shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

อินเทลอวดเทคโนโลยีใหม่ล้ำยุค

งานอินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรั่ม หรือ ไอดีเอฟ จัดที่เมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา นายไบรอัน เคอซานิทช์ ซีอีโอของอินเทล คอร์ปอเรชั่น  ได้เปิดการประชุมในครั้งนี้ด้วยโครงการใหม่ ๆ ที่หลากหลายสำหรับวงการคอมพิวเตอร์ เพื่อการเข้าถึงตลาดใหม่ ที่อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมต่อกันได้หมด  ซีอีโอของอินเทล กล่าวว่า  อินเทลมีกลุ่มผลิตภัณฑ์และเครื่องมือสำหรับนักพัฒนา ครอบคลุมทุกกลุ่มสำคัญ ทั้งด้านของระบบปฏิบัติการ หรือการออกแบบอุปกรณ์เทคโนโลยีในรูปแบบต่าง ๆ  ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่จะช่วยให้นักพัฒนามีแนวทางที่จะเติบโต ควบคู่ไปกับการออกแบบพัฒนาที่มีความหลากหลายได้ เราเชื่อว่าหากต้องการให้อุปกรณ์ชิ้นนั้นประมวลผลได้ และเชื่อมต่อได้ การใช้อินเทลจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด การประชุมในปีนี้ ได้ปรับเปลี่ยนทั้งรูปแบบและเนื้อหา เพื่อดึงดูดความสนใจจากวิศวกรและโปรแกรมเมอร์ในวงกว้าง นอกจากการสาธิตเกี่ยวกับพีซี โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และดาต้า เซ็นเตอร์แล้ว ยังครอบคลุมถึงเทคโนโลยี Internet of Things  อุปกรณ์แวร์ราเบิล  (Wearables)  และอุปกรณ์ใหม่อื่น ๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยกลุ่มคนที่เรียกว่า “makers” และนักประดิษฐ์ โดยในปีนี้มีนักพัฒนาจากทั่วโลกรวมกว่า 4,500 คนเข้าร่วมการประชุม อินเทลได้เปิดตัวอุปกรณ์ต้นแบบสำหรับแอนดรอยด์ เพื่อให้ผู้ใช้งานแท็บเล็ตบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์รุ่นล่าสุด ได้สัมผัสกับประสบการณ์การใช้งานที่เหนือกว่า และเหมือนกันในทุกประเภทอุปกรณ์แพลทฟอร์มการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับอุปกรณ์พกพาแบบสวมใส่ (A-Wear) ที่จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างสรรค์แอพพลิเคชั่นใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยการดึงข้อมูลมาใช้ได้  แพลทฟอร์มดังกล่าวรวมเอาซอฟต์แวร์หลายตัวเข้าด้วยกัน รวมไปถึงเครื่องมือและระบบอัลกอริทึมของอินเทล ความสามารถในการจัดการข้อมูลการใช้ประโยชน์จากคลาวด์ ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุด และออกแบบมาสำหรับสถาปัตยกรรมอินเทล โดยแพลทฟอร์มดังกล่าวเปิดให้เหล่านักพัฒนาได้ใช้งานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ อินเทลแถลงถึงการวางจำหน่ายโมเด็ม อินเทล เอ็กซ์เอ็มเอ็ม (Intel XMM 7260) อย่างเป็นทางการซึ่งโมเด็มตัวนี้อยู่ในสมาร์ทโฟน ซัมซุง  แกแล็คซี่ อัลฟา  และ โมเด็มรุ่นอินเทล เอ็กซ์เอ็มเอ็ม 7262 (Intel XMM 7262) รองรับหนึ่งในมาตรฐานการเชื่อมต่อที่รวดเร็วที่สุดในตลาด โดยสามารถส่งข้อมูลแบบ Category 6 ได้ถึง 300 Mbps โมเด็มดังกล่าวเป็นโมเด็มแพลทฟอร์ม  LTE รุ่นที่ 2 อินเทล เอดิสัน  เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเท่าแสตมป์ที่สามารถเชื่อมต่อแบบไร้สายในตัว ซึ่งเปิดตัวในงาน CES ได้วางจำหน่ายแล้ว เอทีแอนด์ที  จะเป็นผู้ให้บริการรายเดียวสำหรับกำไลข้อมือ  MICA หรือ My Intelli- gent Communication Acces- sory ออกแบบโดย Opening Ceremony และใช้ชิพประมวลผลของอินเทลซึ่งเพิ่งเปิดตัวไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วในนิวยอร์ก ภายในงาน ไมเคิล เดลล์  และ ไบรอัน เคอซานิทช์  ได้เผยโฉมแท็บเล็ตรุ่นใหม่ของเดลล์   ชื่อรุ่น  เดลล์ เวนู  8 700 ซีรีส์  (Dell Venue 8 700 Series) มาพร้อมซอฟต์แวร์การถ่ายภาพแบบสแน็ปช็อตของอินเทล  เป็นแท็บเล็ตที่บางที่สุดในโลก โดยจะวางจำหน่ายในช่วงปลายปี อินเทล ไวร์เลส กิกกะบิท ด็อกกิ้ง (Intel Wireless Gigabit Docking) มอบประสบการณ์ การเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สายแบบครบวงจร ทั้งจุดเชื่อมต่อไร้สาย การเชื่อมต่อจอแบบไร้สาย และการชาร์จแบบไร้สาย ซึ่งอุปกรณ์นี้ได้มีการสาธิตบนอุปกรณ์ต้นแบบบนสถาปัตยกรรม 14 นาโนเมตรในรุ่นต่อไป นักพัฒนาได้ยลโฉมสถาปัตยกรรม อินเทล คอร์  โปรเซสเซอร์ขนาด 14 นาโนเมตรรุ่นต่อไปในปี ค.ศ. 2015.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : อินเทลอวดเทคโนโลยีใหม่ล้ำยุค

Posts related

 














นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (5) – โลกาภิวัตน์

เศรษฐกิจในโลกปัจจุบันมีการขับเคลื่อนตลอดเวลาในแต่ละยุคสมัย ซึ่งก็มีนวัตกรรมทั้ง 3 ประเภทคือ นวัตกรรมเพื่อประสิทธิภาพ นวัตกรรมที่ทำให้ธุรกิจคงอยู่ได้ และนวัตกรรมใหญ่ที่เสริมสร้างงานและเศรษฐกิจ  บทความที่แล้วเราได้ทราบว่า นวัตกรรมที่เสริมสร้างเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกานั้นสร้างให้ประชาชนมีงานทำจำนวนมาก ประชาชนสามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นมหาศาล และบริษัทเหล่านี้ต้องการคนจำนวนมากสำหรับการสร้างหรือผลิตสินค้า ส่งสินค้าออกจำหน่ายตามช่องทางต่าง ๆและการขายไปสู่ผู้บริโภคและการสนับสนุนผลิตภัณฑ์หรือสินค้าหลังการขาย ซึ่งปรากฏการณ์ของนวัตกรรมข้างต้นทำให้เกิด “ผลคูณ” ในแง่เศรษฐกิจจริงคือ ความเจริญเติบโตของการจ้างงานหรือคนมีงานทำจำนวนมากและเกิดผลพวงเศรษฐกิจที่ดีต่อทั้งสายโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของบริษัท และผู้ร่วมหุ้นเพื่อทำธุรกิจและเสริมต่อนวัตกรรมให้กับธุรกิจนั้น ๆ เช่นวิธีการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า วิธีการขายที่หลากหลายที่ทำให้ทั้งผู้ขายและผู้บริโภคได้รับประโยชน์ และคุณค่าของสินค้านั้นอย่างเต็มที่และสมดุล วิธีการทบทวนและปรับปรุงและพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์หลังการขายทำให้ความสะดวกสบายและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างที่คนอเมริกันชื่นชอบก็คือ เรื่องอุตสาหกรรมกลุ่มเหล็ก ซึ่งได้ถูกคิดค้นวิธีการผลิตเหล็กโดยใช้เตาหลอมที่เรียกว่า เบสเซม เมอร์ (Bessemer Converter) ที่ถูกคิดค้นและจดลิขสิทธิ์ไว้ในปี ค.ศ. 1856 ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการผลิตเหล็กที่ถูกมากในสมัยนั้นเป็นครั้งแรก ต่อมาแอนดรู คาร์เนกี้ คนอเมริกา อพยพมาจากสกอตแลนด์ ได้ซื้อเทคโนโลยีนี้มาพร้อมด้วยปรับปรุงขบวนการผลิตอีกเพื่อให้สามารถลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อตั้งโรงงานผลิตคุณภาพดีราคาถูกจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็ได้ทำให้เกิดบริษัททำรางรถไฟฟ้าที่ใช้เหล็กกล้าในราคาถูกลง เพื่อทำเส้นทางลำเลียงของรถไฟไปยังทั่วสหรัฐอเมริกา และก็สามารถทำให้เกิดอุตสาหกรรรมใหม่เรื่องการขนส่งในประเทศ เฉพาะอุตสาหกรรมเหล็กในสมัยนั้นตอนปลายศตวรรษ ปี  ค.ศ.1990 หรือประมาณปี ค.ศ.1885-1900 นั้นสามารถจ้างคนทำงานได้ถึง 180,000 คน และคนที่ทำงานด้านรางรถไฟมีถึง 1.8 ล้านคนในสองทศวรรษต่อมา การผสมผสานด้านเทคโนโลยีซึ่งทำให้ต้นทุนต่ำลง เพื่อสร้างลูกค้าใหม่อย่างถอนรากถอนโคน ทำให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมและสร้างความร่ำรวยทางเศรษฐกิจและในระหว่างนั้นก็มีนวัตกรรมและสร้างความร่ำรวยทางเศรษฐกิจมหาศาล ก็เกิดจากเทคโนโลยีที่มาก่อนหน้าคือ เตาหลอมเหล็กแบบเบสเซมเมอร์ ที่ได้เกิดขึ้นในปี ค.ศ  1855 และก็มีการสะสมเชิงนวัตกรรมด้านนี้มาก่อนในการถลุงเหล็กในลักษณะการผลิตแบบมวล หรือผลิตครั้งละจำนวนมาก ๆ การทำให้เกิดนวัตกรรมเช่นเดียวกับแอนดรู คาร์เนกี้ทำได้นั้นจะต้องใช้ทุนมหาศาล แต่ก็สามารถสร้างงานได้จำนวนมากทำให้เกิดเศรษฐกิจที่ดีต่อประชาชน และก่อให้เกิดความผาสุกตามมาและกรณีนี้นวัตกรรมที่เกิดประสิทธิภาพก็ตามมาในทุกภาคอุตสาหกรรม ซึ่งก็จะมีการทำงานแทบจะตลอดเวลา  7 วัน 24 ชั่วโมง ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการที่เกิดขึ้น ประชาชนผู้บริโภคเข้าถึงได้สามารถจ่ายได้ในราคาไม่แพงและสามารถสร้างงานได้ เพราะฉะนั้นนวัตกรรมอีก 2 แบบที่ตามมาจากกรณีนวัตกรรมขนาดใหญ่หรือนวัตกรรมเชิงเสริมสร้างนวัตกรรมย่อยในแบบแรกนั้น จะส่งเสริมซึ่งกันและกันและเกิดผลพวงทางเศรษฐกิจมหาศาล ประเภท “ผลคูณ” ที่ตามมาและช่วยสร้างเศรษฐกิจและสร้างชาติ  แต่ก็ยังมีคำถามอีกว่านวัตกรรมขนาดใหญ่แบบแรกที่เรียกว่า Disruptive Innovation ปัจจุบันนี้ยังไม่เกิด ผู้บริหารหรือผู้ลงทุนทั้งหลายทำไมไม่สามารถทำโอกาสเหล่านี้ให้เกิดเพื่อทำให้เศรษฐกิจเข้มแข็งอย่างจริงจัง  ติดตามฉบับหน้า. รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด boonmark@stamford.edu

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (5) – โลกาภิวัตน์

ศูนย์ข้อมูลน้ำเคลื่อนที่ฯ แห่งแรกในเอเชีย – ฉลาดคิด

แม้เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่จะผ่านไปแล้วหลายปี แต่การดำเนินการในการจัดตั้งคลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ ยังคงมีอย่างต่อเนื่องเพราะ..ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลใด ต่างให้ความสำคัญกับแผนบริหารจัดการน้ำของประเทศ และยอมรับว่าข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว และครอบคลุม ล้วนเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการตัดสินใจ…ล่าสุด…สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้งคลังข้อมูลน้ำฯ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ปฏิบัติภารกิจแล้วเสร็จไปอีกขั้น ด้วยการเปิดตัว “ศูนย์บริการข้อมูลน้ำเคลื่อนที่ในภาวะฉุกเฉิน” แห่งแรกและแห่งเดียวในภูมิภาคเอเชีย“ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ บอกว่า  ที่ผ่านมาการประมวลสถานการณ์และให้บริการข้อมูลน้ำต้องอาศัยระบบสื่อสาร เพื่อรับ-ส่งข้อมูล แต่เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน การสื่อสารจะถูกตัดขาดจากส่วนกลาง  ทำให้การแก้ไขปัญหาในภาวะฉุกเฉินทำได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร สสนก. จึงพัฒนาศูนย์บริการข้อมูลน้ำเคลื่อนที่ในภาวะฉุกเฉินขึ้น  เพื่อบริหารความเสี่ยงดังกล่าวโดยเป็นส่วนหนึ่งของ “คลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ” ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าภูมิใจในผลงานของคนไทย ที่สามารถพัฒนาเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการน้ำไปพร้อม ๆ กับการบริหารจัดการเพื่อการเกษตร และมีการบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับความสามารถของศูนย์บริการข้อมูลน้ำเคลื่อนที่ในภาวะฉุกเฉินนี้ “ดร.รอยล จิตรดอน” ผู้อำนวยการ สสนก. บอกว่า  เป็นการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ปฏิบัติงานได้ในทุกสถานการณ์ ด้วยระบบสื่อสารข้อมูลผ่านดาวเทียมตัวศูนย์เคลื่อนที่ฯ  ประกอบด้วยรถพ่วง 4  ส่วน  ส่วนแรกคือ รถหัวลากขนาดใหญ่ ส่วนที่สองคือ ห้องปฏิบัติการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงที่รองรับข้อมูลได้มากกว่า 30 เทอราไบต์ หรือเท่ากับ ดีวีดี 6,500 แผ่นส่วนที่สามคือ ตู้ระบบหล่อเย็นของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง  และสุดท้ายคือตู้ระบบไฟสำรองที่ทันสมัย เทียบเท่าระบบของสนามบินสุวรรณภูมิ  โดยใช้เครื่องกำเนิด ควบคู่กับเทคโนโลยีไฟล์วีล (Flywheel technology) ที่มีน้ำหนักเบา ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ และประหยัดพลังงาน ในกรณีที่ไฟฟ้าดับสามารถทำงานได้ต่อเนื่องถึง 8 ชั่วโมงนอกจากนี้ยังมีระบบกล้องวงจรปิดรอบตู้ 15 ตัว มีระบบควบคุมการเข้า-ออก และระบบดับเพลิงอัตโนมัติและเมื่อต้องปฏิบัติภารกิจ ในพื้นที่บัญชาการ เมื่อมีสถานการณ์ฉุกเฉิน อย่างเช่น เกิดเหตุการณ์อุทกภัยในระดับ 3  (เกือบรุนแรง) ขึ้นไป ศูนย์แห่งนี้ยังมีหน่วยสนับสนุน   อย่างชุดสำรวจเคลื่อนที่เร็วทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ที่จะสำรวจข้อมูลภาคสนามเพิ่มเติมเพื่อให้การประมวลผลแม่นยำและรวดเร็วขึ้นโดยชุดเคลื่อนที่เร็วนั้น จะมีทั้งรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ ลุยน้ำได้สูงถึง 80 เซนติเมตร และติดตั้งระบบทำแผนที่ระดับความสูงภูมิประเทศแบบเคลื่อนที่หรือ MMS เพื่อวัดความสูงของระดับถนน คันกั้นน้ำ แบบอัตโนมัติขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว  60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เรือตรวจการณ์  ติดตั้งอุปกรณ์วัดความลึกท้องน้ำด้วยคลื่นเสียงพร้อมระบบจีพีเอส  ประมวลผลอัตโนมัติ  และเครื่องบินสำรวจอัตโนมัติขนาดเล็ก ติดตั้งกล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่งดร.รอยล บอกว่า หากอยู่ในภาวะปกติ ศูนย์นี้จะใช้เป็นระบบสำเนาข้อมูล สำหรับฐานข้อมูลน้ำระดับชาติ สนับสนุนการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ  โดยประจำการอยู่บริเวณอาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) อุทยานวิทยา ศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานีการพัฒนาศูนย์เคลื่อนที่แห่งนี้ รวมทั้งชุดสนับสนุนการสำรวจเคลื่อนที่เร็วทั้งหมด  ดร.รอยล บอกว่า ใช้งบไปประมาณ 110 ล้านบาทส่วนการพัฒนาคลังข้อมูลน้ำฯ ในระยะต่อไป ก็คือการนำเข้าข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลน้ำในเขตเมือง ที่นอกเหนือไปจากกรุงเทพมหานครคาดว่าอีก 2 ปี ประเทศไทยจะมีคลังข้อมูลน้ำฯ ที่สมบูรณ์ !!!. นาตยา คชินทรnattayap.k@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ศูนย์ข้อมูลน้ำเคลื่อนที่ฯ แห่งแรกในเอเชีย – ฉลาดคิด

Page 62 of 805:« First« 59 60 61 62 63 64 65 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file