shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

ซีพียูทำงานอย่างไร – 1001

ท่านเคยสงสัยเหมือนผมไหม ว่าคอม พิวเตอร์ทำงานอย่างไร สัปดาห์นี้เรามา “ทดลองทำ” เพื่อตอบคำถามนี้ด้วยกัน คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งมีส่วนประกอบหลายอย่าง แต่หัวใจคือตัวประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือเรียกว่า ซีพียู เทคโนโลยีการผลิตซีพียูเป็นสิ่งมหัศจรรย์ในยุคเรา แรกเริ่มเดิมที คอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่เป็นตู้ ๆ หลายตู้เอกสาร ถูกย่อส่วนลงมาเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และกลายมาเป็นคอมพิว เตอร์ส่วนตัว ในยุคปี ค.ศ. 1970 เพราะเทคโนโลยีการผลิตไมโครชิปที่เป็นหัวใจของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด ถ้าอยากจะรู้ว่าพัฒนาเร็วแค่ไหน ลองเทียบกับ 10 ปีที่แล้ว ปัจจุบันซีพียูทำงานได้เร็วขึ้น 10 เท่า มีหน่วยความจำมากขึ้น 10 เท่า กินพลังงานลดลง 10 เท่า พูดได้ว่า มีการพัฒนาขึ้น 1,000 เท่าจาก 10 ปีที่แล้ว จะหาเทคโนโลยีที่พัฒนาได้เร็วอย่างนี้ไม่มีอีกแล้ว  เรามาดูส่วนประกอบภายในของซีพียูกัน อย่างแรก คือ หน่วยความจำภายใน หรือช่องเก็บข้อมูล (register) มีความเร็วสูง จำนวน 16 ถึง 128 ช่อง ถัดไปเป็นตัวคำนวณ (arithmetic logic unit) สามารถทำเลข เช่น บวกลบ หรือเปรียบเทียบกัน ผลลัพธ์ไปเก็บไว้ในกระดาษทด (accumulator) ตัวสำคัญในซีพียูอีกตัว คือ ตัวควบคุมมีหน้าที่อ่านโปรแกรมมาทีละคำสั่งแล้วกำกับการทำงานทุกส่วนของซีพียูให้เข้าจังหวะกัน ส่วนที่กำหนดว่า จะอ่านโปรแกรมไหน คือ ตัวนับ (program counter) การทำงานของซีพียู จึงถูกกำหนดด้วยโปรแกรมนั้นเอง  เพื่อที่จะเข้าใจการทำงานของซีพียู เราลองมาเขียนโปรแกรมอย่างง่ายด้วยกัน โปรแกรมในที่นี้เป็นคำสั่งภาษาเครื่อง แต่ละคำสั่งจะทำงานง่าย ๆ อย่างหนึ่ง เช่น บวกเลข ย้ายข้อมูลจากช่องเก็บ ฯลฯ ซีพียูปัจจุบันที่เราใช้อยู่ในเครื่อง ในสำนักงาน ในคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก หรือในโทรศัพท์มือถือ จะมีคำสั่งที่แตกต่างกันอยู่ราว 300 คำสั่ง ผมจะพูดถึงเฉพาะคำสั่งที่จะใช้ในตัวอย่างเท่านั้น ซีพียูจะทำงานเป็นรอบ ๆ คือ 1) อ่านคำสั่งมา 2) หน่วยควบคุมถอดรหัสคำสั่ง 3) ทำตามคำสั่งนั้น แล้วอ่านคำสั่งถัดไป โดยการขยับตัวนับไปอีกหนึ่ง เช่นนี้เรียกว่า จบหนึ่งรอบ ผมจะสร้างซีพียูที่มีขนาดข้อมูล 32 บิตเพื่อใช้งานตอนนี้ คำสั่งประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรก คือ รหัสคำสั่ง เป็นตัวเลข 0 ถึง 255 ส่วนที่สองคือ ตัวประกอบ บ่งถึงของหลายอย่าง เช่น เลขช่องเก็บ ซีพียูที่ผมจินตนาการขึ้น จะมีช่องเก็บ 32 ช่อง หรืออาจจะเก็บตัวเลข 0 ถึง 16 ล้าน และสุดท้ายอาจเป็นเลขที่อยู่ ตัวประกอบจะเป็นอะไรขึ้นกับคำสั่งนั้น ๆ ทุกคำสั่งมีขนาด 32 บิตเท่ากัน  มาเริ่มเขียนโปรแกรมแรกกัน  ผมมีเลขสองตัวเก็บที่ช่อง 1 และ 2 จับมาบวกกันแล้วเอาไปเก็บที่ช่อง 3 เขียนได้รูปในกล่องสีน้ำเงินทางซ้ายมือ  กล่องสีเขียวทางขวามือ เป็นรหัสคำสั่งที่แปลงเสร็จแล้ว  ซึ่งผมจะอธิบายต่อไป  โปรแกรมนี้ทำงานดังต่อไปนี้ คำสั่งแรก mov r1 ย้ายเลขตัวแรกจากช่อง 1 ไปไว้ในกระดาษทด คำสั่งที่สอง add r2 บวกเลขในช่องที่ 2 กับกระดาษทด คำสั่งสุดท้าย put r3 เอาผลจากกระดาษทดไปเก็บช่อง 3 เสร็จแล้วเราต้องแปลงโปรแกรมนี้เป็นรหัสเลข ผมขอกำหนดรหัสคำสั่งเรียงตามลำดับ 1 คือ mov, 2 คือ add และ 3 คือ put ดังนั้นโปรแกรมนี้ จะเขียนเป็นรหัสได้ดังกล่องสีเขียวทางขวามือ เอาล่ะ โปรแกรมแรกสำเร็จแล้ว ลองใช้โปรแกรมนี้ดู  ผมได้เขียนโปรแกรมจำลองการทำงานซีพียูตัวนี้ โดยท่านสามารถใช้เบราว์เซอร์ตัวใดก็ได้ โดยเข้าไปที่ www.cp.eng.chula.ac.th/~piak/project/cpu1001.htm ผมทดสอบกับ ie11, chrome และ safari ว่าทำงานถูกต้องดี การใช้งานท่านก็พิมพ์รหัส “1 1 2 2 3 3 0” (เลข 0 ตบท้ายเป็นคำสั่ง “หยุด” ครับ) เข้าไปในช่องโปรแกรม แล้วคลิก “ทำงาน” ซีพียูจะทำงานและแสดงผลในช่องออก  ในสัปดาห์นี้ ผมคงจะหยุดไว้ตรงที่ให้ท่านผู้อ่านไปลองเล่นโปรแกรมจำลองการทำงานซีพียูตัวนี้ เพื่อให้ท่านคุ้นมือเสียก่อน ท่านลองเขียนโปรแกรมให้สลับข้อมูลในช่อง 1 กับช่อง 2 ดู แล้วในสัปดาห์หน้า เราจะมาลองเล่นกับโปรแกรมที่ซับซ้อนมากกว่านี้ดูครับ. ศ.ดร.ประภาส จงสถิตย์วัฒนา ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ซีพียูทำงานอย่างไร – 1001

Posts related

 














เพิ่มมูลค่าอัญมณีด้วยแสงซินโครตรอน

ประเทศไทยเป็นแหล่งสำคัญแห่งหนึ่งของโลกที่มีอัญมณีหลากหลายชนิด โดยอุตสาหกรรมการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ได้รับการยกย่องทั้งในด้านคุณภาพและราคาจากประเทศต่าง ๆ  ทั่วโลก  และทำรายได้เข้าประเทศเพิ่มมากขึ้นทุกปี เพื่อยกระดับวงการอัญมณีไทย ด้วยงานวิจัยทางด้านวิทยา ศาสตร์แสงซินโครตรอน ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าและสร้างองค์ ความรู้ใหม่ ๆ สถาบัน วิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงสร้างกลุ่มวิจัยที่มุ่งเน้นงานวิเคราะห์และพัฒนาคุณภาพอัญมณีด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร   นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง กล่าวถึงที่มาของการนำแสงซินโครตรอนมาใช้กับงานด้านอัญมณีว่า สีสันอันสวยงามของอัญมณีนั้นเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ชนิดของแร่ รูปแบบโครงสร้างของสารประกอบ และอะตอมของธาตุชนิดต่าง ๆ ที่เจือปนอยู่ในผลึก โดยธาตุเจือปนบางชนิดนั้นมีอยู่ในปริมาณน้อยมาก ตรวจสอบได้ยากโดยวิธีทั่ว ๆ ไป   จึงมีการนำเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ (X-ray Absorption Spectroscopy)  ซึ่งผลิตได้ ณ ระบบลำเลียงแสงที่ 8 ของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน มาใช้ในการศึกษาหาองค์ประกอบของธาตุและสารประกอบที่มีผลต่อสีและความงามของอัญมณีแต่ละชนิดได้นอกจากนี้ ในอุตสาหกรรมอัญมณียังมีความพยายามที่จะสรรหากรรมวิธีในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพเพื่อเปลี่ยนสภาพพลอยดิบที่มีสีขุ่น ไม่สดใส หรือมีการกระจายตัวของสีไม่สม่ำเสมอ ให้มีความสวยงามและแวววาวมากยิ่งขึ้น เช่น การเผาหรือการหุงพลอย การเคลือบสี การฉายรังสี การย้อมสี และการฉาบสีซึ่งแต่ละกรรมวิธีรวมถึงขั้นตอนและปัจจัยต่าง ๆ ของกระบวนการเหล่านี้  ล้วนมีผลต่อความสวยงามของอัญมณีทั้งสิ้นดังนั้นนอกจากจะ ใช้เพื่อศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ของแร่อัญมณีแล้ว เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ ได้ถูกนำมาใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอะตอมด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ รวมถึงการใช้แยกแยะ ตรวจสอบ และการนำมาซึ่งความรู้ใหม่ ๆ สำหรับศึกษากระบวนการที่เหมาะสมสำหรับการปรับปรุงคุณภาพของอัญมณีต่ออีกด้วยทั้งนี้ปัจจุบันกลุ่มนักวิจัยระบบลำเลียงแสงที่ 8 ได้ทำการค้นคว้าวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมอัญมณีไทยอย่างต่อเนื่อง เช่น ความร่วมมือกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการศึกษากระบวนการเปลี่ยนสีของพลอยแซฟไฟร์ การทำความเข้าใจองค์ประกอบที่มีผลต่อสีของโทแพซ การหาธาตุที่เป็นองค์ประกอบในกลไกการเปลี่ยนสีของไข่มุกดำ เป็นต้นและจากการใช้เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ศึกษาไข่มุก ทำให้ได้องค์ความรู้ที่นำมาสู่นวัตกรรมการวิจัยเพื่อผลิตไข่มุกสีทองด้วยแสง ซินโครตรอน ซึ่งเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ไข่มุกน้ำจืดซึ่งปกติมีราคาต่ำ สามารถเปลี่ยนสีเป็นสีเมทัลลิกทองที่โดดเด่น สวยงาม ได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการคิดค้นกระบวนการสร้างลวดลายบนไข่มุกด้วยแสงซินโครตรอน ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการถ่ายทอดตัวอักษรขนาดเล็ก หรือลวดลายที่มีรายละเอียดสูงระดับไมโครเมตรลงบนไข่มุกกระบวนการเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากในการเพิ่มมูลค่าไข่มุก และถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ของวงการอัญมณีระดับโลก .

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เพิ่มมูลค่าอัญมณีด้วยแสงซินโครตรอน

แอพเกมฟันดาบแล้วได้เครดิตเงินคืน

กรุงศรี คอนซูเมอร์ เปิดตัวแอพพลิเคชั่น กรุงศรี ซามูไร ให้ลูกค้าบัตรเครดิตในเครือ ร่วมกิจกรรมดิจิตอล มาร์เกตติ้ง รับส่วนลดร้านอาหารญี่ปุ่นกว่า  400 แห่ง นายฐากร ปิยะพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด หรือ กรุงศรี คอนซูเมอร์ เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดตัวแอพพลิเคชั่นเกมบนโทรศัพท์มือถือ คือ กรุงศรี ซามูไร ในระบบปฏิบัติการไอโอเอส และแอนดรอยด์ ที่เปิดให้ลูกค้าบัตรเครดิตในกลุ่มกรุงศรีได้ดาวน์โหลดและร่วมสนุกแบบอินเตอร์แอคทีฟ เพื่อรับสิทธิพิเศษในการรับเครดิตเงินคืนจากการใช้บริการในร้านอาหารญี่ปุ่นกว่า 400 แห่ง ทั่วประเทศ โดยการเปิดแอพพลิเคชั่นแล้วแสดงท่าฟันดาบ โดยใช้สมาร์ทโฟนแทนดาบเพื่อรับสิทธิพิเศษถึง 3 ต่อ ตั้งแต่ 1 ต.ค. 57-31 มี.ค. 58 “การจัดแคมเปญแบบดิจิตอล มาร์เกตติ้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของบัตรเครดิตในประเทศไทย เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในยุคดิจิตอล โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือลูกค้าบัตรเครดิตในกลุ่มกรุงศรี คอนซูเมอร์ ที่มีอยู่กว่า 3.5  ล้านบัตร ซึ่งส่วนใหญ่จะชื่นชอบรับประทานอาหารญี่ปุ่นอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีแผนกิจกรรมแคมเปญลักษณะนี้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ได้เตรียมงบประมาณจัดกิจกรรมการตลาดไว้ 1,200 ล้านบาท สำหรับบัตรเครดิตในกลุ่มกรุงศรีทั้งหมด” นายฐากร กล่าวต่อว่า สำหรับการใช้งานเพียงดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นลงเครื่อง แล้วลงทะเบียน และแชร์ ก็สามารถร่วมเล่นเกมได้ ที่ร้านอาหารญี่ปุ่นที่ร่วมรายการ เพื่อรับสิทธิพิเศษ 3 ต่อ คือ รับสิทธิพิเศษหรือส่วนลดสูงสุด 50% และเมื่อเช็กอิน รับอาหารจานพิเศษจากร้านที่ร่วมรายการ เมื่อดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น ลงทะเบียนแล้วเช็กอินและแชร์เพื่อรับสิทธิเมื่อมียอดใช้จ่ายตามที่กำหนด และสุดท้าย คือ เล่นดีได้ 1,000  รับเงินเครดิตคืนผ่านการเล่นเกมสูงสุด 1,000 บาท เมื่อเล่นเกมได้ตามที่กำหนดและมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แอพเกมฟันดาบแล้วได้เครดิตเงินคืน

Page 59 of 805:« First« 56 57 58 59 60 61 62 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file