shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

เรียนจบคอมพ์แล้วเขียนโปรแกรมไม่ได้ (2) – 1001

ผมพูดถึงปัญหาที่มีแรงงานไอทีไม่เพียงพอในไทย ทั้ง ๆ ที่มีคนเรียนจบคอมพิวเตอร์มาปีละจำนวนมาก  ( เป็นหมื่นคน ที่ในปริญญามีคำว่าคอมพิวเตอร์อยู่ ) และเสนอมุมมองว่า  เกิดจากแรงงานมีทักษะไม่เพียงพอ  ส่วนหนึ่งเกิดจากการผิดคาดของผู้เรียน  จากสัปดาห์ที่แล้วซึ่งผมจบไว้ตรงคำว่า “ผิดคาด” นั้น เกิดจากความคาดหวัง เป็นความคาดหวังของผู้เรียนกับตลาดแรงงานไม่ตรงกัน ความคาดหวังของอุตสาหกรรมกับสถานศึกษาก็ไม่ตรงกัน ผู้เรียนเลือกเรียนคอมพิวเตอร์ เพราะ “ชอบใช้” เช่น ชอบเล่นเกม ใช้คอมพิวเตอร์ทุกวัน จึงอยากเรียนคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็ถูกต้อง แต่ผู้เรียนไม่ทราบว่า แรงงานคอมพิวเตอร์นั้นต้องทำอะไรบ้าง ต้องฝึกทักษะยาวนาน เขียนโปรแกรมให้เก่งต้องใช้เวลา 10 ปี ไม่ใช่ 10 วัน อย่างที่หนังสือสอนหลายเล่มตั้งหัวเรื่องไว้ ต้องเรียนคณิตศาสตร์ที่อาจเป็นยาขม ส่วนอุตสาหกรรมคาดหวังว่า เมื่อเรียนจบก็ควรทำงานได้ทันที เป็นเรื่องพื้น ๆ ที่ผมกล่าวไป เช่น การลงซอฟต์แวร์ในเครื่อง การติดตั้งเครื่องพิมพ์ที่เพิ่งซื้อมาใหม่ ฯลฯ (อาจไม่เหมือนที่ยกตัวอย่าง แต่อยู่ในกลุ่มงานลักษณะอย่างนี้) สถานศึกษาปรับตัวให้ทันความเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานไม่ทัน ไม่ว่าในเชิงชนิดของทักษะ และที่ซ้ำร้าย คือ ผลิตคนออกมาปริมาณไม่เพียงพอ ฟังปัญหามาเยอะ อย่าเพิ่งท้อนะครับ เมื่อเราเข้าใจปัญหาย่อมมีทางแก้ไข ผมขอเสนอทางแก้ไขจากมุมมองสถานศึกษานะครับ เพราะเราเป็นผู้ผลิตแรงงานโดยตรง ต้องปรับความคาดหวังให้ตรงกันครับ เช่น อุตสาหกรรม ต้องการแรงงานที่พร้อมใช้เมื่อเรียนจบ สถานศึกษาก็ต้องปรับตัว เช่น ปรับสัดส่วนการเรียนระหว่างทฤษฎีและปฏิบัติให้เหมะสม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถจบไปทำงานได้ จัดสภาพการเรียนรู้ให้เข้าใจธุรกิจมากขึ้น กลไกอย่างหนึ่งที่ได้ผลดี คือ ส่งไปทำงานสัก 2-3 เดือนสถานประกอบการจริง (ที่เรียกว่า ทำวิสาหกิจ) ในหลักสูตรคอมพิวเตอร์ ถ้าผู้เรียนมีพื้นฐานความรู้ไม่พอ ควรมีการสอนปรับความรู้เฉพาะที่ต้องใช้ในวิชาเรียนให้พอเพียงที่เรียนได้ แล้วทำได้ด้วย ผู้เรียนเองต้องถูกฝึกให้ “เรียนเป็น” คือ เรียนด้วยตนเองเป็น แล้วลองทำดู ถูกผิดให้ถามครู แล้วนำมาปรับปรุงจนสามารถวิเคราะห์ปัญหา และสังเคราะห์วิธีการได้ นี่เป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในอาชีพนี้ ผู้ประกอบการมีความคาดหวังในเรื่องทักษะบางอย่าง ซึ่งในปริญญาหลักสูตรคอมพิวเตอร์ทั้งหลายไม่ได้บ่งบอกไว้ ก็อาจร่วมมือกันทำใบรับรองความรู้เฉพาะด้าน (เช่น Certificate) เป็นเป้าหมายให้ผู้ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน มุ่งเป้าการเรียนที่วัดผลได้ชัดเจน  (คล้าย ๆ กับใบประกอบวิชาชีพของวิศวกร หรือที่เรียกว่าใบ กว.) อันนี้ในหลายบริษัทก็มีอยู่แล้ว ผมขอเกริ่นประเด็นการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ โดยคร่าว ๆ ไว้เพียงแค่นี้ เนื้อหาที่ผมเอามาเล่าให้ฟังเกิดจากการสัมมนา “อนาคตของการศึกษาวิทยาการคอมพิวเตอร์” ที่ผมและอาจารย์ภุชงค์ อุทโยภาศ ประสานงานระดมสมอง จากหลายภาคส่วน เช่น บริษัทเอกชนไมโครซอฟต์ ไอบีเอ็ม สถาบันไอเอ็มซี (IMC Institute) ภาครัฐก็มี SIPA และสมาคมผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ได้ รวมไปถึงอาจารย์ที่สนใจจากทั้งมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน พวกเราไปคุยกันที่งานประชุมวิชาการนานาชาติเรื่องวิทยาการและวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จัดที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ที่ผ่านมานี้ครับ ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ตั้งใจออกความคิดและความเห็น (โดยเฉพาะคุณธนชาติ นุ่มนนท์) และเจ้าภาพ คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ให้เราไปชุมนุมกัน  จบประเด็นเรื่องเรียนคอมพิวเตอร์แล้ว  สัปดาห์นี้มีคนพูดคุยกันถึงการพัฒนาการศึกษา  ส่วนหนึ่งนักเรียนถามว่าเรียนกันหนักหนาไปทำไม หลาย ๆ อย่างไม่ได้ใช้ในชีวิตจริง  ผมขอร่วมวงออกความเห็นด้วยคนหนึ่ง   พูดกันถึงเรื่องเรียนมหาวิทยาลัย ความเชื่อเดิม ๆ คือเป็นการแข่งขันกันให้ได้ที่เรียน ให้ได้แผนกที่ตัวเองอยากเรียน และการแข่งขันนี้ จำเป็น และยากเย็น ทำให้เด็กจำนวนมากไม่ได้เรียนที่ตนเองชอบ และไม่อยากเรียน อย่างแรก ปัจจุบันนี้ที่เรียนในมหาวิทยาลัย มีมากกว่าจำนวนคนสมัคร ครับท่านอาจไม่เชื่อ แต่ เป็นเช่นนั้นจริง อย่างที่สอง อยากเรียนอะไร ก็มีที่ให้เรียนทั้งนั้น ไม่ว่าจะเหมาะสมกับความสามารถของตน หรือไม่ เดี๋ยวนี้ไม่มีเกณฑ์อะไรเข้มงวด แล้วที่แย่งชิงกันแทบตายคืออะไร คือต้องการเข้ามหาวิทยาลัยยอดนิยมครับ เมื่อความต้องการมีมากกว่าที่นั่งที่มี ย่อมหลีกเลี่ยงการแข่งขันไม่ได้ ลองคิดดู ถ้าทุกแห่ง ใช้การจับสลากเข้า การแข่งขันจะเหลือศูนย์ เด็กไม่ชอบเรียน ก็แก้ได้ โดยยอมให้ย้ายคณะได้ง่าย ๆ ไม่ต้องออกมาซิ่ว เสียเวลาหนึ่งปี ที่ยากกว่า คือ พัฒนาคุณภาพการสอน และใช้ทรัพยากรส่วนรวมให้เกิดประโยชน์ เช่น มีข่าวว่า เด็กจบคอมพ์ เขียนโปรแกรมไม่ได้ ถ้าเป็นเพราะครู ต้องรีบปรับปรุง ถ้าเป็นเพราะเด็กไม่อยากเรียน ต้องรีบแนะแนว และที่สำคัญ เรียนไปแล้วไม่ประกอบอาชีพนั้น รัฐไม่ควรสนับสนุน เพราะเสียเปล่า ให้จ่ายเอง เป็นต้น. ศ.ดร.ประภาส จงสถิตวัฒนา ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เรียนจบคอมพ์แล้วเขียนโปรแกรมไม่ได้ (2) – 1001

Posts related

 














ฟูจิ ซีร็อกซ์ เปิดตัวเครื่องพิมพ์โปรดักชั่น ระดับอัลตร้าเอชดี

วันนี้ (21สิงหาคม2557 )ที่ โรงแรมโซฟิเทล โซ แบงคอก บริษัท ฟูจิซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดตัวเเท่นพิมพ์ “Versant 2100Press”  โดยนายโคจิ  เทสึกะ ประธาน ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย)กล่าวว่า ฟูจิ ซีร็อกซ์ ได้ทำตลาดด้านการพิมพ์ระบบดิจิตอลมานานกว่า48 ปี และเป็นผู้นำตลาดโดยเฉพาะแท่นพิมพ์ระดับโปรดักชั่นซึ่งมีแนวโน้มในการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการให้กับผู้ใช้งานในการให้บริการเสริม รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้กับลูกค้า   ล่าสุด ฟูจิ ซีร็อกซ์ ได้เปิดตัวแท่นพิมพ์เวอร์แซนท์ 2100 เพรส (  Versant 2100Press ) ที่มาพร้อมแนวคิด  “Do More With More” หรือ“ทำได้มากกว่า ด้วยประสิทธิภาพที่มากขึ้น” โดยแท่นพิมพ์รุ่นใหม่นี้ได้นำเทคโนโลยีของแท่นพิมพ์รุ่นColor 800/1000 Press มาพัฒนาโดยเพิ่มการทำงานที่เป็นอัตโนมัติมากขึ้น  ทั้งคุณภาพงานพิมพ์และพื้นที่ในการทำงานโดยคำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นหลัก   ด้านนายสมมาตร   บุณยะสุนานนท์  รองประธาน ฟูจิ ซีร็อกซ์(ประเทศไทย) กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจเครื่องพิมพ์ดิจิตอลของ ฟูจิ ซีร็อกซ์ มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2556 มียอดขายรวมประมาณ 5,000ล้านบาท  ส่วนปีนี้ตั้งเป้าเติบโตมากกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ20 %  โดยธุรกิจหลักของ ฟูจิ ซีร็อกซ์ แบ่งออกได้เป็น 4กลุ่มธุรกิจ คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์สำนักงาน  กลุ่มพรินเตอร์สำหรับสำนักงานขนาดกลางและเล็กกลุ่มธุรกิจให้บริการบริหารจัดการเอกสาร และกลุ่มผลิตภัณฑ์แท่นพิมพ์ระดับโปรดักชั่น   ทั้งนี้ในธุรกิจของกลุ่มผลิตภัณฑ์โปรดักชั่น มีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องไปอีก10 ปีข้างหน้าซึ่งเห็นได้จากการคาดการณ์ปริมาณสิ่งพิมพ์จากเครื่องพิมพ์ดิจิตอลทั่วโลก โดยในปี 2564  จะมีการเติบโตถึง 24%     ซึ่งปัจจุบันฟูจิ ซีร็อกซ์ เป็นผู้นำในตลาดประเภทเครื่องพิมพ์โปรดักชั่นมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่  80%   สำหรับแท่นพิมพ์ เวอร์แซนท์ 2100 เพรสเป็นแท่นพิมพ์ใหม่ล่าสุดของ   ฟูจิ ซีร็อกซ์  แท่นพิมพ์นี้ผ่านการพัฒนาร่วมกันจากทางยุโรปอเมริกา และญี่ปุ่น ด้วยความสามารถในการพิมพ์ด้วยความเร็ว100 หน้าต่อนาทีความละเอียด 2,400 x 2,400 dpi  รองรับกระดาษน้ำหนักตั้งแต่ 52-350 แกรมที่การผลิตสูงสุดถึง 250,000 หน้าต่อเดือน และมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่อัลตร้าเอชดี  เรสโซลูชั่น ซึ่งเพิ่มความละเอียดในประมวลผล(RIP) จากเดิม 600dpi เป็น 1,200 dpi  โดยฟูจิซีร็อกซ์เป็นเจ้าแรกในตลาด เพื่อให้คุณภาพการพิมพ์ละเอียดและคมชัดระดับไฮเดฟฟินิชั่น    

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ฟูจิ ซีร็อกซ์ เปิดตัวเครื่องพิมพ์โปรดักชั่น ระดับอัลตร้าเอชดี

“ไฟล์อาย” รายงานภัยคุกคามไทยติดอันดับอุตสาหกรรมถูกโจมตีมากที่สุด

 วันนี้(21 ส.ค.) โรงแรมพลาซ่าแอทธินี  บริษัท ไฟล์อาย อิงค์ จัดแถลงข่าวรายงานภัยคุกคามยุคใหม่โดยนายสตีฟ เลดเซียน ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมระบบ เอเชียใต้ ฮ่องกง และไต้หวัน บริษัทไฟล์อาย อิงค์ กล่าวว่า รายงานภัยคุกคามขั้นสูงฉบับล่าสุดสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ซึ่งตรวจจับได้โดยระบบรักษาความปลอดภัยของไฟร์อายในช่วงหกเดือนแรกของปี2557  พบว่ามีความพยายามโจมตีค่อนข้างถี่มากขึ้นจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (APT หรือ Advanced Persistent Threat) ในหลายรูปแบบในภูมิภาคนี้ ด้วยสถิติเฉลี่ยของตลาดเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่นที่พบการโจมตีโดยอาชญากรรมคอมพิวเตอร์อยู่ที่49%  เป็นอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งโลกที่อยู่ที่ 39%  โดยไต้หวัน เกาหลีใต้ และฮ่องกง เป็นเป้าหมายที่ถูกโจมตีอย่างหนักหน่วงซึ่งอย่างน้อย 60% ของการโจมตีมาจากการใช้เครื่องมือ เทคนิคและขั้นตอนที่บงการโดยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่มีตัวตนอยู่ในภูมิภาคนี้  สำหรับในภูมิภาคอาเซียน ฟิลิปปินส์ถูกจัดให้อยู่ในลำดับสูงสุดที่มีการเคลื่อนไหวของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้วยค่าเฉลี่ย56%  ขณะที่สิงคโปร์และประเทศไทย มีสถิติต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคที่ 41% และ 39% ตามลำดับ ซึ่ง ประเทศไทยยังมีสถิติจำนวนกลุ่มอุตสาหกรรมที่ถูกโจมตีมากที่สุดในอาเซียนในหกเดือนแรกของปี57 โดยเฉพาะอย่างยิ่งมัลแวร์ในตระกูล Hussarini จะทำงานค่อนข้างต่อเนื่องและรุนแรงในประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นเป้าหมายของการโจมตีมากที่สุด5 อันดับแรก คือ กลุ่มบริการ ที่ปรึกษา ตัวแทนจำหน่าย  ประมาณ19.8% กลุ่มภาครัฐ  13.5% กลุ่มไฮเทค  13% กลุ่มบันเทิง สื่อ โรงแรมที่พัก ประมาณ 10.2% และกลุ่มโทรคมนาคม 9.2% นายวัชรสิทธิ์ สันติสุขนิรันดร์ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ไฟล์อาย อิงค์ กล่าวว่า ปัจจุบันหลายองค์กรไม่รู้ว่าภัยคุกคามมีความยืดหยุ่นสูงและล้ำสมัยมากขึ้น ซึ่งระบบของไฟล์อาย ที่ถูกคิดค้นขึ้นสามารถป้องกันภัยคุกคามได้แบบเรียลไทม์โดยเฉพาะระบบซิเคียวริตี้แพลต์ฟอร์มแบบ Virtual machine-based ที่กำหนดเป้าประสงค์และปกป้องได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง โดยปัจจุบันในไทยบริษัทมีลูกค้าในหลายธุรกิจทั้ง ธนาคาร ประกันภัย และภาครัญ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทย ฯลฯ โดยการทำตลาดจากนี้จะเน้นการเข้าไปให้ข้อมูลลูกค้าองค์กรต่างๆให้เห็นถึงปัญหาของภัยคุกคามที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้ ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีตัวแทนจำหน่ายอยู่ 2 แห่ง คือพาร์ทเนอร์ ลิงค์ และ ยิบ อินซอย ในอนาคตจะขยายเพิ่มมากยิ่งขึ้น.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : “ไฟล์อาย” รายงานภัยคุกคามไทยติดอันดับอุตสาหกรรมถูกโจมตีมากที่สุด

Page 167 of 805:« First« 164 165 166 167 168 169 170 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file