shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

เบรคกพช.ลุยโครงสร้างพลังงาน

รายงานข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) 22 ต.ค.นี้ กระทรวงพลังงาน จะยังไม่เสนอแผนการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน ทั้งน้ำมัน เอ็นจีวี และก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ภาคขนส่ง และครัวเรือน ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เนื่องจากที่ผ่านมา เริ่มทยอยปรับราคาไปบ้างแล้ว และต้องรอพิจารณาโครงสร้างราคาพลังงานบางประเภทให้ชัดเจากว่านี้สำหรับวาระการพิจารณาของกพช. เช่น การกำหนดอัตราราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ประกอบการ ที่ลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน และพลังงานชีวมวลทุกประเภท ยกเว้นพลังงานแสงอาทิตย์ โดยจะกำหนดสัดส่วนผลตอบแทนการลงทุน อายุสัญญาแต่ละโครงการขั้นต่ำ 20 ปี เพื่อป้องกันการทิ้งงานกลางอายุสัญญา ส่วนผลตอบแทนการลงทุน กระทรวงพลังงานได้เสนอให้มีผลตอบแทนให้กับผู้ประกอบการขั้นต่ำ 10% ของแต่ละโครงการ โดยแต่ละโครงการ และแต่ละประเภทเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า จะมีผลตอบแทนขั้นต่ำที่แตกต่างกันนอกจากนี้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชธ.) จะเสนอให้ที่ประชุมกพช. รับทราบถึงความจำเป็นที่ไทย ต้องเร่งเปิดสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 บนพื้นที่บนบก และในทะเลรวม 27 แปลง เพื่อเปิดให้เอกชนมาลงทุนสำรวจ และขุดเจาะแหล่งพลังงานในประเทศ รองรับความต้องการในอนาคต เพราะการลงทุนในแหล่งปิโตรเลียม ต้องใช้เวลา 3-5 ปี จึงต้องเร่งเปิดประมูลสัมปทานดังกล่าว หาก กพช.ให้ความเห็นชอบ ชธ. ต้องกลับมาทำข้อมูลว่าจะเปิดสัมปทานในพื้นที่ใดบ้าง เสนอกลับไปให้กพช.พิจารณาในครั้งต่อไปสำหรับความคืบหน้าของแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า(พีดีพี) ปี 58-79 กระทรวงพลังงานจะเสนอรายละเอียดให้ กพช.พิจารณาว่า ตามอายุของแผนพีดีพี ดังกล่าว ไทยควรมีเชื้อเพลิงชนิดใดผลิตไฟฟ้าเป็นเชื้อเพลิงหลัก และเชื้อเพลิงรอง เพื่อลดการผูกขาดของก๊าซธรรมชาติ ที่ขณะนี้ไทยใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้ากว่า 75% ของเชื้อเพลิงรวม คาดว่าแผนพีดีพีดังกล่าว จะเพิ่มสัดส่วนของถ่านหินสะอาดเพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน พลังงานชีวมวลให้มากขึ้นขณะเดียวกัน ที่ประชุมกพช.จะพิจารณาข้อเสนอของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) เรื่องขออนุมัติให้พพ. ออกประกาศ พพ.ให้ติดฉลากเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน หรือเบอร์ 5 กับเครื่องจักรกลการเกษตรขนาดเล็ก 5 ชนิด เช่น รถจักรกลการเกษตร รถไฟถน เครื่องสูบน้ำขนาดเล็ก เพื่อจูงใจให้เกษตรกร ที่ทำการเกษตรหันมาใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 ช่วยลดประหยัดการใช้ไฟฟ้าในระยะยาว รวมทั้งเสนอให้แต่งตั้งนายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการนโยบายบริหารพลังงาน (กบง.) แทนพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม อย่างเป็นทางการ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เบรคกพช.ลุยโครงสร้างพลังงาน

Posts related

 














ต่างด้าวแห่ลงทุนไทย 6 หมื่นล้าน

นางสาวผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เปิดเผยว่า ช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เห็นชอบให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทย 354ราย มีเงินลงทุน 60,142 ล้านบาท เป็นมูลค่าที่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 44,543 ล้านบาท เนื่องจากต่างชาติมีความมั่นใจการลงทุนในไทยมากขึ้นช่วงเดือนต.ค.นี้ ที่ประชุมคณะกรรมฯ อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในประเทศไทย 41ราย วงเงินลงทุน 2,065ล้านบาท และมีการจ้างงานคนไทย589 คน ซึ่งธุรกิจที่ได้รับอนุญาต เช่น ธุรกิจบริการให้แก่บริษัทในเครือ หรือในกลุ่มและบริษัทคู่ค้า25รายเงินลงทุน 1,672ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นบริการให้กู้ยืมเงินบริการด้านการตลาด บริการจัดหา และติดตั้งเครื่องจักร และบริการรับจ้างผลิต โดยประเทศที่ได้รับอนุญาตได้แก่ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ จีน ไอร์แลนด์ ไต้หวัน สวีเดน และเยอรมนีด้านธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง7ราย เงินลงทุน 44ล้านบาท เช่น การค้าปลีกแม่พิมพ์ที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนเหล็กหล่อของยานพาหนะ และเครื่องจักรกลอื่น ๆ ให้แก่ลูกค้าที่ว่าจ้างให้ผลิตชิ้นส่วนเหล็กหล่อ ที่ผลิตจากแม่พิมพ์ การค้าส่งตู้บรรจุสินค้า เกียร์พิเศษ และเครนติดหลังรถบรรทุก เป็นต้น ประเทศที่ได้รับอนุญาตคือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์และฝรั่งเศสสำหรับธุรกิจสำนักงานผู้แทน6ราย เงินลงทุน 18ล้านบาท ส่วนใหญ่จะเป็นการรายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจ การผลิต การตลาด การลงทุน ตลอดจนความต้องการใช้สินค้าและบริการต่างๆ รวมทั้งหาแหล่งจัดซื้อสินค้าและวัตถุดิบ ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพและปริมาณของสินค้าในประเทศไทยให้สำนักงานใหญ่ประเทศที่ได้รับอนุญาต ได้แก่ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และสวิตเซอร์แลนด์นอกจากนี้ยังมีธุรกิจนายหน้าตัวแทนจากประเทศญี่ปุ่น, คู่สัญญาภาครัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจ คือบริการขุดเจาะปิโตรเลียมให้แก่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จากประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ต่างด้าวแห่ลงทุนไทย 6 หมื่นล้าน

คนไทยเห่อกินผลไม้นอก 8 เดือนทะลัก 1.7 หมื่นล้าน

นายเพ็ชร ชินบุตร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า การค้าอุตสาหกรรมอาหารของไทยในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ไทยนำเข้ากลุ่มผลไม้มูลค่า 17,994.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.79 % เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าแอปเปิ้ลสด จากประเทศจีนมากกว่า 50 % ที่เหลือนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ , องุ่นสดนำเข้าจากจีน เปรู อินเดีย ออสเตรเลีย , ส้มนำเข้าจากจีน ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา โดยคนไทยมีแนวโน้มบริโภคผลไม้นำเข้ากลุ่มนี้เพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากราคาผลไม้จากต่างประเทศลดลงมาก สามารถซื้อได้ทั่วไป ส่งผลให้ผลไม้ในประเทศมีคู่แข่ง และประสบปัญหาล้นตลาดบางช่วงที่ผลผลิตออกมามากอย่างต่อเนื่องสำหรับภาพรวมการนำเข้าวัตถุดิบ และอาหารของไทยมีมูลค่ารวม 322,104.39 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.12 % มีปริมาณนำเข้า 11.01 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 29.60 % เฉพาะเดือนส.ค. มีมูลค่านำเข้า 45,140.24 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50.83% ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบ เพื่อแปรรูป โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมีมูลค่ามากที่สุดถึง 73,105.73 ล้านบาท หรือ 22.70 % ของมูลค่านำเข้าทั้งหมด สินค้าที่นำเข้ามากที่สุด ได้แก่ ปลาโอทองแถบ (สกิปแจ็คแช่แข็ง) ปลาทะเลอื่น ๆ แช่แข็ง ทูน่าครีบเหลืองแช่แข็ง อัลบาคอร์แช่แข็ง และหมึกแช่แข็ง รองลงมา คือ กากของเหลือจากการผลิตน้ำมัน เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ 19.43% เมล็ดถั่วเหลืองเพื่อการผลิตน้ำมันพืชและอาหารสัตว์ 10.01% นมผงสำหรับทารก 9.03% และกลุ่มข้าวสาลีส่วนมูลค่าส่งออกอาหารอยู่ที่ 695,583.91 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.48% ปริมาณส่งออก 24.55 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 12.10 % เดือนส.ค.มีมูลค่าส่งออก 110,510 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50.83% โดยการส่งออกเนื้อไก่แปรรูป เป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 มีมูลค่าส่งออกสูงถึง 50,189.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.92 เนื่องจากญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฮ่องกง เกาหลีใต้ แอฟริกาใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กลับมานำเข้าไก่สดจากไทยอย่างไรก็ตามภาวะการค้าอาหารไทย กับกลุ่มประเทศอาเซียน ที่จะร่วมกันเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) นั้น ไทยได้ส่งออกสินค้าอาหารไปยังอาเซียน 5.79 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 8.83 % มูลค่า 151,649.74 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.83 % ขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าอาหารจากสมาชิกอาเซียนทั้งสิ้น 1.66 ล้านตัน มูลค่า 51,785.44 ล้านบาท“ไทยอยู่ในฐานะเกินดุลการค้าอาหารกับอาเซียนโดยสินค้าส่งออก คือ น้ำตาลจากอ้อย มีสัดส่วน 11.4 % ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดในช่วง 8 เดือนของปีนี้ มีมูลค่า 17,271.62 ล้านบาท ปริมาณส่งออก 1.347 ล้านตัน โดยตลาดหลัก คือ อินโดนีเซีย มีสัดส่วน 80% ของมูลค่าส่งออกสินค้าชนิดนี้ในอาเซียน”ด้านสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเป็นอันดับ 2 คือ เครื่องดื่มที่ไม่อัดลมพร้อมบริโภคทันที โดยไม่ต้องเจือจาง เป็นสินค้าที่มีแนวโน้มขยายตัวในระดับสูง ซึ่งตลาดหลัก คือ เวียดนาม และเมียนมาร์ เนื่องจากสินค้าของไทยได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพดี รสชาติอร่อย และราคาแข่งขันได้ และข้าวหอมมะลิของไทย เป็นที่ต้องการสำหรับตลาดบนอย่างสิงคโปร์ และบรูไน มีแนวโน้มขยายตัวในระดับสูงเช่นกัน“เมื่อพิจารณาในตลาดอาเซียน จะพบว่า ช่วงนี้ที่อุตสาหกรรมอาหารในประเทศสมาชิกใหม่อย่างกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนา จึงจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าอาหารแปรรูปจากไทยอยู่ ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องหาแนวทางการทำธุรกิจที่ยั่งยืนในอนาคต เพราะขณะนี้นักลงทุนต่างชาติที่มีศักยภาพสูงในด้านอุตสาหกรรมอาหาร ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และจีน ต่างก็ขยายการลงทุนเข้าสู่ทั้ง 4 ประเทศ เนื่องจากเล็งเห็นว่ามีความพร้อม ด้านการเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบอาหาร ดังนั้นหากไทยไม่มองลู่ทางในระยะยาว อาจจะเสียโอกาสในอนาคต”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คนไทยเห่อกินผลไม้นอก 8 เดือนทะลัก 1.7 หมื่นล้าน

Page 46 of 1552:« First« 43 44 45 46 47 48 49 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file