนไลน์คิดว่าจะซื้อสินค้าออนไลน์ในอีก 12 เดือนข้างหน้า โดย 47% ของคนไทยที่ออนไลน์ คิดว่าจะซื้อเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายเป็นอันดับแรก ๆ นักช้อปออฟไลน์จะถูกกระตุ้นให้ทดลองซื้อสินค้าออนไลน์จากตัวอย่างของเพื่อนและครอบครัว และยิ่งถ้ามีตัวเลือกชำระด้วยเงินสดตอนรับสินค้า 16%  ต้องการทดลองซื้อสินค้าออนไลน์ ถ้ารู้ว่ามีเพื่อนหรือญาติพี่น้องมีประสบการณ์ที่ดีกับการซื้อสินค้าออนไลน์ชนิดเดียวกัน 14% ต้องการทดลองซื้อสินค้าออนไลน์ถ้าสามารถชำระค่าสินค้าด้วยเงินสด เมื่อสินค้ามาส่ง นักช้อปออนไลน์ระบุว่าปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์คือ ช่วยประหยัดเวลา และสินค้ามีราคาถูกกว่าร้านค้าปลีก หรือตลาดทั่วไป สำหรับอุปสรรคของการซื้อสินค้าออนไลน์ 52% ให้เหตุผลว่า ไม่มั่นใจในคุณภาพของสินค้าที่จะได้รับ 47% กังวลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลทางการเงิน และ 41% อยากเห็นสินค้าจริงก่อนตัดสินใจซื้อ นอกจากนี้การรับประกันสินค้าก็มีส่วนสำคัญ 34% ของนักช้อปที่ไม่ออนไลน์ไม่แน่ใจว่าการรับประกันสินค้าจะใช้ได้กับสินค้าที่ซื้อผ่านทางออนไลน์ 33% ซื้อสินค้าในตลาดหรือร้านค้า ที่เข้าถึงสินค้าที่ซื้อได้ทันที และ 33% ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลสินค้าและบริการ แต่ไม่ได้ซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ รายงานยังระบุอีกว่า ผู้บริโภคซื้อเครื่องแต่งกายบ่อยกว่าซื้อโทรศัพท์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 2 เท่า แต่ค่าใช้จ่ายสำหรับสินค้าเครื่องแต่งกายคิดเป็นแค่ 1 ใน 7 ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ในแง่ของผลจากโฆษณาออนไลน์ จะกระตุ้นให้เกิดการกระทำและกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้า 68% ลงมือค้นหาข้อมูลสินค้าทันทีที่เห็นจากโฆษณา 73% ใช้ข้อมูลจากโฆษณาเพื่อค้นคว้าต่อเกี่ยวกับสินค้า โดย 39% ของนักช้อปออนไลน์เริ่มต้นค้นคว้าจากเครื่องมือ search engines 37% หาข้อมูลจากเครือข่ายสังคม มีเพียง 23% ที่ค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ของผู้ผลิต หรือเจ้าของแบรนด์ ในขณะที่ 22% ของผู้บริโภคใช้เว็บไซต์เพื่อเปรียบเทียบสินค้า 19% หาข้อมูลจากเว็บไซต์ประมูล.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ผลการศึกษาพฤติกรรมการซื้อออนไลน์

ช่อง 3 อนาล็อกอยู่หรือไป บนจานดาวเทียม เคเบิล

เป็นเรื่องเป็นราวมานานร่วมครึ่งเดือน สำหรับปัญหาช่อง 3 ระบบอนาล็อก กับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ที่มีมติสั่งโครงข่ายดาวเทียม และเคเบิลทีวี ห้ามนำช่อง 3 อนาล็อกออกอากาศ ซึ่งส่งผลให้ประชาชนที่รับชมทีวีผ่านจานยี่ห้อต่าง ๆ และเคเบิล มากกว่า 70% ต้องวิตกกังวลว่า จะไม่สามารถรับชมช่อง 3 อนาล็อก โดยเฉพาะบรรดาคอละครที่ร่ำ ๆ กันว่า หวั่นจะไม่ได้ดูพระเอก นางเอกในดวงใจ เหตุการณ์ดังกล่าวจึงส่อเค้าวุ่นวาย และกลายเป็นกระแสสังคมที่งัดกฎระเบียบ หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นมาสู้กัน ทำให้ล่าสุดวันที่ 17 ก.ย. นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นบอร์ด กสทช.จำนวน 10 คนมีทั้งกรรมการ ฝั่งโทรคมนาคม และฝั่งวิทยุ-โทรทัศน์ จะร่วมพิจารณาหนังสือร้องจากบิ๊กบอสช่อง 3 นายประวิทย์ มาลีนนท์ ที่เดินทางมายื่นขอให้ทบทวนมติที่ส่งผลให้ช่อง 3 อนาล็อกจอดำ ด้วยตนเองเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มาลุ้นกันว่าบอร์ด กสทช.จะรับข้อทบทวน 3 ข้อหรือไม่?  ได้แก่ 1. ขอให้ทบทวนมติที่ประชุม กสท. เมื่อวันที่ 8 ก.ย.57 ที่ระบุให้ ผู้ประกอบการโครงข่ายดาวเทียมและเคเบิลทีวี ยุติการนำช่องอนาล็อกมาออกอากาศ ภายใน 15 วันนับจากได้รับหนังสือคำสั่งจาก กสทช.  2. ให้ทบทวนมติ กสท. เมื่อวันที่ 3 ก.พ.57 ที่มีคำสั่งให้ช่องอนาล็อกยุติการเป็นฟรีทีวี และ 3. ขอให้ กสทช.คุ้มครองและเยียวยาระหว่างที่มีการพิจารณาโดยให้ช่อง 3 สามารถออกอากาศได้จนกว่าจะมีข้อยุติ  เมื่อเท้าความกลับไป ทำไมช่อง 3 อนาล็อกกำลังจะประสบปัญหาจอดำบนดาวเทียม และเคเบิล  เนื่องจากช่องฟรีทีวีเดิม 6 ช่อง (ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และช่องไทยพีบีเอส) ซึ่งถือเป็นผู้รับใบอนุญาตตามบทเฉพาะกาลแห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ได้สิ้นสุดการทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป หรือฟรีทีวี นับจากวันที่ทีวีดิจิตอล เริ่มออกอากาศแล้ว 30 วัน ซึ่งสิ้นสุดวันที่ 28 พ.ค.57 จากนั้น กสท.ได้ลงมติต่อขยายให้อีก 100 วัน (เนื่องจากเป็นช่วงที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้าควบคุมอำนาจการบริหารงานของประเทศ และเป็นช่วงของการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และฟรีทีวีเดิมถือเป็นช่องทางสำคัญที่จะเข้าถึงการรับชมของประชาชน)  หลังจากนั้นวันที่ 1 ก.ย. 57 กสท. ไม่มีการขยายระยะเวลา จึงถือว่าเป็นวันสิ้นสุดการทำหน้าที่ฟรีทีวีของทั้ง 6 ช่องนั้น ส่งผลให้ดาวเทียมและเคเบิล ไม่จำเป็นต้องนำฟรีทีวีเหล่านี้ไปออกอากาศ บนโครงข่ายดาวเทียม เคเบิล แต่ฟรีทีวีเดิมทั้ง 5 ช่อง (ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และช่องไทยพีบีเอส) ได้ขออนุญาตออกอากาศคู่ขนานโดยสามารถนำผังรายการทั้งหมดยกไปออกคู่ขนานในระบบดิจิตอลบนช่องที่ประมูลได้มา พร้อมทั้งสามารถรับชมผ่านเสาอากาศ หนวดกุ้ง ก้างปลา กล่องดิจิตอล รวมถึงดาวเทียม เคเบิล  ยกเว้นช่อง 3 ที่ไม่ยอมออกอากาศคู่ขนานในช่องที่ตนเองประมูลมาได้ 3 ช่อง คือ ช่อง 3 SD หมายเลข 28 ช่อง 3 HD หมายเลข 33 และช่อง 3 Family หมายเลข 13 ทำให้ช่อง 3 อนาล็อกรับชมได้เฉพาะเสาอากาศ หนวดกุ้ง ก้างปลา ตามสัญญาสัมปทานเดิมปี 2563 เท่านั้น  นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ระบุว่า แนวทางการพิจารณาของที่ประชุมกสทช. ในวันที่ 17 ก.ย.นี้จะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น หาก กสทช. รับไว้พิจารณาอาจจะต้องมีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาเพื่อดูแลในส่วนเหล่านี้ หรือแม้กระทั่งให้คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายเป็นผู้พิจารณา หรือ กสทช.อาจจะไม่ทบทวนเรื่องนี้เลย  อย่างไรก็ตามประตูทางออกจะเปิดไปทิศทางไหน สุดท้ายสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ ผู้รับชมมากกว่า 70 % ที่รับชมผ่านดาวเทียม เคเบิล ไม่ได้รับผลกระทบ ช่อง 3 กสทช. กสท. จะเคลียร์กันลงตัวหรือไม่ รู้กัน. ชี้แจงช่อง 3 นายประวิทย์ มาลีนนท์ ช่อง 3 ยืนยันว่าจะพยายามไม่ให้ช่อง 3 อนาล็อกเกิดจอดำ  ในขณะที่ผ่านมายืนยันว่าไม่ออกคู่ขนานแน่นอน เพราะตามสัญญาสัมปทานสามารถออกอากาศระบบอนาล็อกไปจนถึงปี 2563 โดยได้ชี้แจงว่า ช่อง 3 อนาล็อก กับช่อง 3 ดิจิตอลที่ประมูลได้มา 3 ช่องเป็นคนละบริษัทและไม่สามารถนำเอาช่อง 3 อนาล็อกมาไว้บนช่องดิจิตอลได้ เนื่องจากติดเงื่อนไขสัญญาสัมปทานกับ อสมท รวมถึงผิดกฎกติกา กสทช.ที่ระบุไว้ว่าผู้รับใบอนุญาตต้องดำเนินกิจการด้วยตนเอง  หรือหาก กสท.อนุญาตให้บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด นำรายการของช่อง 3 ไปออกอากาศคู่ขนาน (Pass Through) โดยที่สัญญาณ เนื้อหารายการและโฆษณาของช่อง 3 จะต้องไม่ถูกดัดแปลง แก้ไขใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่เช่นนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาแก่ช่อง 3 ในเรื่องลิขสิทธิ์รายการ จากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ และยังมีขั้นตอนที่ทั้ง บีอีซี มัลติมีเดีย และบางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ ต้องไปดำเนินการระหว่างกันให้ถูกต้อง อีกทั้งยังต้องไปหารือทำความตกลงกับ กสท. ในเรื่องการขออนุญาต ค่าประมูล ค่าสัมปทาน ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ส่วนจะให้ช่อง 3 อนาล็อกขออนุญาตออกอากาศเป็นแบบบอกรับสมาชิก (Pay TV) เป็นไปไม่ได้ เพราะการเป็น Pay TV แล้วให้โครงข่ายดาวเทียมและเคเบิลเอาสัญญาณของช่อง 3 ไปออกอากาศได้นั้น เจ้าของลิขสิทธิ์รายการของช่อง 3 จะถือว่าเป็นธุรกิจใหม่ ประเภท Pay TV จะต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ใหม่ และค่าธรรมเนียมใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะมีการดัดแปลง แก้ไขสัญญาณ เนื้อหารายการ หรือโฆษณา หรือไม่ก็ตาม

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ช่อง 3 อนาล็อกอยู่หรือไป บนจานดาวเทียม เคเบิล

Page 102 of 805:« First« 99 100 101 102 103 104 105 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file