shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

ฟู้ดแพนด้า ศูนย์อาหารออนไลน์ – ชอปฉลาด

ปกติไม่ว่าจะเป็นอาหารดิลิเวอรี่ให้โทรฯ สั่งหรือว่าสั่งอาหารแบบออนไลน์ ในเมืองไทย มักจะสั่งได้ทีละร้านค้า หากอยากทานอาหารที่หลากหลายคงต้องกดเบอร์โทรฯ หรือคลิกหลายครั้ง แต่ “ฟู้ดแพนด้า” ไม่ใช่… เพราะที่นี่ เปรียบเสมือนศูนย์อาหารออนไลน์ที่รวมร้านอาหารหลากหลายเมนู มาให้เลือกในเว็บเดียว “อเล็กซานเดอร์ เฟลเด้” ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟู้ดแพนด้า ประเทศไทย(www.foodpanda.co.th) บอกว่า ฟู้ดแพนด้า คือผู้ให้บริการสั่งอาหารออนไลน์ระดับโลก ที่เริ่มเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โดยมอง เห็นศักยภาพการเติบโตของประเทศไทย ซึ่งดูได้จากตลาดการใช้งานอินเทอร์เน็ตและอินเทอร์เน็ตบนมือถือที่ไทยมีการเติบโตสูงมากเป็นลำดับต้น ๆ ในทวีปเอเชีย มีการสำรวจพบว่าคนไทยใช้อินเทอร์ เน็ตเฉลี่ยถึงวันละ 5 ชั่วโมง และใช้ผ่านมือถือถึง 3 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ยังชอบเข้าโซเชียลมีเดีย และนิยมใช้ฟีเจอร์ระบุตำแหน่ง หรือโลเกชั่นอีกด้วย ปัจจัยสำคัญเหล่านี้ทำให้ฟู้ดแพนด้ามั่นใจในการเข้ามาทำตลาด และพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติมให้กับพฤติกรรมของผู้ใช้งานในประเทศไทย และถือเป็นผู้ให้บริการจัดส่งอาหารรายเดียวในประเทศไทยที่ให้บริการบนแพลต ฟอร์มออนไลน์อย่างครบวงจร สั่งได้ทั้งแบบการโทรฯ ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ และผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ การสั่งอาหารทำได้ง่าย ๆ ใน 2 นาที แค่เลือกโลเกชั่น เลือกร้านอาหารสั่งอาหาร และเลือกวิธีชำระเงิน ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ปัจจุบันให้บริการในพื้นที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่และพัทยา มีร้านอาหารให้เลือกกว่า 400 ร้าน จากการพัฒนาระบบให้ใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็วและปลอดภัยนี้เอง ทำให้ปัจจุบันฟู้ดแพนด้ามียอดการสั่งอาหารทางออนไลน์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย และเป็นผู้ให้บริการสั่งอาหารออนไลน์ที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในตลาด โดยมีการเติบโตประมาณ 15% ต่อสัปดาห์ โดยมีผู้ใช้บริการประมาณ 1.5 ล้านราย ซึ่งในจำนวนนี้จะมีผู้มาใช้บริการซ้ำใน 1 สัปดาห์ประมาณ 20-25% ส่วนค่าอาหารเฉลี่ยต่อบิล ประมาณ 650-700 บาท การสั่งอาหารในปัจจุบัน มียอดการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ ประมาณ 50% และ 45% มาจากการสั่งอาหารผ่านเว็บไซต์ และมีเพียง 5% ของลูกค้าที่ยังคงสั่งอาหารทางโทรศัพท์ ผู้บริหารฟู้ดแพนด้า บอกว่า จุดแข็งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของฟู้ดแพนด้าก็คือ มีการศึกษาลูกค้าที่มาใช้บริการอย่างชัดเจน มีระบบวิเคราะห์ ดูทั้งด้านโลเกชั่น ประเภทอาหารรวมถึงพฤติกรรมการสั่ง ซึ่งนำไปปรับปรุงบริการ และให้ทีมงานในพื้นที่เป็นผู้ทำตลาดเพื่อเข้าถึงลูกค้าอย่างแท้จริง สำหรับพฤติกรรมลูกค้าที่ใช้บริการ ถ้าเป็นใน กทม. สัดส่วนต่างชาติประมาณ 55% คนไทยประมาณ 45% หากเป็นต่างจังหวัด เช่นพัทยาและเชียงใหม่ จะเป็นคนไทยประมาณ 70% ต่างชาติ 30% โดยคนไทยส่วนใหญ่จะสั่งอาหารไทย พิซซ่า และเบเกอร์ ส่วนชาวต่างชาติมักจะสั่งอาหารนานาชาติ เช่นอเมริกัน เบเกอร์หรือซูชิ ฟู้ดแพนด้าตั้งเป้าภายในสิ้นปีนี้ จะมีพันธมิตรร้านอาหารเพิ่มอีก 150-200 ร้านค้า และจะมีถึง 1 พันร้านค้าในปีหน้า และยังเน้นการให้บริการในกรุงเทพฯ แต่จะขยายพื้นที่ครอบคลุมมากขึ้นจากเดิมที่จะอยู่บริเวณ สุขุมวิท สีลม และสาทร สนใจ…เริ่มหิวแต่ไม่อยากออกไปไหน สั่งอาหารออนไลน์ ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.foodpanda.co.th หรือเข้าไปโหลด แอพพลิเคชั่น “ฟู้ดแพนด้า” รองรับระบบไอโอเอส แอนดรอยด์ วินโดว์ส โนเกียเอ็กซ์ และโนเกียอัชช่า หรือพิมพ์ http://goo.gl/GDTSRx ในเว็บเบราว์เซอร์ คลิกสั่งแล้วก็รอได้เลย!!. นาตยา คชินทร nattayap.k@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ฟู้ดแพนด้า ศูนย์อาหารออนไลน์ – ชอปฉลาด

Posts related

 














รู้นะว่ามองอะไรอยู่ – รอบรู้ไอที รอบโลกเทคโนโลยี

ในศตวรรษที่ 21 ที่ใคร ๆ ก็เรียกกันว่าเป็นยุคแห่งสารสนเทศ ยุคที่อะไร ๆ ก็ต้องเป็นไอที ต้องข้องเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตไปเสียเกือบทุกอย่าง คำว่า อีคอมเมิร์ซ ( e-Commerce) ตอนนี้กลายเป็นคำที่คุ้นหูและเป็นคำติดปากนักการค้าสมัยใหม่ไปเสียแล้วนะครับ ซึ่งถ้าพูดถึงการโฆษณาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์แล้ว เชื่อว่าคุณผู้อ่านหลาย ๆ คนคงจะนึกถึงป้ายโฆษณาหรือป้ายแบนเนอร์ (Banner) ที่มักมีแปะอยู่เต็มรอบ ๆ ระหว่างที่เรากำลังอ่านเว็บไซต์ใช่ไหมครับ แต่คุณผู้อ่านทราบไหมครับ ว่าเทคนิคการใช้แบนเนอร์โฆษณาบนเว็บไซต์ ที่ดูเป็นเทคนิคพื้นฐาน เห็นกันจนชิน และ ดูปกติธรรมดาเอามาก ๆ สำหรับการโฆษณาทางอินเทอร์เน็ตนี้ ปัจจุบันเริ่มจะเสื่อมความนิยมลงแล้ว มีบริษัทหลายแห่งที่ทิ้งรูปแบบการประชาสัมพันธ์ด้วยแบนเนอร์วางบนเว็บไซต์นี้ไปเลย สาเหตุไม่ใช่เพราะว่าพวกเขาเบื่อหรืออะไรหรอกนะครับ แต่เพราะพวกเขาเริ่มตระหนักถึงปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Banner Blindness ปรากฏการณ์ Banner Blindness พูดง่าย ๆ ก็คือ อาการที่นักท่องอินเทอร์เน็ตเข้าไปดูเว็บไซต์หนึ่ง ๆ โดยมองข้ามแบนเนอร์โฆษณาทั้งหมดไปโดยสิ้นเชิง เรียกว่าไม่ได้แม้แต่จะสังเกตเห็นชื่อร้านค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เขียนอยู่บนแบนเนอร์เหล่านั้นแม้แต่น้อยเลยล่ะครับ สาเหตุของอาการนี้ไม่ใช่เพราะว่าแบนเนอร์เหล่านั้นดีไซน์มาไม่สวยไม่โดนใจผู้เข้าชมเว็บไซต์นะครับ แต่เพราะนักท่องอินเทอร์เน็ตเกิดความ “เคยชิน” กับตำแหน่งของแบนเนอร์โฆษณาบนเว็บไซต์นั้น ๆ ไปเสียแล้วต่างหาก อ่านมาถึงตรงนี้ คุณผู้อ่านนึกสงสัยบ้างไหมครับ ว่า บรรดาเจ้าของบริษัทและนักประชาสัมพันธ์เขารู้สึกถึงปรากฏการณ์นี้ได้อย่างไร ไปไล่ถามจากนักท่องอินเทอร์เน็ตแต่ละคน หรือ คอยแอบสังเกตเวลาใครกำลังดูเว็บไซต์อยู่หรือเปล่า จริง ๆ วิธีเหล่านั้นก็สามารถทำได้ครับ แต่เดี๋ยวนี้เรามีตัวช่วยเป็นเทคโนโลยี Eye-Tracking หรือ เทคโนโลยีที่ทำให้สามารถรู้ได้ว่าตอนนี้ลูกตาของคน ๆ หนึ่งกำลังจ้องมองอยู่ที่จุดไหนในภาพอยู่ โดยผลที่ได้จากการวิเคราะห์นี้นอกจากจะสามารถรู้ได้ว่าใครมองอะไรที่จุดไหนในภาพบ้างแล้ว ยังสามารถวิเคราะห์ต่อได้ด้วยว่า ใครใช้เวลามองมากหรือน้อยในจุดไหน และ ลำดับในการกวาดสายตาของเราเริ่มจากตำแหน่งไหนไปตำแหน่งไหน จากรายงานในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาของ Business Insider มีการนำเทคโนโลยี Eye-Tracking มาใช้วิเคราะห์การมองภาพของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งผลที่ได้ก็น่าสนใจหลายประการเลยครับ ตัวอย่างเช่น ปรากฏการณ์ที่ผู้เข้ารับการทดลองเอาแต่อ่านเนื้อความหลักของเว็บไซต์โดยไม่สนใจจะมองแบนเนอร์ที่วางอยู่ด้านข้างเลย หรือ ผลในหน้า New Feed ของเฟซบุคที่พบว่า ผู้เข้ารับการทดลองสนใจมองกันแต่ที่รูปภาพมากกว่าที่จะมองส่วนที่เป็นตัวอักษรหรือคำบรรยาย สำหรับในระบบการค้นหาข้อมูลด้วยกูเกิล พบว่ากลุ่มทดลองส่วนใหญ่ให้ความสนใจมองแต่ผลการค้นหาที่ถูกเขียนอยู่ใน 5 อันดับแรกเท่านั้น ส่วนผลในลำดับอื่น ๆ ที่ถัดมานั้นแทบจะไม่ได้รับความสนใจในการมองดูเลย เห็นไหมครับว่าการดีไซน์ออกแบบและการโฆษณาทางอินเทอร์เน็ตเดี๋ยวนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ แล้ว ต่อให้เอาข้อมูลไปวางไว้อยู่ในทุก ๆ เว็บไซต์ ก็ใช่ว่าคนที่เข้ามาชมจะสนใจมองดูข้อมูลนั้นเสมอไป ถ้าหากว่าสิ่งที่มุ่งหวังจริง ๆ คือ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ดึงดูดสายตาและความสนใจของผู้ชมที่ผ่านไปมาแล้วล่ะก็ ความสวยงามทางศิลปะไม่ใช่คำตอบสุดท้ายเพียงหนึ่งเดียว แต่ปัจจัยทางด้านแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคปัจจุบันเองก็ไม่สามารถจะละเลยได้ แล้วคุณผู้อ่านล่ะครับ พร้อมหรือยังที่จะนำศาสตร์แห่งเทคโนโลยีมาประสานเข้ากับศิลป์แห่งการออกแบบ เพื่อทำให้ธุรกิจหรืองานของเราโดดเด่นสะดุดตาไม่แพ้ใครบนรันเวย์แฟชั่นโชว์ที่เดิมพันด้วยสายตาของชาวไซเบอร์จำนวนนับไม่ถ้วนแห่งนี้ . ผศ.ดร.ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช มหาวิทยาลัยรังสิต chutisant.k@rsu.ac.th   

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : รู้นะว่ามองอะไรอยู่ – รอบรู้ไอที รอบโลกเทคโนโลยี

รู้จัก “5พฤติกรรมลูกค้าออนไลน์”

แนะวิธีรับมือและดึงดูดความสนใจให้นักท่องเว็บไซต์ นักชอปออนไลน์ หันมาสนใจสินค้าและบริการก่อนจะถูกมองข้ามไปอย่างรวดเร็ว นายทรงยศ คันธมานนท์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง ReadyPlanet.com  กล่าวว่า จากผลวิจัยเรื่องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากRed Rocket Media ระบุว่า โดยทั่วไปคนเราจะมีเวลาเฉลี่ยในการให้ความสนใจกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียง 8 วินาทีเท่านั้นนั่นหมายความว่า หากคุณทำธุรกิจอยู่บนออนไลน์ คุณมีเวลา 8 วินาทีสำคัญที่จะดึงดูดลูกค้าให้สนใจในสินค้าและบริการของคุณ ก่อนถูกมองข้าม พฤติกรรมลูกค้าออนไลน์  แยกเป็น 5 รูปแบบ ดังนี้  1. วัยรุ่นใจร้อน  เว็บไซต์จึงควรโหลดได้เร็วและมีการออกแบบให้แสดงผลบางส่วนได้โดยไม่ต้องรอโหลดหน้าเว็บทั้งหน้าเสร็จนำเสนอข้อมูลโดยใช้ข้อความและภาพประกอบที่ช่วยสื่อให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่ายในเวลาสั้นๆซึ่งหากผู้ใช้สนใจสามารถที่จะอ่านหรือคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ต่อไป 2. เบื่อง่าย หน่ายเร็ว   ควรมีการอัพเดตเนื้อหาบนเว็บไซต์ให้มีข้อมูลใหม่และสอดคล้องกับเทศกาลปัจจุบันอยู่เสมออาจมีการปรับภาพตกแต่งบางส่วนหรือใส่วิดีโอประกอบเพื่อดึงดูดความสนใจ   3. ชอบดูผ่านๆ ไม่ชอบอ่านละเอียด  (Scan, not read)‏ ดังนั้น ควรจัดวางเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ให้อ่านง่ายโดยมีการเน้นตัวหนังสือในหัวข้อที่สำคัญให้เห็นได้ชัดหรืออาจแสดงข้อความในลักษณะเป็นข้อๆแบบ bullet จัดเนื้อหาเป็นย่อหน้าสั้นเพื่อให้มีจุดพักสายตาปุ่มหรือเมนูต่างๆควรมองเห็นได้ง่ายและชัดเจน 4.ไม่ชอบจำและคิด  ในแต่ละหน้าเว็บ ควรมีเป้าหมายในการนำเสนอประเด็นหลักประเด็นเดียวการตั้งชื่อหัวข้อของหน้าเว็บนั้นๆ ควรสั้น กระชับและจดจำได้ง่ายในการคลิกใช้งานเว็บไซต์ไม่ควรให้ลูกค้าต้องจำหรือคิดโดยไม่จำเป็นอาจมีระบบแสดงรายการสินค้าหรือบทความที่ได้อ่านไปแล้ว เพื่อช่วยเตือนความจำกรณีต้องการกลับไปสั่งซื้อสินค้าที่ได้ดูรายละเอียดไปก่อนหน้านี้ สุดท้าย คือ  5.ขี้ระแวง  ต้องนำเสนอข้อมูลที่แสดงความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์เช่น แสดงข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ แผนที่ ข้อมูลที่อยู่ของธุรกิจ แสดงแบนเนอร์การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้านำข้อมูลประสบการณ์จากลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าแล้วประทับใจ   แสดงข้อมูลเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยในการสั่งซื้อและนโยบายที่เกี่ยวกับใช้บริการไว้อย่างเช่นเจนเช่น นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรับประกัน การเปลี่ยนและคืนสินค้าเป็นต้น 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : รู้จัก “5พฤติกรรมลูกค้าออนไลน์”

Page 139 of 805:« First« 136 137 138 139 140 141 142 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file