นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ แนวทางการปฎิรูปภาษี ยังไม่สามารถตอบถึงรายละเอียดที่ชัดเจนได้ เพราะเป็นช่วงที่ติดตามนโยบายต่าง ๆ โดยเฉพาะแนวคิดการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) นั้น คงต้องรอความชัดเจนอีกครั้ง เนื่องจากการปรับภาษีแวต ถือเป็นอัตราภาษีที่มีราคาสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้อง อาจส่งผลกระทบต่อการบริโภคอย่างแน่นอน โดยการปรับขึ้นภาษีดังกล่าวคงต้องดูระยะเวลาและความสัมพันธ์ทางด้านอื่น ๆ ให้เหมาะสม เพราะอาจเป็นแบบกรณีของญี่ปุ่น ที่ปรับขึ้นแล้วกระทบต่อการบริโภคภายในประเทศได้ ขณะที่ แนวทางการปฏิรูปราคาพลังงาน ธปท.กำลังติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะเกี่ยวข้องกับภาคขนส่งและสินค้าที่จะปรับเพิ่มขึ้นตามมา แต่เบื้องต้น ธปท.มองว่าไม่มีแรงกดดันให้เงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นมากนัก แต่เชื่อว่าหากราคาพลังงานปรับขึ้น อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในกรอบเป้าหมายที่วางไว้อย่างแน่นอน และไม่เป็นอุปสรรคทำให้ต้องเปลี่ยนทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินอย่างมีนัยสำคัญด้วย อย่างไรก็ตาม ภายในสัปดาห์นี้ ธปท. จะหารือกับนายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง ถึงแนวทางการวางกรอบนโยบายการเงินในปี 58 และแผนเงินทุนเคลื่อนย้าย เฟส 2 คาดว่าแนวทางต่างๆ จะสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในปีหน้าและสอดคล้องกับนโยบายทางการคลังได้ รวมทั้ง หารือถึงกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อในปีหน้าด้วยว่าจะอยู่ที่ระดับใด โดยปัจจุบันกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อพื้นฐานของ ธปท. อยู่ที่ 0.5-3% นอกจากนี้ วันที่ 26 ก.ย.นี้ ธปท.จะประกาศตัวเลขการประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) และตัวเลขการส่งออกของปีนี้ใหม่ โดยคาดว่าจีดีพีในปีนี้คงใกล้เคียงกับที่ประมาณการไว้ที่ระดับ 1.5% เนื่องจากการลงทุนและการบริโภคของภาครัฐและเอกชนเริ่มกลับมา ขณะที่ภาคการส่งออกยอมรับว่าต่ำกว่าประมาณการที่วางไว้ที่ระดับ 3% เพราะการส่งออกฟื้นตัวช้ากว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ จากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้า ขณะเดียวกัน ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 2% ยังเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ เนื่องจากเศรษฐกิจอยู่ในช่วงที่กำลังฟื้นตัว ซึ่งเชื่อว่าการใช้นโยบายการเงินในปีนี้อาจมีความจำเป็นน้อยลงกว่าปีก่อน เพราะมีรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้ โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ก็ติดตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด สำหรับการปรับตัวลดลงของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศยังไม่ความกังวลใดๆ เนื่องจากเป็นการปรับลงเล็กน้อย ที่เกิดจากนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นและพันธบัตร โดยเฉพาะช่วงกลางปี 56 ที่เริ่มลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทำให้เกิดการเทขายออกไปบ้าง เพื่อปรับพอร์ตให้สอดคล้องกับข่าวในช่วงนั้น อีกทั้งเมื่อตีราคาทุนสำรองเป็นเงินบาทแล้วโดยรวมสุทธิยังถือว่าเสมอตัว และไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : แนะปรับภาษีแวตดูความสัมพันธ์ให้เหมาะสม
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs