นางสาลินี วังตาล ประธานกรรมการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เปิดเผยว่า ธพว.ได้ส่งแผนฟื้นฟูให้กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว โดยมีแนวทางการแก้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) กว่า 35,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 38% ของสินเชื่อรวม ด้วยการเตรียมขายหนี้ลูกหนี้ที่ไม่ทำกิจการ แล้วคิดเป็นมูลหนี้ 20,000 ล้านบาท ซึ่งจะขายหลักประกันออกไป ที่เหลือใช้วิธีการปรับโครงสร้างหนี้ และเตรียมเสนอให้ประชุมคณะกรรมการพิจารณาว่าจ้างบริษัทเอกชนเข้ามาตามทวงหนี้ลูกหนี้รายย่อยแทนสำหรับเอ็นพีแอลที่เตรียมขาย 20,000 ล้านบาทนั้น กำลังแยกสถานะลูกหนี้ถ้าลูกหนี้รายไหนที่มีหลักประกัน ต้องนำออกขายส่วนลูกหนี้ที่เป็นตามสินเชื่อนโยบายภาครัฐ (พีเอสเอ) ที่มีอยู่ 10,000 ล้านบาท หากอยู่ในโครงการที่แยกบัญชีพีเอสเอไว้ จะทำเรื่องขอเงินชดเชยจากกระทรวงการคลังต่อไปนอกจากนี้ ได้วางเป้าหมายที่จะปล่อยสินเชื่อในปี 58 ให้เพิ่มขึ้น 12% คิดเป็นยอดสินเชื่อปล่อยใหม่ 12,000 ล้านบาท และคาดว่าจะปล่อยสินเชื่อหมุนเวียนได้กว่า 30,000 ล้านบาท เนื่องจากจะมีลูกหนี้ชำระคืนหรือรีไฟแนนซ์ไปที่อื่น รวมทั้งเตรียมจัดหน่วยงานติดตามการปล่อยกู้ (โลนโอเปอร์เรชั่น) เพื่อติดตามลูกหนี้ หลังธพว.อนุมัติสินเชื่อแล้ว เพื่อป้องกันหนี้เสียรวมทั้งได้ปรับกระบวนการอนุมัติสินเชื่อให้รวดเร็วมากขึ้น จากเดิมหากเป็นลูกหนี้ต่างจังหวัด มายื่นเรื่องขอสินเชื่อ จะใช้เวลา3 เดือน ก็จะปรับขั้นตอนให้เหลือ10-14วัน“นับแต่ต้นปีที่ผ่านมา การปล่อยสินเชื่อถือเป็นช่วงสุญญากาศเจ้าหน้าที่ระมัดระวัง ไม่กล้าปล่อยกู้แต่ขณะนี้ได้ปรับปรุงการกระบวนการแล้ว มั่นใจว่าถ้าปล่อยกู้และแก้หนี้เสียได้ตามเป้าหมายยอดเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส) จะเพิ่มขึ้นจาก7%เป็นตัวเลข 2 หลักได้ในปีหน้าและไม่จำเป็นต้องของเงินเพิ่มทุนจากคลังให้เป็นภาระภาษีอีก"ด้าน น.ส.ปาริฉัตร เหล่าธีระศิริวงศ์รักษาการกรรมการผู้จัดการ ธพว. กล่าวว่าเตรียมเข้าหารือกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เรื่องการขายหนี้เอ็นพีแอล 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งในแผนฟื้นฟูได้เสนอว่าทยอยขายหนี้ก้อนแรกจำนวน 1หมื่นล้านบาทก่อนภายในสิ้นปีนี้“จากที่ดูหนี้เอ็นพีแอล 20,000 ล้านบาท คาดว่าจะขายหนี้ได้ 10,000 ล้านบาทก่อน เพราะยังมีหนี้เอ็นพีแอล ที่มองว่าสามารถแก้ไขได้ เช่น หนี้บางส่วนยังดำเนินธุรกิจอยู่ ก็ขอให้เอาไว้ก่อน และบางส่วนมีบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)ค้ำประกันอยู่ก็ให้เอาไว้ก่อน”สำหรับการเตรียมจ้างเอกชนเข้าติดตามทวงหนี้ลูกหนี้รายย่อย เนื่องจากมองว่าธุรกิจในกลุ่มนี้มีความเสี่ยงมากกว่าธุรกิจรายใหญ่ โดยจะเร่งจัดหาเอกชนเข้ามาดำเนินการได้อย่างเร็วที่สุดในทันสิ้นปีนี้ เพราะปัจจุบันธนาคารมีปัญหาความล่าช้าในการแก้ปัญหาเอ็นพีแอลมานานแล้ว
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ธพว.ลุ้นคลังรับแผนฟื้นฟูฯ
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs