shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

แนะสร้างการเข้าถึงเน็ตความเร็วสูงรองรับนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล

ตามที่  ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุลรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจภายใต้รัฐบาลใหม่ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาได้แถลงนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักบนพื้นฐานของ Digital Economy หรือหลักเศรษฐกิจดิจิตอลโดยจะมีการพัฒนาให้เห็นเป็นรูปธรรมภายในระยะเวลา 1 ปี  ซึ่งหลังจากการแถลงนโยบายดังกล่าวก็ได้รับเสียงตอบรับจากหลายกระทรวงและล่าสุดมีการพูดคุยถึงการเปลี่ยนชื่อของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอซีที (ICT) เพื่อให้สอดรับกับแนวทางการพัฒนานี้เลยทีเดียว รูปแบบและความเป็น “เศรษฐกิจดิจิตอล”นั้นมีความหมายที่แตกต่างกันในแต่ละบริบทโดยพื้นฐานความหมายของดิจิตอลอีโคโนมี่นั้นคือการนำเอาเทคโนโลยีที่เป็นดิจิตอลรวมถึงเทคโนโลยีบนพื้นฐานของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมาใช้เพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยมีการใช้สลับกันไปกับ “Internet Economy” และมีส่วนที่สอดคล้องกับ “NewEconomy” หรือเศรษฐกิจใหม่แต่หากพิจารณาจากการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมที่เห็นได้ในประเทศเพื่อนบ้านแล้วคำจำกัดความเหล่านี้ล้วนมีแนวทางที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน นายธีระกนกกาญจนรัตน์ นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมไอซีทีอาวุโส บริษัทฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวนองค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก ได้กล่าวถึงความหมายของเศรษฐกิจดิจิตอล ว่า หากพิจาณาดูจากเศรษฐกิจดิจิตอลในต่างประเทศที่เห็นผลลัพธ์เป็นรูปธรรมจับต้องได้แล้วเราจะเห็นว่าแก่นของแนวทางเหล่านี้ อยู่ที่การพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของความรู้ แทนที่อาศัยกำลังการผลิตหรือมูลค่าของการบริการเพียงอย่างเดียวโดยมีเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามามีบทบาทสำคัญในฐานะสื่อกลางและเป็นสินค้าที่ถูกส่งมอบส่วนแนวทางการพัฒนานั้นควรเป็นไปอย่างควบคู่กันทั้งการนำเอาเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและนำมาใช้สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่ ผ่านมาประเทศไทยมีความตื่นตัวในด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ (eCommerce) และการนำเอาระบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิคส์(eTransaction) เข้ามาใช้แต่เศรษฐกิจดิจิตอลนั้นเป็นการพัฒนาที่กว้างกว่ามาก”   เศรษฐกิจดิจิตอลนั้นมีมูลค่ามหาศาลตลาดการค้าขายออนไลน์หรือ eCommerce ของไทยในปัจจุบันมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 3แสนล้านบาทต่อปี  ทั้งยังไม่นับมูลค่าทางเศรษฐกิจที่มาจากการใช้เทคโนโลยีในการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอลนั้นจึงนิมิตหมายที่ดีต่อการพัฒนาประเทศแต่อย่างไรก็ตามยังมีความท้าทายอีกไม่น้อยที่รัฐบาลและประชาชนต้องก้าวข้าม “ การเร่งสร้างการเข้าถึงคือความท้าทายประการแรกบนแนวทางเศรษฐกิจดิจิตอลในปัจจุบันแม้ว่าประเทศไทยจะมีกระแสการตอบรับเทคโนโลยีที่รวดเร็วและตลาดไอซีทีมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่อัตราการเข้าถึงระบบเครือข่ายการสื่อสารนั้นยังต้องพัฒนาอีกมากโดยในปัจจุบันการเข้าถึงบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศไทยนั้นยังมีระดับต่ำเพียง25% จากจำนวนครัวเรือนทั้งหมดและแม้ว่าจะมีการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศที่สูงราว 144% เมื่อเทียบกับประชากรในประเทศ แต่ในจำนวนนี้มีเพียง34% โดยเฉลี่ยที่เป็นสมาร์ทโฟนและสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ และแม้ว่าการนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาตินั้นจะเป็นหนึ่งในวาระแห่งชาติแต่การพัฒนาและอัตราการเข้าถึงยังต้องได้รับการเร่งพัฒนาหากต้องการจะเห็นเศรษฐกิจดิจิตอลที่เป็นรูปธรรมในประเทศไทย” ธีระ กล่าว นายธีระ  ระบุว่า เศรษฐกิจดิจิตอลนั้นมีผลกระทบโดยตรงต่อภาคส่วนของสังคม  “สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือเรื่องการสร้าง ‘ความเข้าใจ’ ในเรื่องบทบาทและสิทธิของตนบนในระบบนิเวศน์เศรษฐกิจดิจิตอลให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนกรณีความผิดพลาดหรือการฟ้องร้องระหว่างผู้บริโภคและผู้ให้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์หรือeCommerce นั้นเป็นตัวอย่างที่ดี เช่น ความผิดพลาดของผู้ใช้งานเกมหรือแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือทำให้ถูกส่งใบแจ้งหนี้จำนวนมหาศาลหรือกรณีความผิดพลาดในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ทำให้เกิดการฟ้องร้องขอเงินคืนนั้นแม้ว่าในทางสังคมจะเป็นเรื่องที่ยอมรับได้แต่หากว่าประชาชนส่วนมากยังไม่เข้าใจว่าความผิดพลาดจากความประมาทหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในการทำธุรกรรมออนไลน์นั้นก็มีผลบังคับใช้เช่นเดียวกับการทำธุรกรรมในการค้าขายจริงความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมีมูลค่าเป็นตัวเงินจริงซึ่งการฟ้องร้องขอคืนค่าใช้จ่าย หรือยกเลิกธุรกรรมที่ตกลงไปแล้วด้วยการขอความเห็นใจหรือใช้แรงกดดันทางสังคมนั้นไม่อาจทำได้”   “ความท้าทายในภาคส่วนของรัฐบาลบนโรดแมปเศรษฐกิจดิจิตอลคือการขับเคลื่อนแบบบูรณการเพราะก้าวแรกของการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลนั้นคือการหาช่องว่างที่สามารถนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเสริมสร้างประสิทธิภาพพร้อมกับสร้างสรรค์โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆดังนั้นกระทรวงและหน่วยงานที่กำกับดูแลเทคโนโลยีนวัตกรรมจึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบในการวางกลยุทธ์ให้เป็นการขับเคลื่อนแบบองค์รวมซึ่งที่ผ่านมาการจัดสรรงบประมาณหรือวางแผนโครงการต่างๆของไทยเองยังขึ้นอยู่กับกระทรวงต่างๆที่เป็นเจ้าภาพความร่วมมือที่เกิดขึ้นจึงยังคงมุ่งเน้นในระดับปฏิบัติการหากแต่ยังขาดความร่วมมือในระดับกลยุทธ์ดังนั้นนอกจากการเร่งสร้างเครือข่ายการเข้าถึง และสร้างความเข้าใจในบทบาทใหม่ของเศรษฐกิจดิจิตอลแล้วในภาครัฐเองก็ต้องมีการพัฒนาเชิงรุกในแบบบูรณาการอีกด้วย”   ส่วนการเปลี่ยนชื่อกระทรวงไอซีทีเพื่อสอดรับกับนโยบายนั้น เป็นเพียงการเริ่มต้น สำหรับผลกระทบยังคงต้องดูกันต่อไป “กระทรวงไอซีทีนั้นจะเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการขับเคลื่อนบนเศรษฐกิจดิจิตอลการเปลี่ยนชื่อกระทรวงเพื่อให้สอดรับกับนโยบายนี้ก็เป็นการตอบรับที่ดีแต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือบทบาทหน้าที่ของกระทรวงว่าจะเปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไรเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการขับเคลื่อนนั้นๆ”นายธีระ  กล่าว  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แนะสร้างการเข้าถึงเน็ตความเร็วสูงรองรับนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล

Posts related

 














กสทช.ได้ชื่อกรรมการแก้กฎหมายซ้ำซ้อนไอซีที

วันนี้(22ก.ย.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. เปิดเผยว่า กสทช.ได้รายชื่อผู้ที่เข้าเป็นคณะกรรมการร่วมสำหรับดำเนินการแก้กฎหมายและลดความซ้ำซ้อนจำนวน4 คน คือ นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ นายสมบัติ ลีลาพตะ รักษาการรองเลขาธิการ กสทช. ผู้เชี่ยวชาญพิเศษของกสทช. และตน ในฐานะเลขาธิการ กสทช. ส่วนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ก็จะส่งรายชื่อเพื่อเข้ามาทำงานร่วมกันเช่นกันซึ่งบุคคลที่เข้ามาทำงานครั้งนี้เป็นผู้ที่มีอำนาจในการทำงานและตัดสินใจ โดยคาดใช้เวลา 2 เดือนจะได้แนวทางและข้อสรุป เพื่อนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)โดยคณะกรรมการร่วมกันครั้งนี้ จะดำเนินการแก้กฎหมายได้แก่พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.)พ.ร.บ. กสทช. พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 และพ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550นายฐากร กล่าวว่า นอกจากนี้จะดำเนินการแยกบทบาทการทำงานที่มีความซับซ้อนและคาบเกี่ยวกันอยู่โดยเบื้องต้นต้องแยกกสทช. เป็นผู้กำกับดูแลนโยบาย กฎระเบียบ ประกาศต่างๆ ส่วนกระทรวงไอซีที ผู้ให้บริการหน่วยงานในสังกัดกระทรวง อาทิบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน ) บริษัท กสท โทรคมนาคมจำกัด (มหาชน )นอกจากนี้สำนักงานกสทช.จะดำเนินการส่งมอบเช็คเงินสดเพิ่มเติมจำนวน251 ล้านบาท ให้แก่ช่อง 5 เพื่อชดเชยกรณีถ่ายทอดสดการแข่งขันบอลโลก 2014ให้กับบริษัทอาร์เอส อินเตอร์เนชั่นแนล บรอสคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมเนจเมนท์จำกัด จากกรอบวงเงินที่กสทช.อนุมติจำนวน369.859 ล้านบาท และได้หักเงินงวดแรกที่นำจ่ายไปก่อนหน้านี้แล้วจำนวน118 ล้านบาท โดยเงินที่จ่ายค่าชดเชยครั้งนี้เป็นเงินที่มาจากค่าปรับทางปกครองไม่เกี่ยวกับเงินค่าประมูลใดๆ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กสทช.ได้ชื่อกรรมการแก้กฎหมายซ้ำซ้อนไอซีที

กิฟฟารีนปล่อยสติกเกอร์ไลน์เวอร์ชั่น 3

บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้จำกัด  ส่งไลน์สติกเกอร์        แอนิเมชั่นใหม่ล่าสุดเวอร์ชั่น 3“กิฟฟี่-กิฟฟินดุ๊กดิ๊ก” จำนวน 16 ลายเคลื่อนไหว พร้อมคำพูดโดนๆฉลองเปิดตัวเดลิเวอรี่รูปแบบใหม่ “Giffarine 1101ส่งทุกที่ ฟรีทั่วไทย” และแทนคำขอบคุณสำหรับผู้ที่ใช้บริการดาวน์โหลดสติกเกอร์ไลน์และรับข่าวสารดีๆจาก Official Account กว่า 10 ล้านคน สำหรับ 2 เวอร์ชั่นที่ผ่านมาพร้อมให้ดาวน์โหลดได้ฟรีทาง LINE Sticker Shop ตั้งแต่วันที่23 กันยายน-22 ตุลาคม 2557 พร้อมติดตามข่าวสาร และโปรโมชั่นต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่ GiffarineLine Official Account  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กิฟฟารีนปล่อยสติกเกอร์ไลน์เวอร์ชั่น 3

Page 90 of 805:« First« 87 88 89 90 91 92 93 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file