shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

เร่งศึกษาเลขหมายฉุกเฉินของไทย – คู่ขนาน

เมื่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ลุกขึ้นมาจับมือกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ทุ่มงบ 7 ล้านบาท ให้ศึกษาแนวทางการจัดให้มีบริการเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉิน ตามแผนการจัดการให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO) เนื่องจากพบว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมีเลขหมายให้บริการฉุกเฉิน เพื่อรองรับหากเกิดกรณีภัยพิบัติ อาทิ สึนามิ วาตภัย อุทกภัย เป็นต้น เช่นเดียวกับต่างประเทศ โดยประเทศไทย ได้เตรียมวางเลขหมายฉุกเฉินเบื้องต้น คือ “เลขหมาย 112” แม้ว่าก่อนหน้านี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ขอเลขหมายพิเศษ คือ “หมายเลข 192” สำหรับการจัดทำหมายเลขฉุกเฉินแห่งชาติ เช่นกัน ทั้งนี้หมายเลขฉุกเฉิน จะช่วยทำให้ประชาชนเข้าถึงระบบการแจ้งเหตุฉุกเฉินได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว เนื่องจากในปัจจุบันพบว่า “หมายเลขฉุกเฉิน 191” ซึ่งเป็นของตำรวจ เป็นเลขหมายที่ประชาชนจดจำง่ายมาก และเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น 191 จึงเป็นสิ่งที่นึกถึงอันดับแรก เนื่องจากบางครั้งประชาชนไม่สามารถจดจำเลขหมายของหน่วยงานนั้น ๆ ได้ จึงทำให้กระบวนการมีความยุ่งยาก และเสียเวลามากขึ้นกว่าประชาชนจะได้รับความช่วยเหลือ ดังนั้น คาดว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า ประชาชนจะสามารถเริ่มใช้งานเลขหมายฉุกเฉินดังกล่าวได้ โดยเมื่อประชาชนโทรฯเข้ามา ระบบจะตัดเข้าสู่จังหวัดพื้นที่นั้น ๆ สามารถใช้งานผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์บ้าน และโทรศัพท์สาธารณะได้ฟรี อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าหมายเลขฉุกเฉินนั้นมีความสำคัญต่อทุกประเทศ ฉะนั้นการวางแผนหรือวิเคราะห์ครั้งนี้จะนำไปสู่การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างทั่วถึง และช่วยแบ่งเบาภาระเลขหมาย 191 ได้อีกช่องทาง นับเป็นโอกาสดี ที่ประเทศไทยให้ความสำคัญต่อเลขหมายฉุกเฉิน เพื่อรักษาความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงสร้างมาตรฐานเทียบขั้นสากลมากขึ้น.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เร่งศึกษาเลขหมายฉุกเฉินของไทย – คู่ขนาน

Posts related

 














ปั้นนักผลิตซอฟต์แวร์…กระตุ้นจีดีพีประเทศ

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “คนไทยเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก” แต่ส่วนใหญ่จะขาดโอกาสที่ดี เช่นเดียวกับการขาดโอกาสในการพัฒนาบุคลากรป้อนตลาดอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ปัจจุบันอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ถือว่ามีความสำคัญในด้านธุรกิจแทบทุกธุรกิจ เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานแล้วยังช่วยประหยัดระยะเวลาและทรัพยากรบุคคลด้วย แต่สิ่งที่ประเทศไทยกำลังเผชิญคือ “ขาดบุคลากรผู้ผลิตซอฟต์แวร์” ที่มีคุณภาพ นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ ระบุว่า ปัจจุบัน มูลค่าการผลิตซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมองว่าตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ของไทยในปี 56 จะมีมูลค่าการผลิตอยู่ที่ 39,096 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 55 ที่ 22.2% ในขณะที่ ปี 57 จะมีมูลค่าประมาณ 44,026 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.6% ขณะที่ซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว ปี 56 จะมีมูลค่าการผลิตอยู่ที่ 4,886.7 ล้านบาท และปี 57 จะมีมูลค่าการผลิตอยู่ที่ 5,864 ล้านบาท ถือว่าเพิ่มขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ ได้จำแนกเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่มีมูลค่าการผลิตประมาณ 7,962 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 35.5% และบริการซอฟต์แวร์ที่มีมูลค่าการผลิตประมาณ 31,134 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 19.3% โดยการเติบโตที่ต่อเนื่องของตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ของไทยเป็นผลจากสภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ยังคงเติบ โตอย่างต่อเนื่อง ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐมี การใช้ไอซีทีเพิ่มมากขึ้น และผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิต ภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น นอกจากการผลิตเพื่อจำหน่ายแล้วยังพบว่าในปี 55 มีการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้ภายในองค์กร (in-house) อย่างน้อย 686.3 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจากปี 54 อยู่ที่ 12.2% ในด้านการส่งออกซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์นั้น ประเทศไทยยังคงมีการส่งออกไม่มากนัก โดยในปี 55 มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 817 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเพียง 2.6% ของมูลค่าการผลิตซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ทั้งหมด จำแนกเป็นมูลค่าการส่งออกซอฟต์แวร์สำเร็จรูป 242 ล้านบาท และมูลค่าการส่งออกบริการซอฟต์แวร์ 575 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีการส่งออกซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัวค่อนข้างมาก โดยในปี 55 มีมูลค่าการส่งออกซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว 1,742 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 41.3% ของมูลค่าการผลิตซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัวทั้งหมด นายสมเกียรติ เล่าว่า ถึงแม้ว่ามูลค่าการผลิตซอฟต์แวร์ของไทยจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ไทยยังขาดบุคลากรด้านซอฟต์ แวร์ ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดหลักสูตร ภาคการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม โดยภาพรวมในปีนี้ยังมีอัตราการขาดแคลนสูงถึง 8,000 คน ดังนั้น การแก้ไขปัญหาคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ซิป้า เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศ ไทย หรือ ซอฟต์แวร์พาร์ค สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศ การ (องค์การมหาชน) ควรจัดหลัก สูตรในสถานศึกษาเพื่อป้อนตลาดซอฟต์แวร์ไทย หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยื่นมือเข้าช่วยเหลือตั้งแต่ต้นน้ำ ปั้นบุคลากรซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพให้เพียงพอ เชื่อว่ามูลค่าการผลิต การส่งออกซอฟต์แวร์ไทยจะมีอัตราสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจะเป็นผลผลักดันให้จีดีพีของประเทศเพิ่มขึ้นตามมาด้วย. กัญณัฏฐ์ บุตรดี Kanyanat25@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ปั้นนักผลิตซอฟต์แวร์…กระตุ้นจีดีพีประเทศ

แอปเปิลและซัมซุง คู่ปรับร้อนแรง – รอบรู้ไอที รอบโลกเทคโนโลยี

สำหรับแอปเปิล (Apple) และ ซัมซุง (Samsung) เรียกว่าเป็นคู่ปรับทางด้านเทคโนโลยีที่ดูสมน้ำสมเนื้อขึ้นทุกวันในโลกยุคบูรพาภิวัตน์ ที่หลาย ๆ อย่าง หลาย ๆ มิติ เริ่มเอียงเปลี่ยนถ่ายจากตะวันตกมาสู่ตะวันออกมากขึ้นเรื่อย ๆ แอปเปิลจากฝั่งตะวันตกแห่งสหรัฐอเมริกา ภายใต้การก่อตั้งของสตีฟ จ็อบส์ บุรุษอัจฉริยะที่ทุกคนรู้จักกันดี ส่วนซัมซุงจากฝั่งตะวันออก แห่งทวีปเอเชีย สาธารณรัฐเกาหลี ที่มีความร้อนแรงไม่แพ้กัน ซึ่งถ้าพูดถึงสองบริษัทเทคโนโลยีนี้ ก็มีความเป็นที่สุดของโลกในตัวเองในหลาย ๆ เรื่องตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจำนวนเม็ดเงิน จำนวนยอดขาย หรือรวมไปถึงความใหม่ของนวัตกรรมต่าง ๆ ที่คิดผลิตขึ้นมา วันนี้ผมจะพาคุณผู้อ่านมาคุยกันทีละประเด็นเลยครับ เทียบกันเลยว่าใครเหนือกว่าใครในเรื่องไหนบ้าง ถ้าพูดถึงยอดขายจำนวนมือถือสมาร์ทโฟนโดยรวม อ้างอิงจากข้อมูลยอดขายมือถือโดยรวมทั่วโลกในไตรมาสที่ 3 ของปี ค.ศ. 2013 นี้ ซัมซุงของฝั่งเอเชียมาเป็นอันดับหนึ่งที่ครองส่วนแบ่งการตลาดทั้งโลกสูงที่สุด  ซัมซุงรั้งอันดับหนึ่งที่กินส่วนแบ่งตลาดถึง 31.4% ทิ้งห่างแอปเปิลซึ่งเป็นอันดับสองที่มีส่วนแบ่งการตลาดเพียงแค่ 13.1% เท่านั้น โดยมียอดขายมากกว่าแอปเปิลเกินสองเท่า เรียกว่าในประเด็นแรกนี้ซัมซุงทิ้งห่างแอปเปิลได้มากพอสมควรเลยทีเดียว ถัดจากมือถือ คราวนี้เป็นตัวเลขยอดขายแท็บเล็ต (Tablet) ทั่วโลกบ้างครับ เพราะถ้าพูดถึงตลาดแท็บเล็ตตามข้อมูลในไตรมาสที่ 3 ของปี ค.ศ. 2013 นี้  แอปเปิลยังครองส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุดในโลกด้วยยอดขาย iPad 14.1 ล้านเครื่อง หรือคิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดที่ 29.6% ซึ่งมากกว่าซัมซุงที่อยู่ในอันดับสองที่มียอดขาย 9.7 ล้านเครื่อง คิดเป็น 20.4% ของส่วนแบ่งการตลาด เรียกว่าถ้านับจำนวนยอดขายแท็บเล็ต งานนี้แอปเปิลชนะครับ แต่ก็ชนะแบบไม่ทิ้งห่างมากมายอะไร ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวเลขที่ว่ามานี้ยังไม่รวมยอดขายของสินค้าใหม่ iPad Air และ iPad mini จอเรติน่าที่เปิดตัวในเดือนนี้ ซึ่งก็เชื่อว่าน่าจะช่วยให้แอปเปิลสามารถตอกย้ำความเป็นแชมป์ที่ครองยอดขายสูงสุดของแท็บเล็ตเอาไว้ได้ ทางฝ่ายซัมซุงเองแม้ตอนนี้จะยังตามหลังแอปเปิลอยู่แต่ก็ไม่ได้คิดที่จะยอมแพ้ครับ ก็ถึงขนาดที่ผู้บริหารซัมซุงออกมาประกาศกร้าวว่าซัมซุงตั้งเป้าจะให้บริษัทกลายเป็นผู้ผลิตแท็บเล็ตรายใหญ่ที่สุดในโลกให้ได้ในอนาคต เรียกว่าต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกันเลยทีเดียวครับ ประเด็นถัดไปถ้าพูดถึงมูลค่าของแบรนด์ ว่าใครมีมูลค่าของแบรนด์มากกว่ากัน New York Times รายงานว่าผลประจำปี ค.ศ. 2013 นี้ แอปเปิลครองความเป็นอันดับหนึ่งในฐานะแบรนด์ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก โดยมียอดมูลค่าสูงสุดอยู่ที่ 98,316 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3 ล้านล้านบาท) ทิ้งห่างซัมซุงที่อยู่อันดับ 8 โดยมีมูลค่าแบรนด์ที่ 39,610 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท) เท่านั้น เรียกว่าถ้าพูดถึงมูลค่าของแบรนด์ งานนี้แอปเปิลยังคงดูดีกว่าเยอะครับ ซึ่งผมว่างานนี้น่าจับตามองครับ ว่าท้ายที่สุดแล้วในระยะยาวใครจะเป็นผู้ชนะ เพราะก็ต้องยอมรับครับว่าซัมซุงรุกคืบไปในหลายประเทศทั่วโลก แม้แต่ตอนที่ผมไปที่ประเทศรัสเซีย สนามบินที่กรุงมอสโกก็ยังใช้สมาร์ททีวีของซัมซุงแทบทั้งหมดเลย อย่างไรก็ตามแม้ว่าซัมซุงจะมียอดขายมือถือที่ดีกว่าแอปเปิล ณ ปัจจุบัน แต่ถ้าเรามองที่ตัวเลขยอดขายอย่างเดียวโดยไม่ดูปัจจัยสำคัญอื่นเลยก็อาจจะไม่ถูกต้องนัก ปัจจัยอื่น ๆ อาทิ กำไรต่อหน่วย ความเสถียรของเครื่องมือถือหรือเครื่องแท็บเล็ต รวมไปถึงมูลค่าแบรนด์และผลิตภัณฑ์ ที่แอปเปิลก็ไม่ได้น้อยหน้าใครเลย ผมเชื่อนะครับว่าการขึ้นมาเป็นแชมป์ให้ได้นั้นยาก แต่ในโลกเทคโนโลยีสมัยใหม่นี้ การจะรั้งครองตำแหน่งแชมป์ไว้ให้ได้กลับเป็นเรื่องที่ยากมากกว่าเสียอีก แต่ไม่ว่าแอปเปิลหรือซัมซุงจะเป็นแชมป์ งานนี้ก็ล้วนแต่เป็นผลดีต่อผู้บริโภคอย่างพวกเราทั้งนั้นครับ เพราะการแข่งขันอย่างเสรียิ่งมีมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ราคาของต่าง ๆ ถูกลงมากเท่านั้น หรือถ้ามองในแง่นวัตกรรม ยิ่งแข่งขันเสรีกันมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะเกิดนวัตกรรมสิ่งใหม่ ๆ ออกมาหล่อเลี้ยงโลกเรามากขึ้นเท่านั้น พวกเราคนไทยก็อย่ามัวรอให้เขาแข่งขันกันอย่างเดียวนะครับ เพราะในโลกยุคศตวรรษที่ 21 นี้ เราก็สามารถโดดเข้าร่วมวงเป็นผู้เข้าแข่งขันกับเขาได้เช่นกัน. ผศ.ดร.ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต chutisant.k@rsu.ac.th

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แอปเปิลและซัมซุง คู่ปรับร้อนแรง – รอบรู้ไอที รอบโลกเทคโนโลยี

Page 721 of 805:« First« 718 719 720 721 722 723 724 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file