shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

ประสิทธิภาพกองทุนยังต่ำ (8) – โลกาภิวัตน์

ในสหรัฐอเมริกา การจัดการกองทุนทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กก็ยังส่อถึงประสิทธิภาพต่ำหลายกองทุน วิธีการจัดการความชัดเจน เลยทำให้ผลลัพธ์อัตราการตอบแทนหรือไออาร์อาร์ (IRR) รวมกันแล้วยังเป็นศูนย์บทความที่แล้วได้เขียนถึงกองทุนขนาดใหญ่ที่สุดของอเมริกาเป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญยังมีพฤติกรรมเป็น “กองทุนผู้ป่วย” เพราะเกิดการลงทุนที่มุ่งแต่หวังเงินคืนกำไรระยะสั้นจึงขาดการลงทุนระยะยาวที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และก็มาดูกองทุนขนาดเล็กทั่วไปว่ามีการลงทุนเพื่อนวัตกรรมการตลาดเพื่อสร้างงานอย่างไรบ้างในปัจจุบันทางรัฐบาลสหรัฐให้แบงก์จ่ายดอกเบี้ยสำหรับเงินเก็บสะสมต่ำเกือบศูนย์ เพื่ออยากให้เกิดการลงทุนมากขึ้น แต่บริษัทและนักลงทุนต่าง ๆ ก็ยังมักจะลงทุนโดยเสนอแผนธุรกิจซึ่งมักจะสามารถคืนทุนได้ถึง 5 เท่าขึ้นไป และนักลงทุนมืออาชีพทั้งหลายจริง ๆ แล้วก็อยากได้เงินคืนบวกกำไรที่สูงมากกว่านี้อีกโดยทั่วไป แผนธุรกิจบริษัทก็มักจะเสนอคืนกำไรประมาณ 20 ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ซึ่งมักจะคิดคำนวณการลงทุนในอนาคตจากมูลค่าในปัจจุบัน (Present Value) แล้วปรับความเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดกำไรของปีต่าง ๆ ในอนาคต (Future Value) แต่แท้จริงแล้วไม่ว่าราคาของกองทุนจะมีมูลค่าเท่าไร อัตราการคืนกำไรของกองทุนก็ยังคงเป็นศูนย์ ซึ่งนักลงทุนมักจะไม่ยอมสังเกตเห็นตรงนี้นักลงทุนมักจะมองว่าหลายบริษัทที่แข่งขันหากำไรให้กับผู้ถือหุ้น ซึ่งโดยมากมักจะเป็นสูตรหรืออัตราคืนกำไรประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ต่อปี แต่อย่างไรก็ตามเมื่อรวมกับทุนบริษัทและนักลงทุนทุกรายรวมกัน อัตราคืนกำไรก็จะใกล้เคียงศูนย์อยู่ดี ซึ่งตรงนี้ ศาสตราจารย์ วิลเลี่ยม ซาลแมน ได้เรียกปัญหาตรงนี้ว่า “ตลาดลงทุนแบบสายตาสั้น”เมื่อเข้าไปศึกษาถึงตลาดการลงทุน และศึกษาลึกไปถึงการลงทุนและเพื่อการวิจัยและพัฒนา จะเห็นได้ว่ามีจำนวนน้อยบริษัทมากที่ใช้เงินเพื่อสร้างนวัตกรรมเพื่อให้เกิดการจ้างงาน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจแต่การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มักจะเป็นบริษัทที่มุ่งผลกำไรระยะสั้นและเป็นบริษัทที่เป็นนวัตกรรมเพื่อประสิทธิภาพ คือลดค่าใช้จ่ายเพื่อก่อให้เกิดกำไรในระยะสั้น การลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดนวัตกรรม ตลาดการจ้างงานและขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้จึงมักจะไม่ค่อยมีบรรดาศิษย์เก่าฮาร์วาร์ดซึ่งได้มาร่วมสัมมนาศึกษาต่าง ๆ รู้สึกทุกข์ใจเพราะกระบวนการจัดสรรทรัพยากรก็ยังมุ่งสู่ผลกำไร โอกาสการเติบโตเร็วและมักจะมุ่งสู่ลูกค้าในอนาคต ซึ่งตรงนี้แหละที่ทำให้เกิดทางตัน เพราะนักลงทุนทั้งหลายมักจะแข่งขันกันเพื่อหาผลสำเร็จง่าย ๆ ทั้ง ๆ ที่มีหลายบริษัทแข่งขันกันอย่างดุเดือดให้เลือกในตลาดการลงทุน การลงทุนเพื่อทำให้เกิดตลาดใหม่จึงเป็นไปได้ยากศิษย์เก่าฮาร์วาร์ดหลายคนที่เป็นซีอีโอของบริษัทขนาดใหญ่ในตลาดหุ้นนิวยอร์กก็ยอมรับว่า “เราลืมเรื่องการลงทุนในพอร์ตหลายรูปแบบแต่มักจะมุ่งตรงไปถึงการใช้มาตรวัดทางการเงินเพื่อกำไร” ซึ่งก็ยอมรับว่ามักจะพุ่งตรงไปที่ประสิทธิภาพในการคืนกำไรในระยะสั้น ซึ่งถ้าหากมีรูปแบบของการลงทุนที่แตกต่างจากนี้ เขามักจะไม่สนใจ และธนาคารก็มักจะถูกรุมเร้าด้วยการขอกู้ยืมเงินจากบริษัทต่าง ๆ ที่มุ่งหวังผลประโยชน์ระยะสั้นซึ่งทำให้เกิดปัญหาระยะยาว แม้ว่าทางกองคลังกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Re serve) จะกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดการลงทุนด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารให้ต่ำแต่ดูเหมือนไร้ความหมาย เพราะนักลงทุนเขาไม่สนใจอัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำหรือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำอยู่แล้วปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากวิธีการอัตราของทุนเหล่านี้จึงถือว่ามีประสิทธิภาพต่ำ เพราะไม่สามารถทำให้เกิดการจ้างงานขนาดใหญ่ ก่อให้เกิดผู้ประกอบการที่สามารถเคลื่อนเศรษฐกิจมาก ๆ ได้จนกระทั่งเกิดคำว่า “มือที่มองไม่เห็น (invisible hand)” ของอดัม สมิธ ที่คอยชักใยอยู่เบื้องหลัง“มือที่มองไม่เห็น” ของอดัม สมิธทำให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาปั่นป่วนอยู่ในปัจจุบันจึงต้องมีการจัดระบบทุนนิยมแบบใหม่ของสหรัฐอเมริกา เพื่อให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาแข็งแกร่งจริงจากนวัตกรรมการเสริมสร้างเศรษฐกิจ ซึ่งผมจะเขียนในบทความต่อไป.รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล
อธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
boonmark@stamford.edu

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ประสิทธิภาพกองทุนยังต่ำ (8) – โลกาภิวัตน์

Posts related

 














ดีแทคหวังดัน 4 จีเป็นบริการหลัก

ดีแทคระบุบริการ 4 จี จะเป็นบริการหลักสำหรับลูกค้า โดย 4 จี จะช่วยหนุนลูกค้า 3 จี ปัจจุบันได้ใช้งานที่ดีขึ้น ตั้งเป้าภายใน 2 ปี การใช้งานดาต้าของลูกค้าจะเพิ่มเป็น 80% จากปัจจุบันอยู่ที่ 40%นายซิคเว่ เบรคเก้ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า ดีแทค ต้องการให้บริการ 4จี เป็นบริการหลักสำหรับลูกค้าที่ต้องการใช้งานดาต้าที่มีประสิทธิภาพ โดยจะใช้งบประมาณ 1 หมื่นล้านบาท เพิ่มสถานีฐานให้ครอบคลุมกรุงเทพฯ ปริมณฑล และ 30 เมืองใหญ่ ภายในวันที่ 31 มี.ค.58 นี้ ซึ่งบริการ 4จี จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิตอลที่สำคัญของการพัฒนาสู่นโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลของไทยแผนการให้บริการ 4จี ทั่วประเทศต่อจากนี้นั้น จะต้องพิจารณาแผนลงทุนที่ต่อเนื่อง และคำนึงถึงความพร้อมของผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน เนื่องจากปัจจุบันผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนที่รองรับ 4จี มีอยู่ที่ 20% ในขณะที่การใช้งานดาต้าของลูกค้าดีแทคที่มีการใช้งานอย่างต่อเนื่องทุกเดือนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล อยู่ที่ 40% ของลูกค้า 28 ล้านราย และตั้งเป้าดึงลูกค้าใช้งานดาต้า 80% ภายใน 2ปีต่อจากนี้“การลงทุน 4จี ของดีแทค ถือเป็นการตอบสนองการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันได้มากขึ้นในไทยจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ เพิ่มการแข่งขันระยะยาวให้ประเทศ ทั้งนี้ การให้บริการ 4จี จะไม่ใช่ให้แค่ลูกค้าที่มีมือถือ 4จี แต่จะช่วยให้คนที่ใช้ 3จี ได้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ดีขึ้นด้วย”.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ดีแทคหวังดัน 4 จีเป็นบริการหลัก

สองนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่จากฟีโบ้และไบโอเทค – ฉลาดคิด

ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่ใช่มีเพียงรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นที่มอบให้กับทีมวิจัยรุ่นใหญ่ แต่ยังมีรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ที่มีผลงานที่น่าสนใจและมีศักยภาพในการพัฒนาต่อไปอีกในอนาคตซึ่งปีนี้ มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ประกาศมอบรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ให้กับสองนักวิจัยจากสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)โดย “ดร.ปราการเกียรติ ยังคง” อาจารย์ประจำสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เป็นนักวิจัยที่ประสบความสำเร็จในการนำสหศาสตร์หุ่นยนต์ร่วมกับเทคนิคทางการแพทย์ พัฒนา “SensibleTAB” หุ่นยนต์ช่วยฟื้นฟูการเคลื่อนไหวแขนของผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว เนื่องมาจากความผิดปกติของระบบประสาทดร.ปราการเกียรติ บอกว่า หุ่นยนต์ดังกล่าวเกิดจากโจทย์ความต้องการใช้งานจริงของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ ที่เล็งเห็นความจำเป็นของการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้ามาใช้งานด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู โดยเฉพาะการฟื้นฟูทางสมอง แต่เนื่องจากหุ่นยนต์ดังกล่าวมีราคาแพงและมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการในการฟื้นฟูในระดับสูงที่มีความจำเพาะเจาะจง เช่น การรับรู้ตำแหน่งของข้อต่อต่าง ๆทีมวิจัยจึงร่วมกับทีมแพทย์ ผลิตนวัตกรรมหุ่นยนต์ที่ช่วยการฝึกการเคลื่อนไหวแขนด้วยวิธีการฟื้นฟูแบบใหม่ตามหลักวิชาประสาทสรีระวิทยาสมัยใหม่ขึ้น เน้นการออกแบบที่ไม่ซับซ้อน ใช้งานง่าย และประยุกต์นำความรู้และเทคโนโลยีที่ทีมวิจัยพัฒนาอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดสามารถช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูการรับรู้และสั่งการแขน ลดการพิการทางสมองและลดการนำเข้าหุ่นยนต์ฟื้นฟูประเภทเดียวกันจากต่างประเทศที่มีราคาแพงจาก 10 ล้านบาทเหลือเพียง 4 ล้านบาท ปัจจุบันหุ่นยนต์นี้ถูกนำไปใช้จริงกับผู้ป่วยมากกว่า 1,000 ครั้ง ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีและโรงพยาบาลสำโรงการแพทย์สำหรับ “ดร.บรรพท ศิริเดชาดิลก” นักวิจัยหน่วยเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) นักวิจัยที่ประสบความสำเร็จนำเทคนิค Gibson Assembly ตัดต่อพันธุกรรมไวรัสเด็งกี่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนายา-วัคซีนที่ควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออก พบสามารถสร้างไวรัสจากดีเอ็นเอได้กว่า 10 ชิ้นในครั้งเดียว ช่วยย่นระยะเวลาและขั้นตอนที่ซับซ้อน รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายในงานวิจัยดร.บรรพท บอกว่า เทคโนโลยีการดัดแปลงพันธุกรรม มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาชีววิทยาของไวรัสรวมทั้งการพัฒนาวัคซีนและยาต้านไวรัส โดยการใช้เทคนิคการดัดแปลงพันธุกรรมในการเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมของไวรัสอย่างจำเพาะเจาะจง จะเป็นการศึกษาว่ายีนของไวรัสที่ถูกเปลี่ยนไปมีบทบาทอย่างไรต่อวงจรชีวิตของไวรัสในแง่ต่าง ๆ ทั้งนี้งานวิจัยที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันเป็นการศึกษาการตัดต่อพันธุกรรมของไวรัสเด็งกี่ ซึ่งเป็นเชื้อต้นเหตุที่ก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออกโดยมียุงลายเป็นพาหะสำคัญ แต่เนื่องจากการดัดแปลงพันธุกรรมของไวรัสเด็งกี่ทำได้ยาก ทำให้เป็นอุปสรรคในการนำเทคนิคมาใช้พัฒนาวัคซีนไข้เลือดออก ทางทีมวิจัยจึงนำเทคนิค Gibson Asembly มาทดลองประยุกต์ใช้กับการตัดต่อพันธุกรรมของไวรัสเด็งกี่ จากการทดสอบเบื้องต้นพบว่าเทคนิคดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูง สามารถสร้างไวรัสจากดีเอ็นได้ถึง 11 ชิ้นในขั้นการตัดต่อครั้งเดียว ลดขั้นตอนความซับซ้อนของการตัดต่อพันธุกรรม และย่นระยะเวลาให้ทำได้ภายใน 2 สัปดาห์ จากวิธีการเดิมที่ใช้ระยะเวลานานนับเดือน รวมทั้งสามารถลดค่าใช้จ่ายในงานวิจัย ซึ่งเทคนิคนี้สามารถนำไปต่อยอดในการใช้วิเคราะห์หรือต้องการผลในปริมาณมากได้อย่างมีประสิทธิภาพดร.บรรพท บอกอีกว่า ในอนาคตอยากต่อยอดงานวิจัยในด้านนี้ด้วยการเก็บรวบรวมสร้างเป็น virus libraries หรือห้องสมุดไวรัส เพื่อง่ายต่อการค้นหารหัสพันธุกรรมของไวรัสแต่ละตัว ซึ่งคาดหวังว่าเทคนิคเหล่านี้จะทำให้นักไวรัสวิทยาเข้าใจในธรรมชาติของไวรัสมากขึ้น และสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เป็นประโยชน์ในการพัฒนายาหรือวัคซีนที่ควบคุมการระบาดของโรคได้ในอนาคต.นาตยา คชินทร
nattayap.k@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สองนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่จากฟีโบ้และไบโอเทค – ฉลาดคิด

Page 20 of 805:« First« 17 18 19 20 21 22 23 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file