shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

ศูนย์เตือนภัยฯ โอดงานเพิ่มแต่งบหด แนะห้ามมองผู้ประสบภัยเป็นภาระ


ศูนย์เตือนภัยฯ ยอมรับ งานหนักขึ้นแต่งบประมาณกลับโดนหั่นยับกว่า 85%ชมเครือข่ายภาคประชาชนยื่นมือช่วยเหลือแทนรัฐบาล น.อ.สมศักดิ์Ž แนะ การทำงานต้องทำด้วยใจ ให้คิดว่าผู้ประสบภัยเป็นคนที่รักไม่ใช่ภาระ น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) กล่าวว่า ปัจจุบันศูนย์เตือนภัยฯ ได้รับความร่วมมือที่ดีจากเครือข่ายภาคประชาชนที่ร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ ในด้านต่าง ๆ โดยขณะนี้ได้ขยายเป็นวงกว้างมากขึ้น และประชาชนกลุ่มนี้มีความภูมิใจที่จะใส่เสื้อที่มีโลโก้ของศูนย์เตือนภัยฯ เวลาออกไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย และประชาชนกลุ่มนี้ เข้าใจดีว่าศูนย์เตือนภัยฯ ไม่มีงบมากพอที่จะสนับสนุน สำหรับงบประมาณปี 2557 ศูนย์เตือนภัยฯ โดนตัดงบประมาณกว่า 85% เหลือราว 170 กว่าล้านบาท ถือว่าหายไปประมาณ 400-500 ล้านบาท ในขณะที่งานของศูนย์เตือนภัยฯ มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งการที่เครือข่ายภาคประชาชนยื่นมือเข้าช่วยเหลือถือว่าแบ่งเบาภาระของศูนย์เตือนภัยฯ ได้ในระดับหนึ่ง เพราะเมื่อหมดหน้าฝนก็ต้องเจอกับหน้าแล้ง ไฟป่า ดินโคลนถล่ม แผ่นดินไหว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ศูนย์เตือนภัยฯ ได้เริ่มลงพื้นที่ภาคใต้ เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชน ให้เตรียมรับมือในฤดูมรสุมที่จะเกิดภัยในรูปแบบต่าง ๆ โดยนำเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น เช่น สึนามิ พายุเกย์ มาปรับและซ้อมแผนรับมือฉุกเฉิน พร้อมให้วิทยุสื่อสารประจำชุมชนในการติดต่อรับฟังข่าวสารด้วย อีกทั้งยังต้องสร้างองค์ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยต่าง ๆ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญและต้องทำทุกวันและวนให้ครบทุกพื้นที่ทั่วประเทศ 
 เราคงต้องของบส่วนกลางจากภาครัฐมาช่วยสนับสนุน ยอมรับว่าการเข้าถึงพื้นที่ของประชาชนปัจจุบันง่ายกว่าแต่ก่อน โดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่เขารับฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำ มากขึ้น อีกทั้ง ตนจะบอกเจ้าหน้าที่เสมอว่า ให้ปฏิบัติกับผู้ประสบภัยเหมือนเป็นคนที่รัก เป็นคนหนึ่งในครอบครัวและอย่าคิดว่าพวกเขาเป็นภาระŽ น.อ.สมศักดิ์ กล่าว.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ศูนย์เตือนภัยฯ โอดงานเพิ่มแต่งบหด แนะห้ามมองผู้ประสบภัยเป็นภาระ

Posts related

 














ผู้คนรู้สึกไม่ปลอดภัยส่งผลดี ต่อธุรกิจกล้องวิดีโอวงจรปิด


แอ็กซิส ยอมรับว่า จากเหตุความขัดแย้งในประเทศ ทำให้ธุรกิจกล้องวิดีโอวงจรปิด แบบดิจิทัล  เติบโตต่อเนื่อง แนะบ้านพักอาศัย หากจะติดระบบรักษาความปลอดภัย ควรใช้กล้องอย่างน้อย 4 ตัว นางสาวแววดาว อาจารมารยาท ผู้จัดการฝ่ายขายประจำประเทศไทย บริษัท แอ็กซิส คอมมูนิเคชั่นส์  เปิดเผยว่า  หัวใจของกล้องแบบไอพีคามาร่า หรือกล้องวงจรปิดแบบเชื่อมต่อเครือข่าย คือ ตาของกล้อง สมองหรือหน่วยความจำ และพอร์ตเน็ตเวิร์ก ที่ผ่านมาธุรกิจวงจรปิดจะเป็นแบบอะนาล็อก แต่ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาจะหันมาเน้นให้สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายและดูภาพแบบเรียลไทม์ และภาพต้องมีความคมชัดมากขึ้น แม้ในสภาพแสงน้อย ผจก.ฝ่ายขาย ประจำประเทศไทยของแอ็กซิส ระบุว่า ที่ผ่านมาแอ็กซิส ได้พยายามให้ความรู้แก่ผู้ใช้เกี่ยวกับระบบวิดีโอเน็ตเวิร์กสำหรับระบบรักษาความปลอดภัย ที่ใช้งานง่ายขึ้นเหมือนใช้สมาร์ทโฟน และเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์พกพาได้ รวมถึงเน้นการออกแบบอุปกรณ์กล้องวงจรปิดให้สวยงาม กลมกลืนไปกับอาคารหรือการตกแต่งภายใน ต้องประหยัดและมีประสิทธิภาพการใช้งาน เน็ตเวิร์ก คาเมร่า อาจจะแพงกว่ากล้องแบบอะนาล็อก แต่เมื่อเทียบประสิทธิภาพการใช้งานเต็มที่และคุ้มค่ามากกว่า  สามารถตรวจจับได้จริง นำภาพมาใช้งานได้จริง เพราะมีความคมชัดระดับเอชดี ระบบสามารถแจ้งเตือนและดูได้ตลอดเวลา กล้องมีความฉลาดมากขึ้น จับความเคลื่อนไหวแล้วแจ้งเตือนทันทีŽ ปัจจุบันกล้องวงจรปิดแบบไอพีคามาร่า ใช้งานกันมากในธุรกิจธนาคาร  ระบบรักษาความปลอดภัยของเมือง หรือชุมชน ร้านค้าส่ง ค้าปลีก  สถานศึกษา รวมถึงระบบขนส่งมวลชน  นอกจากจะใช้ตรวจจับความเคลื่อนไหว เพื่อการรักษาความปลอดภัยแล้ว ยังสามารถประยุกต์หรือต่อ ยอดกับธุรกิจ เช่น ร้านค้าปลีกที่มีสาขาย่อย สามารถติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อนับจำนวนลูกค้า สำหรับบ้านพักอาศัย ผู้บริหารแอ็กซิส  มีคำแนะนำว่า  หากเป็นบ้าน 1 หลัง  ต้องดูพื้นที่และพิจารณาจุดสุ่มเสี่ยงบริเวณบ้าน จุดอับ ทั้งภายในและภายนอก เช่น รั้ว บริเวณเชื่อมต่อตัวบ้าน  กันสาด  ทางเข้าออก    โดยเฉลี่ยแล้ว บ้าน 1 หลังจะมีกล้องไม่น้อยกว่า 4 ตัว และต้องเห็นใบหน้าคนเข้าออกบ้านได้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม แอ็กซิส ยอมรับว่า หลังจากเหตุขัดแย้งทางการเมืองเดือนพฤษภาคม เป็นต้นมา ประเทศไทยมีความตื่นตัวเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยมาก รวมถึงเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ส่งผลให้ประชาชนทั่วไปก็ตระหนักเรื่องความปลอดภัย.

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ผู้คนรู้สึกไม่ปลอดภัยส่งผลดี ต่อธุรกิจกล้องวิดีโอวงจรปิด

กระทรวงวิทย์ ปัดฝุ่นวิสาหกิจชุมชนเสริมคุณภาพสินค้าโอทอปภาคใต้

กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลงสู่ชุมชน หนุน วศ.ประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเครือข่ายผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนโอทอปภาคใต้ พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า
ดร.พีระพันธุ์  พาลุสุข  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  กล่าวว่า กระทรวงฯ มีนโยบายนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลงสู่ชุมชน และมอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์บริการ(วศ.) นำกลไกด้านวิทยาศาสตร์ไปพัฒนาคุณภาพและ ความปลอดภัยสินค้าโอทอป (OTOP) เพราะปัจจุบันสินค้า โอทอป มีหลากหลายประเภท ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าเพื่อสุขภาพ มีเอกลักษณ์ท้องถิ่นที่นักท่องเที่ยวนิยมซื้อเป็นของฝาก ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
นางสาวเสาวณี  มุสิแดง  อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ  กล่าวว่า ในปีนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์กรมได้ลงพื้นที่ภาคใต้ โดยจะจัดประชุมร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และเครือข่ายผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน โอทอป ผู้แทนจากศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการส่งออกและสมาคมที่ปรึกษาภาคใต้  ระหว่างวันที่ 19-20 ต.ค.56 ที่จังหวัดสงขลา เพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมืออย่างต่อเนื่องเสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขันและพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนให้สามารถยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าโอทอป  นอกจากนี้ จะเยี่ยมชมผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ระดับ 5 ดาว ที่ประสบความสำเร็จของจังหวัดพัทลุง ได้แก่ โรงงานต้นแบบ และห้องปฏิบัติการทดสอบเคมีและจุลชีววิทยา  ของคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ  โรงงานผลิตบ้านไทยเฮิร์บ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มพร้อมชงเพื่อสุขภาพจากจมูกข้าวสังข์หยด โรงงานผลิตหมูทองท่าแค ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์น้ำพริกสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว  ทองม้วน  เพื่อหาแนวทางหรือต้นแบบในการพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนรายอื่นๆ 
ทั้งนี้ ที่ผ่านมากรมวิทยาศาสตร์บริการได้ลงพื้นที่ทั้ง 4 ภาค พื้นที่นำร่องกว่า 34 จังหวัด พบว่าสินค้า โอทอปที่ส่งขอมาตรฐานที่ สมอ.หรือ อย. มีสินค้าเพียง 20% เท่านั้นที่ผ่านมาตรฐาน  สินค้าส่วนที่ไม่ได้มาตรฐานบางอย่างใช้กรรมวิธีที่ไม่ถูกสุขอนามัย การลงพื้นที่พัฒนาเครือข่ายจะเป็นการนำกลไกด้านวิทยาศาสตร์ไปพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยสินค้าโอทอป ช่วยแก้ปัญหาให้กับสินค้าที่ไม่ผ่านมาตรฐานที่เหลืออีกกว่า 80% โดยจะช่วยพัฒนากระบวนการผลิตทำให้สามารถยกระดับคุณภาพและสร้างความเชื่อมั่นในสินค้า สามารถยื่นขอการรับรองมาตรฐาน มผช.หรือ อย.ได้

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : กระทรวงวิทย์ ปัดฝุ่นวิสาหกิจชุมชนเสริมคุณภาพสินค้าโอทอปภาคใต้

Page 783 of 805:« First« 780 781 782 783 784 785 786 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file