shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

แก้กฎหมายตั้งนิคมฯ คอนโด

นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยถึงแนวทางการปรับปรุงการทำงานของ กนอ. ว่า ขณะนี้ กนอ. อยู่ระหว่างการพิจารณาแก้ไขพ.ร.บ..การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 โดยจะแก้ไน 4 ข้อหลัก เช่น การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมคอนโดมิเนียม เพื่อเปิดให้ กนอ. สามารถทำนิคมฯ แนวดิ่งได้ จากปัจจุบันที่กฎหมายกำหนดให้เพียงการทำนิคมฯเชิงราบ ที่เป็นการสร้างนิคมเป็นหลังๆบนพื้นที่ ไม่สามารถทำเป็นตึกให้หลายโรงงานอยู่ในอาคารเดียวกันได้  “นิคมฯแนวดิ่ง หรือนิคมฯ คอนโด กำลังเป็นที่นิยมในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศเกาหลีใต้ ที่สร้างคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่ แล้วให้อุตสาหกรรมเบาเช่าพื้นที่ เช่น อุตฯ อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้พื้นที่ไม่มาก อุตฯ ครีเอทีฟ ดิจิตอลคอนเทนต์ และอุตฯ บริการ ซึ่งเป็นการประหยัดพื้นที่ และลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการ เนื่องจากจะใช้ระบบสาธารณูปโภค ห้องแลปห้องวิจัยร่วมกัน”  นอกจากนี้ จะเพิ่มวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง กนอ. ให้สามารถตั้งนิติบุคคล เพื่อให้ กนอ. ทำหน้าที่โฮลดิ้งลงทุนในธุรกิจสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนิคมฯ เช่น การก่อสร้างและบริหารท่อเรือ โรงไฟฟ้า ผลิตน้ำประปา การบำบัดน้ำเสีย และการสร้างโรงงานสำเร็จรูป เป็นต้น เพื่อเพิ่มรายได้ และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการภายในนิคมฯ และจะเพิ่มขอบข่ายการทำพาณิชยกรรม ซึ่งในขณะนี้ก็มีเขตฟรีโซน รองรับการส่งออกแล้ว แต่กฎหมายยังไม่มีความชัดเจน เพื่อรองรับการลงทุนสร้างนิคมฯบริการ และนิคมฯโลจิสติกส์ 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แก้กฎหมายตั้งนิคมฯ คอนโด

Posts related

 














หารือร่วมถกแผนส่งเสริมท่องเที่ยว 3 ด้าน

พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการหารือกับ นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ว่า ได้ประชุมหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการช่วยกันบูรณาการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยมี 3 ประเด็นหลัก ประเด็นแรก คือการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประเด็นต่อมา คือเรื่องความปลอดภัยที่จะดูแลให้กระจายครอบคลุมไปทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นในพื้นที่ที่เป็นแหล่งการเดินทางทางบก การท่องเที่ยวทางทะเล การเดินทางทางอากาศ ว่าควรจะมีการจัดการอย่างไร และประเด็นสุดท้ายการหาแนวทางเสริมเรื่องของการท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวโดยรถไฟ การท่องเที่ยวโดยใช้รถจักรยานไปยังพื้นที่ที่เหมาะสม ทั้งนี้จะไปดูว่าพื้นที่ส่วนใดสามารถที่จะเริ่มต้นโครงการรถจักรยานได้ใน กทม. เช่น ในพื้นที่ส่วนของสวนสาธารณะจะทำเป็นจักรยานเพิ่มเติมที่ใดได้บ้าง รวมถึงในรั้วของมหาวิทยาลัย โดยกระทรวงคมนาคม และกระทรวงการท่องเที่ยวฯ จะช่วยกันไปดู หรือแม้แต่เส้นทางบางสาย เช่น กทม. – นครนายก กทม. – นครปฐม ควรจะมีเลนจักยานที่แยกไปจากถนน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวจะกำหนดว่าเส้นทางใดบ้าง ที่จะเชื่อมโยงเพื่อเสริมในเรื่องของจักรยาน จะช่วยเสริมนโยบายของการท่องเที่ยวได้  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : หารือร่วมถกแผนส่งเสริมท่องเที่ยว 3 ด้าน

เทศกาศกินเจรอบ2 ซบเซา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าบรรยากาศเทศกาลกินเจรอบที่ของปี57 ระหว่างวันที่ 24 ต.ค. – 1 พ.ย. 57 พบว่าบรรยากาศในวันแรกของการกินเจไม่คึกคักเหมือนกับรอบแรกในช่วงวันที่24 ก.ย. – 2 ต.ค. 57 เนื่องจากประชาชนที่ยังคงกินเจเหลือประมาณ 10% ของของประชากรทั่วประเทศต่างจากรอบแรกที่มีประชาชนกินเจ31%ของประชากรทั่วประเทศ ขณะที่ราคาผักและสินค้าขายปลีกในตลาดกรุงเทพฯพบว่าราคาใกล้เคียงจากช่วงกินเจครั้งก่อนแต่จะสูงกว่าช่วงต้นเดือนเล็กน้อย สำหรับผักคะน้าคัดอยู่ที่28-30 บาทต่อกก. เพิ่มขึ้น 3 บาทต่อกก.จากช่วงต้นเดือนที่อยู่ระดับ 25-30บาทต่อกก., ผักบุ้งคัด อยู่ที่ 22-25 บาทต่อกก. เพิ่ม 4-5 บาทต่อกก. จากช่วงต้นเดือนอยู่ที่ระดับ18-20 บาท, ผักกวางต้งคัด 20-22 บาทต่อกก. เพิ่ม 2 บาท จากช่วงต้นเดือนอยู่ที่18-20 บาท, ผักกาดหอมอยู่ที่ 35-40 บาทต่อกก. เพิ่ม 10 บาทจากช่วงต้นเดือนอยู่ที่25-30 บาท, ผักกะหล่ำปีราคาไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ 20-25 บาทต่อกก., ถั่วฝักยาว30-35 บาทต่อกก. เพิ่ม 5 บาทจากช่วงต้นเดือนราคา 25-30 บาท ขณะที่ไข่ไก่แม้จะว่าคนกิจเจจะไม่รับประทานแต่ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อราคาไข่ไก่ให้ตกต่ำเหมือนครั้งก่อนโดยราคาขายปลีกเบอร์ 3 อยู่ที่ 3-3.1 บาทต่อฟอง เพิ่ม 20 สต.ต่อฟองจากช่วงต้นเดือนราคา2.8-2.9 บาท เป็นต้น นายวชิรคูณทวีเทพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  กล่าวว่า ผลสำรวจเทศกาลกินเจรอบ2( 24 ต.ค. – 1 พ.ย. 57) คาดว่าจะมีมูลค่าการใช้จ่าย  9,978 ล้านบาทลดลงจากการใช้จ่ายช่วงกินเจรอบแรกถึง 4 เท่าโดยรอบแรกมีมูลค่าการใช้จ่าย 41,989ล้านบาสท เนื่องจากมีคนที่กินเจน้อยกว่าครั้งแรกมากประกอบกับ ประชาชนจำนวนมากยังมีเครื่องปรุงและวัตถุดิบอื่นที่เหลือจากการกินเจรอบแรกจึงไม่ต้องซื้อเพิ่มรวมถึงหลายรายมีการซื้ออาหารเพื่อปรุงทานเองไว้แล้วมารักบประทาน “หากพิจารณาจากผลสำรวจพบว่าประชาชนที่กินเจรอบ2 มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคน 7,258 บาท เช่นค่าอาหารวันละ 704 บาทต่อคน, การเดินทางไปทำบุญ 1,800 บาทต่อคน, ค่ารถ 3,200บาทต่อคน, ค่าที่พักไปทำบุญ 3,400 บาทต่อคน เป็นต้น

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เทศกาศกินเจรอบ2 ซบเซา

Page 34 of 1552:« First« 31 32 33 34 35 36 37 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file