นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม.เมื่อวันที่ 29 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบแนวทางการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ไม่สามารถใช้สิทธิ์เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 55/56 ได้ทันในวันที่ 15 ก.ย.56 เป็นกรณีพิเศษ ตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอครม. ฝ่ายเศรษฐกิจ ที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลังเป็นประธาน โดยได้อนุมัติวงเงิน 1,907 ล้านบาท ชดเชยให้กับเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในโครงการ และเกษตรกรที่มีหนังสือรับรอง จะได้รับการเงินชดเชยตันละ 2,121 บาท รายละไม่เกิน 33 ตัน คิดเป็นปริมาณรวม 899,000 ตัน สำหรับวงเงินชดเชยดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณาเห็นว่า เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การคำนวณอัตราช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยกรณีฉุกเฉิน ปี 56 ตามที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารภัย (ปภ.) ประกาศเมื่อวันที่ 1 ต.ค.56 โดยวงเงินดังกล่าว ได้คำนวณจากค่าพันธุ์ข้าว 536.47 บาทต่อไร่ และค่าปุ๋ย 401.27 บาทต่อไร่ รวมเป็นเงินชดเชย 937.74 บาทต่อไร่ คิดเป็นค่าช่วยเหลือต่อตันเป็นเงิน 2,121 บาท ทั้งนี้ที่ประชุมยังมอบหมายให้คณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการจำนำระดับจังหวัด ไปกำกับดูแลการช่วยเหลือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอน รวมทั้งเอกสารหลักฐานที่ใช้ในการขอรับเงินเยียวยา เพื่อให้ประโยชน์ตกกับเกษตรกรอย่างแท้จริงตามปริมาณผลผลิตจริงที่เกษตรกรนำไปจำหน่าย และไม่เกินปริมาณตามหนังสือรับรองเกษตรกร โดยกำหนดหลักเกณฑ์ เอกสารหลักฐาน วิธีการขอรับเงิน และการจ่ายเงินเยียวยาด้วย อย่างไรก็ตามกระทรวงเกษตรฯ ได้แจ้งว่า การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 55/56 ครั้งที่ 2 จากเดิม 2.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นอีก 1.27 ล้านตัน จึงมีผลผลิตส่วนหนึ่งเข้าสู่โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี 55/56 เพิ่มขึ้นจากที่ประมาณการไว้ 22 ล้านตัน และมีบางส่วนที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการรับจำนำได้เพราะผลผลิตออกสู่ตลาดหลังสิ้นสุดระยะเวลารับจำนำ ต่อมาสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้ช่วยเหลือเกษตรกรในหลายจังหวัดที่ได้รับหนังสือรับรองเกษตรกร ครั้งที่ 2 และคาดว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อน 15 ก.ย. แต่ไม่สามารถใช้สิทธิ์เข้าร่วมโครงการได้ เพราะกระทรวงเกษตรฯ ขอให้เลื่อนการเพาะปลูกและปล่อยน้ำชลประทานล่าช้า รวมถึงเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวในช่วงวันที่ 16-30 ต.ค. โดยขอให้ขยายระยะเวลาจำนำออกไปเป็นสิ้นสุดเดือนพ.ย.56 แต่คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) พิจารณาแล้วเห็นว่า เกษตรกรได้ขายผลผลิตไปแล้ว จึงควรให้การช่วยเหลือเป็นค่าปุ๋ย ค่าพันธุ์ ค่ายาปราบศัตรูพืชตันละ 2,500 บาท ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้ปรับลงเหลือตันละ 2,121บาท ให้สอดคล้องอัตราการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยกรณีฉุกเฉินปี 56.
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ครม.ไฟเขียว1,900 ล้านบาทอุ้มชาวนาอีกรอบ
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs