นายรณดล นุ่มนนท์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติจำกัด (เครดิตบูโร) เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ระยะเวลาการส่งข้อมูลสมาชิกเครดิตบูโรโดยกำหนดให้สมาชิกส่งข้อมูลลูกหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน หรือลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) เป็นเวลา 5 ปี และให้เครดิตบูโรแสดงข้อมูลลูกหนี้ต่อไปอีก 3 ปีรวมเวลาที่ข้อมูลลูกหนี้ปรากฏในฐานข้อมูลเป็น 8 ปีแทนหลักเกณฑ์ปัจจุบันที่กำหนดให้สมาชิกส่งข้อมูลลูกหนี้ จนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จนเสร็จสิ้นเชื่อว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้ จะช่วยให้เกิดความเป็นธรรม และลดอุปสรรคในการเข้าถึงสินเชื่อของลูกหนี้ได้ขณะเดียวกันยังเป็นประโยชน์ให้สมาชิกเครดิตบูโร มีข้อมูลและระยะเวลาเพียงพอสำหรับการพิจารณาพฤติกรรมการชำระหนี้ของลูกหนี้โดยประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้หลังจากประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จะมีผลทำให้ข้อมูลของลูกหนี้ที่ติดแบล็กลิสต์อยู่ถูกลบออกจากระบบกว่า 600,000 ราย ซึ่ง 95% ของลูกหนี้ดังกล่าว เป็นลูกหนี้รายย่อย มีเพียง 5%ที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยอดหนี้ที่ค้างมาตั้งแต่ปี 41หลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ มีหนี้ไม่มากนัก คดีหมดอายุความแล้ว แต่ประวัติยังติดอยู่ แต่ด้านลูกหนี้รายใหญ่นั้นไม่ค่อยมีแบล็กลิสต์แล้ว เพราะสถาบันการเงินได้ฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายไปก่อนหน้านี้แล้ว“เวลา 8 ปีนั้น ถือว่าเป็นเวลาที่ยาวนานเหมาะสมแล้ว สมาชิกเครดิตบูโรซึ่งเป็นสถาบันการเงินต่างรับรู้ข้อมูลพอสมควรขณะที่ลูกหนี้ก็สามารถกลับเข้าสู่การขอสินเชื่อในระบบการเงินได้ตามปกติ จึงเห็นว่าเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาหนี้นอกระบบไปในตัวด้วยส่วนหนึ่งจึงให้ลบประวัติการค้างชำระหนี้ออกจากเครดิตบูโรได้ แต่ทั้งนี้ ไม่ได้เป็นการยกหนี้ให้แต่อย่างใดแต่ทังนี้ ปัจจุบันเอ็นพีแอลของทั้งระบบสถาบันการเงิน ก็ยังอยู่ในระดับทรงตัว ซึ่งธปท.เห็นว่ายังไม่น่ามีอะไรต้องกังวลแต่ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยยังติดตามอย่างใกล้ชิด”นอกจากนี้ยังประกาศกำหนดให้สหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์ทุกประเภทเป็นสถาบันการเงิน ตามมาตรา 3(9) แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิตพ.ศ.2545 เพื่อให้สหกรณ์ และชุมนุมสหกรณ์ทุกประเภท มีคุณสมบัติเข้าเป็นสมาชิกเครดิตบูโรได้ซึ่งจะทำให้สหกรณ์มีฐานข้อมุลประกอบการนำไปพิจารณาสินเชื่อให้สมาชิกได้เพิ่มขึ้นด้วยอีกทั้งสมาชิกของเครดิตบูโรก็มีฐานข้อมูลพิ่มขึ้น ประเมินความเสี่ยงของลูกหนี้ได้เป็นจำนวนมากเช่นกันส่งผลให้ผู้ที่ต้องการเงินมีโอกาสเขาถึงแหล่งเงินกู้ได้มากขึ้น เป็นประโยชน์ต่อเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินปัจจุบันมีสหกรณ์ทั่วประเทศอยู่กว่า 8,000 แห่ง และมีสมาชิกอยู่กว่า11 ล้านคน ซึ่งธปท.และเครดิตบูโรจะร่วมกันออกไปเดินสายให้ความรู้ในการเข้าเป็นสมาชิกกับเครดิตบูโรเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเข้าสู่ระบบต่อไป สำหรับสหกรณ์ที่สมัครใจจะเข้าร่วมโดยไม่ได้บังคับแต่อย่างใด ซึ่งปัจจุบันมีสหกรณ์ 4 แห่งแล้ว ที่แสดงความจำนงค์เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครดติบูโรด้วยเช่น สหกรณ์ครูขอนแก่น สหกรณ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ลูกหนี้เฮลดแบล็กลิสต์เหลือ8ปี
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs