นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า หลังจากได้ตรวจเยี่ยมโรงงานมักกะสัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แล้ว ได้สั่งการให้ ร.ฟ.ท.เตรียมพร้อมรองรับการพัฒนาระบบรางภายใต้ พรบ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท โดยต้องจัดเตรียมทั้งในเรื่องของหัวรถจักร หัวลาก โบกี้ ตู้สินค้า แคร่ รวมถึงการพัฒนาบุลลากรทางให้เพียงพอกับความต้องการในอนาคต และการย้ายโรงงานมักกะสันออกไปอยู่ที่แก่งคอย เพื่อเปิดทางให้กระทรวงการคลังเข้ามาพัฒนาเชิงพาณิชย์ เบื้องต้นจะให้กระทรวงการคลังหักภาระหนี้สินของ ร.ฟ.ท.ที่มีอยู่กว่า 80,000 ล้านบาท ออกไปจากค่าเช่าใช้พื้นที่ของ ร.ฟ.ท.ด้วย อย่างไรก็ตามขณะนี้ ร.ฟ.ท.ได้จัดซื้อรถโดยสารแล้ว 115 คัน แต่ละคันมี 13 ตู้ ในอนาคตจะต้องจัดให้ครบ 430 คัน ภายในปี 66 ส่วนหัวรถจักร ปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดซื้อ 77 คัน และจะซื้อเพิ่มเป็น 218 คัน รวมทั้งต้องจัดซื้อรถดีเซลรางให้ได้ 206 คัน และรถสินค้าให้ได้ 3,444 คัน เพื่อรองรับรถไฟทางคู่ในอนาคต ถึงปี 67 และในส่วนของพนักงาน ต้องเตรียมไว้รองรับคู่ขนานกันไปด้วย เพราะเมื่อโครงการภายใต้ พรบ. 2 ล้านล้านบาทแล้วเสร็จ รถไฟทางคู่เสร็จทุกสาย ร.ฟ.ท.ต้องพร้อมขนส่งสินค้าและบริการประชาชนได้ทันที ปัจจุบันร.ฟ.ท.มีเป้าหมายรายได้จากค่าโดยสารปีละ 3,800 ล้านบาท และรายได้จากการขนส่งสินค้าปีละ 1,759 ล้านบาท แต่ปี 67 จะเพิ่มรายได้จากค่าโดยสารเป็น 8,790 ล้านบาท และมีรายได้จากการขนส่งสินค้าเป็น 10,685 ล้านบาท ทั้งนี้ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ขนส่งสินค้าได้ปีละ 11 ล้านตัน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 50 ล้านตัน เมื่อการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายต่าง ๆ แล้วเสร็จในอีก 7 ปีข้างหน้า ส่วนจำนวนผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 70-80 ล้านคน จากปัจจุบัน 35 ล้านคน โดย ร.ฟ.ท.ต้องนำระบบการตรวจสอบมาตราฐานของโรงงาน (ไอเอสโอ) มาใช้กับโรงงานมักกสันด้วย จากปัจจุบันที่ไม่ได้นำระบบดังกล่าวมาใช้ นายชัชชาติ กล่าวว่า สำหรับพนักงานของ ร.ฟ.ท.ที่ขาดอยู่ 2,000 ตำแหน่งนั้น จะให้เริ่มทยอยรับเข้ามา โดยเฉพาะบุคคลากรที่มีความรู้ด้านรถไฟ ซึ่งที่ผ่านมาโรงเรียนรถไฟ ได้หยุดรับนักเรียนมา 6 ปี และเพิ่งเปิดรับเมื่อปีที่แล้ว 180 คน ก็ให้ผลิตบุคคลากรด้านนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ด้วย ซึ่งร.ฟ.ท.ต้องวางแผนการดำเนินงานให้ดีเพื่อให้มีความพร้อมมากที่สุด ด้านนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้หารือกับกระทรวงการคลังมาแล้วในรอบแรก เบื้องต้นกำหนดได้พิจารณาให้กระทรวงการคลังเข้ามาดูแลทรัพย์สินของ ร.ฟ.ท. 2 แปลง คือ มักกะสัน 497 ไร่ และริมแม่น้ำเจ้าพระยา 277 ไร่ แบ่งเป็นสัญญาดำเนินการ 50+50 ปี โดย ร.ฟ.ท.จะเป็นผู้รับค่าเช่าจากกระทรวงการคลังอย่างเดียว ส่วนการพัฒนาเชิงพาณิชย์นั้น กระทรวงการคลังจะดำเนินการเอง โดยกระทรวงการคลังเห็นด้วย และจะหารือร่วมกันให้ได้ข้อสรุปไม่ 1 เดือน “ที่ผ่านมากระทรวงการคลังยังไม่ได้จ่ายชดเชยบริการรถไฟฟรีให้ ร.ฟ.ท. 40,000 ล้านบาท ก็ต้องมาพิจารณาด้วยว่าจะต้องจ่ายด้วยวิธีไหน ส่วนการเตรียมพร้อมด้สบบุคลากรนั้น ที่ผ่านมาได้เริ่มทยอยรับพนักงานเพิ่มแล้ว”
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ปิ้งไอเดียให้คลังเช่าที่รถไฟทำคอมเพล็กซ์
Posts related
- ธุรกิจน้ำดื่มใสสะอาด เพราะชีวิตขาดน้ำไม่ได้!
- ธุรกิจเสื้อผ้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจส่งออกสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านดอกไม้กับความรัก ความยินดี และ ความสดชื่นของชีวิต
- ธุรกิจโรงแรมรีสอร์ทที่พัก ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- ธุรกิจร้านกาแฟ คุณคิดว่าคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ จะมีสักกี่วันที่หยุดดื่ม? น่าลองขายนะ!
- ธุรกิจซักอบรีด รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจค้าปลีกสินค้า ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจร้านเบเกอรี่ รูปแบบไหนดีที่สุด?
- ธุรกิจขายส่งสินค้า ดีไม?ดียังไง? ปัจจุบันมีกี่รูปแบบ?
- อาชีพเสริมรายได้เสริม เมื่อมีรายได้หลายทางย่อมดีกว่ารายได้ทางเดียว
- 10 อาชีพเสริมที่น่าสนใจ
- อาชีพเสริม ถ้าไม่เริ่มทำตอนนี้แล้วจะรวยตอนไหน?
- ธุรกิจสปา ดีไม?ดียังไง?
- ธุรกิจคาร์แคร์ ดีไม?ดียังไง?
- 6 รูปแบบธุรกิจออนไลน์ที่ใครก็ทำได้ง่ายๆ
- 5 Trendsของยุค2020ที่จะนำไปสู่ธุรกิจชั้นนำที่น่าสนใจ
- แบบทดสอบประเมินตัวคุณเป็นยังไงและควรจะทำธุรกิจแนวไหนดี
- ความแตกต่างระหว่างธุรกิจส่วนตัวกับอาชีพอื่นๆ
- จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ได้อย่างไร
- 5 ขั้นตอนการเริ่มต้นเปิดร้านค้าออนไลน์
- เทคนิคในการเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ
- ทำไมต้องธุรกิจแฟรนไชส์ ดียังไง
- 5 เทคนิคควรรู้ก่อนตั้งชื่อธุรกิจออนไลน์
- 5 สิ่งที่ต้องห้ามเมื่่ออยากทำธุรกิจส่วนตัว
- 7 เทคนิคพื้นฐานสร้างธุรกิจSMEให้รอด
- จะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัวยังไงเริ่มจากไหนดี?
- ทำไมจะต้องทำธุรกิจส่วนตัว?
- ความรู้เบื้องต้นความหมายธุรกิจSMEs