shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

‘ทรู’ยกระดับบรอดแบนด์ไทย เพิ่มความเร็ว 15 เมกะบิตราคาเดิม

“ทรูออนไลน์” อัพสปีดให้ลูกค้าจาก 10 เมกฯ เป็น 15 เมกฯ แต่ราคาเดิม เผยสิ้นไตรมาส 2 เติบโต  11.5% รวมลูกค้าทั้งหมดเกือบแตะ 2 ล้านราย  นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช หัวหน้าสายงานการพาณิชย์และพัฒนาธุรกิจ ทรูออนไลน์ และทรูวิชั่นส์ บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทรูออนไลน์ขยายความเร็วอินเทอร์เน็ต (สปีด) เริ่มต้น จากเดิม 10 เมกะบิต( Mbps)เพิ่มขึ้นเป็น 15 เมกะบิตในราคาเดิมเพียงเดือนละ 599 บาท ซึ่งเป็นผู้ให้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตรายแรกที่สามารถปรับความเร็วเริ่มต้น 15 เมกะบิต เพื่อยกระดับมาตรฐานอินเทอร์เน็ตไทย โดยจะทยอยเริ่มสปีดจาก 10 เมกะบิต เป็น 15 เมกะบิต ฟรีให้ลูกค้าทรูออนไลน์ในปัจจุบันให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้ ส่วนลูกค้าใหม่สามารถใช้บริการเคเบิลอินเทอร์เน็ต DOCSIS อัพสปีดความเร็วดาวน์โหลดเป็น 15 เมกะบิต และอัพโหลดเป็น 1.5 เมกะบิต  พร้อมรับฟรีสิทธิยืมอุปกรณ์ไวไฟ เราท์เตอร์ และค่าบริการติดตั้ง-เดินสาย เพื่อตอบโจทย์ชีวิตออนไลน์ที่แชร์กันได้ทั้งครอบครัว พร้อมเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์ใหม่ “บอย-ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ และครอบครัว” เป็นตัวแทนกลุ่มเป้าหมายลูกค้าครอบครัวที่มีไลฟ์สไตล์แตกต่างกัน นายมนัสส์  กล่าวต่อว่า สำหรับไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ทรูออนไลน์มีรายได้เพิ่มขึ้น 11.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มีจำนวนลูกค้าบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 72,111 ราย สูงสุดเท่าที่เคยมีมา โดยลูกค้าใหม่มากกว่าครึ่งเป็นลูกค้าต่างจังหวัด ทำให้ยอดผู้ใช้บริการบรอดแบนด์เพิ่มขึ้นเป็น 1.94 ล้านราย และมีรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้บริการ 705 บาทต่อเดือน สูงกว่าค่าเฉลี่ยในตลาด เป็นผลมาจากแพ็กเกจคอนเวอร์เจนซ์ที่ได้รับความนิยมสูงและความคุ้มค่าด้วยมาตรฐานความเร็วใหม่.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ‘ทรู’ยกระดับบรอดแบนด์ไทย เพิ่มความเร็ว 15 เมกะบิตราคาเดิม

Posts related

 














ห้องปฏิบัติการบนชิพ

เป็นเรื่องน่าทึ่งในวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ที่ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถย่อส่วนห้องปฏิบัติการที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือมากมาย  มาอยู่บนชิพ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เล็ก ๆ ที่มีขนาดเท่า ๆ กับซิมบนมือถือโดยเราเรียกเทคโนโลยีที่ถือว่าเป็นศาสตร์ใหม่และกำลังมาแรงทั่วโลกนี้ว่า “ห้องปฏิบัติการบนชิพ” หรือ “แล็บออนชิพ”(Lab on Chip) “ดร.อดิสร   เตือนตรานนท์”   ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยนาโนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกลจุลภาค  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะที่ปรึกษาสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)  บอกว่า  ได้มีส่วนร่วมในการวางแผนยุทธศาสตร์ด้านเซ็นเซอร์ของประเทศ ซึ่งมีอยู่ 4 ด้านคือด้านอาหารและการเกษตร  ด้านสุขภาพ  ด้านขนส่งและโลจิสติกส์  และด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมซึ่งสิ่งที่ทีมวิจัยกำลังทำอยู่ก็คือด้านสุขภาพ ซึ่งมี 2 เทคโนโลยีที่น่าสนใจก็คือเรื่องของไบโอเซ็นเซอร์ และแล็บออนชิพนั่นเองดร.อดิสร บอกว่า ทำเรื่องแล็บออนชิพ มาเป็น 10 ปี เดิมเป็นที่รู้จักในชื่อว่า Microfluidics Chip หรือระบบของไหลจุลภาคบนชิพปัจจุบันถือเป็นเทคโนโลยีที่กำลังมาแรง  โดยเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ทางเคมีที่มีประสิทธิภาพสูง ตรวจวัดได้รวดเร็ว มีความแม่นยำสูง น่าเชื่อถือ ขนาดเล็ก และสามารถพกพาไปออกตรวจนอกสถานที่ได้   โดยอาศัยเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสร้างโครงสร้างขนาดเล็กของท่อขนาดไมโครเมตร บนแผ่นชิพที่ทำมาจากวัสดุประเภทแก้วหรือพลาสติก แล็บออนชิพ ถูกนำไปใช้ในการตรวจวัดได้หลากหลาย เช่น การตรวจวัดทางสิ่งแวดล้อม การตรวจวัดสารพิษในอาหาร หรือการตรวจวัดทางการแพทย์บางคนอาจจะนึกไปถึงเทสต์คิท   หรือชุดตรวจทดสอบแบบพกพา  แต่ ดร.อดิสร บอกว่า ไม่ใช่  เพราะแล็บออนชิพซับซ้อนมากกว่า  เพราะในท่อที่ของเหลวไหลผ่านบนชิพเล็ก ๆ นั้น จะมีทั้งหัวฉีด ไมโครปั๊ม ตัวกรอง ตัวผสม วาล์ว รวมไปถึงเซ็นเซอร์ตรวจวัดสิ่งต่าง ๆ ทำให้เลือดเพียงหยดเดียว ก็เพียงพอสำหรับการตรวจสอบ คัดกรองและบอกผลได้เหมือนกับการใช้อุปกรณ์มากมายในห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่รวดเร็ว ประหยัด ทั้งสารตั้งต้นในการตรวจสอบและลดต้นทุนสารเคมีที่ใช้ถือเป็นสหสาขาวิชา… ที่เกิดขึ้นมานานในต่างประเทศและเริ่มเป็นที่สนใจอย่างแพร่หลายเมื่อไม่นานมานี้   ปัจจุบันมีบริษัทที่นำเทคโนโลยีดังกล่าวไปสร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์จำนวนมาก  แต่ยังอยู่ในกลุ่มประเทศยุโรป สหรัฐอเมริกาและเกาหลี โดยมีมูลค่าตลาดประมาณ  5 หมื่นล้านบาทในปี 2556 และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเทศไทย ดร.อดิสร บอกว่า มีความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนี้แบบเครือข่าย โดยนำไปประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ อย่างเช่น ได้ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการตรวจหาสารอัลบูมินหรือไข่ขาวในปัสสาวะ ซึ่งได้ผลเทียบเท่าในห้องปฏิบัติการ  หรือได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต  ใช้ในการแปลงเพศไข่ปลานิลรวมไปถึงโครงการวิจัยห้องปฏิบัติการระบบของไหลจุลภาคบนชิพที่มีวัสดุนาโนประกอบรวมสำหรับการวิเคราะห์ทางเคมีอย่างรวดเร็ว  ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. ที่มุ่งเน้นการใช้วัสดุโครงสร้างระดับนาโน ได้แก่ ท่อคาร์บอนนาโน ลวดนาโน และอนุภาคนาโน   มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจวัดของเซ็นเซอร์บนชิพ   ทำให้การตรวจวัดทางเคมีไฟฟ้าบนชิพมีความไวสูงขึ้น สามารถวัดสารปริมาณน้อย ๆ ได้ดีขึ้น มีอายุการใช้งานยาวนานยิ่งขึ้น และมีความแม่นยำมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการวิจัยเทคนิคใหม่ ๆ ในการติดวัสดุโครงสร้างนาโนด้วยเทคนิคการพิมพ์แบบอิงค์ เพื่อความสะดวกและลดต้นทุนในการสร้างชิพ และวิจัยวัสดุใหม่ ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการตรวจวัด ได้แก่ วัสดุกราฟีน ซึ่งเป็นวัสดุคาร์บอน 2 มิติ ที่มีพื้นที่ผิวมากกว่าท่อคาร์บอนนาโนถึงสองเท่า และมีการถ่ายเทอิเล็กตรอนที่ดี  ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจวัดได้เพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัวสำหรับเทรนด์หรือแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีนี้   นักวิจัย บอกว่า ส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่ 3 ด้านคือ การใช้ในการทดสอบยา    แทนการทดสอบในสัตว์ทดลอง โดยจะช่วยลดเวลาในการพัฒนายา จาก 10 ปี เหลือประมาณ 3 ปี ต่อยาหนึ่งตัว   งานด้านวิเคราะห์ ตรวจสอบต่างๆ เช่นการตรวจหาความผิดปกติของยีน หรือพันธุกรรม   และการนำไปสร้างอุปกรณ์ทางการแพทย์ขนาดจิ๋ว เช่น  ไมโครปั๊มสำหรับฟอกไตที่สามารถฝังในร่างกายผู้ป่วยได้เลยอย่างไรก็ดี ปัจจุบันประเทศไทยแม้จะมีการตั้งกลุ่มเครือข่ายงานวิจัยด้านนี้ และมีการร่วมวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จมากนักในการผลักดันให้เอกชนนำไปผลิตในเชิงพาณิชย์  ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไปฝากไว้ …เดี๋ยวจะตามเทคโนโลยีไม่ทัน!!!.นาตยา คชินทรnattayap.k@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ห้องปฏิบัติการบนชิพ

‘365คอมมูนิเคชั่น’ โวสิ้นปีลูกค้า 3จี แสนราย

365 คอมมูนิเคชั่น เปิดให้บริการ 3 จี บนย่านความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ มั่นใจสิ้นปีลูกค้า 1 แสนราย ล่าสุดผนึก โมเดอน จีเน็ต ชูคอนเซปต์โครงข่ายแห่งอนาคตเน้นเพิ่มความเร็วเน็ตตอบสนองความต้องการลูกค้า นายสุรินทร์ ฤทธีภมร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ให้บริการ MVNO กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการ 3 จี บนย่านความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ ที่ครอบคลุมพื้นที่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยเน้นจุดเด่นความเร็วที่ให้ลูกค้ามากกว่าคู่แข่งอีก 3 รายในตลาดกว่า 2 เท่า ตั้งเป้าหมายมีลูกค้า 100,000 ราย ในสิ้นปีนี้ จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 15,000 ราย จากการให้ทดลองใช้เป็นเวลา 1 เดือน สำหรับแผนการตลาดจะเน้นการตลาดออนไลน์ โดยใช้เงิน 100 ล้านบาท และการร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจเพื่อเพิ่มช่องทางการขายและให้บริการ ล่าสุดได้ร่วมมือกับ บริษัท โมเดอน จีเน็ต จำกัด ผู้นำเข้าโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต และส่งทีมงานฝ่ายเทคนิคหารือกับ กสท เพื่อวางสเปกที่สูงในราคาที่ถูกกว่าคู่แข่งบนเครื่องของโมเดอน จีเน็ตให้รองรับคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ และรองรับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่าลูกค้าปัจจุบันจะหันมาซื้อสมาร์ทโฟน และ แท็บเล็ต ที่คุณภาพสูงแต่ราคาพอรับได้ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในยุคปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ที่เปิดให้ลูกค้าทดลองใช้งานและการทำ3จี MVNO กับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ที่ผ่านมา ทำให้เข้าใจถึงปัญหาและนำมาปรับปรุงเพื่อให้บริการ  จึงมั่นใจว่าโครงข่ายของ กสท ที่มีความพร้อมรองรับลูกค้าอีกกว่า 10 ล้านเลขหมาย จะทำให้ลูกค้าพอใจในความเร็วที่ให้มากกว่าคู่แข่งในราคาที่ถูกกว่า นอกจากนี้ยังมีโปรโมชั่นให้เลือกกว่า 20 โปรโมชั่น.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ‘365คอมมูนิเคชั่น’ โวสิ้นปีลูกค้า 3จี แสนราย

Page 132 of 805:« First« 129 130 131 132 133 134 135 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file