shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

"สพธอ."ดันคนไทยผ่านหลักสูตรรับมือภัยไซเบอร์ระดับโลก

สพธอ. จับมือ แซนส์ ดันคนไทยสู่หลักสูตรสกัดภัยไซเบอร์ระดับโลก ผสานความร่วมมือ 5 ข้อ หวังยกระดับความสามารถคนไทยให้เป็นผู้นำไซเบอร์ระดับภูมิภาค
  วันนี้ (21 ต.ค.) ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ 80 พรรษา แจ้งวัฒนะ นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) หรือ สพธอ. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย หรือ ไทยเซิร์ท (ThaiCERT) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ หรือ เอ็มโอยู กับสถาบัน แซนส์ (SANS Institute) ซึ่งเป็นสถาบันอบรม ออกใบรับรอง และวิจัยระดับนานาชาติ ด้านความมั่นคงปลอดภัยคอมพิวเตอร์ระดับสูง  โดยมีนายเมสัน บราวน์ ประธานและผู้บริหารสูงสุด เป็นผู้ลงนาม เพื่อเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ของชาติ
ทั้งนี้ การลงนามดังกล่าวได้มุ่งเน้นใน 5 เรื่อง คือ 1. ค้นหาผู้ที่มีความสามารถพื้นฐานและมีศักยภาพในการอบรมหลักสูตร 2.อบรมด้วยเนื้อหาที่ทันสมัย และผ่านการรับรองว่าเชื่อถือได้ 3.คัดเลือกผู้ฝึกอบรมที่มีความสามารถและทักษะการสอนดีเลิศ 4.รับรองผู้เข้าอบรมว่าเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง โดยประเมินจากการลงมือปฏิบัติจริง และ 5.ตั้งกลุ่มผู้มีความสามารถที่จัดโปรแกรมอบรมได้ด้วยตนเองและพัฒนาให้มีความสามารถต่อไปได้ โดยสถาบันแซนส์มีหลักสูตรอบรมกว่า 50 หลักสูตรและมีใบรับรองด้านความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ระดับสูงกว่า 25 ประเภท
"การรับมือภัยคุกคามอย่างมีประสิทธิภาพ เราจำเป็นต้องเพิ่มจำนวนบุคคลากรและยกระดับความสามารถของบุคคลากรให้ทัดเทียมสากล เพราะปัจจุบันมีภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์จำนวนมาก นอกจากนี้ จากสถิติ เดือนมิ.ย.56 ที่ผ่านมา มีผู้ได้รับรองจากแซนส์ เป็นของสิงคโปร์ 375 คน มาเลเซีย 206 คน ขณะที่มีคนไทยได้รับเพียง 38 คน ซึ่งการร่วมมืออย่างจริงจังครั้งนี้จะกระตุ้นให้มีการเพิ่มของบุคลากรด้านนี้มากขึ้น" นางสุรางคณา กล่าว.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : "สพธอ."ดันคนไทยผ่านหลักสูตรรับมือภัยไซเบอร์ระดับโลก

Posts related

 














เตรียมพร้อมเทคโนโลยี 4.5จี


อาจจะเป็นเรื่องจริงซะแล้ว… เมื่อเทคโนโลยี แอลทีอี แอดวานซ์ ที่มีคุณภาพสูงกว่า 4จี หรือที่เราเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า 4.5จี นั้น กำลังมีบทบาทในแวดวงอุตสาหกรรมโทร คมนาคม โดยมีการใช้งานแล้วที่ประเทศออสเตรเลีย และกำลังจะเริ่มใช้งานใน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย เพื่อก้าวให้ทันเทคโนโลยี พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณŽ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  (กสทช.)และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) จึงให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ไปศึกษา หาข้อมูลเพิ่มเติม เผื่ออนาคตประเทศไทยต้องเปิดให้ประมูลด้วย เทคโนโลยี แอลทีอี แอดวานซ์ ที่ถือว่าเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีให้รองรับกับอุปกรณ์มือถือ ซึ่งตลาดเริ่มมีการผลิตอุปกรณ์ออกมารองรับเทคโนโลยีนี้แล้ว สำหรับเทคโนโลยีแอลทีอี แอดวานซ์ ถือเป็นการหลอมรวม คลื่นความถี่ 2 ย่านคือ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่เรียกคืนคลื่นจากบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่หมดสัญญาสัมปทานไปเมื่อ 15 ก.ย. 56 และคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ที่ทำร่วมกับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส ที่สัญญาสัมปทานจะหมดในปี 2558 ให้มาใช้งานบนคลื่นความถี่เดียวกัน ทั้งนี้หากประเทศไทยประมูลสำเร็จ นอกจากจะทำให้ไทยมีเทคโนโลยีเท่าเทียมกับประเทศอื่น ๆ แล้วยังช่วยให้ผู้บริโภคสามารถใช้บริการผ่านมือถือได้อย่างสะดวกรวดเร็วขึ้นทั้ง การอัพโหลด ดาวน์โหลด เปรียบเสมือนการขยายถนน ที่ทำให้ผู้บริโภคมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือมากขึ้นตามไปด้วย ปัจจุบันเริ่มมีผู้ผลิตขอนำเข้าอุปกรณ์ที่รองรับ 2 ย่านความถี่ ในขณะที่ตลาดโลกใน 5-6 ปีข้างหน้าจะเริ่มมีการยุติการผลิตอุปกรณ์สื่อสารในระบบ 2จี เดิม แต่สำหรับประเทศไทยแล้วยังไม่สามารถที่จะยุติระบบ 2จี ได้เนื่องจากคนไทยยังมีการใช้งานอยู่เป็นจำนวนมาก ด้วยกระแสเทคโนโลยี และการแข่งขันในตลาดมือถือ หากประมูลเฉพาะคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ หรือ4จี นั้น อาจจะดูธรรมดาไปเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ แต่หากไทยสามารถนำคลื่น 2 ย่านอย่าง 1800 เมกะเฮิรตซ์ บวก 900 เมกะเฮิรตซ์ มาใช้งานควบกัน ก็จะพลิกสถานการณ์ให้ไทยอยู่ในกลุ่มเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้ แต่ท้ายที่สุด แอลทีอี แอดวานซ์Ž จะเกิดได้เร็วหรือไม่ คงต้องดูผลการศึกษาของไอทียู และการยินยอม จากทีโอทีและเอไอเอส เนื่องจากสัญญาสัมปทานยังไม่หมด และ กสทช.ก็ไม่สามารถไปแตะต้องสัญญาดังกล่าวได้ อย่างไรก็ดีเทคโน โลยีก้าวหน้า คงไม่ใช่ตัวกำหนดทุกอย่าง เพราะ สิ่งที่สำคัญก็คือ ผู้บริโภคคนไทยและประเทศชาติจะต้องได้รับประโยชน์จากคลื่นความถี่.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เตรียมพร้อมเทคโนโลยี 4.5จี

สรอ.พร้อมสแกนความปลอดภัยการใช้คลาวด์


สรอ.สั่งลุยระบบรักษาความปลอดภัยบนจีคลาวด์ หลังสอบผ่านใบประกาศจาก CCSK รายแรกของไทย พร้อมเพิ่มระบบสแกนร่วมกับหน่วยงานรัฐหวังสร้างความเชื่อมั่น น.ส.นันทวัน วงศ์ขจรกิตติ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมและปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. เปิดเผยว่า หลังจาก สรอ.เปิดระบบคลาวด์คอมพิวติ้งภาครัฐในช่วงที่ผ่านมา ได้รับความสนใจจากหน่วยงานต่าง ๆ จำนวนมาก สรอ.ได้ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและเพิ่มบริการด้านต่าง ๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมั่นในระบบรักษาความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ ซึ่งขณะนี้ มีบุคลากร สรอ.สอบผ่าน Certificate Cloud Security Knowledge (CCSK) ของ Cloud Security Alliance (CSA) แล้ว 1 คน ทั้งนี้ จากการที่ สรอ.ได้ มาตรฐานดังกล่าว จะทำให้มีศักยภาพในการบริหารงานด้านระบบรักษาความปลอดภัยบนระบบคลาวด์สาธารณะมากขึ้นตั้งแต่การทำการฝึกอบรมให้กับพนักงานและหน่วยงานรัฐอื่นที่สนใจ โดยสิ่งที่เปลี่ยนแปลงต่อจากนี้ไปก็คือ เดิมหน่วยงานรัฐที่เข้ามาใช้บริการคลาวด์จะสามารถใส่โปรแกรมและไฟล์ต่าง ๆ เข้ามาในโครงสร้างพื้นฐานได้โดยทันที โดยที่ สรอ.จะไม่เข้าไปยุ่ง เพราะถือเป็นสิทธิของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันมีการโจมตีทางเครือข่ายตลอดเวลา การปล่อยให้หน่วยงานดูแลรักษาความปลอดภัยเองถือเป็นเรื่องยาก เพราะบุคลากรด้านนี้มีค่าใช้จ่ายสูง และต้องการดูแลระบบตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้น CCSK จะทำให้ สรอ.สามารถตรวจสอบความปลอดภัยของไฟล์หรือโปรแกรมที่จะใส่เข้ามาในระบบคลาวด์ตั้งแต่เริ่ม โดยมีทั้งเครื่องมือ และมาตรฐานทั้งทางเทคนิคและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในระดับโลก เพื่อทำให้หน่วยงานรัฐปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้อง จากนี้ไประบบคลาวด์จะทำงานควบคู่กับหน่วยงานรัฐ ตั้งแต่การวางแผนการตรวจสอบการเขียนโปรแกรมและตรวจสอบตัวระบบ ก่อนที่จะนำไฟล์เข้ามาในระบบ ซึ่งระยะเวลาการตรวจสอบจะขึ้นอยู่กับขนาดของไฟล์ที่จะนำมาไว้บนคลาวด์ ทั้งนี้ ตั้งเป้าพนักงาน สรอ.จะสอบผ่านอีก 5 คนในปีนี้Ž น.ส.นันทวัน กล่าว.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สรอ.พร้อมสแกนความปลอดภัยการใช้คลาวด์

Page 782 of 805:« First« 779 780 781 782 783 784 785 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file