shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

ก.ไอซีทีปัดฝุ่นศูนย์ไอซีทีชุมชน

กระทรวงไอซีที ปัดฝุ่นศูนย์ไอซีทีชุมชมทั่วประเทศ เล็งเลิกศูนย์ที่บริหารจัดการไม่คุ้มทุน พร้อมดึงงบเหลือ 3.7 พันล้านบาท จากโครงการแท็บเล็ตไวไฟ ฯ เชื่อมต่อการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและบริการสาธารณสุขทั่วประเทศนายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า อยู่ระหว่างติดตามผลการติดตั้งศูนย์ไอซีทีชุมชน ที่ปัจจุบันมีการติดตั้งไปแล้วกว่า 2,000 แห่ง ทั่วประเทศ โดยจะต้องดูว่าที่ติดตั้งไปแล้วนั้นประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด และพื้นที่ไหนบ้างที่ไม่ประสบความสำเร็จ และไม่ประสบความสำเร็จเพราะอะไร และควรจะบริหารต่อในจุด ๆ นั้นหรือไม่ เพราะต้องใช้งบประมาณบริหารประมาณเดือนละ 7,000 บาทต่อจุด ซึ่งถึงแม้ว่าค่าบริหารจัดการจะไม่สูงแต่ก็ต้องดำเนินการให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับในส่วนที่จะต้องติดเพิ่มเติมตามโครงการอีก 300 แห่ง งบประมาณ 40 ล้านบาทนั้น อยู่ระหว่างดำเนินการ ทั้งนี้ กระทรวงไอซีทีจะร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข นำงบประมาณจำนวน 3.7 พันล้านบาท ที่เหลือจากโครงการแท็บเล็ตไวไฟ มาดำเนินการเพื่อให้บริการประชาชนทั้งในเรื่องของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและการเข้ารับบริการในสถานพยาบาลพื้นที่ห่างไกลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น“ใน 1 เดือนนี้ ทั้ง 4 กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องสรุปโมเดลให้แล้วเสร็จว่าจะเชื่อมต่อที่จุดไหนบ้าง ดูว่าจุดไหนไม่ได้ผลเป็นเพราะอะไร ที่ไหนประสบความสำเร็จเพราะอะไร และควรเอาจุดไหนออกบ้าง ซึ่งหากสรุปเรียบร้อยแล้วก็จะหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อบริหารจัดการให้ศูนย์ไอซีทีชุมชนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและอยู่ได้” นายพรชัย กล่าว.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ก.ไอซีทีปัดฝุ่นศูนย์ไอซีทีชุมชน

Posts related

 














เครื่องวัดความอร่อย

เดินหน้าโครงการ “Thai Delicious” (ไทย ดิลิเชียส) ภายใต้ยุทธศาสตร์ประเทศ “ครัวไทยสู่ครัวโลก” วันนี้..สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. ประกาศความสำเร็จของโครงการที่ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารไทยอย่างครบวงจรตั้งแต่การพัฒนาระบบบริหารจัดการคุณภาพและความปลอดภัยของวัตถุดิบอาหารไทย การพัฒนาสูตรมาตรฐานอาหารไทย และการพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดรสชาติอาหารไทย…เพื่อให้รสชาติอาหารไทย กินที่ไหนก็“อร่อย” เหมือนกันทั่วโลก…“นายศุภชัย หล่อโลหการ”ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สนช. บอกว่า ที่ผ่านมา สนช. สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมในโครงการไปแล้ว 14 โครงการ วงเงินสนับสนุนกว่า 23.5 ล้านบาท

โดยโครงการระบบบริหารจัดการคุณภาพและความปลอดภัยของวัตถุดิบอาหารไทยครบวงจร นำร่องในพืชวัตถุดิบอาหารไทย ได้แก่ พริก และกะเพราส่วนโครงการพัฒนาสูตรมาตรฐานอาหารไทยและผลิตภัณฑ์พร้อมปรุงมีสำเร็จแล้ว จำนวน 11 ตำรับ คือ ต้มยำกุ้งน้ำใส ต้มยำกุ้งน้ำข้น ผัดไทย แกงมัสมั่น แกงเขียวหวาน ข้าวซอย ไส้อั่ว น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง แกงเหลือง และซอสไก่กอแระ

และสิ่งสำคัญที่จะทำให้รู้ได้ว่าสูตรนั้นได้มาตรฐานตามที่กำหนด ก็คือ เครื่องมือตรวจวัดมาตรฐานรสชาติอาหารไทย

ปัจจุบันได้ต้นแบบแล้ว จำนวน 2 เครื่อง คือ e-delicious ที่พัฒนาโดยบริษัท โมบิลิสออโตมาต้าจำกัด และ ESenS จากบริษัท ควอลิเท็ค แล็บบอราทอรี่ เซอร์วิส จำกัดสำหรับ “ e-delicious” ดร.กฤษณ์ จงสฤษดิ์ กรรมการผู้จัดการ บ.โมบิลิสออโตมาต้า บอกว่า เครื่องดังกล่าว ประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ จมูกอิเล็กทรอนิกส์ ลิ้นอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประมวลผลกลาง โดยทั้งสามส่วนนี้มีความเชื่อมโยงกันและทำหน้าที่ในการตรวจวัดกลิ่น และรสชาติ ประมวลผลรวมเพื่อให้สามารถทำการเปรียบเทียบกับมาตรฐานรสชาติอาหารไทยได้เครื่องสามารถดมกลิ่นอาหารด้วยจมูกอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีอะเรย์ของแก๊สเซ็นเซอร์ จำนวน 16 หัววัด ซึ่งถูกออกแบบมาให้มีความเฉพาะเจาะจงกับกลิ่นอาหารไทย วัดรสชาติโดยลิ้นอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการตรวจวัดด้วยวิธีทางไฟฟ้าเคมี โดยเครื่องสามารถตรวจวัดรสชาติที่สำคัญของอาหารไทย คือ เผ็ด เปรี้ยว เค็ม หวาน และอูมามิ ซึ่งเป็นรสชาติที่ 5 ที่ลิ้นมนุษย์สามารถรับรู้และแยกแยะได้การตรวจวัดรสชาติใช้เวลาไม่เกิน 30 นาทีต่อหนึ่งตัวอย่าง เบื้องต้นได้ทำการทดสอบเครื่องกับต้มยำกุ้งแล้ว ทั้งสูตรน้ำข้นและน้ำใส ซึ่งเครื่องสามารถตรวจวัดรสชาติได้ และสามารถเปรียบเทียบความคล้ายคลึงของรสชาติกับตัวอย่างมาตรฐานที่มีการให้คะแนนโดยผู้ทดสอบชิมระบบฐานข้อมูลของ e-delicious ยังสามารถรองรับระบบการให้คะแนนความอร่อยของรสชาติอาหารได้ โดยอิงการให้คะแนนความอร่อยของตัวอย่างอ้างอิงโดยคน และสามารถใส่สูตรการให้คะแนนตัวอย่างที่มีรสชาติแตกต่างไปจากตัวอย่างอ้างอิงได้อีกด้วยส่วนเครื่อง “ESenS” จะเป็นเหมือนหุ่นยนต์ที่ชาญฉลาดสำหรับการตรวจวัดกลิ่นและรสชาติของส่วนผสมในอาหาร โดยจะใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ในการตรวจวัดรสชาติเหมือนเป็นนักชิมอาหาร และเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลที่มีอยู่โดยการใช้เทคโนโลยีการประมวลผลที่แม่นยำ สามารถประมวลผลบนเซิร์ฟเวอร์และส่งผ่านทางอีเมลและเครือข่ายทางสังคมตามความต้องการของผู้ใช้ได้สนใจสร้างมาตรฐานให้อาหารไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดูรายละเอียดได้ที่ www.nia.or.th/thaidelicious

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เครื่องวัดความอร่อย

‘ฟองน้ำห้ามเลือด’ คว้าสุดยอดนวัตกรรมข้าวไทย

ฟองน้ำห้ามเลือดในการผ่าตัด จากแป้งข้าวเจ้าดัดแปร คว้ารางวัลนวัตกรรมข้าวไทยปีนี้ ชี้ช่วยเพิ่มมูลค่าข้าวไทย ลดการนำเข้าวัสดุทางการแพทย์ราคาแพงดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประธานกรรมการตัดสินรางวัลนวัต กรรมข้าวไทย กล่าวว่า มูลนิธิฯ ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. จัดการประกวด “รางวัลนวัตกรรมข้าวไทย” มาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมข้าวไทยให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ทั้งระบบด้วยองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยปีนี้ ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง ระดับอุตสาหกรรม คือ “ฟองข้าวสุรดา” ฟองน้ำห้ามเลือดทางศัลย ศาสตร์จากแป้งข้าวเจ้านพ.สิทธิพร บุณยนิตย์ กรรมการผู้จัดการบริษัท บุณยนิตย์วัสดุแพทย์ จำกัด ผู้พัฒนาฟองข้าวสุรดา เปิดเผยว่า ได้รับรางวัลนวัตกรรมข้าวไทยเป็นปีที่สอง โดยปี 2556 ได้รับรางวัลชนะเลิศเช่นกันจากผลงาน แผ่นเจลข้าวกรดห้ามเลือดที่เรียกว่า “ข้าววรางกูร” โดยใช้เป็นวัสดุห้ามเลือดในการผ่าตัด สำหรับปีนี้นำแป้งข้าวเจ้าดัดแปรของไทยมาต่อยอดพัฒนาเป็น “ฟองข้าวสุรดา” ฟองน้ำห้ามเลือดในห้องผ่าตัด ทดแทนวัสดุห้ามเลือดที่ทำจากเจลาติน ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาแพงฟองน้ำที่พัฒนาขึ้นจะใช้กับแผลผ่าตัดที่บริเวณอวัยวะอ่อนนุ่มเช่น ตับ ปอด สมอง ลำไส้ มดลูก ทวารหนัก ซึ่งมีการตกเลือดแบบความดันต่ำจากหลอดเลือดฝอยหรือหลอดเลือดดำ ราคาถูกกว่านำเข้า 3 เท่า ผ่านการทดสอบใช้งานในโรงพยาบาลต่าง ๆ จดสิทธิบัตรแล้ว และอยู่ระหว่างการจัดจำหน่ายอย่างไรก็ดี ปีนี้โครงการรางวัลนวัต กรรมข้าว ได้มอบรางวัลพิเศษ ให้กับผลงาน “นาโนซิลิกอน” สำหรับใช้เป็นขั้วไฟฟ้าในแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน ของภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอน แก่น เนื่องจากมีศักยภาพในการเป็นนวัตกรรม โดยเป็นการผลิตนาโนซิลิกอนจากแกลบ วัสดุเหลือใช้จากกระบวนการสีข้าวของไทย ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้สามารถนำมาทำเป็นขั้วไฟฟ้าในแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไออนในอนาคต ปัจจุบันสามารถผลิตได้ในระดับห้องปฏิบัติการ.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ‘ฟองน้ำห้ามเลือด’ คว้าสุดยอดนวัตกรรมข้าวไทย

Page 56 of 805:« First« 53 54 55 56 57 58 59 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file