มาตรการช่วยเหลือชาวนา….ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ด้วยการเลือกวิธีปรับลดต้นทุนการผลิตให้ชาวนา โดยใช้เงินงบประมาณไม่ถึง 5,000 ล้านบาท สำหรับฤดูกาลผลิตข้าวประจำปี 57/58 อาจเทียบไม่ได้กับมาตรการของนักการเมืองไม่ว่าจะเป็นการประกันราคาข้าวหรือ การจำนำข้าว ที่ใช้เงินภาษีของคนไทยทั้งประเทศเป็นหลักหมื่นหลักแสนล้านบาท เรื่องนี้ถือว่าเป็นการ “คืนความสุข ระลอกสอง” ให้กับชาวนา หลังจาก คสช.ได้คืนความสุขรอบแรก ให้กับชาวนาไปแล้วด้วยการเร่งคืนเงินค่าจำนำข้าวประจำปี 56/57 กว่า 92,000 ล้านบาท หลังจากค้างคามานานจนเป็นชนวนหนึ่งที่ทำให้กำลังซื้อในประเทศถดถอยลดน้อยหายไป ช่วยลดต้นทุนการผลิต แม้การคืนความสุขระลอกสอง อย่างไรก็ตาม การคืนความสุขระลอกสองให้ชาวนาในครั้งนี้ ถือว่าเป็นการช่วยเหลือในระยะสั้น ๆ แบบเฉพาะหน้าไปก่อน โดยเฉพาะการลดต้นทุนด้านปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ทั้ง ค่าปุ๋ย ค่าเช่าที่นา ค่าใช้รถเกี่ยวข้าว รวมทั้งเมล็ดพันธุ์ ลงมาอีกไร่ละ 432 บาท หรือคิดจากต้นทุนเฉลี่ยโดยรวมที่ชาวนาต้องจ่ายไร่ละ 4,787 บาทต่อไร่ ลดลงมาเหลือไร่ละ 4,355 บาท เบื้องต้น…แม้เป็นเรื่องดี เพราะชาวนาไม่ต้องมาควักเนื้อเป็นจำนวนมากเหมือนปีที่ผ่านมา แต่หากดูถึงความต้องการที่แท้จริงแล้ว นอกจากต้องการต้นทุนที่ถูกแล้ว ราคาข้าวที่ขายก็ต้องให้ได้ราคาเหมือนกัน ไม่เช่นนั้น ถ้าขืนทำต่อไปก็เหนื่อยเปล่า! แม้ราคาข้าวอาจไม่หวือหวาเหมือนโครงการรับจำนำก็ตาม ทั้งนี้ตามหลักการช่วยเหลือชาวนานี้ มีการประมาณการกันว่าชาวนาอาจขายข้าวได้ประมาณตันละ 8,000-9,000 บาท หรือเป็นราคาที่สูงกว่าตลาดประมาณ 10-20% ขณะที่ต้นทุนที่สามารถลดให้กับชาวนาได้นั้นจะอยู่ที่ประมาณไร่ละ 432 บาท ไม่ว่าจะเป็นค่าปุ๋ยเคมี ที่ถูกลงไร่ละ 40 บาท ค่าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ไร่ละ 20 บาท ที่กรมการค้าภายในเป็นผู้ไปรับผิดชอบจัดหาปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลงราคาถูกให้เกษตรกร ให้เพียงพอกับความต้องการ พร้อมทั้งควบคุมคุณภาพและราคา โดยจะปิดป้ายประกาศ และใช้มาตรการควบคุมไม่ให้ขึ้นราคาล่วงหน้า ส่วนเรื่องของเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้ปรับลดลงไร่ละ 122 บาท ที่เป็นหน้าที่ของกรมการข้าว ต้องจัดหาเมล็ดพันธุ์ราคาถูก พร้อมทั้งเพิ่มศูนย์ข้าวชุมชนในท้องถิ่นให้ครอบคลุม โดยขอความร่วมมือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ขณะที่ค่าบริการรถเกี่ยวข้าวก็ลดลงเช่นกัน ในอัตราไร่ละ 50 บาท โดยกรมการค้าภายในรับหน้าไปดูแลให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพราะว่ามีอัตราค่าเช่าต่างกันเป็นขั้นบันได ขณะที่เรื่องของค่าเช่านา….ที่ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดของชาวนาในเวลานี้ เพราะในช่วงของโครงการจำนำข้าวที่ผ่านมาบรรดาเจ้าของที่นาก็ร่ำรวยจากหลังของชาวนามาไม่น้อยทีเดียว ซึ่งเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของกรมการปกครองที่เข้ามากำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งกำหนดค่าเช่าและออกประกาศ รวมถึงติดตามรายละเอียดอย่างใกล้ชิด ธ.ก.ส.ช่วยเรื่องเงิน ไม่เพียงเรื่องของการลดต้นทุน ที่เป็นมาตรการเฉพาะหน้าหรือเบื้องต้นเท่านั้น คสช.ยังกำหนดให้มีมาตรการเสริม…ทั้งมาตรการทางด้านการเงิน โดยให้ธ.ก.ส.ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับชาวนารายละไม่เกิน 50,000 บาท คิดดอกเบี้ยในอัตรา 3% ต่อปี ระยะเวลา 6 เดือน เพื่อให้ชาวนานำเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้ในการลงทุนปลูกข้าวในฤดูกาลต่อไป โดยในส่วนนี้คิดเป็นการลดต้นทุนให้กับชาวนาได้ 150 บาทต่อไร่ ครอบคลุมจำนวนชาวนา 3.57 ล้านราย และยังให้ธ.ก.ส.ปล่อยเงินกู้อีกก้อน เพื่อให้ชาวนาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน โดยให้แก่สถาบันเกษตรกร 20,000 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายรวบรวมข้าวเปลือกเพื่อจำหน่าย 3–4 ล้านตัน และรวบรวมไว้แปรรูปอีกประมาณ 400,000 ตัน ขณะที่กระทรวงพาณิชย์มีมาตรการรส่งเสริมการตลาดออกมาช่วยเสริม เช่น การหาตลาดใหม่ ๆ ที่กรมการค้าต่างประเทศ อยู่ระหว่างดำนินการที่จะผลักดันการส่งออกข้าวในตลาดสำคัญ รวมไปถึงการส่งเสริมการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ และส่งเสริมการขายข้าวภายในประเทศ และต่างประเทศ รวมทั้งช่วยเหลือผู้ประกอบการการค้าข้าวในการเก็บสต๊อกข้าว ก่อนชดเชยดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการรับซื้อข้าวเปลือกและเก็บสต๊อกไว้ในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากปริมาณ 2 ล้านตัน ไม่เกิน 6 เดือน และชดเชยดอกเบี้ยในอัตรา 3%ขณะเดียว กันยังให้เชื่อมโยงตลาดข้าวในประเทศและต่างประเทศ โดยกระทรวงพาณิชย์รับบทหลักในการจัดหาช่องทางขายข้าวใหม่ ๆ ในส่วนราชการต่าง ๆ ทั้ง โรงพยาบาล เรือนจำ ค่ายทหาร และสุดท้ายเป็นการชะลอสินเชื่อเกษตรเพื่อชะลอการขายข้าวเปลือก หรือการประกันยุ้งฉาง โดยจะให้สินเชื่อเกษตรกรในอัตรา 80% ของราคาตลาดเฉลี่ย เพื่อชะลอการขายข้าวเปลือกออกสู่ตลาดมาก โดยการเก็บไว้ในยุ้งฉางเพื่อรักษาระดับราคา ที่มีประสิทธิภาพ มีเป้าหมาย 1.5 ล้านตันข้าวเปลือก ซึ่งทุกมาตรการ คาดว่า จะช่วยส่งเสริมให้ราคาข้าวอยู่ที่ประมาณตันละ 8,500-9,000 บาท เสริมด้วยประกันภัยนาข้าว อีกหนึ่งมาตรการคือ การประกันภัยข้าว ที่จูงใจให้ชาวนาเข้ามาทำประกันภัยข้าวในฤดูกาลนาปี 57 เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากปัญหาภัยธรรมชาติ และภัยพิบัติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับผลผลิตของตนเอง โดยมาตรการนี้เป็นมาตรการตามความสมัครใจโดยคุ้มครองไร่ละ 1,111 บาท พื้นที่เป้าหมาย 1.5 ล้านไร่ โดยเกษตรกรจ่ายเบี้ยประกันไร่ละ 60-100 บาท และธ.ก.ส.สมทบไร่ละ 10 บาท ซึ่งถ้าหากประสบภัยชาวนาจะได้ชดเชยถึงไร่ละ 2,224 บาท สำหรับเงื่อนไขของมาตรการนี้ ได้กำหนดให้ชาวนาที่เข้าร่วมโครงการ รับภาระค่าเบี้ยประกันภัยตามลำดับความเสี่ยงของพื้นที่ แบ่งเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับต่ำมากยันสูงสุด คือ คิดอัตราค่าเบี้ยประกันภัยอยู่ที่ไร่ละ 129.47 บาท ไปจนถึงไร่ละ 510.39 บาท โดยมาตรการนี้ ธ.ก.ส.ได้เริ่มเป่านกหวีดลุยโครงการไปแล้วตั้งแต่วันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา “ลักษณ์ วจนานวัช” ผู้จัดการ ธ.ก.ส. บอกว่า เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ชาวนาแห่เข้ามาทำประกันภัยนาข้าว ธ.ก.ส.จะอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยให้ชาวนาที่เป็นลูกค้าอีกไร่ละ 10 บาท ซึ่งการประกันภัยจะคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจาก น้ำท่วม ภัยแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุ อากาศหนาว ลูกเห็บและไฟไหม้ โดยได้รับชดเชยไร่ละ 1,111 บาท ยกเว้นศัตรูพืชและโรคระบาด ได้รับการชดเชยไร่ละ 555 บาท ซึ่งยังไม่ได้รวมการช่วยเหลือจากรัฐอีกไร่ละ 1,113 บาทด้วย ระยะยาวดูให้ยั่งยืน อย่างไรก็ดี คสช. ยังมองภาพในระยะยาว โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรฯ รับเป็นแม่งานไปคุยกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หาแนวทางช่วยเหลือชาวนาระยะกลางและระยะยาว แบ่งเป็น วางแนวทางส่งเสริมปัจจัยการผลิตให้กับชาวนา ตั้งแต่ ไปจัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าว ส่งเสริมให้ชาวนาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มผลผลิตให้ได้อีก 10–15% ต่อไร่ จัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนนำร่องจำนวน 40 แห่ง และตั้งคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการดำเนินการเรื่องดังกล่าว ทำโซนนิ่งพื้นที่ปลูกข้าว โดยการลดพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่มีศักยภาพหรือผลผลิตข้าวต่ำกว่ามาตรฐาน ที่มีอยู่ประมาณ 27 ล้านไร่ลง โดยใช้มาตรการจูงใจให้ปลูกพืชชนิดอื่น ๆ ทดแทน และส่งเสริมการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อรองรับการปลูกข้าวและการเกษตรในพื้นที่ที่เหมาะสม ซึ่งตอนนี้อยู่ในแผนบริหารจัดการน้ำที่ คสช.รับไปดูแลแล้ว นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้จัดตั้งกองทุนข้าวและชาวนาแห่งชาติ เพื่อหาแนวทางการชดเชย และช่วยเหลือชาวนาในช่วงที่ราคาข้าวเปลือกตกต่ำหรือวิธีการอื่น ๆ ที่เหมาะสม โดยลดการพึ่งพางบประมาณของภาครัฐลงในระยะยาว และยังให้ไปดูแนวทางตั้งสถาบันเพิ่มศักยภาพการค้าข้าว เป็นหน่วยงานกลางที่รวบรวมและวิเคราะห์ ข้อมูลการค้าข้าว การตลาด และแปรรูปข้าวแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อสร้างความยั่งยืนอย่างแท้จริง แม้ คสช.ต้องการปฏิรูปเรื่องต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้องของประเทศ ซึ่งก็รวมถึงวิธีการดูแลชาวนาที่ถือเป็นกระดูกสันหลังของประเทศด้วย เช่นกัน แต่การพลิกหน้ามือเป็นหลังมือแบบทีเดียวในครั้งนี้ จะเดินหน้าได้อย่างราบรื่นหรือไม่คงต้องรอพิสูจน์กันต่อไป!. วสวัตติ์ โอดทวี
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : คสช.คืนความสุขชาวนารอบ 2 ลดต้นทุน-ดันสร้างความยั่งยืน
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs