นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ในการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการบริหารจัดการทรัพยากรการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ เมื่อเร็วๆ นี้ ทีดีอาร์ไอได้เสนอให้จัดตั้งสถาบันวิจัยระบบการเรียนรู้ขึ้น เพื่อทำวิจัยและนำเสนอแนวทางการปฏิรูปการศึกษาสู่สังคม ทั้งระบบการเงินเพื่อการศึกษา รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพการศึกษาก่อนวัยเรียน หรือระบบการบริหารบุคลากรครู ตั้งแต่การคัดเลือกครู การฝึกอบรมในคณะศึกษาศาสตร์ และการจัดสรรครู เพราะปัจจุบันประเทศไทยยังขาดสถาบันวิจัยด้านการศึกษาเป็นการเฉพาะ“การศึกษาไทยยังมีปัญหาด้านคุณภาพและมีความเหลื่อมล้ำสูง ทั้งที่งบประมาณการศึกษาเพิ่มขึ้นโดยตลอด การเพิ่มงบประมาณเพียงอย่างเดียวจึงไม่ได้ช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษา การปฏิรูปการศึกษาจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการจัดสรรงบประมาณใหม่ โดยปัจจุบันการจัดสรรงบประมาณไม่ได้ส่งเสริมให้โรงเรียนปรับปรุงพัฒนาคุณภาพ แม้โรงเรียนบางแห่งมีผลการเรียนตกต่ำและนักเรียนย้ายออก แต่ผู้อำนวยการและครูยังได้รับงบประมาณและเงินเดือนเท่าเดิมหรือมากขึ้น ขณะเดียวกันโรงเรียนที่ต้องการปรับปรุงคุณภาพ กลับบริหารทรัพยากรได้อย่างจำกัด ส่วนด้านความเหลื่อมล้ำ นักเรียนฐานะยากจนกลับได้รับเงินอุดหนุนรายหัวใกล้เคียงกับนักเรียนฐานะดี โรงเรียนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ยากลำบากจำเป็นต้องได้รับงบประมาณมากกว่าเดิม เพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษา”นายสมเกียรติ กล่าวว่า คณะนักวิจัยจากธนาคารโลกได้เสนอสูตรการจัดสรรงบประมาณ เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษา ซึ่งจะคำนวณเงินอุดหนุนรายหัวที่สะท้อนต้นทุนการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยพิจารณาจากผลการเรียนที่คาดหวัง ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของนักเรียน และสภาพแวดล้อมของโรงเรียน เช่น ขนาดของโรงเรียน ซึ่งสูตรดังกล่าว จะช่วยให้นักเรียนที่ยากจนจะได้รับเงินอุดหนุนมากกว่า โดยโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลจะได้รับงบประมาณต่อหัวมากกว่าโรงเรียนในเมือง และนักเรียนทุกคนจะมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้นนอกจากนี้ ยังเห็นว่า ภาครัฐจึงควรวางแผนจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยแบ่งกลุ่มโรงเรียนและออกแบบนโยบายที่เหมาะสมสำหรับแต่ละกลุ่ม ไม่ใช้นโยบายเหมารวมอย่างการยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กทั้งหมด เช่น กลุ่มโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลไม่ควรถูกยุบรวม เพราะนักเรียนจะเข้าถึงโรงเรียนได้ยากขึ้น โรงเรียนควรได้รับความช่วยเหลือด้านทรัพยากรเพิ่มเติม กลุ่มโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ไม่ไกลกันอาจร่วมกันจัดการศึกษาตามแบบ “แก่งจันทร์โมเดล” ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ซึ่งมีโรงเรียนขนาดเล็ก 4 แห่งร่วมกันจัดการศึกษา โดยโรงเรียนแต่ละแห่งจะจัดการสอน 2 ระดับชั้น ซึ่งช่วยลดการขาดแคลนครูได้
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ทีดีอาร์ไอแนะตั้งสถาบันวิจัยพัฒนาการศึกษา
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs