นายดิเรกลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกูเลเตอร์) เปิดเผยว่า เรกูเลเตอร์ได้มีมติเห็นชอบการคำนวณค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(เอฟที)งวดเดือนพ.ค. – ส.ค. 57 ปรับเพิ่มขึ้น10 สตางต์ต่อหน่วย เนื่องจากการใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นจากงวดก่อนประมาณ 2,003 ล้านหน่วย  เป็น 40,656 ล้านหน่วย และราคาก๊าซฯ เฉลี่ยเพิ่มขึ้น  9.11 บาทต่อล้านบีทียู จาก 316.88 บาทต่อล้านบีทียู เป็น 325.99 บาทต่อล้านบีทียู ขณะที่การผลิตไฟฟ้าด้วยน้ำมันเตามีต้นทุนเพิ่มขึ้น 246 ล้านบาทอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลง 0.12 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐส่งผลให้ค่าไฟปรับเพิ่มขึ้น แต่ต่ำกว่าต้นทุนที่คำนวณได้จะต้องเพิ่มขึ้น 13.94 สตางค์ต่อหน่วย เพราะต้องการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนส่งผลให้ค่าเอฟที จะอยู่ที่ 69 สตางค์ต่อหน่วยเมื่อรวมกับค่าไฟฐานอยู่ที่ 3.27 บาทต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟงวดพ.ค. – ส.ค. จะอยู่ที่ 3.96 บาทต่อหน่วยโดยยอมรับว่า เป็นอัตราค่าไฟที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์   “เอฟทีงวดนี้จะต้องขึ้น 13.94 สตางค์ต่อหน่วยหรือเอฟทีจะปรับขึ้นจาก59สตางค์ต่อหน่วยไปอยู่ที่ 72.94สตางค์ต่อหน่วยแต่ได้ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)รับภาระไว้3.94สตางค์ต่อหน่วยส่คิดเป็นเงิน 2,247 ล้านบาท โดยจะนำส่วนนี้ไปเกลี่ยในงวดถัดไปซึ่งงวดหน้าในเดือน ก.ย. – ธ.ค.  มีโอกาสที่ค่าเอฟทีจะปรับขึ้น อีก แต่คาดว่าจะไม่มากเท่างวดนี้ เพราะเชื่อว่า ค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นส่วนงวดนี้ที่ปรับสูงถึง 10 สตางค์ต่อเนื่อง จากงวดก่อนม.ค. – เม.ย. ปรับแค่ 5 สตางค์ต่อหน่วย เนื่องจากงวดที่ผ่านมามีการคำนวณให้กฟผ.แบกรับต้นทุนประมาณ900 กว่าล้านบาท แต่มีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากประกอบกับค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟเพิ่มขึ้น จึงทำให้กฟผ. ต้องแบกรับต้นทุนถึง 3,800 ล้านบาท  “นายดิเรกกล่าว นายชิษณุพงศ์รุ่งโรจงามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) กล่าวว่า วันที่ 1 พ.ค.นี้ ราคาก๊าซแอลพีจีภาคครัวเรือนจะปรับขึ้นอีก 50 สตางค์ต่อกิโลกรัมส่งผลให้ราคาแอลพีจีครัวเรือนมีการปรับขึ้นแล้วรวม 4.50 บาทต่อ กก.ส่งผลให้ราคาแอลพีจีภาคครัวเรือน จะอยู่ที่ 22.63 บาทต่อกก.ขณะที่ราคาแอลพีจีภาคขนส่ง ยังตรึงราคาอยู่ที่ 21.38 บาทต่อกก.ทำให้ราคาแอลพีจีครัวเรือนสูงกว่าขนส่งถึง 1.25 บาทต่อกก.   ผู้สื่อข่าวรายงานว่าปัจจุบันการคำนวณค่าไฟฟ้าที่การไฟฟ้า เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าในแต่ละเดือนประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1. ค่าไฟฟ้าฐานปัจจุบันอยู่ที่ 3.27 บาทต่อหน่วย ในส่วนนี้ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง  2. ค่าเอฟที หรือที่เรียกว่า ค่าไฟฟ้าผันแปรคือ การลอยค่าของต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่การไฟฟ้าไม่สามารถควบคุมได้ เช่นราคาเชื้อเพลิง โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเตา, อัตราเงินเฟ้อ,อัตราแลกเปลี่ยน หากค่าเงินบาทอ่อนค่าลง 1บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จะกระทบต่อการคำนวณค่าเอฟทีประมาณ 5.6 สตางค์ต่อหน่วย , ปริมาณการใช้ไฟฟ้า ซึ่งทางเรกูเลเตอร์ จะนำมาใช้คำนวณทุก ๆ  4 เดือนเพื่อกำหนดเป็นค่าเอฟทีของแต่ละงวด 1 ปี มี 3 งวด คือ ม.ค. –  เม.ย. , พ.ค. – ส.ค. , ก.ย. – ธ.ค.  3. ภาษีมูลค่าเพิ่มค่าเอฟที

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ข่าวร้ายรับวันแรงงานค่าไฟ- แอลพีจีขึ้นยกแผง

Posts related