ทุนนิยมอเมริกันซึ่งได้รับการพัฒนานับร้อยปีจนเป็นมหาอำนาจโลกตะวันตกแบบเจ้าเดียวมานาน ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการอเมริกันว่าน่าจะถึงทางตัน เพราะไม่ได้สร้างงานทำเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมุ่งสู่ความอยู่ดีมีสุขของคนอเมริกันเอง ศาสตราจารย์ ดร.เคลย์ คริสเตียนเซ่น แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของโลก ได้เขียนบทความนี้ลงในฮาร์วาร์ดบิสซิเนสรีวิวเพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์ทุนนิยมของอเมริกันได้อย่างมีน้ำหนักและเหตุผล เลยก็จะนำมาถ่ายทอดเพราะแนวคิดนี้มีประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านและเศรษฐกิจสังคมไทย เศรษฐกิจอเมริกาก็เปรียบได้กับเครื่องจักรที่ถูกใช้มานานและแน่นอนย่อมจะถึงจุดเสื่อมถอยโดยมีสัญญาณเครื่องหลวมเสียงดังรบกวนออกมาเป็นระยะ แม้ว่าเครื่องจักรระบบทุนนิยมอเมริกันจะได้รับการบำรุงรักษาแก้ไขโดยช่างเศรษฐกิจมานาน แต่ยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าเครื่องจักรฟิตเปรี๊ยะมีสมรรถนะดีเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชนอเมริกัน เช่นเดียวกับสัญญาณการพยายามฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ 2008 เป็นต้นมาจนบัดนี้ แม้ว่านักเศรษฐศาสตร์ได้เข้าไปแก้ไขสถานการณ์ใช้เวลาถึง 60 เดือนหรือ 5 ปี และก็ได้ประกาศในปีที่แล้ว 2013 ว่าเศรษฐกิจส่งสัญญาณการฟื้นตัวมาปีนี้และปัจจุบัน เศรษฐกิจอเมริกาเติบโตช้ามากและปริมาณงานที่มีให้คนอเมริกันทำอยู่ในระดับที่น่าผิดหวังแก่ประชาชนอเมริกันเองมาก นักการเมืองอย่างประธานาธิบดีโอบามาเกิดการเสื่อมความนิยมอย่างรุนแรงมากขึ้นคือ “เปลี่ยนแปลง (Change)” อะไรบ้างให้กับความอยู่ดีมีสุขของคนอเมริกันเริ่มเป็นคำถามที่ประชาชนถามกลับสู่ประธานาธิบดีของเขา ถ้าหากเขาสังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็คือ แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยต่ำมานานแต่บรรษัทขนาดใหญ่ในวอลสตรีท ทั้งก็ยังคงนั่งจมอยู่บนกองเงินสดของบริษัทมากกว่า และไม่มีการลงทุนอะไรใหม่ในตลาดหรือไม่มีตลาดนวัตกรรมอะไรที่จะสร้างงานให้กับคนอเมริกันให้มีงานทำมากๆ และได้รับเงินเดือนและผลตอบแทนเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับเศรษฐกิจของคนอเมริกัน นวัตกรรมการลงทุนในตลาดสร้างงานก็มักจะล้มเหลวเลยเกิดคำถามที่ว่า พฤติกรรมข้างต้นเกิดมาได้อย่างไร ซึ่งก็เกิดคำถามทั้งสองด้านคือด้านหนึ่งที่ดีแห่งการลงทุนมันขาดไปจริงๆหรืออีกด้านหนึ่งคือ ผู้บริหารของบริษัทเหล่านี้ในวอลสตรีทไม่ยอมรับรู้ แต่อยากจะนั่งสบายๆบนกองเงินสดเพื่อเอาไปใช้ ซึ่งพฤติกรรมตรงนี้แหละเชื่อมต่อกับเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัวในปัจจุบัน และทำให้เศรษฐกิจถดถอย ในมุมมองของนักทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นั้นจึงเห็นความสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างนวัตกรรมและความเจริญเติบโต ที่จะต้องทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งมากขึ้น อะไรบ้างที่ก่อให้เกิดความเจริญเติบโต ที่จะต้องทำความเข้าใจไปถึงวิธีคิดและกรอบในใจว่านักลงทุนทั้งหลายท่านคิดอะไรอยู่หรือจะจัดการกับการลงทุนเช่นไร ซึ่งเราจะต้องศึกษาให้ลึกซึ้งและเข้าใจพฤติกรรมของนักลงทุนและซีอีโอของบรรษัทขนาดใหญ่เหล่านั้นว่าคิดอย่างไร ในปีที่ผ่านมามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้เชิญศิษย์เก่าซึ่งอยู่ในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆทั้งการเงินและนักประกอบการเพื่อระดมสมองมุ่งสู่วิธีการฟื้นเศรษฐกิจของโลก ซึ่งในเวทีระดมสมองได้ครอบคลุมไปถึงเรื่องความไม่แน่นอนด้านการเมืองและเศรษฐกิจ การที่แบงก์ปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำและนโยบายของรัฐบาลลดลงไปที่ให้การสนับสนุนเงินทุนวิจัยและพัฒนาในระดับต่ำลงเรื่อยๆรวมทั้งการมรณกรรมของรูปแบบนวัตกรรมของเบลแลบส์ว่าได้เกิดอะไรขึ้น ในเวทีระดมสมองดังกล่าวได้พุ่งไปสู่วิธีการเลือกของบริษัทในการลงทุนเพื่อให้เกิดนวัตกรรมและก็ได้พบว่า วิธีการเลือกลงทุนเหล่านั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้บริหารนั่นเอง นั่นก็คือซีอีโอของบริษัทมีพฤติกรรมอย่างไร มีความกล้าเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการลงทุนตลาดนวัตกรรมใหม่เพื่อการสร้างงานหรือไม่ และก็ค้นพบด้วยว่าผู้บริหารเหล่านั้นคิดอย่างไรจึงเกิดพฤติกรรมที่ไม่กล้าเสี่ยงลงทุน เพื่อสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งผมจะได้นำมาเขียนในบทความต่อไปในพฤหัสฯ หน้า. รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด Boonmark@stamford.edu

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ทุนนิยมอเมริกันถึงทางตัน (1) – โลกาภิวัตน์

Posts related