ประสบความสำเร็จในการบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่หรือสตาร์ทอัพมาต่อเนื่อง 2 ปี จนสามารถผลักดันให้ผู้ได้รับรางวัลพัฒนาผลงานออกสู่ตลาดจริงเรียบร้อยไปแล้ว มาในปีนี้ทาง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด หรือ เอไอเอส จึงเดินหน้าจัดโครงการ เอไอเอส เดอะ สตาร์ทอัพ 2014 (AIS The StartUp 2014) ปีที่ 3 ขึ้น ซึ่งจะแตกต่างจากปีที่ผ่าน ๆ มา คือแบ่งการแข่งขันเป็น 3 หมวด คือ ออนไลน์ แอนด์ ดิจิตอล (Online and Digital) คอร์ปอเรท โซลูชั่น (Corporate Solution)และ โซเชียล บิสสิเนส (SocialBusiness)มีผู้สมัครมากกว่า 1,000 คน จำนวน 202 ทีม โดยผลงานของทีมที่เข้าร่วมโครงการปีนี้มีความหลากหลาย ทั้งที่ยังเป็นผลงานต้นแบบ และผลงานที่พัฒนาเสร็จแล้วกำลังจะปล่อยสู่ตลาดและผลงานที่กำลังอยู่ในช่วงทดลองตลาด ซึ่งผลการตัดสินของคณะกรรมการปรากฏว่า ในหมวด ออนไลน์ แอนด์ ดิจิตอล คือ ทีม กอล์ฟดิกก์ (GolfDigg) แอพพลิเคชั่น เพื่อคอกอล์ฟ สำหรับการจองคิวเล่นกอล์ฟแบบ Last minute booking สำหรับ คอร์ปอเรทโซลูชั่น ทีมชนะเลิศ คือ ทีมนักเรียน (Nugrean) ซึ่งเป็นโซลูชั่นแทรคกิ้ง (Tracking) รถโรงเรียน และหมวด โซเชียล บิสสิเนส ผู้ชนะ คือ ทีมโลคอลอะไลค์ ( Local Alike) กลุ่มสังคมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ผ่านเว็บไซต์ ต่อจากนี้ไปทาง เอไอเอสจะเข้าไปสนับ สนุนให้ทีมผู้ชนะบ่มเพาะพัฒนาผลิตภัณฑ์ และวางแผนทางธุรกิจการตลาด เพื่อให้ผลงานที่ส่งเข้าประกวดออกสู่ตลาดจริงได้ภายในเวลา 3-5 เดือนต่อจากนี้ไป หรืออย่างช้าประมาณช่วงปลายปีนี้ นายไพโรจน์ ไววานิชกิจ ผู้ช่วยกรรมการ ผู้อำนวยการ ส่วนงานบริการเสริม ของเอไอเอส กล่าวว่า การตัดสินหาทีมชนะเลิศในปีนี้ ทางคณะกรรมการนอกจากจะดูเรื่องคอนเทนต์หรือเนื้อหาของผลงานแล้ว ยังดูว่าภายใน 3-5 เดือนต่อจากนี้ทีมใดมีแรงขับเคลื่อนในการพัฒนาผลงานให้แล้วเสร็จได้จริง รวมถึงดูวิธีการนำเสนอผลงาน ความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ เพราะผลงานจะต้องนำออกไปเสนอในระดับภูมิภาค นอกจากนี้ยังพิจารณาถึงความเข้าใจในรูปแบบการประกอบธุรกิจว่าจะสามารถดำเนินธุรกิจให้เดินหน้าได้ยั่งยืนอย่างไร สำหรับผลงานอื่น ๆ ของทีมที่เข้าร่วมแข่งขัน เอไอเอสยังเปิดกว้าง และพร้อมให้การสนับสนุนตลอดเวลา ทุกทีมสามารถนำผลิตภัณฑ์เข้ามาพัฒนาต่อยอดร่วมกัน เพื่อก้าวสู่การเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมทำธุรกิจกับเอไอเอสได้ในอนาคต “ตลาดสตาร์ทอัพยังคงโตขึ้นเรื่อย ๆ เห็นได้จากที่มีผู้สนใจเข้าแข่งขันจำนวนมาก จากนี้ไปผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ จะออกมาอีกมาก เพราะนอกเหนือจากเอไอเอสแล้วยังมีองค์กรและหน่วยงานอื่น ๆ เข้ามาสนับสนุนและจัดประกวดหลายโครงการ ซึ่งแอพพลิเคชั่นที่คาดว่าจะได้รับความนิยมและสำเร็จในตลาดได้ คือ แอพพลิเคชั่น เกี่ยวกับการถ่ายรูปแต่งรูปและแชร์บนโซเชียล เน็ตเวิร์ก และโซลูชั่นที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถทำงานได้เร็ว ลดขั้นตอนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงแอพที่มีความคิดสร้างสรรค์จับกลุ่มคนที่มีรายได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้พัฒนามีรายได้กลับมาได้เร็วและไว” ด้านนายภูริชช์ อักษรทับ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กอล์ฟดิกก์ จำกัด กล่าวว่า กอล์ฟดิกก์ เป็นแอพพลิเคชั่นที่เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถจองสนามกอล์ฟในช่วงเวลาสุดท้าย ซึ่งปกติแล้วสนามกอล์ฟจะมีสลอตเวลาว่างที่ยังไม่มีคนจองใช้บริการ จึงได้ทำการดิวกับสนามเพื่อนำมาขายให้กับนักกอล์ฟที่สนใจตีกอล์ฟให้วันถัดไปในราคาลดสูงสุดถึง 70% จากปกติราคาออกรอบต่อครั้งอยู่ที่ประมาณ 4,000 บาท ลดเหลือ 1,000 กว่าบาท สำหรับสนามระดับ 4 ดาวขึ้นไป “แอพนี้จะช่วยให้คนชอบตีกอล์ฟประหยัดค่าใช้จ่ายในการออกรอบ ขณะที่เจ้าของสนามก็มีรายได้เพิ่มขึ้นดีกว่าปล่อยให้สนามว่างโดยไม่มีรายได้เข้ามา ปัจจุบันได้ติดต่ออยู่กับ 2 สนาม สิ้นปีคาดว่าจะเพิ่มเป็น 30 สนามทั่วประเทศ โดยปัจจุบันแอพพลิเคชั่นนี้เปิดให้บริการแล้วในระบบปฏิบัติการไอโอเอส มียอดดาวน์โหลดแล้ว 2,000 ครั้ง มีผู้ลงทะเบียนใช้งานแล้ว 1,200 ราย และสามารถขายได้แล้วจำนวน 40 ครั้ง ในเวลาประมาณ 2 เดือน สำหรับในอนาคตสามารถขยายไปยังสนามกอล์ฟต่างประเทศได้ เพราะเป็นแอพที่เปิดให้ดาวน์โหลดได้ทั่วโลก แต่ในช่วงแรกอยากจะเน้นสำหรับใช้งานในไทยก่อน” ส่วน นายโชติวัน วัฒนลาภ ตัวแทนของทีมนักเรียน กล่าวว่า ผลงานที่พัฒนาถือเป็นโซลูชั่นที่ใช้ติดตามรถโรงเรียน เพื่อเพิ่มความอุ่นใจให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองในการตรวจสอบเวลาบุตรหลานนั่งรถโรงเรียน ผ่านโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้สามารถรู้ได้ว่ารถวิ่งถึงไหน ออกนอกเส้นทางหรือไม่ และยังสามารถพัฒนาให้เช็กเรื่องการเข้าห้องเรียนของเด็กได้ด้วย “โซลูชั่นนี้ต้องใช้งานกับอุปกรณ์ติดตามตัว ในเบื้องต้นได้เข้าทดลองและเก็บข้อมูลกับโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งแล้ว สำหรับการหารายได้จะมาจากการติดต่อกับทางโรงเรียนที่สนใจโดยจะคิดค่าบริการประมาณ 500 บาท ต่อคนต่อเทอม ซึ่งทางโรงเรียนอาจจะนำไปคิดรวมกับค่าเทอมได้ ซึ่งเท่าที่สำรวจมายังไม่มีโรงเรียนไหนในไทยใช้โซลูชั่นลักษณะนี้” ด้านผลงานชนะเลิศในหมวด โซเชียล บิสสิเนส นายสมศักดิ์ บุญคำ ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง โลคอลอะไลค์ กล่าวว่า โลคอลอะไลค์ เป็นแพลตฟอร์มเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในชุมชนที่มีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามในไทย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ภายในเว็บไซต์ www.localalike.com จะมีข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวใน 8 ชุมชนที่ได้เข้าไปทำงานร่วมกัน ภายในสิ้นปีนี้ตั้งเป้าหมายเพิ่มขึ้นเป็น 20 ชุมชนจากปัจจุบันที่มีเครือข่ายชุมชนกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดแพ็กเกจทัวร์ที่น่าสนใจที่ได้จัดทำร่วมกันระยะเวลา 3 วัน 2 คืน ให้ลูกค้าได้เลือก ทั้งใน จ.เชียงใหม่ เชียงราย และ เกาะทางภาคใต้ของไทย โดยลูกค้าต้องจองล่วงหน้าประมาณ 1 อาทิตย์ มีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 2,000-3,000 บาทต่อคน “ได้เริ่มเปิดให้บริการมาตั้งแต่ช่วงต้นปี มีลูกค้าจองเข้ามาใช้บริการแล้วประมาณ 330 ราย ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวคุณภาพจากแถบสแกนดิเนเวีย ภายในสิ้นปีนี้คาดว่ามีไม่น้อยกว่า 700 คน ซึ่งทางทีมเป็นผู้เขียนเว็บไซต์ ถ่ายรูปสถานที่ท่องเที่ยว และติดต่อกับชุมชนต่าง ๆ ด้วยตนเอง การเข้าร่วมโครงการสตาร์ทอัพ เพราะมีแผนอยากพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นเพิ่มขึ้น เพื่อให้ใช้งานและจองรายการทัวร์ผ่านทางโทรศัทพ์มือถือได้เลย จะช่วยเพิ่มจำนวนลูกค้าได้อีกมากจากการนิยมใช้สมาร์ทโฟนของคนในปัจจุบัน” ถือเป็น 3 ทีมในโครงการที่มีผลงานโดดเด่นและเข้าตากรรมการมากที่สุดในปีนี้ แต่จะสามารถโดนใจผู้ใช้งานทั่วไปหรือไม่ ต้องรอดูกันต่อไปหลังผลงานออกสู่ตลาดอย่างเป็นทางการแล้วในอนาคต. จิราวัฒน์ จารุพันธ์ JirawatJ@dailynews.co.th
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สุดยอดผลงาน ‘เอไอเอส เดอะ สตาร์ทอัพ 2014’ – ฉลาดสุดๆ
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs