shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

shoplri.com ธุรกิจขนาดกลาง ธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจsme

Archives for ข่าวไอที นวัตกรรมใหม่ๆ

เอไอเอส –ม็อกซ์ทร่า ออกบริการใหม่เอื้อภาคธุรกิจ

นายวีรชัย พัชโรภาสวงศ์ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานการตลาดและการขาย กลุ่มลูกค้าองค์กรบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า   ความร่วมมือของเอไอเอสและม็อกซ์ทร่าในครั้งนี้ถือเป็นการตอกย้ำกลยุทธ์ในการส่งมอบบริการคุณภาพให้แก่ลูกค้า ภายใต้แนวคิด Ecosystemระบบนิเวศน์แห่งการสื่อสารอีกครั้ง เพื่อให้ลูกค้าองค์กรและผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SME) ของเอไอเอสสามารถสื่อสารธุรกิจผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่และใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างทันท่วงทีด้วยเครื่องมือที่ช่วยในการทำงานร่วมกันผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่แบบครบวงจรโดยจะร่วมเปิดให้บริการอย่างเป็นอย่างทางการภายในไตรมาส 4ปีนี้ นายไมเคิล อาร์ เบลผู้ดูแลการพัฒนาธุรกิจในตลาดอาเซียนและญี่ปุ่น บริษัท ม็อกซ์ทร่า จำกัด กล่าวว่า   ยินดีที่เอไอเอสเลือกม็อกซ์ทร่าเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นส์สำหรับการสื่อสารธุรกิจร่วมกันผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ซึ่งเราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าการสื่อสารแบบบูรณาการบนเครื่องมือเพื่อการทำงานร่วมกันนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วให้กับการติดต่อสื่อสารของลูกค้าองค์กรและผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของเอไอเอสได้อย่างแน่นอน  

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เอไอเอส –ม็อกซ์ทร่า ออกบริการใหม่เอื้อภาคธุรกิจ

Posts related

 














เสวนาโครงข่ายมือถือท้องถิ่น

เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย กสทช. หอการค้าขอนแก่นและตัวแทนผู้ประกอบการโทรคมนาคมร่วมจัดเสวนา “ความจำเป็นของโครงข่ายมือถือยุค3G เพื่อพัฒนาท้องถิ่น” ที่จังหวัดขอนแก่น นายพิชัย สุวรรณกิจบริหารผู้อำนวยการสำนักขับเคลื่อนภารกิจพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า  กสทช.มีภารกิจในการจัดสรรทรัพยากรโทรคมนาคมโดยเฉพาะคลื่นความถี่และการส่งเสริมให้มีบริการอย่างทั่วถึงและครอบคลุมมากขึ้นทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทยโดยผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตคลื่น 2100MHz. จะต้องติดตั้งเสาสัญญาณให้ได้50 % ภายใน  2 ปีและ 80% ภายใน 4 ปีจากที่ได้รับใบอนุญาต   นอกจากการพัฒนาโครงข่ายที่กสทช.จะกำกับดูแลผู้ประกอบการภาคโทรคมนาคมแล้วทางกสทช. ยังมีหน้าที่กำกับดูแลและกำหนดค่ามาตรฐานการใช้งานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อให้เกิดความมั่นใจและความปลอดภัยของสุขภาพประชาชนที่เกี่ยวข้อง   นายพิชัย กล่าวด้วยว่า  ที่ผ่านมามีการตรวจวัดค่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาสัญญาณของผู้ประกอบการแต่ละค่ายพบว่าค่าที่วัดได้ยังต่ำกว่าขีดที่กำหนดในมาตรฐานที่กำหนดไว้มาก ซึ่งทางกสทช.ได้มีบทบาทในการกำกับดูแลผู้ประกอบการโทรคมนาคมให้ทำตามกฎเกณฑ์มาตลอดอยู่แล้ว   ผศ.ดร. ชาญไชย ไทยเจียม กรรมการสมาคมวิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย กล่าวว่า  สำหรับความกังวลเรื่องเสาสถานีฐานที่ตั้งใกล้บ้านจะทำให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าส่งผลกระทบต่อสุขภาพในทางทฤษฏีนั้นคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าประกอบด้วยคลื่นสนามไฟฟ้า และสนามแม่เหล็กโดยมีการกำหนดหลายย่านความถี่ใช้งาน ย่านความถี่คลื่นวิทยุรวมทั้งย่านความถี่ใช้งานของระบบโทรศัพท์มือถือจัดอยู่ในกลุ่มรังสีชนิดไม่ก่อไอออน(Non-ionizing radiation) เป็นคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานต่ำไม่ก่อให้อะตอมมีการแตกตัวเป็นไอออน แตกต่างจากรังสีชนิดก่อไอออน (Ionizingradiation) เช่น รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ ซึ่งเป็นคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูงสามารถทำให้อะตอมเกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้และมีผลต่อการแยกอนุภาคอิเล็กตรอนออกไปกลายเป็นอนุมูลอิสระได้ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง   “คลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดไม่ก่อไอออนถูกนำมาใช้กับระบบการสื่อสารทั้งวิทยุกระจายเสียง ระบบโทรศัพท์มือถือ สัญญาณ Wi-Fiเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย เป็นต้นคลื่นสนามแม่เหล็กกลุ่มรังสีชนิดไม่ก่อไอออนนี้มีผลกระทบต่อสุขภาพในแง่ของความร้อน เท่านั้นภายใต้ข้อกำหนดของการใช้งานขององค์การอนามัยโลก (World Health Organizationหรือ WHO) ซึ่งจะเป็นองค์กรฯ กำหนดมาตรฐานความแรงของสัญญาณหรือกำลังของสัญญาณคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อการใช้งานอย่างปลอดภัยต่อสุขภาพ   จากผลงานวิจัยจากสถาบันต่างประเทศยังไม่มีผลงานวิจัยใดชี้ชัดว่าการใช้คลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดไม่ก่อไอออนที่มีกำลังใช้งานต่ำจะมีผลต่อสุขภาพดังนั้นถ้าผู้ประกอบการโทรคมนาคมติดตั้งและส่งสัญญาณคลื่นตามมาตรฐานที่กำกับดูแลจากภาครัฐจะทำให้ผู้อยู่อาศัยในบริเวณเสาสัญญาณเพิ่มความมั่นใจเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยได้”ผศ.ดร. ชาญไชย กล่าว   นายปัญญา เวชบรรยงรัตน์ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานปฏิบัติการโครงข่าย บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นจำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า อุปกรณ์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่ติดตั้งโครงข่ายได้นำเข้าจากผู้ผลิตมาตรฐานระดับโลกซึ่งผ่านการรับรองตามมาตรฐานสากลจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ(The International Telecommunication Union) หรือITU ที่ทำหน้าที่ออกกฎระเบียบและกำกับโทรคมนาคมที่เป็นสากลและใช้กันทั่วโลก   “การวางแผนโครงข่ายนั้นจะมุ่งไปพัฒนาเพื่อรองรับการเติบโตของชุมชนแหล่งท่องเที่ยว เส้นทางคมนาคมควบคู่กับการเติบโตทางเศรษฐกิจจากข้อมูลของดีแทคนั้นพบว่า ภูมิภาคอีสานมีอัตราการเติบโตใช้งานดาต้าสูงสุดในประเทศไทยทำให้ต้องวางแผนโครงข่ายโทรคมนาคมรองรับการขยายตัวเพื่ออนาคตสู่การรองรับการเติบโตของธุรกิจและการขยายที่พักอาศัยที่เพิ่มขึ้นพร้อมทั้งเส้นทางคมนาคมซึ่งจะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปีพ.ศ. 2558 นี้” นายปัญญากล่าว   สำหรับการวางแผนขยายโครงข่าย 3Gให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วไทยมีความสำคัญมากเพราะจะทำให้เข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างเท่าเทียมโดยเฉพาะในชนบทที่มีปัญหาการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตหรือมีอินเทอร์เน็ตใช้งานแต่ยังไม่พอเพียงและความเร็วจำกัดทำให้เกิดการส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันโดยรวมให้กับท้องถิ่นรวมถึงเป็นการใช้ทรัพยากรคลื่น 3G เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ   นายวันชัย กาญจนศิริเหรัญญิกและกรรมการ หอการค้าจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยในงานเสวนาว่า   ขอนแก่นกำลังจะก้าวสู่จังหวัดที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของภาคอีสานสำหรับก้าวสู่ยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ เออีซี ในปี พ.ศ. 2558 นี้เพราะอยู่ในทำเลที่ตั้งที่มีความโดดเด่นของเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก(East-West Economic Corridor: EWEC) หรือเส้นทางหมายเลข 9 (R9) เชื่อมต่อเวียดนามลาว และกัมพูชาที่จะเข้าสู่ไทยทางด้านตะวันออกและสามารถเชื่อมต่อเมียนมาร์ดังนั้นขอนแก่นจะกลายเป็นศูนย์กลางระบบโลจิสติกส์และเชื่อมต่อการคมนาคมที่สำคัญเพื่อการค้าการลงทุนในแถบอีสานโครงข่ายโทรคมนาคมจึงเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นสาธารณูปโภคแห่งอนาคตรองรับการเติบโตของการติดต่อสื่อสารโดยเฉพาะยุค3G ที่มีความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตทุกที่เพื่อการทำธุรกิจ”   นายวันชัย กล่าวต่อไปว่า   โครงข่ายโทรคมนาคม 3G ที่พัฒนาครอบคลุมทุกพื้นที่จะรองรับการขยายตัวเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในภูมิภาคโดยจะมีบริการใหม่ เช่น โซลูชั่นบริหารจัดการขนส่ง (Fleet ManagementSolution) เทคโนโลยีติดตามเรียลไทม์เพื่อธุรกิจขนส่งสำหรับรองรับภาคธุรกิจยุคเออีซี  ด้วยระบบ Trackingยานพาหนะที่อยู่ในต่างประเทศและบริการโรมมิ่ง ซึ่งบริหารจัดการยานพาหนะขององค์กรมีการติดตั้งอุปกรณ์พร้อมแอพพลิเคชั่นบนยานพาหนะที่ต้องการติดตามความเคลื่อนไหวหรือตรวจสอบการทำงานของยานพาหนะนั้นๆได้ผ่าน Web หรือ Online Application ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมกำหนดการขนส่งให้ตรงเวลาหรือแจ้งเตือนเมื่อใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนด และมีการเดินทางออกนอกพื้นที่ที่กำหนดไว้สถานะของเครื่องยนต์และระดับการใช้เชื้อเพลิง จะทราบทันทีแบบเรียลไทม์ทำให้ดำเนินธุรกิจในต่างประเทศได้อย่างมีศักยภาพส่วนนี้จะทำให้นักธุรกิจจังหวัดขอนแก่นซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสานนำมาใช้เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันยุคเออีซีได้”    

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เสวนาโครงข่ายมือถือท้องถิ่น

นักศึกษาอยากเห็นอนาคต อุดมศึกษานานาชาติอย่างไร – โลกาภิวัฒน์

“อนาคตอุดมศึกษาไทยจะเป็นอย่างไร” นั้น เรามักจะมีคำตอบจากกูรูหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา แต่สิ่งที่เป็นคำตอบของนักศึกษาว่าอยากเห็น อยากได้ อยากมี มหาวิทยาลัยในอนาคตอย่างไรนั้น ผู้เขียนมีผลสรุปจากสำนักวิจัยซอกบี้อะนาไลติกส์มาเผยแพร่ในบทความนี้และขอคั่นบทความทุนนิยมอเมริกาด้วยบทความสำหรับพฤหัสนี้น่ะครับซอกบี้อะนาไลติกส์ สำนักวิจัยด้านความคิดเห็นของสหรัฐอเมริกาได้สำรวจนักศึกษาในกลุ่มมหาวิทยาลัยนานาชาติลอรีเอท 37 มหาวิทยาลัย ใน 21 ประเทศ มีนักศึกษาเข้าตอบคำถาม 20,800 คน ซึ่งก็ถือว่าเป็นการศึกษาสำรวจความคิดเห็นที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของโลกการศึกษานานาชาติ ซึ่งจากการศึกษาได้พบความชัดเจนว่านักศึกษาต้องการให้อุดมศึกษาในอนาคตนั้น ทำให้บัณฑิตพัฒนามีงานทำและมีความก้าวหน้าในวิชาชีพของตนผลสรุปของงานสำรวจของนักศึกษาแบ่งออกได้เป็น 4 ด้านใหญ่คือ หนึ่ง การเข้าถึงได้ (Accessible) เป็นนักศึกษาเกือบครึ่งคือประมาณ 47% เชื่อว่ามหาวิทยาลัยในอนาคตจะมีเนื้อหาหลักสูตรออนไลน์และให้การศึกษาฟรีสำหรับวิชาออนไลน์ส่วนใหญ่ และนักศึกษาประมาณ 59% จะใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเรียนรู้และก็ติวกันเองสอนกันเอง และมากกว่าสองในสามเดือนหรือ 68% เชื่อว่ามหาวิทยาลัยจะมีห้องสมุดออนไลน์ให้นักศึกษาสามารถเข้าไปอ่านและศึกษาวิชาการต่าง ๆ ในรูปแบบของเอกสาร หนังสือตำรา และหนังสืออ้างอิงสอง มีความยืดหยุ่นได้ (Flexible) นักศึกษาส่วนใหญ่ 52% เชื่อว่าวิชาในหลักสูตรต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน และ 49% เชื่อว่าวิชาเรียนส่วนใหญ่จะเปิดการเรียนการสอนแบบไม่ผูกติดกับตารางเวลาเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่ทำงานอยู่แล้วสามารถเข้าเรียน ซึ่งไม่เหมือนกับมหาวิทยาลัยภาคปกติและ 41% ของนักศึกษาเชื่อว่านักศึกษามหาวิทยาลัยในอนาคต จะสามารถเรียนเพื่อที่จะได้รับประกาศนียบัตรสำหรับวิชาชีพโดยเฉพาะตลอดช่วงอายุการทำงานในบริษัทหรือองค์กร และถ้าหากในประกาศนียบัตรเฉพาะวิชาชีพสามารถสะสมและอนุญาตให้มีการลงทะเบียนเป็นเรียนวิชาที่ต่อเนื่องและสะสมไป 2 ปี หรือ 4 ปี เพื่อต่อเนื่องจนเป็นปริญญาบัตรได้ ก็จะมีประโยชน์ต่อวิชาชีพในอนาคตของนักศึกษาสาม นวัตกรรมหรือแนวคิดใหม่ (Innovate) นักศึกษามากกว่า 54% พยากรณ์ว่ามหาวิทยาลัยในอนาคตจะเปิดสอนวิชาเรียน ซึ่งทำให้นักศึกษาเรียนร่วมกันได้ โดยเฉพาะการทำโครงการเป็นกลุ่มโดยช่วยกันคิดช่วยกันทำ และยังเพิ่มเติมอีกว่า 43% เชื่อว่านักศึกษาจะสามารถเข้าเรียนในวิชาที่ตนเองอยากรู้อยากเรียนได้หรือกระทั่งมีการติวหรือสอนเสริมแบบออนไลน์ ซึ่งทำให้การเรียนที่จะต้องมาเจอกันกับอาจารย์ในห้องเรียนน้อยลงสี่ นักศึกษาเห็นว่ามหาวิทยาลัยในอนาคตจะมุ่งสู่การผลิตนักศึกษาที่มีการเตรียมพร้อมสำหรับงานที่ภาคอุตสาหกรรมและสังคมต้องการโดย 61% เชื่อว่าวิชาเรียนส่วนใหญ่ในอนาคตจะต้องได้รับการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญในภาคอุตสาหกรรม และ 64% ทำนายว่าวิชาเรียนเหล่านี้จะมีมากมายหลายภาษาให้เรียนได้ทุกชนชาติ และมากกว่า 70% คิดว่าทักษะที่มุ่งสู่วิชาชีพในภาคอุตสาหกรรมจะมีการสอนในมหาวิทยาลัยผมเห็นว่าสิ่งที่นักศึกษาต้องการนั้น จะช่วยทำให้เขาเป็นทรัพยากรที่ดีสำหรับสังคมและเศรษฐกิจ เพราะเขาอยากมีงานทำที่ตรงกับวิชาชีพ เขาอยากเรียนรู้วิชาชีพในอุตสาหกรรมเพื่อเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในอนาคตและช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศของตนให้ประชาชนส่วนใหญ่ของเขาอยู่ดีกินดีมีความสุขคิดว่ากูรูหรือผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษา คงจะไม่น่าคิดต่างจากนี้เท่าไรนัก.รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล
อธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
Boonmark@stamford.edu

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : นักศึกษาอยากเห็นอนาคต อุดมศึกษานานาชาติอย่างไร – โลกาภิวัฒน์

Page 81 of 805:« First« 78 79 80 81 82 83 84 »Last »
Home Webmail Password Help File Manager Logout Edit a file