นายถาวร กนกวลีวงศ์ เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้สมาคมฯมีนโยบายที่จะผลักดันให้ผู้ผลิตเสื้อผ้าเพิ่มมูลค่าเพิ่มในการ ส่งออกสินค้าโดยการร่วมทุนกับแบรนด์เสื้อผ้าระดับโลกหรือการซื้อใบอนุญาติ เจ้าของลิขสิทธ์เพื่อทำตลาดสินค้าร่วมกันเจ้าของสินค้าแทนการรับจ้างการ ผลิตอย่างเดียว เนื่องจากจะช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ และลดปัญหาเจ้าของแบรนด์กดราคาคำสั่งซื้อ (ออเดอร์) เบื้องต้นหลายรายเริ่มร่วมทุนกับแบรนด์จากญี่ปุ่น ยุโรป และ สหรัฐฯแล้ว“การทำธุรกิจต้องมีการปรับเปลื่ยนตามความเหมาะสมซึ่งการรับจ้างการผลิตอย่างเดียวค่อยๆลดลง ดังนั้นการสร้างแบรนด์ตนเองและร่วมทุนกับแบรนด์ดังๆ ก็จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการได้ แต่การร่วมทุนกับแบรนด์ดังๆ นั้นเจ้าของแบรนด์คงต้องดูปรสิทธิภาพของผู้ผลิตสินค้าด้วย เพราะหากไม่มีศักยภาพเพียงพอก็จะไม่ร่วมทุน เนื่องจากเป็นห่วงว่าอาจทำให้แบรนด์สินค้าตกต่ำลง”ขณะเดียวกันทางสมาคมได้ขอความร่วมมือจากภาครัฐโดยเฉพาะกรมส่งเสริมการค้า ระหว่างประเทศในการช่วยสร้างแบรนด์เสื้อผ้าแก่สมาชิก รวมถึงการช่วยหาตลาดและการสร้างความอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการไทยในการ เข้าไปทำการค้าและการลงทุนในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศที่มีแรงงานเพียงพอและมีค่าจ้างแรงงานไม่ถูกมากนัก เพื่อการเพิ่มมูลค่าการส่งออกของประเทศไทยนายวัลลภ วิตนากรที่ปรึกษาสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการผลิตเสื้อผ้าและชุดกีฬาที่เป็นโรงงานห้องแถวจำนวนมากทะยอยปิดกิจการเนื่องจากลูกค้าได้ปรับลดหรือยกเลิกคำสั่งซื้อ (ออเดอร์) แล้วหันไปจ้างโรงงานขนาดใหญ่แทน เพราะว่าผู้ผลิตรายใหญ่สามารถผลิตงานที่มีคุณภาพมากกว่าทั้งเนื้อผ้า เนื้องาน และความเรียบร้อยด้านต่างๆ แม้ว่าราคาสินค้าจะแพงกว่าเฉลี่ยตัวละ 50 บาทก็ตาม“เห็นได้ชัดเจนการการผลิตชุดฟุตบอลของสโมสรตามลีกต่างๆในประเทศไทยที่มีออเดอร์รวมกันจำนวนมากบางทีมสั่งครั้งละ 4-5 หมื่นตัวต่อปีเดิมเคยสั่งจากโรงงานห้องแถว แต่ระยะหลังแฟนบอลระบุว่าเสื้อผ้าไม่ดีบ้าง หรือนักฟุตบอลบอกว่าใส่แล้วร้อนผิดปกติ ส่งผลให้เจ้าของลิขสิทธิ์หันมาสั่งโรงงานที่มีศักยภาพมากขึ้น จนผู้ผลิตบางรายมีออเดอร์ทะลักแต่ส่วนใหญ่ก็รับไว้หมดเพราะสามารถทดแทนออเดอร์ส่งออกที่ลดลงจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว”

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : เอสเอ็มอีผลิตเสื้อผ้าเล็งร่วมทุนแบรนด์ดังหาทางรอด

Posts related