พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปรับโครงสร้างพลังงานของประเทศ เพื่อมาหารือร่วมกันเป็นครั้งที่ 2 หลังการหารือในครั้งแรกยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางปฎิรูปพลังงาน โดยจะต้องมีการนัดหารือร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุป โดยมีหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม อาทิ กระทรวงพลังงาน และกลุ่มภาคประชาชน และเอกชนรวม 5 กลุม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กลุ่มจับตาปฏิรูปพลังงานไทย สมาพันธ์เพื่อผู้บริโภค เป็นต้น ต่อมาเมื่อเวลา 16.40 น. พล.อ.อ.ประจิน กล่าวหลังหารือร่วม 8 ชม.ว่า ได้รับฟังแนวคิดจากกลุ่มตัวแทนต่างๆ เช่น กลุ่มจับตาปฎิรูปพลังงานไทย ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างราคาพลังงานแห่งใหม่ ปิโตรเคมี กลุ่มเครือข่ายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ได้เสนอโครงสร้างราคาน้ำมัน พลังงานเชื้อเพลิง และกลุ่มปฎิรูปพลังงานเพื่อความยี่งยืน ได้เสนอความเป็นไปได้ ในการจัดหาพลังงานเร่งด่วนในการนำพลังงานทดแทนมาใช้ และการปรับโครงสร้างพลังงานให้เกิดความเป็นธรรม ซึ่งข้อมูลทั้งหมดถือว่าเป็นประโยชน์และจะนำมาใช้เพื่อพิจารณาดำเนินการต่างๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นว่าเรื่องที่ควรดำเนินการเร่งด่วนคือ การปรับโครงสร้างราคาน้ำมัน และแอลพีจี ซึ่งจะมีความชัดเจนในสิ้นเดือนมิ.ย . นี้ และระหว่างนี้ราคาดีเซลจะยังคงตรึงไว้ไม่เกินลิตรละ 30 บาท จนกว่าจะมีข้อสรุปออกมา ส่วนแนวทางระยะต่อมา จะเข้ามาหาดูเรื่องสัมปทาน กฎระเบียบ ให้เกิดประโยชน์กับประเทศสูงสุด และจะมีการเปิดสำรวจพื้นที่พลังงานใหม่ การแยกท่อก๊าซ และการบริหารจัดการกองทุนน้ำมันด้วย ซึ่งการปฎิรูปพลังงานทั้งระบบ คาดว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 3-6เดือน สำหรับการจัดตั้งคณะกรรมการปฎิรูปพลังงาน3ฝ่าย คือฝ่ายภาครัฐ เอกชน และประชาชน ที่ได้นำเสนอในที่ประชุม ถือเป็นแนวคิดที่ดี ซึ่งคณะกรรมการ3ฝ่ายดังกล่าว ได้มีอยู่แล้ว แต่จะปรับสัดส่วรคณะกรรมการให้มีความเหมาะสม และ ในวันที่ 23 มิย นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน หรือ กบง. ขึ้น ที่กระทรวงพลังงาน เพื่อติดตามในประเด็นดังกล่าวต่อไป น.ส.วรสนา โตสิตระกูล อดีตสว. กทม. แกนนำกลุ่มจับตาปฎิรูปพลังงาน กล่าวภายหลังการประชุมปฏิรูปพลังงานว่า กลุ่มจับตาปฎิรูปพลังงานเสนอให้มีการปฎิรูปพลังงานโดยให้ชะลอการสัมปทานรอบ 21 ออกไปก่อน เพราะจากการศึกษาพบว่าควรมีการแก้ไขกฎหมายระบบสัมปทานปิโตรเลียมให้เป็นระบบใหม่ที่ไม่ใช่ระบบสัมปทาน โดยให้ไปใช้ระบบอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนมากกว่าแทน เช่น ระบบการแบ่งปันผลประโยชน์ การรับจ้างผลิต เนื่องจากการให้เอกชนสัมปทานที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ เอกชนได้รับประโยชน์มากกว่า แต่จ่ายค่าเช่าในอัตราที่ตายตัว ขณะที่กลับมีการนำพลังงานไปส่งออกต่างประเทศและส่งผลให้ ประชาชนต้องจ่ายค่าพลังงานโดยอ้างอิงราคาตามตลาดโลก ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรมกับประชาชน รวมทั้งได้เสนอให้มีการตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติขึ้นมา โดยรัฐถือหุ้น 100% เพื่อบริหารจัดการพลังงานแทนปตท. ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติมากกว่า เนื่องจาก การแก้ปัญหาพลังงาน ต้องแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำ ซึ่งที่ผ่านมาการลงทุนภาคเอกชนในระบบสัมปทานเอกชนจะได้กำไรสูงถึง97 % ของเงินลงทุน
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คสช.เดินหน้าปฏิรูปพลังงาน
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs