shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

เศรษฐกิจดิจิตอลสร้างสรรค์ – รอบรู้ไอที รอบโลกเทคโนโลยี

คุณผู้อ่านที่ติดตามคอลัมน์วันพุธของผมเป็นประจำคงจะคุ้นหูคุ้นตากับคำว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ดีใช่ไหมครับ ว่าเป็นลักษณะของการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญ และเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ รุ่นพี่รุ่นเดอะของผมที่เซนต์คาเบรียล ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจก็ได้พูดถึงคำว่านโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy) ขึ้นมา โดยเป็นความตั้งใจของรัฐบาลที่จะใช้พื้นฐานของโลกดิจิตอล โลกอินเตอร์เน็ต โลกโซเชียลมีเดีย โลกอีคอมเมิร์ซ รวมถึงโลกเอ็มคอมเมิร์ซ เป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยต่อไปในอนาคต คำว่าเศรษฐกิจดิจิตอลนี้ถูกใช้เป็นครั้งแรกในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 โดยนาย Don Tapscott ผู้แต่งหนังสือเรื่อง The Digital Economy และถูกใช้ต่อ ๆ กันมาอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นในแวดวงวิชาการเทคโนโลยีหรือแม้แต่ในสุนทรพจน์ของบรรดาผู้นำในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก รายงานวิจัยของสถาบันแมคคินซีได้ระบุไว้ว่า ในปีค.ศ. 2009 มูลค่ารวมของเศรษฐกิจดิจิตอลทั่วทั้งโลกมีจำนวนมากถึง 1.67 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ว่าง่าย ๆ ก็คือใหญ่กว่าเศรษฐกิจของประเทศแคนาดา ณ ขณะนั้นเสียอีก แต่ถ้ามานับกันใหม่ที่ปีนี้ เดี๋ยวนี้ เวลานี้ แค่การขายหุ้น IPO ของบริษัทอีคอมเมิร์ซน้องใหม่อย่างอาลีบาบาที่เปิดตัวมาได้แค่ 15 ปี รวมกับมูลค่าของบริษัทที่ชื่อคุ้นหูกันดีอย่างไมโครซอฟท์ กูเกิล ยาฮู มาจนถึง เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไลน์ หรือแม้แต่แอปเปิล อะเมซอน อีเบย์ ไอบีเอ็ม ไปจนถึง กรี ซัมซุง ไป่ตู้ เทนเซ็นต์ เพียงแค่บริษัทที่ผมยกตัวอย่างมา 15 บริษัทนี้ ตัวเลขของมูลค่าเศรษฐกิจดิจิตอลก็ใหญ่เบิ้มล้ำหน้า GDP หรือตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของทุกประเทศในอาเซียนบวกรวมกันแล้วล่ะครับ การที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีนโยบายที่จะวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิตอลในประเทศไทยนั้น ส่วนตัวแล้วผมเชื่อนะครับว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกต้องโดยเฉพาะถ้าอ้างอิงจากตัวเลขอันมหาศาลของเศรษฐกิจดิจิตอลในบริบทของสังคมโลกด้วยแล้ว แต่สิ่งที่ผมอยากจะเห็นมากกว่าแค่เศรษฐกิจดิจิตอล ก็คือ เศรษฐกิจดิจิตอลสร้างสรรค์ (Creative-Digital Economy) ครับ ไม่ใช่แค่อาศัยโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิตอล ไอที และ ระบบสารสนเทศมาช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับเศรษฐกิจ แต่ควรจะรวมถึงการเปิดกว้างต่อพลวัตความเปลี่ยนแปลง การให้โอกาสกับแนวคิดใหม่ ๆ และการสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยเพื่อสรรสร้างนวัตกรรมใหม่ที่เป็นของประเทศเราเองด้วย หากเทียบในภาพรวมของสังคมดิจิตอลทั่วโลกหรือแม้แต่เฉพาะในสิบประเทศอาเซียนก็ตาม เป็นที่น่าเสียดายนะครับว่าไทยเรายังถือว่าค่อนข้าง “ช้า” เกินไป โดยเฉพาะในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิตอลที่ไม่ค่อยแข็งแรงเท่าไหร่นัก ไหนจะโครงข่ายที่ไม่ครอบคลุม คลื่นสัญญาณที่ใช้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ รวมถึงปัญหาการเปลี่ยนถ่ายจากอนาล็อกไปดิจิตอลที่ยังคงคาราคาซัง แต่มันก็ยังไม่สายเกินไปนะครับ ถ้าถือโอกาสของนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอลของรัฐบาลนี้ทำให้โครงสร้างพื้นฐานดิจิตอลของประเทศเข้มแข็งขึ้นมา และใช้ไอเดียสร้างสรรค์ของคนไทยเราเป็นไอพ่นเสริมแรงดัน ผมเชื่อว่าเศรษฐกิจดิจิตอลสร้างสรรค์นี้จะสามารถพาประเทศเราให้ตีตื้นขึ้นมาคู่คี่สูสีกับประเทศอื่น ๆ ในเวทีโลกได้ . ผศ.ดร.ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช มหาวิทยาลัยรังสิต chutisant.k@rsu.ac.th     

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เศรษฐกิจดิจิตอลสร้างสรรค์ – รอบรู้ไอที รอบโลกเทคโนโลยี

Posts related

 














หน้า(ไม่)หนาว มาแล้ว!! – รู้หลบ

เดือนตุลาคม ช่วงเวลาเริ่มของความสดชื่น สุขสันต์ ของเหมันต์เมืองไทยมาถึงแล้ว กรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่า ฤดูหนาวปีนี้ จะมาตามเวลาปกติ กลางเดือนตุลาคม สิ้นสุดกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะสัมผัสก่อนใคร ในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือน แต่ปีนี้จะไม่หนาวเย็นมากอย่างที่อยาก อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยจะสูงกว่าค่าปกติและสูงกว่าปีที่แล้ว มีเย็นเป็นบางช่วง ส่วนใหญ่อยู่ในเดือนธันวาคมและมกราคม แทนที่จะซื้อหาเสื้อกันหนาว ผ้าพันคอชุดใหม่ เปลี่ยนไปซื้อเสื้อกล้าม บิกินีซะ แต่ในสัปดาห์นี้ ช่วงวันที่ 29 ก.ย. – 2 ต.ค. ความกดอากาศสูงจากประเทศจีน แผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ความกดอากาศสูง คือลมเย็น แต่ระลอกแรกที่มา ไม่ได้ทำให้สัมผัสความสดชื่นทันที แต่จะเป็นฝนและลมกระโชกแรงนำ จุดแรกที่จะโดน คือภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ระวังฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ความกดอากาศสูงก้อนนี้ จะดันร่องมรสุม ให้เลื่อนมาทางภาคกลางและภาคตะวันออก พร้อมกับเสริมฤทธิให้มีกำลังแรงขึ้น ทำนายไว้ว่า ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ จะได้ฝนเยอะขึ้นในเกณฑ์กระจายหรือเกือบทั่วไป 60 – 80 เปอร์เซ็นต์ มีฝนตกหนักบางแห่ง ถัดจากนั้น ช่วงปลายสัปดาห์ วันที่ 3-4 ต.ค. ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนอีกระลอก จะแผ่ลงมาคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ดันให้ร่องมรสุมเลื่อนลงมาถึงผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก จังหวะนั้นจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ พื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ จะมีฝนหนาแน่น และตกหนักบางแห่ง สรุปความของสัปดาห์นี้ น่าจะเป็นตัวฉายภาพของลักษณะอากาศครึ่งแรกของเดือนตุลาคม ที่มีสภาพแปรปรวน ของช่วงเปลี่ยนแปลงฤดูกาล ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง แต่ก็มีฝนตกหนักได้เป็นบางวัน ส่วนมากบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออก เริ่มมีอากาศเย็นตอนเช้า โดยเฉพาะตอนบนของทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพอากาศช่วงต่อจากนี้ คงเป็นที่พอใจของคนจำนวนมากเพราะฝนจะร้างฟ้าออกไป แต่สิ่งที่ลืมไม่ได้ คือน้ำที่จะได้จากธรรมชาติก็จะลดลง ในขณะที่ปริมาณกักเก็บตามอ่างเก็บน้ำหลักของประเทศมีน้อยอย่างใจหาย อย่าละเลยกับการเรียนรู้เรื่องการประหยัดและความพอเพียงในการใช้น้ำ เพื่อป้องกันการวิวาทแย่งชิงที่จะเกิดขึ้น หยาดน้ำฟ้า 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : หน้า(ไม่)หนาว มาแล้ว!! – รู้หลบ

Traffy Transit : รถโดยสารของฉันอยู่ที่ไหน

ปัจจุบันอุปกรณ์จีพีเอส หรือการระบุตำแหน่งผ่านดาวเทียม ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้า รถโดยสาร รวมถึงการติดตั้งในรถยนต์ส่วนบุคคลที่ทุกวันนี้แทบจะกลายเป็นอุปกรณ์พื้นฐานในรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ เกือบทุกคัน …จะดีแค่ไหน! หากข้อมูลมหาศาลจากระบบจีพีเอสเหล่านี้ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน…“ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม” หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ หรือไอทีเอสแล็บ หน่วยวิจัยสารสนเทศการสื่อสารและการคำนวณ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) บอกว่า ระบบจีพีเอสปัจจุบันมีเพียงเจ้าของและผู้ดูแลระบบเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่มีการต่อยอดทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการให้บริการอย่างเต็มที่ แม้จะต้องเสียค่าบริการทุกเดือนขณะเดียวกันผู้โดยสารที่จะต้องใช้พาหนะนั้น ๆ กลับไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลจีพีเอส ไม่รู้ว่ารถอยู่ที่ไหน และจะต้องคอยอีกนานเท่าใดทีมวิจัยจากไอทีเอสแล็บจึงพัฒนา “Traffy Transit” ขึ้น เพื่อเป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้ข้อมูลจีพีเอสที่มีอยู่เกิดประโยชน์มากที่สุดบริษัทผู้ให้บริการรถโดยสารที่ติดตั้งอุปกรณ์จีพีเอสไว้แล้ว สามารถนำข้อมูลมาทำให้เกิดประโยชน์มากขึ้นทั้งกับผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ เนื่องจากระบบสามารถที่จะคำนวณค่าทางสถิติที่สำคัญต่าง ๆ โดยเป็นอัลกอริธึ่มเรียนรู้ข้อมูลเส้นทางและจุดจอด คัดแยกระหว่างการจอดรับผู้โดยสารและการจอดอื่น ๆ เช่น รถติด หรือติดไฟแดง คัดแยกเส้นทางเดินรถประจำทางและเส้นทางอื่น ๆ มีการส่งข้อมูลมาวิเคราะห์ ประมวลผล และจัดทำเว็บแอพพลิเคชั่น แสดงตำแหน่งและเวลาเข้าป้ายแก่ผู้เดินทางได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังช่วยในการบริหารต้นทุนด้านพลังงาน และเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่อีกด้วยดร.วสันต์ บอกว่า ระบบนี้จะเน้นข้อมูลจีพีเอสที่มีอยู่แล้ว จากรถจำนวนเป็นแสน ๆ คัน เพียงแค่ส่งข้อมูลให้กับระบบ ซึ่งอยู่บนคลาวด์ คอมพิวติ้ง ก็สามารถจะใช้งานได้ทันทีปัจจุบันมีการทดสอบการใช้งานระบบแล้วกับรถรับ-ส่งพนักงานของ สวทช. และรถตู้โดยสารของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิตระบบนี้สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เช่น รถโดยสารประจำทาง รถรับพนักงานของบริษัทต่าง ๆ รวมถึงรถโรงเรียน ที่ผู้ปกครอง สามารถติดตามดูแลความปลอดภัยของบุตรหลานได้อย่างใกล้ชิดเรียกว่า…ช่วยแก้ปัญหาไม่รู้ว่ารถอยู่ที่ไหน? หากใช้ Traffy Transit “รู้ตำแหน่ง รู้เวลาเข้าป้าย และลดเวลารอ”.นาตยา คชินทรnattayap.k@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : Traffy Transit : รถโดยสารของฉันอยู่ที่ไหน

Page 66 of 805:« First« 63 64 65 66 67 68 69 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file