shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

หนาวเป็นทางการ – รู้หลบ

ความรับรู้ เรื่อง ร้อน หนาว ของมนุษย์ เป็นความรู้สึก ที่ใช้เป็นเกณฑ์ไม่ได้การจะบอกว่า ฤดูกาลหรือสภาพอากาศที่แท้จริงเป็นอย่างไร จึงขึ้นกับมาตรวัดและเกณฑ์มาตรฐานที่องค์กรอุตุนิยมวิทยากำหนดขึ้นกรมอุตุนิยมวิทยาของไทย ประกาศว่า ฤดูหนาวปีนี้ เริ่มประมาณกลางเดือนตุลาคม 2557 และสิ้นสุดกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2558 โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเริ่มมีอากาศเย็นก่อนภาคอื่น ในราวสัปดาห์ที่สองของเดือนคำประกาศบอกด้วยว่า ฤดูหนาวของไทยปีนี้ จะไม่หนาวเย็นมาก อุณหภูมิต่ำสุด เฉลี่ยจะสูงกว่าค่าปกติและสูงกว่าปีที่แล้ว อากาศหนาวเย็น จะมีเป็นบางช่วงช่วงที่อากาศหนาวเย็นที่สุด จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมและมกราคมแต่ถ้าอยากสัมผัสไอหนาวก่อนถึงวันนั้น แนะว่าปลายสัปดาห์นี้ ให้ไปแถวภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะ กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายว่า วันที่ 22-25 ต.ค. ความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่ จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนช่วงแรกที่มา จะทำให้มีฝนฟ้าคะนองขึ้นก่อน ทางบริเวณประเทศไทยตอนบน นับแต่ก้นอ่าวไทยขึ้นไปยันภาคเหนือส่วนภาคใต้ มีฝนอยู่ในเกณฑ์กระจายที่ต้องระวัง ก่อนลมหนาวแรกที่จะมาทักทาย ช่วงวันที่ 18-22 ต.ค. คือหมอกหนาในบางพื้นที่ทางภาคเหนือพี่น้องที่สัญจร ระยะนี้ มีความเสี่ยงจากทัศนวิสัยที่อาจไม่แจ่มชัด ควรลดความ เร็วลงบ้าง ส่วนทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก ยังมีฝนตกต่อเนื่อง สิ่งที่ตามมา เป็นความเสี่ยงจากอันตรายของฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมที่จะทำให้เกิดน้ำหลาก หรือท่วมฉับพลันขึ้นได้ย่านไหนมีฝนตกต่อเนื่องแล้วหลายวัน หรือย่านที่เคยโดนน้ำท่วมมาก่อน ควรมองทางหนีทีไล่ ขนข้าวของขึ้นที่สูงไว้ในฤดูหนาว มีหลักทั่วไปที่พึงทราบ อุณหภูมิของประเทศไทยตอนบน ลดต่ำมากเท่าไหร่ พื้นที่ภาคใต้ ก็เสี่ยงกับภัยพายุฝนฟ้าคะนองมากขึ้นเท่านั้นเพราะลมหนาว ที่พัดเข้ามาทางตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนหนึ่งที่พัดลงอ่าวไทย จะทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนอง คลื่นลมแรงอย่างไรก็ดี ราวปลายเดือนตุลาคม ถึงกลางเดือนพฤศจิกายน จังหวัดด้านอ่าวไทย ไม่ควรประมาทกับฝนที่ตกหนักสิ่งที่มาคู่กับลมหนาว ที่คนส่วนหนึ่ง อยากให้มาถึงเร็ว ๆ ก็คือ การสิ้นสุดของฤดูฝน อันเป็นการเริ่มต้นของสภาพความแห้งแล้งกรมชลประทานย้ำมาอีกว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำในเขื่อนต่าง ๆ ยังมีน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยการจัดสรรน้ำ จะเจียดให้ตามปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่เน้นการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค การผลิตน้ำประปา และการรักษาระบบนิเวศส่วนภาคการเกษตร จะส่งน้ำให้ได้เป็นบางพื้นที่ ที่มีน้ำพอจะสนับสนุนได้เท่านั้นยกเว้นลุ่มน้ำเจ้าพระยาและแม่กลอง จะงดการส่งน้ำเพื่อทำนาปรังอย่างแน่นอน เพราะน้ำต้นทุนมีน้อยเกษตรกรต้องให้ความร่วมมือและติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ของตนอย่างใกล้ชิดเหตุผลของการงดการส่งน้ำ เพราะไม่มีจะจัดให้ไม่เกี่ยวกับการที่ข้าวเต็มโกดังและยังขายไม่ออกอย่าไปเชื่อข่าวลือพิลึกพิลั่นที่กระพือกันออกมาและอย่าดันทุรังขืนทำนาปรังรอบใหม่เพราะจะไม่มีใครเห็นใจเจียดจ่ายน้ำมาให้แน่.หยาดน้ำฟ้า

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : หนาวเป็นทางการ – รู้หลบ

Posts related

 














ภาษีนวัตกรรม – รอบรู้ไอที รอบโลกเทคโนโลยี

ช่วงนี้ประเด็นหนึ่งที่ถูกถกเถียงกันอย่างร้อนแรงและกว้างขวางในสังคมไทยคงหนีไม่พ้นเรื่องภาษีที่ดินและภาษีมรดกนะครับ วันนี้ผมเลยจะมาชวนคุณผู้อ่านคุยกันเรื่องภาษี ๆ บ้าง แต่ไม่ใช่เจ้าภาษีสองตัวที่กำลังเป็นประเด็นร้อนอยู่นี้นะครับ เป็นภาษีอีกตัวหนึ่งที่ยังไม่มีในประเทศไทยซึ่งผมขอเรียกสั้น ๆ ว่า ภาษีนวัตกรรม

คำว่าภาษีนี้ ได้ยินแล้วก็อดรู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ ไม่ได้นะครับ แต่ภาษีนวัตกรรมที่ผมกำลังจะพูดถึงนี้ไม่ใช่เรื่องของการที่พวกเราจะต้องควักกระเป๋าหรือโดนหักเงินเพิ่ม ตรงกันข้ามมันเป็นเรื่องของการที่เราจะได้รับการลดหย่อนทางด้านภาษีเพื่อแลกเปลี่ยนกับการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมา (Innovation Tax Relief) ซึ่งจุดมุ่งหมายหลักก็อยู่ที่บรรดาธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อที่ธุรกิจเหล่านั้นจะได้เข้มแข็งและเติบโตได้อย่างยั่งยืนภายใต้นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เป็นของตนเองนั่นเอง

ไอเดียของภาษีนวัตกรรมนี้ก็ยกตัว อย่างเช่น ถ้าคุณผู้อ่านคนไหนสามารถสร้างโซเชียลมีเดียรูปแบบใหม่ที่ดีกว่าเฟซบุ๊กได้ในสักมิติหนึ่ง หรือองค์กรขนาดย่อมใดสามารถผลิตเว็บอีคอมเมิร์ซออกมาให้เสถียรน่าใช้กว่าอาลีบาบา หรือแม้แต่ใครก็ตามที่สามารถคิดประดิษฐ์ระบบสืบค้นที่รวดเร็วยิ่งกว่ากูเกิลได้สำเร็จ รัฐบาลที่บังคับใช้ภาษีนวัตกรรมนี้ ก็จะมีมาตรการช่วยเหลือในเรื่องภาษีรายได้ตอบแทนผู้คิดค้นนวัตกรรมเหล่านั้น

ประเด็นภาษีนวัตกรรมนี้ว่าไปแล้วก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรนะครับ ถ้าย้อนไปดูกันจริง ๆ รัฐบาลอังกฤษก็เคยมีแนวคิดคล้าย ๆ กันนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 แล้ว โดยใช้ชื่อว่า R&D Tax Credits ที่มุ่งสนับสนุนและช่วยเหลือบริษัทที่ผลิตงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ออกมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ และถ้าใครได้ไปศึกษาในเชิงลึก ก็จะเห็นว่าไม่ใช่แค่อังกฤษประเทศเดียว แต่ประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ ทั้งสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส แคนาดา ต่างก็มีแนวคิดสนับสนุนการวิจัยและผลิตนวัตกรรมผ่านทางนโยบายของภาครัฐในรูปแบบคล้าย ๆ กันนี้แล้วทั้งสิ้น

แน่นอนครับว่าถ้าจะนำเรื่องภาษีนวัต กรรมนี้มาบังคับใช้จริง ก็คงมีเรื่องอีกมากที่ ต้องขบคิดกันให้รอบ คอบ ไหนจะต้องคิดคำจำกัดความของนวัตกรรมให้ชัด เจน ประมาณตัว เลขจำนวนภาษีนวัตกรรมที่รัฐสามารถช่วยสนับสนุนได้ แต่งตั้งหน่วยงานที่จะกำหนดและควบคุมการใช้ กฎเกณฑ์นี้ และอื่น ๆ อีกมากมายครับที่ต้องทำ เพื่อให้ไม้บรรทัดที่พวกเราสร้างขึ้นนั้นโปร่งใส ชัดเจน และยุติธรรม

เทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ ๆ ผลงานค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ การคิดโนว์ฮาวใหม่ ๆ เป็นสิ่งที่ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่มีด้วยกันทั้งสิ้น สำหรับประเทศไทยเราที่ยังไปไม่ถึงจุดนั้น ผมคิดว่าการกำหนดทิศทางและเป้าหมายของประเทศให้ชัดเจนสอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นหน้าที่หนึ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะสำหรับรัฐบาลซึ่งเป็นเสมือนหัวเรือใหญ่ที่สามารถกำหนดเครื่องมือและสร้างมาตรการรองรับช่วยเหลือต่าง ๆ ที่จะช่วยขับดันให้ความหวังที่ประเทศเราจะมีนวัตกรรมสุดยอดกับเขาบ้างจะไม่เป็นแค่ฝันที่ไกลเกินเอื้อม

แน่นอนครับว่าหน้าที่ในการขับเคลื่อนประเทศนั้น คงไม่ได้มาจากรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง องค์กรใดองค์กร หนึ่ง หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ต้องมาจากประชาชนทุก ๆ คน ผมเชื่อว่ารัฐบาลที่เป็นหัวเรือที่ดีนั้นไม่ใช่รัฐบาลที่คอยปรนเปรอทุกอย่างให้ประชาชน ประเคนให้ได้ตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบ แต่ต้องเป็นรัฐบาลที่เหมือนผู้บริหารวิสัยทัศน์กว้างไกลบวกคอยผลักคอยดันด้วยในเวลาเดียวกัน ช่วยเปิดโอกาส เล็งผลไกลวางแนวทางให้ปัจเจก บุคคล เยาวชนรุ่นใหม่ ๆ ได้มีโอกาสพัฒนาตัวเองและแจ้งเกิดด้วยการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะเป็นตัวหล่อเลี้ยงพวกเขาเหล่านั้นไปได้อย่างยั่งยืน

อย่างนี้ต่างหากล่ะครับถึงจะสมกับเป็นรัฐบาลของโลกศตวรรษที่ 21 ที่ที่เสียงและพลังของคนเพียงหนึ่งหรือไม่กี่คนสามารถที่จะถูกขยายให้ดังก้องไปทั่วทั้งโลกได้ด้วยมหัศจรรย์แห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ. ผศ.ดร.ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช
มหาวิทยาลัยรังสิต
chutisant.k@rsu.ac.th

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ภาษีนวัตกรรม – รอบรู้ไอที รอบโลกเทคโนโลยี

สนช. หนุนพัฒนาระบบเครือข่ายยกระดับสมุนไพรไทย

สนช.หนุนพัฒนา “แชร์เฮิร์บ” ระบบเครือข่ายสมุนไพรไทย หวังให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลวิชาการและองค์ความรู้ด้านสมุนไพรอย่างถูกต้องและเชื่อถือได้

นายศุภชัย หล่อโลหการผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานนวัต กรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. กล่าวว่า ปัจจุบันแม้จะมีการนำพืชสมุนไพร และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมาใช้ทดแทนการแพทย์แผนปัจจุบัน รวมถึงใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อความงามมากขึ้น แต่ที่ผ่านมา ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทค โนโลยีและองค์ความรู้ด้านสมุนไพรที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือได้ สนช. จึงให้การสนับสนุนบริษัท แชร์เฮิร์บ จำกัด ในวงเงิน 1.4 ล้านบาท ในการพัฒนา “แชร์เฮิร์บ” (www.shareherb.com) ให้เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์สำหรับรวบรวมข้อมูลด้านวิชาการของสมุนไพรไทยและการแพทย์ทางเลือก สามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้องโดยได้รับความ ร่วมมือจากเครือข่ายนักวิชาการ และสำนัก งานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสมุนไพรและการแพทย์ทางเลือกให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริง

ทั้งนี้โครงการดังกล่าวมีการพัฒนาใน2 ระบบ คือ ระบบเว็บไซต์สื่อออนไลน์ ShareHerb.com ที่เป็นช่องทางชุมชนออนไลน์ที่นำเสนอแนวทางในการบำบัดรักษาโรค และสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรให้กับผู้บริโภค มีระบบตรวจสอบย้อนกลับสมุนไพรสำหรับผู้บริโภค เพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต โดยผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยสร้างความสะดวกให้กับผู้บริโภคและใช้ข้อมูลดังกล่าวในการตัดสินใจใช้สมุนไพรได้ง่ายขึ้น และระบบตรวจสอบย้อนกลับสมุนไพรสำหรับผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยให้การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพรกับสำนักงานคณะกรรม การอาหารและยา (อย.) สามารถดำเนิน การได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรของภาคอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สนช. หนุนพัฒนาระบบเครือข่ายยกระดับสมุนไพรไทย

Page 22 of 805:« First« 19 20 21 22 23 24 25 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file