shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

เทเลนอร์บริการสืบค้นข้อมูลความรู้ฟรีในพม่า

เทเลนอร์กรุ๊ปและมูลนิธิวิกิมีเดีย ซึ่งเป็นผู้ให้บริการวิกิพีเดีย ประกาศว่า พม่าเป็นประเทศล่าสุดที่ถูกรวมเข้าอยู่ในข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย ในการนำเสนอบริการวิกิพีเดียซีโร่ (Wikipedia Zero) ให้กับลูกค้าของเทเลนอร์ในทวีปเอเชียและยุโรป ทั้งนี้ เทเลนอร์ให้การสนับสนุนแผนการของรัฐบาลพม่าในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้เข้าถึงประชากรกว่า 60 ล้านคนในประเทศ ภายใต้ข้อตกลงนี้ ลูกค้าของเทเลนอร์ สามารถใช้บริการสืบค้นข้อมูลบน วิกิพีเดีย ซีโร่ บนมือถือได้ฟรี หลังจากเทเลนอร์เปิดให้บริการในประเทศพม่าในอนาคตอันใกล้นี้ แคโรลีน ชเลอเดอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายโมบายล์โปรแกรม มูลนิธิวิกิมีเดีย กล่าวว่า เป็นก้าวแรกสำหรับเทเลนอร์ในการเริ่มให้บริการวิกิพีเดียซีโร่แก่ลูกค้าในประเทศพม่า ความร่วมมือระหว่างเทเลนอร์และมูลนิธิวิกิมีเดียเริ่มต้นขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 จากความมุ่งมั่นร่วมกันในการนำเสนอบริการวิกิพีเดียให้กับลูกค้าของเทเลเนอร์โดยไม่มีการคิดค่าบริการข้อมูล ความคิดริเริ่มนี้เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การให้บริการบนอุปกรณ์มือถือของมูลนิธิวิกิมีเดีย ซึ่งมุ่งเน้นถึงการทำให้คนกว่าพันล้านคนในโลกมีโอกาสเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบนอุปกรณ์มือถือ ภายใต้ข้อตกลงของทั้งสองฝ่าย วิกิพีเดียเวอร์ชั่นสำหรับโทรศัพท์มือถือได้เปิดตัวแล้วที่ประเทศไทย มาเลเซีย และ มอนเตรเนโกร หลังจากนั้นจะเปิดตัววิกิพีเดียซีโร่ที่ปากีสถาน บังกลาเทศ อินเดียและเซอร์เบียในปี 2557 จอน เฟรดริค บัคซอส ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทเลนอร์ กรุ๊ป กล่าวว่า การเข้าถึงสื่อโทรคมนาคมที่มีคุณภาพสูงและบริการที่ราคาไม่แพง มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคม ความร่วมมือนี้จะช่วยให้ชุมชนท้องถิ่นมีโอกาสเข้าถึงและแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเสรี บริการวิกิพีเดียโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย จะช่วยให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหันมาใช้บริการอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรกมากขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2556 เทเลนอร์ได้รับการประกาศให้เป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมในประเทศพม่า ตามกระบวนการขั้นตอนที่ถูกระบุไว้ในแนวทางการประมูลนั้น ทางบริษัทได้อยู่ในขั้นตอนการหารือกับเจ้าหน้าที่ทางการของพม่าเกี่ยวกับข้อตกลงขั้นสุดท้ายของใบอนุญาต เทเลนอร์ตั้งเป้าที่จะเปิดให้บริการในประเทศพม่าภายใน 8 เดือน นับจากวันลงนามในใบอนุญาตอย่างเป็นทางการ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เทเลนอร์บริการสืบค้นข้อมูลความรู้ฟรีในพม่า

Posts related

 














ไอทีสาขาใหม่ … สารสนเทศเชิงควอนตัม (2) – OQC/LED

เมื่อไอทีของโลกกำลังเคลื่อนที่เข้าสู่ยุคเล็กลงเร็วขึ้นแล้วมีรูปแบบการประยุกต์ที่แปลกๆและอาจเข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค จึงควรเริ่มตามไปดูแนวโน้มเพื่อเตรียมความพร้อมปรับตัวกันให้ทัน และก่อนที่ไอทีตัวใหม่นั้นอาจไปสร้างผลกระทบด้านอื่นๆตามมาด้วยเช่น ภาษี พรบ.กฏหมายที่เกี่ยวข้อง สิทธิและการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ เพราะเมื่อครั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคแรกๆเข้ามาเมืองไทย เช่น แอปเปิลทู(Apple II) เครื่องแปดบิตจนถึงสิบหกบิตของไอบีเอ็มรุ่นแรกใช้งานพิมพ์เวิร์ดรามาฯ เวิร์ดราชวิถีก่อนหน้าที่จะมี MS Word ของไมโครซอร์ฟท์ให้ใช้พิมพ์รายงาน นับเวลาได้อยู่ในช่วงเพียงสามทศวรรษจึงมามี “เครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ” ที่ใช้ทั้งทำงานและโทรคุยได้ด้วยแล้ว ขณะที่เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตตามมาติดๆ เพียงไม่ถึงสองทศวรรษพัฒนาการได้กระโดดจากการรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายปิด ขยายจากโมเด็มต่อผ่านสายโทรศัพท์บ้านสู่การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์ 3 จีที่ใช้ได้ทุกที่(ที่มีสัญญาณ) และทุกเวลา(เมื่อมีเงินจ่าย ไม่ถูกตัดสัญญาณหรือระบบล่ม) ซึ่งทุกเทคโนโลยีที่ผ่านมาเมืองไทยก็ยังต้องนำเข้าเป็นหลักและซื้อแบบที่ทะเลาะกันเองจนได้ใช้งานตามหลังประเทศเพื่อนบ้าน …ทั้งกฏเกณฑ์ ระเบียบหรืออื่นๆจิปาถะเพียงการได้จ่ายเงินค่าเทคโนโลยี…เราก็แย่กันแล้ว ! ทั้งคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตนี้คือตัวอย่างเทคโนโลยีที่ดูแปลกและน่าตื่นเต้นมากหากย้อนเวลากลับไปเป็นคนที่อยู่ในช่วงเริ่มแรกยุคเกิดใหม่นั้น แต่ไม่นานก็ได้มาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน แล้วเจ้าไอทีที่จะขี่อยู่บนเทคโนโลยีควอนตัมและแปลกกว่ามากนั้นหล่ะจะมีพัฒนาการเป็นอย่างไร เริ่มออกตัวก็จะรู้สึกได้แล้วว่า “แปลก…แปลกเกินกว่าจะบรรยายได้ (ในเวลาอันสั้น)” ความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ที่จะนำหลักการของ “กลศาสตร์ควอนตัม” มาประยุกต์ใช้งานร่วมกับ “เทคโนโลยีสารสนเทศ” ให้มนุษย์ได้ใช้เลยขอบเขตจำกัดทั้งความเร็วและขนาดจากสิ่งที่มีในโลกไอทีปัจจุบัน กำลังแพร่ขยายและมีความก้าวหน้าอยู่ทุกมุมโลกแล้วก็เริ่มพูดถึง “ควอนตัมคอมพิวเตอร์ กับ รหัสลับควอนตัม” สองคำนี้กันมากมายทีเดียว ขณะที่หลายบริษัทด้านไอทีและโทรศัพท์เคลื่อนที่ของโลกกำลังลดขนาดและปลดพนักงานกับผลประกอบการที่ดิ่งลง เหลือเพียงรายใหญ่เด่นดังอยู่น้อยแห่ง แต่กลับมีการแสดงตัวออกข่าวกันมากขึ้นของสองบริษัทเด่นเจ้าของสองนวัตกรรมด้านควอนตัมนั้น นั่นคือ D-Wave systems สัญชาติแคนาดาผู้สร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์ที่ยังคงน่ากังขา และ iDQuantique จากสวิสที่ขายเครื่องเข้ารหัสลับควอนตัมสมบูรณ์แบบมาร่วมทศวรรษแล้ว …ของจริงหรือของปลอม ?…ใช้ได้ขายจริงหรืออิงนิยาย ? … ตามไปพิสูจน์ดูกันลึกๆ แล้วในอนาคตจะมีห้างควอนตัมไอทีมอลล์เกิดตามมาด้วยใช่ไหม? ก่อนหน้าที่จะมีเครื่องใช้ไอทีสองชนิดใหม่นี้ในร้านที่บ้านหม้อ พันธ์ทิพย์ หรือสั่งซื้อออนไลน์ได้จะได้รีบไปจองพื้นที่ขายเครื่อง สร้างแอพ หรือเปิดร้านซ่อมกัน รู้ก่อนแล้วรวยก่อนจริงหรือเปล่า? เนื่องจากยังไม่เห็นมีภาพหลุดข่าวลือสินค้าตัวใหม่นี้มากนัก และแทบไม่ได้ยินเสียงนักวิจารณ์ไอทีพูดถึงเรื่องนี้เลย ดังนั้น หากอนาคตไม่มาแจ้งเกิดเปิดตัวสินค้าได้จริงในเมืองไทยก็อาจเสียเวลาสนใจไปเปล่าๆ … ไอทีที่จะมากับ “ควอนตัม” จึงยังคงตอกย้ำความลึกลับที่ควรต้องติดตามอย่างลึกซึ้งกัน…ในตอนต่อๆ ไป เกียรติศักดิ์ ศรีพิมานวัฒน์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ facebook.com/oqc.nectec “แสง-ควอนตัม-สื่อสาร-แอลอีดี”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ไอทีสาขาใหม่ … สารสนเทศเชิงควอนตัม (2) – OQC/LED

กสท เชื่อไอพีทีวี ชิงส่วนแบ่ง ‘ทีวีดิจิทัล’

ปัจจุบันเทคโนโลยีถือเป็นปัจจัยที่ 5 ของการดำรงชีวิต ทุกคนต่างหาเทคโนโลยีมาดำเนินธุรกิจของตนเอง เพื่อความอยู่รอดขององค์กร ในงานเสวนา “IPTV กับธุรกิจเคเบิลทีวีไทยในอนาคต” จัดโดย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้เชิญกลุ่มภาคธุรกิจเคเบิลทีวีมาร่วมรับฟังข้อมูลของการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีให้อยู่รอดในยุคปัจจุบัน นายวิโรจน์ โตเจริญวาณิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและการขาย กสท เล่าว่า การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของธุรกิจปัจจุบัน โดยเฉพาะในเรื่องของเทคโนโลยี กสท ถือเป็นผู้ให้บริการระบบโทรคมนาคม จึงจัดให้มีการเช่าช่องไอพีทีวี ด้วยการลงทุนระบบซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ พร้อมเปิดตัว “แคท อี-เอ็นเตอร์เทนเม้นท์” ที่ลงทุนเฟส 1 เป็นจำนวน 30 ล้านบาท และตั้งเป้าสิ้นปี 57 จะมีลูกค้า 30 ช่องรายการ และคืนทุนในปี 57 ด้วย สำหรับ แคท อี-เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จะเป็นการเปิดให้เช่าช่องสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์ เน็ต เพื่อให้บริการโทรทัศน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หรือไอพีทีวี กสท จะลงทุนด้านโครงข่ายและช่องทางการออกอากาศให้กับลูกค้า และดูแลรักษาโครงข่ายให้ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ยังมีบริการเสริม อาทิ บริการเก็บค่าใช้บริการจากผู้ใช้บริการเข้าชม บริการพื้นที่โหลดเพลง และชอปปิง ออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งการให้บริการไม่จำเป็นต้อง ผ่านบริการอินเทอร์เน็ตของ กสท แต่จะเปิดกว้างสำหรับทุกเครือข่ายอินเทอร์ เน็ตปัจจุบันมีผู้ที่สนใจอยู่ระหว่างเจรจาเพื่อนำไปสู่การเปิดใช้บริการ จำนวน 14 ช่องรายการ แบ่งเป็นการออกอากาศแบบความคมชัดสูง (เอชดี) 4 ราย แบบความคมชัดปกติ (เอสดี) 10 ราย อาทิ ช่องการศึกษาทางไกล ช่องรายการของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และช่องกรีนทีวี เป็นต้น ทั้งนี้ เชื่อว่าธุรกิจไอพีทีวี จะชิงส่วนแบ่งการตลาดจาก ทีวีดาวเทียม หรือทีวีดิจิทัลได้ส่วนหนึ่ง เนื่องจากใช้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตที่ผู้รับชมไม่ต้องลงทุนเพิ่มเติมมากนัก สามารถชมได้ผ่านมือถือ โดยหากเนื้อหารายการเป็นที่ต้องการของตลาดก็จะประสบความสำเร็จได้ ด้านนายเกษม อินทร์แก้ว ที่ปรึกษานายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย กล่าวถึงมุมมองและจุดเปลี่ยนเคเบิลทีวีมาเป็นไอพีทีวีว่า เทรนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้ธุรกิจเคเบิลทีวีได้รับผลกระทบไปด้วย โดยเฉพาะการเกิดทีวีดิจิทัล ที่จะมีการเปิดประมูลในเร็ว ๆ นี้ โดยผู้ประกอบการขนาดใหญ่อย่าง ทรูวิชั่นส์ หรือแม้แต่ซีทีเอช ก็ได้มีการปรับเป็นระบบดิจิทัลแล้ว เคเบิลทีวีจะทำอย่างไรจากภัยที่จะเกิดขึ้นจากทีวีดิจิทัล อีกทั้งไอพีทีวีกำลังจะเข้ามาแทน ซึ่งการที่เคเบิลทีวีจะอยู่ได้สิ่งสำคัญคือคอนเทนต์ต้องดี ถึงจะยืนหยัดได้ในยุคที่มีการแข่งขันที่รุนแรงสิ่งที่ผู้ให้บริการเคเบิลทีวีต้องตระหนักคือคนดูต้องจ่ายเงิน เพราะไม่ใช่ช่องฟรีทีวี ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนา เพราะดิจิทัลเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ที่อยากดูเมื่อไหร่ก็ดูได้ อีกทั้งความละเอียดของภาพก็คมชัดด้วย “เคเบิลทีวีต้องเปลี่ยนเทคโนโลยี ต้องเหนือกว่า 3 ชั้น ที่ต้องเน้นทั้งคอนเทนต์ และบริการหลังการขายที่รวดเร็ว ดังนั้นการลงทุนเงินหลักล้านบาทก็คงจะไม่พอ เพราะเทคโนโลยีปัจจุบันถือเป็นนวัตกรรมใหม่” นายเกษมกล่าวเชื่อว่าเคเบิลทีวีจะยังคงอยู่ได้ถ้ามีการปรับตัว เพราะฐานการรับชมของคนไทยทั่วประเทศยังกว้างอยู่ จะเห็นได้จากการปรับเข้าสู่ระบบ 3จี และ 4จี แต่ปัจจุบันคนไทยจำนวนมากยังคงใช้ 2จี อยู่ ดังนั้น การรับชมทีวีปัจจุบัน ประชาชนจะเป็นผู้เลือกเอง หากผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับคอนเทนต์ที่ตรงใจ ในยุคที่การแข่งขันรุนแรงไปตามพฤติกรรมผู้บริโภค. กัญณัฏฐ์ บุตรดี Kanyanat25@gmail.com

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กสท เชื่อไอพีทีวี ชิงส่วนแบ่ง ‘ทีวีดิจิทัล’

Page 733 of 805:« First« 730 731 732 733 734 735 736 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file