shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

“แอปเปิ้ล” ยอมแล้วจ่ายค่าเสียหาย! คดีละเมิดลิขสิทธิ์ “SONP”

จบแล้ว! คดี “สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์” หลังสั่งเชือด! ฟ้อง “แอปเปิ้ล” ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญา ฐานละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า เปิดช่องให้แอปพลิเคชันข่าวละเมิดลิขสิทธิ์อยู่บนร้านแอปสโตร์  โดยล่าสุด ทาง บริษัท แอปเปิ้ล อิงค์ จำกัด และบริษัทลูก รวมถึงกรรมการในประเทศไทย ยอมจำนนเจรจาชำระค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว!   คดีนี้ถือว่าคดีความแรกที่สื่อมวลชนไทย 8 แห่ง รวมตัวเรียกร้องให้ “แอปเปิ้ล” หยุดเผยแพร่ข่าวลิขสิทธิ์บนแอปพลิเคชั่น สำหรับอุปกรณ์พกพา โดยการฟ้องร้องแอปเปิ้ลครั้งนี้  ถือว่าเป็นคดีความที่ยกมาตรฐานของสื่อ ทำให้ทุกคนเคารพสิทธิ์ของภาพข่าว และบทวิเคราะห์ข่าวมากขึ้น นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษากฏหมายของสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) เผยถึงคดีนี้ว่า  “ในคดีแอปเปิ้ลนี้ ทางสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ , เดลินิวส์ , ASTVผู้จัดการ,  เนชั่น , คมชัดลึก , กรุงเทพธุรกิจ , โพสต์ทูเดย์ และสยามกีฬา  รวม 8 ฉบับ ได้ยื่นฟ้องบริษัท แอปเปิ้ล อิงค์ จำกัด และบริษัทลูกและกรรมการในประเทศไทย โดยในคดีนี้เริ่มฟ้องเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า โดยแอพพลิเคชั่นที่มีเผยแพร่ใน App Store ของแอปเปิ้ลซึ่งละเมิดลิขสิทธิ์ข่าวและเครื่องหมายการค้า มีดังต่อไปนี้ (1) “THAINEWs+”, (2)  “Tiny – Thai News Reader”, (3) “Thai News Reader”, (4) “EveryNews” และ (5) “Thai Newspaper” โดยในผลของคดีความล่าสุดนั้น “เมื่อได้มีการยื่นฟ้อง ทางทนายความของบริษัทแอปเปิ้ลและกรรมการของแอปเปิ้ล ได้ติดต่อเพื่อขอเจรจาสำหรับชำระค่าเสียหายซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันโดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์(SONP) ได้ถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าวจากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว” นายไพบูลย์ กล่าวเสริม สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์(SONP) นั้นเป็น องค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อดูแล ลิขสิทธิ์ข่าวออนไลน์ของสำนักพิมพ์ไทย ซึ่งที่ผ่านมานั้น  สมาคมSONP ได้มีการตรวจสอบพบว่า มีข่าวออนไลน์ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ และนำไปใช้หารายได้โดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งบนเว็บไซต์ และบนแอปพลิเคชั่น อยู่หลายแห่ง นอกจาก “คดีแอปเปิ้ล” แล้ว  ร้านกูเกิ้ลเพลย์ที่กูเกิลเปิดบริการให้ผู้ใช้อุปกรณ์แอนดรอยด์ (Android) ก็ได้มีการเผยแพร่แอปพลิเคชันรวมข่าวโดยผิดลิขสิทธิ์ลักษณะเช่นเดียวกันนี้อีกด้วย ซึ่งล่าสุด สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์(SONP) ได้ทำการฟ้องอีก 2 คดีคือ คดีละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าซึ่งสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ฟ้องร้องบริษัท กูเกิล อิงค์ จำกัด บริษัท กูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท แบงค็อค เซิร์ช แอนด์ เทคโนโลจีส์ จำกัด (เจ้าของเว็บไซต์ www.yengo.com) ซึ่งทั้งสองคดีอยู่ระหว่างการไต่สวนของศาล ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบ ในประเทศไทยนั้น ยังไม่ค่อยมีการดำเนินคดีเกี่ยวกับการฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์ข้ามประเทศเท่าใดนัก เนื่องจากเป็นเรื่องในทางเทคนิคและการรวบรวมพยานหลักฐานผ่านสื่ออิเล็คทรอนิกส์และอินเตอร์เน็ตเป็นไปค่อนข้างยาก แต่ในคดีนี้ถือว่าเป็น คดีตัวอย่างในเรื่องของละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย   นายไพบูลย์เชื่อว่า คดีความนี้จะช่วยให้ประชาชน เข้าใจถึง เรื่องปัญหาลิขสิทธิ์ข่าวได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น  เพราะตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ตัวเนื้อข่าวและรายละเอียดของข่าวไม่มีลิขสิทธิ์ และบทวิเคราะห์ข่าว บทบรรณาธิการ รูปภาพในข่าว และการรวบรวมจัดลำดับข่าวอาจได้รับความคุ้มครองในฐานะงานวรรณกรรมและงานรวบรวมตามมาตรา 12 ของพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ดังนั้น หากมีการดึงเอาข้อมูลลิขสิทธิ์ ดังกล่าวไปใช้บนอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบแอพพลิเคชั่นใดก็ตาม ถือว่าเป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ ยิ่งในส่วนของต่างประเทศด้วยแล้ว จะมีการดำเนินคดีฟ้องร้องกูเกิลและแอปเปิ้ลเป็นจำนวนมากอีกด้วย

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : “แอปเปิ้ล” ยอมแล้วจ่ายค่าเสียหาย! คดีละเมิดลิขสิทธิ์ “SONP”

Posts related

 














กสทช. ประกาศ 29 รายชื่อผู้มีสิทธิประมูลทีวีดิจิทัล

วันนี้ (12 ธ.ค.) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า หลังตรวจสอบคุณสมบัติผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติเสร็จเรียบร้อย และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ได้เห็นชอบผลการตรวจสอบคุณสมบัติฯ เมื่อวันจันทร์ที่ 9 ธ.ค.56 ที่ผ่านมา กสทช.ขอประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมการประมูลสำหรับการขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ โดยแบ่งตามหมวดหมู่ให้บริการ ดังนี้1.หมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว มีผู้มีสิทธิเข้าร่วมการประมูลจำนวน 6 ราย ได้แก่ บริษัท โรสมีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด, บริษัท ไทยทีวี จำกัด, บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) , บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด, บริษัท เนชั่น คิดส์ จำกัด และบริษัท ทรู ดีทีที จำกัด2.หมวดหมู่ข่าวสารและสาระ มีผู้มีสิทธิเข้าร่วมการประมูลจำนวน 10 ราย ได้แก่ บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด, บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสท์ จำกัด, บริษัท ไอ-สปอร์ต มีเดีย จำกัด, บริษัท ไทยทีวี จำกัด, บริษัท โพสต์ ทีวี จำกัด, บริษัท 3เอ. มาร์เก็ตติ้ง จำกัด, บริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์ วิชั่น จำกัด, บริษัท สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น จำกัด, บริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ค (ทีเอ็นเอ็น) จำกัด และบริษัท โมโน เจนเนอเรชั่น จำกัด3.หมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดปกติ (ทั่วไป SD) มีผู้มีสิทธิเข้าร่วมการประมูลจำนวน 16 ราย ได้แก่ บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด, บริษัท  อาร์.เอส.เทเลวิชั่น จำกัด, บริษัท โฟร์ วัน วัน เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด, บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด, บริษัท บีบีทีวี แซทเทลวิชั่น จำกัด, บริษัท ไทยทีวี จำกัด, บริษัท ทัช ทีวี จำกัด, บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด, บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด, บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอสดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด, บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด, บริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด, บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด, บริษัท ทรู ดีทีที จำกัด, และบริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด4. หมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดสูง (ทั่วไป HD) มีผู้ซื้อเอกสารการประมูลจำนวน 9 ราย ได้แก่ กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด, บริษัท พีเอ็ม กรุ๊ป จำกัด, บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด, บริษัท ไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด,  บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด, บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด, บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด และบริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัดทั้งนี้ ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติที่จะประมูลในครั้งนี้ ประกอบด้วยใบอนุญาตฯ หมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว จำนวน 3 ใบอนุญาต หมวดหมู่ข่าวสารและสาระ จำนวน 7 ใบอนุญาต หมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดปกติ (ทั่วไป SD) จำนวน 7 ใบอนุญาต หมวดหมู่ทั่วไปแบบความคมชัดสูง (ทั่วไป HD) จำนวน 7 ใบอนุญาต สำหรับวัน เวลา และสถานที่ประมูล จะประกาศให้ทราบในวันที่ 16 ธ.ค.56 หลังจากนั้น สำนักงานจะจัดให้มีการจำลองการประมูลสำหรับผู้มีสิทธิเข้าร่วมการประมูล และสำหรับสื่อมวลชน ก่อนการประมูล

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กสทช. ประกาศ 29 รายชื่อผู้มีสิทธิประมูลทีวีดิจิทัล

นวัตกรรมการศึกษายุคใหม่ (2) – โลกาภิวัตน์

จากบทความที่เล่าถึงปัญหาอุดมศึกษาปัจจุบันของโลกและการกำเนิดเทคโนโลยีใหม่ในปัจจุบัน จะมีวิธีการใดบ้างที่จะทำให้เทคโน โลยีปัจจุบันเข้ามาใช้กับโลกการศึกษาปัจจุบัน เพื่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาใหม่แบบก้าวกระโดด (Disruptive Innovation) ที่ ดร.เคลย์ตัน คริสเตนเซ่นเคยกล่าวไว้ ถ้าหันมามองประวัติเทคโนโลยีปัจจุบัน จะเห็นการกำเนิดนวัตกรรมแบบก้าวกระโดดได้อย่างค่อนข้างชัด เช่น การกำเนิดของบริษัทไอบีเอ็ม ก็จะเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เมนเฟรมขนาดใหญ่ ต่อมามีการกำเนิดของบริษัทไมโครซอฟท์เลยทำให้คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น พีซี แล็ปท็อปเกิดขึ้นอย่างดาษดื่น มีคนใช้แพร่หลายทั่วโลกและการเกิดของกูเกิลสร้างเทคโนโลยีแบบแอนดรอยด์ (Android) ทำให้เกิดเทคโนโลยีมือถืออัจฉริยะซึ่งมีคนใช้กันเกือบจะทุกคนทั่วโลกเข้าไปแล้ว แน่นอนเทคโนโลยีแบบนี้เรียกว่า ก้าวกระโดด (Disruptive Technology) ทำให้เทคโนโลยีเก่าตายไป สิ่งที่ทำให้เกิดนวัตกรรมแบบนี้ได้ในระบบธุรกิจปัจจุบันมีแค่ 2 ปัจจัยคือ 1)  ทุกคนสามารถหาซื้อได้ ซึ่งภาษาฝรั่งเรียกว่า  (Affordability) และทุกคนสามารถเข้าถึงและหานำมาใช้ได้เรียกว่า (Accessibility) ถ้าเทคโน โลยีหรือนวัตกรรมที่เกิดใหม่สามารถสร้างปัจจัยทั้งสองเข้าด้วยกันได้ในทางธุรกิจก็จะสามารถทำให้เทคโนโลยีใหม่หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ทางธุรกิจ เกิดขึ้นได้ทันที เมื่อเงื่อนไขในช่วงเวลานั้นมาถึงและพร้อม ในด้านการอุดมศึกษาไทย เฉพาะการศึกษาซึ่งยังเป็นที่นิยมในมหาวิทยาลัยดัง ๆ ขนาดใหญ่นั้น จะต้องเข้าเรียนเต็มเวลาโดยได้เจอะเจออาจารย์ดังระดับโลกด้วยราคาแพงมหาศาลอย่างเช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เพราะมีที่นั่งจำกัด แต่มีคนสมัครเรียนมาก หรืออย่างของประเทศไทย มหาวิทยาลัยดังของไทยอย่างเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มีเงินอุดหนุนจากรัฐบาลส่วนใหญ่ขยายเท่าไรก็ไม่ทันกับความต้องการก็เลยถือว่ามีที่นั่งจำกัด เรื่องความสำเร็จในหน้าที่การงานของบัณฑิต มหาบัณฑิตทั้งหลายก็ยังเป็นที่นิยมแต่มีปัญหาการเข้าถึงเพื่อให้ได้เข้าเรียน เรียกว่า ปัญหาของ (Accessibility) ถ้าหากเป็นมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมีปัญหาทั้งราคาแพงคือ (Affordability) และการเข้าถึง (Accessibility) เพื่อให้ได้เรียน ส่วนการศึกษาแบบกว้างในมหาวิทยาลัยเปิดราคาถูก(Affordability) และสมัครได้เรียกว่า (Accessibility) แต่ไม่มุ่งเน้นเรื่องอัตราการจบตามกรอบเวลา ซึ่งมีทั้งการเรียนแบบมีตำราให้มา สอบและแบบใหม่ขึ้นมาเรียกว่า ออนไลน์ ด้วยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องมาเรียนที่ห้องเรียนในมหาวิทยาลัย การศึกษาออนไลน์โลกปัจจุบัน ก็ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงหลักสูตรเนื้อหาวิชา วิธีการวัดผลการเรียนการสอนที่มีคุณภาพมากคือ สามารถสร้างบทเรียนการเรียนการสอนเข้าใจง่าย และสามารถเรียนรู้ได้เร็วและสามารถสร้างสะสมความรู้จนเป็นทักษะใหม่ เพื่อการทำงานจริงได้ แต่ยังมีปัญหาคือ เทคโนโลยีเหล่านั้นราคาแพงมากจึงมีปัญหาสำหรับนักศึกษาที่จ่ายค่าเล่าเรียนหรือ Affordability จากการศึกษาเชิงธุรกิจโดยเฉพาะจากความต้องการตลอดหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษามีอาชีพและทักษะที่จะไปทำงานและใช้งานในโลกจริงได้ ก็จะสามารถรู้จำนวนผู้เข้าเรียนจริงได้ ถ้ามีจำนวนมากพอก็จะทำให้ราคาต่ำลงมาได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่เข้าถึงนักศึกษาทุกคน และเป็นไปตามความต้องการของนักศึกษาได้ ซึ่งเครื่องมือการเรียนก็จะเปลี่ยนไป แทนที่จะเป็นตำราเล่มหนา นั่งรถไปเรียนที่มหาวิทยาลัย อาจจะเป็นแค่มือถืออัจฉริยะหรือแล็ปท็อปซึ่งสามารถเรียนที่ไหนก็ได้ ทุกหนทุกแห่งทั่วโลก การใช้เทคโนโลยีจะต้องง่าย เป็นการเรียนเองที่เรียกว่า Friendly Users มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนผู้สอนได้ตลอดเวลา แถมราคาพอรับได้ ขณะนี้มีมหาวิทยาลัยหลายแห่งในโลกพยายามอยู่ คาดว่าในอนาคตไม่นานมากนักการเรียนการสอนแบบพอหาเรียนได้ และมีคุณภาพโดยหลังเรียนจบ สามารถประกอบสัมมาอาชีพได้ดี ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศนั้น ๆ ได้ดี ก็จะเกิดความพร้อมด้านการตลาดและการประยุกต์เทคโนโลยีใหม่ผสมผสานการเรียนการสอน. รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด boobmark@stamford.edu

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : นวัตกรรมการศึกษายุคใหม่ (2) – โลกาภิวัตน์

Page 665 of 805:« First« 662 663 664 665 666 667 668 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file