shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

“อนุดิษฐ์” เปิดฟอรั่ม “ไอทียู เทเลคอม เวิลด์ 2013” รับยุคดิจิทัล

วันนี้ (18 พ.ย.) ที่ ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ดร.ฮามาดูน ทูเร เลขาธิการสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ พร้อมด้วย น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ผู้แทนประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดงานไอทียู เทเลคอม เวิลด์ 2013 และ มร.วาลีด อัลซายแอด ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ออรีดู ในฐานะตัวแทนอุตสาหกรรมไอซีทีและประเทศกาตาร์ ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพจัดงานไอทียู เทเลคอม เวิลด์ ในเดือนธ.ค.ปีหน้าน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที กล่าวว่า งานไอทียู เทเลคอม เวิลด์ 2013 จัดขึ้นในกรอบแนวคิด “เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัล” ซึ่งจะเน้นในกรอบ 5 หัวข้อหลักได้แก่ ความเปลี่ยนแปลงในวิธีการสื่อสารของผู้คน ความจำเป็นของโมเดลธุรกิจในยุคข้อมูลเป็นใหญ่ พลวัตความเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และระเบียบและกระบวนการวางมาตรฐาน โดยในงานจะมีการอภิปรายซึ่งจะจัดขึ้นในหลายหัวข้อ พื้นที่นิทรรศการ (Showfloor) ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี รวมถึงโอกาสด้านการลงทุนจากทั่วโลก รวมทั้งกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้คนได้พบปะและพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน โดยในบริเวณนิทรรศการ จะมีโซน InnovationSpace ซึ่งผู้เข้ารอบสุดท้ายของการประกวด ITU Young Innovators’ Competition จะนำผลงานที่ได้รับรางวัลมาแสดง และพื้นที่ The Lab ซึ่งจำลองภาพการใช้ชีวิตแห่งอนาคตด้วยเทคโนโลยีหลากหลายไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์หรือเทคโนโลยีที่สวมใส่ได้ ตลอดจนการพิมพ์แบบ 3D ดร.ฮามาดูน ทูเร เลขาธิการสหภาพไอทียู กล่าวว่า การจัดงานในปีนี้ ได้เลือกกรุงเทพฯ ให้เป็นที่จัดงาน เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และถือว่าเป็นประตูสู่ภูมิภาคที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วมาก จึงเหมาะที่จะเป็นศูนย์กลางของการที่คนในวงการไอซีทีทั่วโลกจะมาร่วมระดมความคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมไอซีที และในชีวิตของประชาชนทั่วไป“งานนี้จะเปิดให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องได้มารวมพลังพูดคุยในเรื่องที่สำคัญเกี่ยวกับอุตสาหกรรมไอซีที ที่เป็นเช่นนั้นเพราะงาน ไอทียู เทเลคอม เวิลด์ สามารถดึงคนจากอุตสาหกรรมและภาครัฐในส่วนที่เกี่ยวข้องจริง มาร่วมกันอภิปรายหัวข้อที่จะกำหนดทิศทางแห่งอนาคตของอุตสาหกรรมไอซีทีและโลกของเรา ช่วยให้เราใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อประโยชน์สำหรับทุกคนไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม” ดร.ทูเร กล่าวสำหรับงาน ไอทียู เทเลคอม เวิลด์ 2013 จะจัดขึ้นระหว่าง 19-22 พ.ย.56 โดยมีผู้แทนจากภาครัฐและเอกชนทั่วโลกเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง ไม่ว่าจะรัฐมนตรี หน่วยงานกำกับดูแล ผู้นำองค์กรในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับไอซีที ไปจนถึงผู้นำทางความคิด ที่ปรึกษา นักวิชาการ และนักพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : “อนุดิษฐ์” เปิดฟอรั่ม “ไอทียู เทเลคอม เวิลด์ 2013” รับยุคดิจิทัล

Posts related

 














จุฬา-มจธ คว้าทุนนักวิจัยแกนนำสวทช.

วันนี้ ( 18 พย.) ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช. ) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงานประกาศผลผู้ได้รับทุนนักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2556 โดยดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. เปิดเผยว่า สวทช. จึงจัดให้มีโครงการทุนนักวิจัยแกนนำมาตั้งแต่ปี 2552 ปัจจุบันให้ทุนไปแล้ว 7 โครงการ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์ นักวิจัยที่มีความสามารถสูงให้เป็นแกนนำให้กับวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้มีการผลิตผลงานวิจัย อันจะนำไปสู่การยื่นจดสิทธิบัตร และตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ รวมถึงมีศักยภาพในการแก้ปัญหาให้กับภาคอุตสาหกรรมการผลิต และภาคสังคม และเพื่อเป็นแกนหลักในการผลิตบุคลากรวิจัยสู่วงการวิชาการอย่างต่อเนื่องทั้งนี้จากการรับสมัครผลงานเข้าร่วมโครงการประจำปี 2556 คณะกรรมการทุนนักวิจัยแกนนำ ได้มีมติเห็นสมควรมอบทุนดังกล่าวแก่นักวิจัยแกนนำของประเทศจำนวน 2 ท่าน คือ ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโครงการวิจัย เรื่อง “บทบาทของสัตว์ แมลง ในการก่อโรค กลไกเชื้อและการรักษา” และศ.ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)จากโครงการวิจัยเรื่อง “การเพิ่มการถ่ายเทความร้อนเชิงนวัตกรรมสำหรับอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนในอนาคต” โดยทุนดังกล่าวมีระยะเวลา 5 ปี ทุนละ 20 ล้านบาทสำหรับ ศ.ดร. ธีระวัฒน์ ฯ เป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น และศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรคทางด้านสมองของประเทศไทย มีผลงานวิจัยที่โดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ และยังดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านค้นคว้าและอบรมโรคติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คน และศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยโครงการโรคติดเชื้อจากสัตว์และแมลงนี้ เป็นการศึกษาความหลากหลายของเชื้อ การพัฒนาและสร้างแบบจำลองการทำนายการเกิดโรคระบาด การพัฒนาวิธีการวินิจฉัยโรคและระบบเฝ้าระวังโรคเชื้อไวรัส การศึกษากลไกของไวรัสพิษสุนัขบ้าและพัฒนาวิธีการป้องกัน โครงการทั้งหมดจะเพิ่มความตระหนักในวงการแพทย์ในโรคที่มาจากสัตว์สู่คน ทำให้การวิเคราะห์สาเหตุทำได้ด้วยวิธีการที่ง่ายๆใช้ได้ทั่วไป และเป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้จากการรวบรวมพฤติกรรมสัตว์ในการเคลื่อนย้ายถิ่นฐา น ความสามารถอันหลากหลายของแมลงในการเพาะบ่มเชื้อต่างๆ และกระบวนการของไวรัสที่ทำให้โรคมีความรุนแรงในระดับต่างๆส่วน ศ.ดร.สมชาย เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้เชี่ยวชาญและมีผลงานวิจัยดีเด่นด้านการออกแบบและการสร้างอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน ผลิตผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมในภาคอุตสาหกรรม โดยนำผลงานวิจัยไปประยุกต์พัฒนาผลิตภัณฑ์อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนเพื่อการส่งออกให้แก่บริษัทต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งโครงการที่ได้รับทุนนี้ เป็นการพัฒนาและประดิษฐ์อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนรูปแบบต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อนเพิ่มยิ่งขึ้น

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : จุฬา-มจธ คว้าทุนนักวิจัยแกนนำสวทช.

นายกฯ เปิดงานการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียและแปซิฟิก 2013

วันนี้ (18 พ.ย.) ที่ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียและแปซิฟิก 2013 โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานครั้งแรก ว่า การประชุมครั้งนี้จะเป็นเวทีให้ผู้นำประเทศ ผู้นำรัฐบาล รัฐมนตรี และผู้นำอุตสาหกรรมไอทีจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ และความเห็นเกี่ยวกับความท้าทายของโลกดิจิทัล รวมถึงโอกาสที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ ตลอดจนกำหนดทิศทางด้านการลงทุนในโครงข่ายพื้นฐานด้านโทรคมนาคมและไอซีที แอพพลิเคชั่นและบริการที่สร้างสรรค์นอกจากนี้ ยังเป็นการกำหนดทิศทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมไอทีในอนาคตของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในปี 2563 เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และพร้อมที่จะสนับสนุนโครงการต่างๆ ที่ได้ดำเนินการร่วมกัน และหวังว่าจะทำให้ทุกประเทศได้ใกล้ชิดกัน ไอซีทีไทยจะให้การสนับสนุนการเชื่อมโยง ซึ่งประเทศไทยกำลังเข้าสู่การเปิดเสรีประชาคมอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 นี้ อีกทั้ง ขณะนี้กำลังเข้าสู่โลกดิจิทัล ทำให้การค้าขายแต่ละประเทศมีการเข้าถึงได้ง่ายขึ้นด้วยอย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประชากรทั่วโลกมี 7 พันล้านคน โดยคน 250 ล้านคนทั่วโลกจะมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 40% และขณะนี้จะมีการใช้ 4จี โดยปี 2025 จะมีอุปกรณ์4 จี และอุปกรณ์อื่นๆ เข้าถึงอินเทอร์เน็ตจำนวน 1 ล้านล้านเครื่อง โดยเฉลี่ยปี 2012-2017 มีการเติบโตถึง 10 เท่า ทั้งนี้ ปัจจุบันไอซีทีได้มีการพัฒนาสาธารณูปโภค ทำให้มีการเชื่อมโยงกับทุกประเทศ สุดท้ายแล้วประชาชนจะได้ประโยชน์ เพราะไอซีทีจะช่วยลดต้นทุน ลดความเหลื่อมล้ำทางเพศด้วยทั้งนี้ รัฐบาลมองว่าสิ่งที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้คือเรื่องช่องว่างของการเข้าถึงเทคโนโลยี สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วมีการเข้าถึงเทคโนโลยีสูงถึง 80% ส่วนประเทศที่กำลังพัฒนานั้น มีการเข้าถึงเทคโนโลยีเพียง 28% เท่านั้น อีกทั้ง สิ่งที่น่าเป็นห่วงไม่น้อยไปกว่ากัน คือเรื่องการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด ไม่ว่าจะเป็นการโจรกรรม หรือแม้กระทั่งการก่อการร้าย ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก”การพัฒนาไอซีที นอกจากจะลดช่องว่างในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังช่วยส่งเสริมในเรื่องของการท่องเที่ยว การศึกษา เกษตรกรรม สาธารณสุข และภาคธุรกิจต่างๆ ด้วย ดังนั้น ผลที่ได้จากการประชุมในครั้งนี้ รัฐบาลจะนำไปพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของไทยให้เจริญก้าวหน้าเทียบเท่านานาประเทศ” น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : นายกฯ เปิดงานการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียและแปซิฟิก 2013

Page 726 of 805:« First« 723 724 725 726 727 728 729 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file