มีหลายคำถาม… ที่ยังค้างคาใจคนไทยหลายคนว่า บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ไทยที่ติดอันดับโลก ทำไม? จึงขายน้ำมันแพงกว่ามาเลเซีย ทำไม? ปตท. ถึงได้ผูกขาดการทำธุรกิจ ทำไม? ปตท. ถึงกำไรอู้ฟู่ ทำไม? ไม่ลดราคาน้ำมัน และอีกสารพัดคำถาม หลากหลายคำถามที่ยังเป็นข้อฉงนสงสัยกับประชาชน ทั้งที่บริษัท ปตท. เป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) มีขั้นตอนการตรวจสอบการดำเนินงานอย่างโปร่งใส แต่ยังไม่สามารถคลี่คลายปมได้อย่างหมดจด… “หลายประเด็นที่ ปตท. ถูกหยิบยกมาโจมตี เป็นเรื่องเก่า ที่มีข้อพิสูจน์ในข้อเท็จจริงหมดแล้ว แต่ไม่เข้าใจว่า ทำไมยังหยิบยกเรื่องราวเหล่านี้มาพูดมาตั้งคำถาม สิ่งเหล่านี้เป็นคำพูดที่บิดเบือน เป็นการให้ร้าย ปตท. ทำให้เกิดการเกลียดชัง และพยายามนำ ปตท. เข้าไปเกี่ยวโยงกับการเมือง ทั้งที่ ปตท. วางตัวชัดเจนว่า ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง แต่ครั้งนี้…เรายอมไม่ได้แล้ว ใครมาบิดเบือนข้อเท็จจริง ปตท.จะดำเนินคดีอย่างเข้มข้นขึ้น ที่ดำเนินคดี ไม่ใช่ว่าให้ร้าย ปตท. อย่างเดียว แต่ที่ยอมไม่ได้คือ การทำให้คนไทยเข้าใจผิด ถือว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก” ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. กล่าวด้วยอารมณ์อัดอั้นตันใจ ซีอีโอ ปตท. ชี้แจงถึงข้อกล่าวหาที่ว่า ปตท.ผูกขาดในธุรกิจน้ำมัน ทำให้ขายราคาน้ำมันแพงกว่าประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะประเทศมาเลเซียนั้น ประเด็นการกำหนดราคาน้ำมัน ปตท.ไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคา ปตท.เป็นเพียงผู้ประกอบการธุรกิจน้ำมันเท่านั้น มีหน่วยงานทางภาครัฐเป็นผู้กำหนดราคาน้ำมัน และมีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เป็นผู้ดูแลอีกทอดหนึ่ง ขณะเดียวกัน ปตท.มีสัดส่วนแบ่งทางการตลาดเพียง 37 % เท่านั้น ไม่ได้ผูกขาด ยังมีผู้ประกอบการธุรกิจน้ำมันอื่น ๆ อีกถึง 63 % อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ปตท.มีส่วนช่วยผลักดันการลดราคาน้ำมันขายปลีกได้เร็วขึ้น ในภาวะราคาน้ำมันตลาดโลกลดลง หรือในภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับสูงขึ้น ปตท.จะชะลอการปรับขึ้นราคา โดยตลอดทั้งปี 56 ปตท. ได้ชะลอการปรับขึ้นราคาน้ำมันในกลุ่มเบนซินจำนวน 19 ครั้ง กลุ่มดีเซล 11 ครั้ง คิดเป็นมูลค่าลดผล กระทบจากการปรับราคาประมาณ 474 ล้านบาท ส่วนกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมราคาน้ำมันมาเลเซีย ถูกกว่าน้ำมันของไทยนั้น ต้องเข้าใจว่า มาเลเซียเป็นประเทศผู้ผลิต และส่งออกน้ำมันอย่างแท้จริง ไม่ต้องเสียภาษีน้ำมัน ไม่เหมือนไทย ที่ต้องนำเข้าน้ำมันดิบมากกว่า 80% โดยโครงสร้างราคาน้ำมันในไทย แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ เนื้อน้ำมัน ค่าการตลาด และภาษีกับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จึงทำให้ราคาน้ำมันในไทยสูงกว่ามาเลเซียอยู่แล้ว โดยปี 56 ค่าการตลาดของ ปตท. มีเพียงลิตรละ 1.41 บาทเท่านั้น ไม่ใช่ลิตรละ 3–4 บาท และกำไรจากการขายน้ำมันของ ปตท. ถือว่า ต่ำมากเมื่อเทียบกับบริษัทน้ำมันระดับโลก โดยกำไรของ ปตท. ตั้งแต่การแปรรูปในปี 44–55 ได้นำส่งรัฐมูลค่า 523,687 ล้านบาท เพื่อไปพัฒนาระบบสาธารณูปโภค และการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ อย่างไรก็ตามบางคนพูดง่าย ๆ ว่า ถ้าปฏิรูปพลังงานแล้ว จะสามารถลดราคาน้ำมันได้ 5 บาททันที เป็นคำพูดที่พูดโดยไม่รับผิดชอบ อยากถามว่า การลด 5 บาท จะลดราคามาจากไหน จะให้ลดราคาไม่ต้องเสียภาษีหรือ ในแต่ละปี ปตท.เสียภาษีให้ภาครัฐปีละ 5–6 หมื่นล้านบาท คนพูดจะหารายได้มาเสียภาษีแทนหรือไม่ ยิ่งตอนนี้สิ่งที่น่ากังวลคือ คนที่พูดเป็นผู้มีการศึกษา แต่พูดในเรื่องผิด ๆ เป็นการบิดเบือนข้อมูล ซึ่งก็ไม่ทราบว่า มีเจตนาแอบแฝงอะไรหรือไม่ “การบิดเบือนข้อมูล เริ่มตั้งแต่บอกว่า ไทยมีน้ำมันดิบมากมาย น้ำมันนำเข้าจริง ๆ ไม่ได้มาจากต่างประเทศ แต่มาจากอ่าวไทย คนพูดเหมือนเอามือปิดฟ้าเอาไว้ แต่ปิดไม่มิด เพราะข้อเท็จจริงพิสูจน์ได้จากตัวเลขการนำเข้าต่าง ๆ ไปดูที่กรมศุลกากรได้เลย ถ้าอยากพูดบิดเบือนแบบนี้ ทำไมคนพูดไม่ไปขอสัมปทานแล้วขุดน้ำมันเองเลย ยืนยันว่า ตอนนี้ไทยผลิตน้ำมันได้แค่บางส่วนเท่านั้น แต่เวลากระทรวงพลังงาน บอกการผลิตพลังงานที่ได้ เขาจะรวมการผลิตก๊าซธรรมชาติกับน้ำมัน เป็นหน่วยของน้ำมันอย่างเดียว เพราะก๊าซธรรมชาติมีหน่วยเป็นล้านลูกบาศก์ฟุต ส่วนน้ำมันเป็นบาร์เรล เวลาเปรียบเทียบเขาก็รวมกัน ไม่เช่นนั้นนับลำบาก คนที่พูดก็น่าจะรู้ข้อเท็จจริง เพราะมีการแจ้งไว้อยู่แล้ว แต่พอมาพูดมาเหมารวมกันว่า ไทยผลิตน้ำมันได้ 800,000 บาร์เรล ถือเป็นการบิดเบือนข้อมูลทั้ง ๆ ที่รู้” ทุกวันนี้ ปตท. ได้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญที่สุด คือ การให้ความมั่นคงทางพลังงาน ไม่ว่าเกิดเหตุอะไรขึ้น ประชาชนยังได้ใช้พลังงานอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม ซึ่ง ปตท.เป็นบริษัทที่อยู่ใน ตลท. และเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ทุกขั้นตอนสามารถตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส หลาย ๆ ข้อมูลที่มีการบิดเบือน ทั้งอดีตนายกรัฐมนตรี ถือหุ้นใหญ่ ก็สามารถตรวจสอบได้ เพราะกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือคดีอื่น ๆ ของ ปตท. ทุกคดีก็จบโดยกระบวนการทางศาลแล้ว สุดท้าย “ซีอีโอ ปตท.” ย้ำว่า ไม่ว่าใครจะชอบหรือไม่ชอบ ปตท. สิ่งที่ขอเพียงอย่างเดียวคือ… อย่าบิดเบือนข้อมูลที่เป็นเท็จ เพราะถือเป็นเรื่องบาปมหันต์มาก ที่ทำให้คนไทยเข้าใจผิดกันเอง. ทีมเศรษฐกิจ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เปิดใจ ‘ไพรินทร์’ ซีอีโอ ปตท.แจงทุกอย่างโปร่งใส…
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs