shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวการตลาด เศรษฐกิจ

ต้นทุนก๊าซแอลพีจี ทำไมต้อง27บาท – พลังงานรอบทิศ

สัปดาห์ที่แล้วมีข่าวที่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงานจะเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ให้ขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีทั้งภาคครัวเรือนและภาคขนส่งอีก 5.22-5.85 บาท/กก. โดยจะทยอยปรับขึ้นเดือนละ 50 สต./กก. เป็นเวลา 12 เดือนเพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนในการจัดหาก๊าซแอลพีจีในปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 27.85 บาท/กก. ข่าวนี้ทำให้มีผู้ออกมาตั้งข้อสงสัยกันมากว่าการคิดราคาต้นทุนในการจัดหาแอลพีจีของสนพ.เป็นอย่างไรและมีกูรูทางเศรษฐกิจบางท่านที่เป็นผู้จัดรายการทางวิทยุและโทรทัศน์ที่มีผู้ติดตามและเชื่อถือเป็นอันมากถึงกับฟันธงเลยว่าเป็นการขึ้นราคาที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคและต้นทุนในการจัดหาไม่น่าจะสูงถึง 27.85 บาท/กก.โดยยกเอาราคานำเข้าแอลพีจี ซึ่งมีต้นทุนแพงที่สุดแล้วยังมีราคาเพียง 750 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (ประมาณ 24.50 บาท/กก. เท่านั้นเอง)เพื่อความกระจ่างในเรื่องนี้ผมขอเรียนว่าก๊าซแอลพีจีในบ้านเรามีที่มาจาก 3 แหล่งคือ หนึ่ง นำเอาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมาแยกที่โรงแยกก๊าซจะได้ก๊าซแอลพีจีประมาณ 50% ส่วนนี้จะมีต้นทุนต่ำที่สุดประมาณ 555 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (ประมาณ 18.10 บาท/กก.)แต่รัฐบาลบังคับให้ขายที่ 333 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน(ประมาณ 10.75 บาท/กก.) โดยไม่ได้จ่ายเงินชดเชยให้โรงแยกก๊าซแต่อย่างใดสองนำเอาน้ำมันดิบมากลั่นที่โรงกลั่นน้ำมันจะได้ก๊าซแอลพีจีประมาณ 25% ส่วนนี้จะมีต้นทุนเทียบเท่าราคานำเข้าหักค่าขนส่งประมาณ 700 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน(ประมาณ 22.80 บาท/ก.ก.) แต่รัฐบาลก็ยังตรึงราคาขายอยู่ที่ 333 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (ประมาณ 10.75 บาท/ก.ก.) เช่นเดียวกันแต่จ่ายเงินชดเชยให้โรงกลั่นฯ บางส่วนโดยใช้เงินจากกองทุนน้ำมันฯสามนำเข้าจากต่างประเทศอีกประ มาณ 25% ส่วนนี้จะมีต้นทุนสูงที่สุดคือ เฉลี่ยประมาณ 750 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (ประมาณ 24.50 บาท/กก.) ราคานำเข้าที่แท้จริงจะผันแปรไปตามฤดูกาลจาก 600-1,200 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน (ประมาณ 19.50-36.80 บาท/กก.)ส่วนนี้รัฐบาลอุดหนุนส่วนต่างทั้งหมด (เฉพาะที่สูงกว่า333ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน) โดยใช้เงินจากกองทุนน้ำมันฯ เช่นเดียวกันจะเห็นว่าต้นทุนการจัดหาก๊าซในประเทศโดยเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักแล้วจะอยู่ที่ 19.84 บาท/กก. (65:35 ของการจัดหาในประเทศ) แต่รัฐบาลตรึงราคาขายไว้ที่ 10.75 บาท/กก. เท่ากับมีการอุดหนุนที่ต้นทาง 9.14 บาท/กก. โดยภาครัฐและเอกชนดังนั้นเมื่อนำมาเฉลี่ยกับการนำเข้าอีก 25% ที่ราคา 24,50 บาท/กก. ราคาต้นทุนเฉลี่ยของก๊าซแอลพีจีในบ้านเราจึงควรจะอยู่ที่ 21.00 บาท/กก. (เฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 75:25)แล้วอย่างนี้กระทรวงพลังงานจะมา บอกว่าต้นทุนการจัดหาน้ำมันเป็น 27.85 บาท/กก. ได้อย่างไรล่ะครับก็อย่าลืมนะครับว่าต้นทุนการจัดหาที่ 21บาท/กก. นี่ยังไม่ได้รวมภาษีสรรพสามิตภาษีเทศบาลอีก 2.39 บาท/กก. ยังไม่ได้บวกภาษีมูลค่าเพิ่มอีกอย่างน้อย 2.00 บาท/กก. และยังไม่ได้บวกค่าการตลาดของผู้ประกอบการ (ร้านค้าก๊าซ) อีก 3.25 บาท/กก. รวมแล้วก็ประมาณ 7.64 บาท/กก. เข้าไปแล้วซึ่งทั้งหมดนี้ก็ต้องบวกเข้าไปในต้นทุนกลายเป็นราคาขายปลีกที่ปลายทางดังนั้นถ้าคิดตามสูตรที่ผมว่ามาราคาขายปลีกก๊าซแอลพีจีมันจะไม่ใช่ 27.85 บาท/กก. อย่างที่ สนพ. เขาว่ามาเอาน่ะสิ!!!.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ต้นทุนก๊าซแอลพีจี ทำไมต้อง27บาท – พลังงานรอบทิศ

Posts related

 














โรงสีจับคู่ผู้ส่งออกดันราคาข้าวหอมตันละ 1.5 หมื่น

นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยถึงกรณีที่กระทรวงพาณิชย์มีแนวคิดจะกำหนดราคากลางเป้าหมายที่จะรับซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิราคาตันละ15,000 – 16,000 บาท ว่าทางสมาคมฯได้เสนอมาตรการให้มีการจับคู่ระหว่างโรงสีและผู้ส่งออกที่จะซื้อข้าวในตลาดตามราคาเป้าหมายโดยผู้ส่งออกจะซื้อข้าวสารจากโรงสีในราคากก.ละ 29 บาททอนกลับมาเป็นข้าวเปลือกหอมมะลิที่โรงสีจะต้องไปซื้อจากเกษตรกรในราคาตันละ 15,000 บาทในปริมาณรับซื้อ 300,000 ตันซึ่งจะเป็นการทำควบคู่กับมาตรการผลักดันให้เกษตรกรเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางคาดว่าจะช่วยดูดซับปริมาณข้าวเปลือกหอมมะลิออกจากตลาดได้อีก 2 ล้านตันน่าจะช่วยผลักดันให้ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิเป็นไปตามเป้าหมายที่รมว.พาณิชย์กำหนดไว้“เรื่องรับจำนำยุ้งฉางกับมาตรการจับคู่โรงสีซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิคาดว่าจะมีการเสนอให้นบข.เห็นชอบเชื่อว่าน่าจะทำให้ราคาเปลือกหอมมะลิเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้โดยการรับจำนำยุ้งฉางอาจมีการเพิ่มมาตรฐานการดูแลรักษาข้าวหอมมะลิให้มีคุณภาพด้วย”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : โรงสีจับคู่ผู้ส่งออกดันราคาข้าวหอมตันละ 1.5 หมื่น

8 เดือนเอสเอ็มอีเจ๊ง 8,500 ราย

รายงานข่าวจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า การจดทะเบียนยกเลิกกิจการ ช่วง 8 เดือน (ม.ค. – ส.ค.) ปี 57 ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มีจำนวน 8,563 ราย เพิ่มขึ้น 6.51% เทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน ขณะที่เดือน ส.ค. มีการยกเลิกกิจการรวม 1,236 ราย ลดลง 0.9 % เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกิจการที่ยกเลิกมากที่สุด คือก่อสร้างที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย การขายสลากกินแบ่ง อสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่เพื่อพักอาศัย เนื่องจากช่วงต้นปีเกิดปัญหาทางการเมือง ส่งผลให้ไม่มีการลงทุนทางภาครัฐ รวมทั้งภาคเอกชนชะลอการลงทุนก่อสร้างต่างๆ ด้วยสำหรับกิจการที่จดทะเบียนจัดตั้งใหม่ 8 เดือน มีจำนวน 40,262 ราย ลดลง 18.02% โดยเดือน ส.ค. มีกิจการจัดตั้งใหม่จำนวน 5,204 ราย ลดลง 17.8% โดยกิจการที่จดทะเบียนจัดตั้งใหม่สูงสุด ได้แก่ ก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย ภัตตาคาร ร้านอาหาร ขายส่งเครื่องจักรและอุปกรณ์ และอสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่เพื่อพักอาศัยส่วนสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ส่งออกช่วง 8 เดือน มีมูลค่ารวม 1.28 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.11% คิดเป็นสัดส่วน 26.47% ของมูลค่าการส่งออกรวม ขณะที่เดือน ส.ค. การส่งออกมีมูลค่า 144,934 ล้านบาท ลดลง 14.9 % โดยตลาดหลักที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ส่งออกช่วง 8 เดือน คือ จีน มีมูลค่ารวม 151,789 ล้านบาท รองลงมาคือ ญี่ปุ่น มีมูลค่า 125,986 ล้านบาทสหรัฐอเมริกา มูลค่า 96,958 ล้านบาท มาเลเซีย มีมูลค่า 64,325 ล้านบาท และเวียดนาม มูลค่า 48,935 ล้านบาท โดยทุกประเทศเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 9.82-23.38% โดยเฉพาะเวียดนาม เพิ่มขึ้นสูงสุด 23.38%

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : 8 เดือนเอสเอ็มอีเจ๊ง 8,500 ราย

Page 68 of 1552:« First« 65 66 67 68 69 70 71 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file