shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

เอบีซี พ้อยท์ รวมแต้มบัตรเครดิตแลกสินค้าออนไลน์ – ตลาดออนไลน์

ฉีกแนวอีคอมเมิร์ซแบบเดิม ๆ  กับการรวมแต้มหรือพ้อยท์ของบัตรเครดิตที่มีอยู่เต็มกระเป๋า มาแลกสินค้าบนโลกออนไลน์ ด้วยบริการ “เอบีซี พ้อยท์ (abc point)” ของบริษัท แอสเซท ไบร์ท จำกัด (มหาชน)  ที่เดิมอยู่ในวงการอสังหาริมทรัพย์ แต่ผันตัวเองมาจับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ด้วยบริการนี้เป็นบริการแรก ‘นางกันตพร ทองมั่น’ รองกรรมการ   ผู้จัดการ บมจ.แอสเซท ไบร์ท  บอกว่า บริษัททำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มานาน  ปัจจุบันตลาดดังกล่าวมีการแข่งขันสูงและมีรายใหญ่ในตลาดจำนวนมาก จึงคิดที่จะสร้างธุรกิจใหม่ และอีคอมเมิร์ซ ก็คือธุรกิจที่เลือกจะโฟกัส เพราะมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยโตด้วยตัวเลข 2 หลักต่อปี ทำให้มั่นใจและเห็นช่องว่างในตลาดที่ยังมีอีกมาก สำหรับบริการ “เอบีซี พ้อยท์” คุณ กันตพร  บอกว่า เนื่องจากปัจจุบันบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินต่าง ๆ มักจะมีการสะสมแต้มหรือพ้อยท์เพื่อแลกของรางวัล ซึ่งมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่าจะเอาแต้มสะสมเหล่านี้ไปแลกอะไรดี หรืออาจมีน้อยเกินกว่าที่จะแลกของที่ต้องการ บริษัทจึงเกิดแนวคิดที่จะรวมพ้อยท์จากทุกบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ  เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับพ้อยท์เหล่านั้น โดยสามารถโอนมาอยู่ที่ เอบีซีการ์ด และนำมาแลกสินค้าและบริการ    ที่อยู่บนหน้าร้านออนไลน์ของเอบีซี พ้อยท์ ได้ที่ www.abcpoint.com   เบื้องต้นมีพันธมิตรเป็นสถาบันการเงินจำนวน 2 แห่งคือเคทีซี ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกรุงเทพ ที่เข้าร่วมบริการโอนพ้อยท์นี้ และคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีพันธมิตรครบทุกสถาบันการเงินชั้นนำที่มีการสะสมแต้ม  ส่วนสินค้าที่นำมาให้ช้อปด้วยพ้อยท์   จะเน้นสินค้าพรีเมี่ยมจากพันธมิตรธุรกิจกว่า 200 บริษัท สินค้าและบริการรวมกว่า 1,000 รายการ โดยกลุ่มสินค้าที่เป็นที่นิยม คือ กลุ่มสินค้าไอที แกดเจ็ท และกลุ่มเอ็นเตอร์เทนเมนท์  ซึ่งในช่วงปลายปีนี้บริษัทมีแผนจะจัดคอนเสิร์ตร่วมกับพันธมิตร เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้พ้อยท์เข้าร่วมกิจกรรมนี้ได้ จุดเด่นที่สำคัญของบริการ  นอกจาก จะรวมพ้อยท์แล้ว  ยังไม่มีวันหมดอายุ  นอก จากนี้หากพ้อยท์ไม่พอจะซื้อของที่ต้องการ สามารถให้เพื่อนที่เป็นสมาชิกบัตรเอบีซีการ์ด โอนพ้อยท์ให้หรือเติมพ้อยท์ด้วยเงินสดได้ตามต้องการ ทั้งนี้นอกจากความสะดวกในการแลกสินค้าผ่านเว็บไซต์  บริษัทยังให้ความสำคัญกับระบบรักษาความปลอดภัยโดยใช้ซีเคียวริตี้ในระดับมาตรฐานเดียวกับธนาคาร คือระบบ  OTP (One Time Password) คุณกันตพร  บอกอีกว่า  เอบีซี พ้อยท์ เป็นการรวมพ้อยท์ให้เกิดการใช้จริง และมีการหมุนเวียนในตลาด รวมถึงเปิดมิติใหม่ในการ กระตุ้นการขายสินค้าผ่านออนไลน์ให้คึกคักมากขึ้น ยืนยันการมุ่งดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ด้วยการทุ่มงบถึง 100 ล้านบาท โดยแบ่ง     เป็นระบบไอทีที่มีทีมพัฒนาระบบของตัวเอง จำนวน 50 ล้านบาท และงบการตลาดและประชาสัมพันธ์ อีก 50 ล้านบาท ตั้งเป้าทำอีคอมเมิร์ซให้เป็นธุรกิจหลักของบริษัทใน 3 ปี และเร็ว ๆ นี้จะมีบริการผ่านมือถือตามมาอย่างแน่นอน พ้อยท์เหลือ  พ้อยท์ที่ถูกลืม หรือพ้อยท์ใกล้หมดอายุ โอนด่วน แล้วช้อปได้เลย!! นาตยา คชินทร nattayap.k@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เอบีซี พ้อยท์ รวมแต้มบัตรเครดิตแลกสินค้าออนไลน์ – ตลาดออนไลน์

Posts related

 














ชอปกระจาย วันที่ 15 ตุลาคม 2557

ร้านเพชรออนไลน์  กริซ จิวเวอร์รี่ ไทย มั่นใจทิศทางตลาดอีคอมเมิร์ซไทยยังเติบโตต่อเนื่อง เปิดเว็บไซต์  www.myglitzjewels.com พร้อมบริการรูปแบบใหม่ที่ทันสมัย ใช้งานง่าย สะดวก มีสินค้าอัญมณีหลากหลาย รูปแบบ มีคลิปวิดีโอ รูปสินค้าจริงที่สามารถเลือกดูได้ก่อนตัดสินใจซื้อ นอกจากนี้ ยังเพิ่มบริการช่องทางการชำระเงินที่หลากหลายทั้งชำระผ่านบัญชีบัตรเครดิต เพย์พาวล์เคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือชำระผ่านธนาคาร ช่วงเปิดตัวเว็บใหม่มีกิจกรรมร่วมสนุก แสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์และเฟซบุ๊ก  แฟนเพจ ตั้งแต่วันนี้–29 ตุลาคม 2557 ลุ้น รางวัลฟรี ติว ผ่านแอพพลิเคชั่น  เอไอเอส ร่วมกับคลิก ฟอร์ เคลฟเวอร์สถาบันกวดวิชาแนวใหม่บนโลกออนไลน์  เปิดตัวโครงการ  “Click for U ระเบิดความรู้สู่มหาวิทยาลัย Season 4” จัดกิจกรรมติวสด GAT/PAT ให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่านแอพพลิเคชั่น “AIS U Academy”บนมือถือ  ครั้งแรกที่รวมการให้ความรู้และการกำหนดทิศทางแห่งอนาคตมาไว้ในที่เดียว   กัน โดยภายในแอพ มีแบบทดสอบให้น้อง ๆ ค้นหาตัวเองในการเลือกคณะที่เหมาะสม คลิปไฮไลต์การติวข้อสอบเก่า แถมดาวน์โหลดหนังสือประกอบการติวได้ด้วย สนใจดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ เพียงกด *688# แล้วโทรฯออก (ฟรี) ใช้งานได้กับมือถือในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และจะใช้ได้ กับระบบ ไอโอเอส ในเร็ว ๆ นี้ “ไซคิดส์” ฉบับออนไลน์  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)  ชวนน้องวัยประถมศึกษา เข้าไปอ่านและร่วมสนุกกับนิตยสารไซคิดส์ (SciKids) ได้ที่ลิงก์ http://scikids.ipst.ac.th โดยจะได้พบกับความรู้ที่น่าสนใจ เกม การทดลองทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ รวมทั้งข้อสอบประลองความคิด และอื่น ๆ ซึ่งนิตยสารไซคิดส์ สามารถบันทึกไว้อ่านแบบออฟไลน์ พร้อมทั้งสั่งพิมพ์และแชร์ได้  ในส่วนของคอลัมน์คิดส์แล็บ จะมีการทดลอง ซึ่งทำได้ง่าย ๆ สนุก ๆ ที่บ้าน มีคลิปสาธิตการทดลองเพื่อความเข้าใจที่แจ่มชัดขึ้นนอก จากนั้นยังมีการร่วมสนุกเพื่อรับของที่ระลึกจาก สสวท. อีกด้วย.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ชอปกระจาย วันที่ 15 ตุลาคม 2557

เฟซบุ๊กภิวัฒน์ – รอบรู้ไอที รอบโลกเทคโนโลยี

เชื่อว่าคุณผู้อ่านคอลัมน์วันพุธของผมหลายคนน่าจะคิดเหมือนผมนะครับว่า โซเชียลมีเดียหรือเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่เข้ามาพลิกโฉมหน้า เปลี่ยนแปลงโลกศตวรรษที่ 21 ของพวกเราโดยสิ้นเชิงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน  มีปรากฏการณ์ใหม่ ๆ มากมายที่เกิดขึ้นมาเพราะมีโซเชียลมีเดียเป็นตัวขับดัน ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม ทางการเมือง หรือแม้แต่ทางธุรกิจเองที่เดี๋ยวนี้อีคอมเมิร์ซกับเอ็มคอมเมิร์ซแข่งกันผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ดไม่เว้นแต่ละวัน เฟซบุ๊กเป็นบริการเครือข่ายสังคม  ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก มีจำนวนสมาชิกรวมทั่วโลกถึง 1.28 พันล้านคน พูดได้ว่าประมาณ 1 ใน 6 ของประชากรทั้งโลกเป็นสมาชิกของโซเชียลมีเดียตัวนี้เลยล่ะครับ ซึ่งแน่นอนว่าตัวเลขผู้ใช้ที่สูงขนาดนี้ย่อมส่งต่อ อานิสงส์ให้เจ้าของหรือผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กอย่างหนุ่มชาวอเมริกันชื่อ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้กลายเป็นอภิมหาเศรษฐีที่อายุน้อยที่สุดคนหนึ่งในโลก โดยเขาสามารถมีเงินกว่า 33.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐได้ด้วยวัยเพียง 30 ปีเท่านั้นเอง ปรากฏการณ์เฟซบุ๊กหรือที่ผมขอเรียกว่า เฟซบุ๊กภิวัฒน์ (Facebookization) เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งนะครับที่ใช้เศรษฐกิจดิจิตอลสร้างสรรค์ผลิตเม็ดเงินหลักล้านล้านบาทให้แก่ผู้ก่อตั้งได้ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 10 ปี ธุรกิจแทบจะทุกธุรกิจที่เมื่อก่อนแค่มีเว็บไซต์ก็พอแล้ว เดี๋ยวนี้ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้มีเฟซบุ๊กเพิ่มไปอีกอันด้วย ทั้งโรงพยาบาล มหาวิทยาลัย องค์กรของรัฐ ยันไปถึงธุรกิจห้างสรรพสินค้า ร้านค้า สถานบันเทิง หรือแม้แต่นักการเมือง ดารา บล็อกเกอร์คนดังทั้งหลายต่างก็ต้องมีเฟซบุ๊กแฟนเพจของตัวเองทั้งสิ้น แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดานะครับว่าเมื่อมีคนชอบก็ต้องมีคนชัง มีคนนิยมก็ต้องมีคนต่อต้าน มีแชมป์ก็ต้องมีคนคิดโค่นแชมป์ อย่าง เฟซบุ๊กเอง ณ ตอนนี้ก็มีหลายคนหลายค่ายที่กำลังพยายามสร้างปรากฏการณ์ใหม่มาเพื่อล้มเฟซบุ๊กภิวัฒน์นี้ลงจากบัลลังก์ให้จงได้ ตัวอย่างหนึ่งคือโซเชียลมีเดียที่เพิ่งเปิดตัวในปี ค.ศ. 2014 นี้ ที่ให้นิยาม ตัวเองว่าเป็นโซเชียล มีเดียสำหรับคนที่ไม่ชอบเฟซบุ๊ก (Anti-Facebook) โดยเฉพาะ ถ้าถามคุณผู้อ่านว่าไม่พอใจเฟซบุ๊กที่ตรงไหนบ้าง เชื่อว่าแต่ละคนก็คงมีความคิดเห็นต่างกันไปร้อยแปดพันเก้าใช่ไหมครับ สำหรับความไม่พอใจหลัก ๆ ของกลุ่มแอนตี้เฟซบุ๊กนี้ก็เช่น เรื่องพื้นที่โฆษณาบนเฟซบุ๊ก ที่เดี๋ยวนี้เยอะมากจนเกินไป และเรื่องนโยบายการเผยชื่อจริงของผู้ใช้งาน (Real-names Policy) ของเฟซบุ๊ก เป็นต้น ซึ่งกลุ่มคนที่ไม่พอใจเฟซบุ๊กเหล่านี้แทนที่จะอยู่เฉย ๆ ฝืนทนใช้เฟซบุ๊กต่อไป ก็ตัดสินใจรวมตัวกันภายใต้การนำของหนุ่มอเมริกันชื่อ พอล บัดนิตซ์ (Paul Budnitz) แล้วช่วยกันปั้นโซเชียลมีเดียตัวใหม่ขึ้นมาชื่อ เอลโล (Ello) ที่หักมุมจากความเป็นเฟซบุ๊กด้วยการเป็นเครือข่ายสังคมปลอดโฆษณา และเปิดกว้างให้ผู้ใช้สามารถตั้งชื่อได้อย่างเสรี ซึ่งสื่อต่างประเทศยักษ์ใหญ่อย่างซีเอ็นเอ็นรายงานว่า ในช่วงพีค ๆ มีคนเข้าไปลงทะเบียนขอใช้เอลโลมากถึง 40,000 คนต่อชั่วโมง ถือเป็นการเปิดตัวที่ไม่เลวเลยนะครับ ในศตวรรษที่ 21 ที่เศรษฐกิจดิจิตอลสร้างสรรค์เปิดโอกาสกว้างให้แก่ทุกคนอย่างตอนนี้ การแข่งขันไม่จำเป็นจะต้องเป็น Zero-Sum Game ที่ชัยชนะและผลประโยชน์ถูกแก่งแย่งแบ่งปันกันแต่เฉพาะในกลุ่มผู้แข่งขันโดยไม่ได้ส่งต่อมาถึงสังคมหรือต่อโลกเลยอีกแล้วครับ ยุคนี้สมัยนี้ที่โซเชียลมีเดียเชื่อมต่อทุกคนเข้าด้วยกัน การจะขึ้นแท่นเป็นผู้ชนะการแข่งขันที่ใสสะอาดและเต็มภาคภูมิได้ในสายตาของผู้คน จะไม่ใช่การใช้วิธีปัดแข้งปัดขา ชกใต้เข็มขัด หรือโยกขาเก้าอี้คนที่เราไม่ชอบอีกต่อไป หากแต่ต้องเป็นการตั้งหน้าตั้งตาสรรค์สร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้ได้ผลออกมาดียิ่งกว่าคนที่เราไม่ชอบต่างหาก ซึ่งผลการแข่งขันนี้ไม่ว่าเราจะแพ้หรือชนะ แต่ทุกสายตาของโซเชียลมีเดียที่จับจ้องอยู่จะเป็นพยานครับว่าโลกของเราและสังคมของเราคือผู้ชนะ เพราะมีทั้งแชมป์เก่าและแชมป์ใหม่ช่วยกันงัดฝีไม้ลายมือคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาแข่งกัน ทำให้โลกของเราเคลื่อนต่อไปได้อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืนอย่างนี้นี่เอง.  ผศ.ดร.ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช มหาวิทยาลัยรังสิต chutisant.k@rsu.ac.th

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เฟซบุ๊กภิวัฒน์ – รอบรู้ไอที รอบโลกเทคโนโลยี

Page 37 of 805:« First« 34 35 36 37 38 39 40 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file