ดังที่ทราบกัน กันยายน เป็นเดือนหนึ่งในสองของปี ที่ฝนมากที่สุด ครั้นถึงช่วงครึ่งหลังของเดือน ก็พอจะวางใจได้ว่า ต่อจากนี้ ที่จะเห็นฝนหนัก ก็จะน้อยลง โอกาสน้ำท่วมขัง ค้างนานในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง รวมถึง กรุงเทพฯ ก็มีน้อยลงไปด้วย ส่วนที่จะมีฝนกระหน่ำจุดใดจุดหนึ่งในปริมาณมาก จนระบบระบายไม่ทัน จะมีคั่งค้าง ขังอยู่ผิวจราจร พื้นราบ บ้างเป็นบางที่ ก็ต้องยอมรับ ตลอดทั้งสัปดาห์นี้ ช่วงวันที่ 14 – 20 กันยายน กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า ร่องมรสุมกำลังแรง พาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในเวลาเดียวกัน มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และอ่าวไทย ก็จะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น ในเกณฑ์กระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ อาจมีฝนตกหนัก ถึงหนักมาก บางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก คลื่นลมในทะเลอันดามัน จะมีกำลังแรง สูง 2-3 เมตร ช่วงวันที่ 16 – 18 ก.ย.บริเวณประเทศไทย จะมีฝนเพิ่มขึ้น คลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน มีกำลังแรง เพราะมีพายุโซนร้อน “คัลแมกี” (Kalmaegi) ทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มเคลื่อนตัว ผ่านเกาะลูซอนลงทะเลจีนใต้ตอนบน ในวันที่ 15 ก.ย. จากนั้นจะเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แนวเกาะไหหลำ พายุนี้ มีอิทธิพลต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้น คลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงด้วย กรมอุตุฯ คาดหมายว่า ผู้อยู่ทาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ต้องระวังอันตรายจากฝนหนัก ชาวเรือในทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ให้เพิ่มความระมัดระวัง ในการเดินเรือ คำเตือนสำหรับเรือเล็ก ให้งดออกจากฝั่ง ถึงจะมีฝนหลายพื้นที่ แต่ข้อมูลล่าสุดสถานการณ์น้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ก็ยังไว้ใจไม่ได้ ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ รายงานล่าสุด เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีน้ำ 5 พันล้านลูกบาศก์เมตร (คิว)หรือร้อยละ 37 แต่ใช้ได้จริง 1.2พันล้านคิว เขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำ 5 พันคิว เท่ากัน ปริมาณที่ใช้การได้จริง 2.1 ล้านคิว อ่างเก็บน้ำอื่น ก็ลักษณะเดียวกัน ดังนั้น ณ เวลานี้ ทุกเขื่อนยังมีพื้นที่รับน้ำได้อีก 1.37 หมื่นล้านคิว ตีความได้ว่า ปริมาณน้ำที่ได้ยังน้อย จนอาจกระทบกับฤดูแล้งที่จะมาถึง ภัยแล้ง ไม่ได้ส่งผลเฉพาะภาคเกษตรกรรม แต่ภาคอุตสาหกรรมและกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปก็เดือดร้อน เวลานี้ สภาอุตสาหกรรมเริ่มมีความห่วงใย ต่อภาวะน้ำน้อยในพื้นที่ภาคตะวันออก แม้กรมชลประทาน เตรียมการลำเลียงจากอ่างเก็บน้ำประแสร์ จ.ระยอง ที่มีมากกว่าไปให้อ่างเก็บน้ำอื่นในพื้นที่ ก็ยังมีความกังวล กรมชลประทาน จึงควรประชุมชี้แจงทำความเข้าใจให้วงการอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ทราบกันอย่างทั่วถึง เพื่อผลต่อความเชื่อมั่นในการประกอบกิจการ อันจะเกิดเป็นความร่วมมือในการใช้น้ำอย่างประหยัด เดือนที่ฝนมากที่สุดกำลังจะผ่านไป โอกาสจะได้น้ำใหม่มาเติมจะน้อยลงไปอีก ไม่เขียมใช้ จะลำบาก หยาดน้ำฟ้า
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ครึ่งหลังเดือนกันยายน – รู้หลบ
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs