รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า ว่า ในการประชุมครม. เมื่อวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 57 ครั้งที่1 โดยมีหนี้สาธารณะลง5,168.92 ล้านบาท จากเดิม 1,321,499.76ล้านบาทเหลือ 1,316,330.84 ล้านบาท พร้อมทั้งอนุมัติการค้ำประกันเงินกู้ให้กับรัฐวิสาหกิจภายใต้กรอบวงเงินของแผนที่ได้ปรับปรุงซึ่งล้วนเป็นโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการโดยมติ ครม.โดยหน่วยงานไว้ก่อนวัยที่ได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรขณะเดียวกันยังอนุมัติให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณากู้เงิน วิธีการกู้เงินเงื่อนไขและรายละเอียดต่างๆของการกู้เงินและการค้ำประกันในแต่ละครั้งได้ตามเหมาะสมและจำเป็นภายใต้แผนบริหารหนี้สาธารณะที่ปรับปรุงนี้ซึ่งหากรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการกู้เงินได้เอง ก็ให้สามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็นของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆทั้งนี้ในการปรับปรุงแผนบริหารหนี้สาธารณะดังกล่าวมีประเด็นสำคัญที่ได้ขอปรับเพิ่มวงเงินกู้2 รายการรวมเงิน 143,244ล้านบาท ได้แก่ เงินกู้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินโครงการที่มีวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตามนโยบายรัฐบาล13,244 ล้านบาทโดยวงเงินดังกล่าวเป็นเงินกู้เดิมที่ได้บรรจุในแผนบริหารหนี้สาธารณะ ปีงบประมาณ 56แต่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) กู้เงินไม่ทันวันที่ 30 ก.ย.56 จึงขอบรรจุวงเงินนี้ในแผนฯ เพิ่มเติมในปีงบประมาณ 57 ทั้งนี้เมื่อกระทรวงการคลังหาเงินกู้ครบจำนวนแล้วจะทำให้เงินกู้ที่ใช้เป็นทุนหมุนเวียนของโครงการอยู่ที่ 410,000 ล้านบาทรวมทั้งเงินกู้เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก (นาปี)ปีการผลิต 56/57จำนวน 130,000ล้านบาท ซึ่งครม.มีมติเมื่อวันที่3ก.ย.56 ให้กระทรวงพาณิชย์เร่งรัดดำเนินโครงการจำนำข้าวเปลือกนาปีภายใต้กรอบวงเงินรับจำนำข้าวเปลือกของปีการผลิต56/57 จำนวน 270,000ล้านบาท โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.56และได้เริ่มแจกใบประทวนให้แก่เกษตรกรแล้วเป็นวงเงิน 100,000ล้านบาท และธ.ก.ส.ได้จ่ายเงินให้แก่เกษตรกรแล้วจำนวนหนึ่งnจากสภาพคล่องปกติของธ.ก.ส.และพร้อมดำเนินการต่อเนื่องได้ถึงต้นเดือนม.ค.57 ทำให้ต้องการกู้เงินที่ดำเนินโครงการซึ่งกระทรวงการคลังได้หารือร่วมกับธ.ก.ส.และผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่าเงินกู้ใหม่เพียง130,000 ล้านบาทเพียงพอสำหรับดำเนินโครงการแล้วโดยส่วนที่เหลือ ธ.ก.ส.จะบริหารจัดการขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณรวมกับเงินที่ได้รับจากการระบายผลผลิตและอื่น ๆทั้งนี้ เพื่อรักษาวินัยการคลัง จึงเห็นควรนำเสนอครม.พิจารณาอนุมัติให้กำหนดวงเงินดำเนินโครงการรับจำนำผลผลิตทางการเกษตรคงค้างทั้งหมด ให้อยู่ภายใต้วงเงินกู้ไม่เกิน410,000ล้านบาท และเงินทุนของธ.ก.ส. ที่ไม่เกิน 90,000ล้านบาท อย่างช้าที่สุดวันที่31ธ.ค.57
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ครม.ลักไก่ยัดใส้กู้1.3แสนล้าน
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs