แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ได้ทำการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงไปแล้วก่อนหน้านี้ทั้งการปรับภาษีสรรพสามิต กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง คาดว่า หลังจากนี้จะมีการปรับโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ภาคขนส่งให้มีราคาเท่ากับภาคครัวเรือน มีความเป็นไปได้สูงที่จะปรับครั้งเดียว 1.25 บาทต่อกก. เนื่องจากขณะนี้ราคาแอลพีจีครัวเรือนอยู่ที่ 22.63 บาทต่อกก. ขณะที่แอลพีจีภาคขนส่งราคาอยู่ที่เพียง21.38 บาทต่อกก. ต่างกัน 1.25 บาทต่อกก. และขณะนี้เริ่มมีสัญญาณว่า มีการลักลอบการใช้ข้ามกลุ่ม โดยกลุ่มครัวเรือน ลักลอบใช้กลุ่มขนส่ง “การปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคขนส่ง อาจจะกระทบต่อรถโดยสารสาธารณะบ้างโดยเฉพาะแท็กซี่ที่ยังคงมีการใช้แอลพีจีอยู่ประมาณ 2 0,000 คัน ดังนั้นขณะนี้กระทรวงพลังงานได้เตรียมมาตรการที่จะดูแลรถแท็กซี่ไว้แล้วซึ่งจุดนี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ส่วนรถโดยสารสาธารณะประเภทอื่น จะใช้ก๊าซเอ็นจีวี เป็นหลัก จึงไม่ส่งผลกระทบแต่อย่างใด ”แหล่งข่าวกล่าว นายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว(แอลพีจี) กล่าวว่า เห็นด้วยอย่างยิ่งที่รัฐบาลจะปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคขนส่งที่ขณะนี้ถูกกว่าครัวเรือนไปให้เท่ากันเ นื่องจากขณะนี้ประชาชนเริ่มมีการนำถังแอลพีจีครัวเรือนไปเติมในปั๊มแก๊สเพิ่มมากขึ้นแล้วหากปล่อยไว้จะกลายเป็นความเคยชิน ซึ่งถือเป็นเรื่องอันตรายมมาก เพราะการบรรจุก๊าซรถยนต์ และถังแก๊สครัวเรือน ความดันจะแตกต่างกัน อาจเกิดเหตุระเบิดได้ และการขึ้นแอลพีจีขนส่งยังช่วยลดภาระกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะเข้าไปอุดหนุนราคาแม้จะเป็นปริมาณที่ไม่มากก็ตาม “เดิมทีรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะให้ราคาของทั้งครัวเรือนและขนส่งไปสู่ราคาต้นทุนหน้าโรงแยกก๊าซธรรมชาติที่ 24.82 บาทต่อกก. เท่ากันดังนั้นหากปรับราคาแอลพีจีครัวเรือนและขนส่งให้เท่ากันแล้วจากนั้นจะมีการขึ้นราคาตามกรอบเดิมหรือไม่ก็คงอยู่ที่นโยบายภาครัฐแต่สมาคมฯเองสนับสนุนให้เป็นราคาที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงเพราะการอุดหนุนด้วยการนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เก็บจากผู้ใช้น้ำมันโดยเฉพาะเบนซินถือไม่เป็นธรรมกับคนกลุ่มนี้”นายชิษณุพงศ์กล่าว อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้สมาคมฯได้ทำแบบสอบถามจากร้านค้าทั่วประเทศและนำข้อสรุปเสนอไปยังสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.)แล้วว่า ร้านค้าส่วนใหญ่ซึ่งสื่อสารตรงกับชาวบ้านผู้ใช้แอลพีจีโดยตรงส่วนใหญ่ระบุว่าไม่อยากให้รัฐขึ้นราคาแต่ถ้าจำเป็นก็ขอให้ทยอยขึ้นและคงมาตรการช่วยเหลือกลุ่มคนผู้มีรายได้น้อยให้ใช้ในราคาเดิมเพราะขณะนี้ค่าครองชีพประชาชนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับรายได้
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : จ่อขยับก๊าซแอลพีจีภาคขนส่ง
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs