นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมฯได้เร่งรัดการจัดทำงบการเงินแผ่นดินในปีงบประมาณ 56 ซึ่งมีฐานะการคลังที่เข้มแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลมีเงินสดหมุนเวียนหรือเงินคงคลังมากกว่า 600,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% จากปีก่อน สะท้อนถึงสภาพคล่องของประเทศที่มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสินทรัพย์ทั้งหมดของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 7% ที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราชพัสดุกว่า 59% และเงินลงทุนในรัฐวิสาหกิจ 28% ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต นอกจากนี้ งบการเงินแผ่นดินแสดงให้เห็นถึงรายจ่ายภาครัฐที่ใช้ในการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจมีมากถึง 2.4 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% จากปีก่อน และรายจ่ายดังกล่าวจะมีผลต่อการสร้างเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้การเก็บรายได้ภาครัฐมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น 10.27% แสดงให้เห็นถึงเศรษฐกิจของประเทศในปีงบประมาณ 56 ได้ขยายตัว ส่งผลให้เสถียรภาพทางการคลังเข้มเข็งขึ้น ในด้านหนี้สินรัฐบาลมีหนี้สินเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 6% เมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ 7% แล้ว อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ดีขึ้น “รัฐบาลมีเงินคงคลังมากกว่า 600,000 ล้านบาท แสดงให้เห็นสภาพคล่องของประเทศที่มีมากขึ้น ประกอบกับ งบการเงินแผ่นดินแสดงให้เห็นถึงรายจ่ายภาครัฐที่ใช้ในการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจมีมากถึง 2.4 ล้านล้าน และรายจ่ายดังกล่าวจะมีผลต่อการสร้างเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้การเก็บรายได้ภาครัฐมีสัดส่วนที่สูงขึ้น สะท้อนถึงเศรษฐกิจของประเทศในปีงบประมาณ 56” อย่างไรก็ตาม กรมบัญชีกลางได้มีนโยบายเร่งรัดการจัดทำงบการเงินแผ่นดินให้รวดเร็วและเป็นปัจจุบันมากที่สุด ซึ่งเดิมการจัดทำงบการเงินแผ่นดินยังมีความล่าช้าและไม่สามารถปิดบัญชีได้ทันปีต่อปี โดยปีงบประมาณ 56 สามารถปิดบัญชีและจัดทำงบการเงินแผ่นดินของปีงบประมาณ 52 และ 53 ส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และในปีงบประมาณ 57 สามารถปิดบัญชีและจัดทำงบการเงินแผ่นดินของปีงบประมาณ 54, 55 และ56 ส่ง สตง. ได้ทันต่อเวลา ทั้งนี้ งบการเงินของแผ่นดินจะแสดงข้อมูลฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของรัฐบาลในรอบปีที่ผ่านมา การมีงบการเงินที่ได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานที่มีอำนาจที่เป็นปัจจุบัน จะแสดงความโปร่งใสทางการคลัง และเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล เนื่องจากข้อมูลงบการเงินแผ่นดินจะเป็นข้อมูลให้องค์กรระหว่างประเทศในการจัดลำดับความเชื่อมั่นในความรับผิดชอบทางการเงินของประเทศไทย ให้เป็นที่ยอมรับ และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนและผู้ให้กู้ ส่งผลให้รัฐบาลมีศักยภาพในการระดมทุนได้มากขึ้นด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ฐานะการคลังเข้มแข็ง
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs